ข้อปฏิบัติการใช้ยา โดย ภญ.สมทรง ศักดิ์ศรี

ข้อปฏิบัติการใช้ยา

ภญ.สมทรง ศักดิ์ศรี
ฝ่ายเภสัชกรรม   โรงพยาบาลศิริราช
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ถาม การใช้ยาที่ถูกต้องมีความจำเป็นอย่างไรบ้าง 
ตอบ
ยาถ้าใช้ให้ถูกต้องกับโรค ทั้งยากิน และฉีด หรือจะให้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่ถูก ต้องก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าใช้ยาผิดพลาดไปนอก จากจะไม่ได้ประโยชน์แล้วบางครั้งอาจจะเกิดอันตรายอีกด้วย

ถาม ข้อแนะนำในการใช้ยาที่ถูกต้อง 
ตอบ
หน้าซองที่จ่ายให้ผู้ป่วยจะมีกำหนดไว้ เมื่อผู้ป่วยได้รับยาไปควรจะอ่านวิธีใช้ ที่หน้าซองหรือขวดให้เข้าใจก่อนกลับบ้าน หรือให้ผู้ป่วยถามเภสัชกร หรือบุคลากร ทางการแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ห้องยาอ่านให้ฟังให้เข้าใจเสียก่อน เพราะว่าการที่กลับ บ้านไปแล้วอ่านไม่เข้าใจ ต้องกลับมาโรงพยาบาล หรือบางทีไปกินยาผิด ก็อาจจะ เป็นอันตรายได้

ถาม ยกตัวอย่างข้อความที่ผู้ป่วยมักจะใช้สับสนเสมอๆ 
ตอบ
ที่พบเสมอ เช่น 1 เม็ด ก่อนนอนหมายความว่าใช้ก่อนนอนกลางวันก็รับ ประทานด้วย จะทำให้ได้รับยามากเกินไปอาจจะเป็น   อันตรายได้ต้องจำไว้ว่า 1 เม็ด ก่อนนอน หมายถึง 1 เม็ดก่อนนอนช่วงกลางคืนเท่านั้น หรือการรับประทานยา แก้ปวด แก้ไข้จะ  เขียนไว้หน้าซองว่า รับประทานทุก 4 ชั่วโมง เวลา 4 ชั่วโมง ถึงจะ รับประทานซ้ำอีกหนึ่งครั้ง และรับประทานเวลาปวดเมื่อหาย   ปวดแล้วไม่ต้อง หรือว่า เวลามีไข้ถึงจะรับประทาน เวลาไม่มีไข้ไม่ต้องรับประทาน ถ้าเป็นยาปฏิชีวนะจะ ต้อง รับประทานยาให้  หมด ถ้ามีหน้าซองเขียนไว้ว่า 1 เม็ด 3 เวลา หลังอาหาร และ ก่อนนอนมี 20 เม็ด ก็ต้องรับประทานให้ครบ 20 เม็ด เพราะถ้าเรารับประทาน ไม่หมดพอรู้สึกค่อยยังชั่วก็หยุดยา ไม่รับประทานให้ครบตามที่แพทย์สั่ง อาจทำให้ เกิดอาการดื้อยาได้ในภายหลัง

ถาม ในกรณีที่เป็นหวัด ได้รับประทานยาปฏิชีวนะแล้วหาย พอเป็นหวัดอีกจะ ไปซื้อยาอย่างเดิมมารับประทานได้หรือไม่ 
ตอบ
ไม่สมควร เพราะเราไปซื้อมาอาจซื้อได้ไม่ครบตามจำนวนที่ต้องการ ไม่เพียง พอที่จะทำให้โรคหายขาดคือ การรักษาโรคนี้ไม่ใช่รับประทานยาพอค่อยยังชั่วแล้ว ก็เลิก ต้องรับประทานยาจนครบตามจำนวนที่สามารถรักษาโรคได้ มิฉะนั้นจะเกิด การดื้อยาขึ้นภายหลัง

ถาม มียาบางอย่างเขียนไว้ว่าให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ เพราะเหตุใด 
ตอบ
ยาที่ดื่มน้ำตามมาก ๆ คือ ยาประเภทซัลฟา โดยทั่ว ๆ ไปเพราะว่ามันจะทำให้ เกิดการตกตะกอนของยาในไต การที่ดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็จะเป็นการช่วยให้การ ขับถ่ายดีขึ้น ทำให้ไม่เกิดการตกตะกอนในไต

ถาม ยาที่เป็นผงมีวิธีการใช้อย่างไร 
ตอบ
ยาผงมีอยู่หลายชนิด ถ้าเผื่อใช้ภายนอกอย่างจำพวกผงโรยแผล หรืออาจจะมี ยาที่บรรจุอยู่ในขวดเล็ก ๆ มีผงอยู่ก้นขวด และก็มีน้ำคู่กันมา จะเป็นพวกยาฉีดเวลา ที่จะฉีดก็ต้องเอาผงและน้ำผสมกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะเป็นคนทำอีก แบบหนึ่งเป็นผงที่  ใช้เป็นยารับประทานคือ ในบางครั้งเราไม่สามารถที่จะละลายผง ยาให้ไปเลยได ้ เพราะว่าบางที่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานจนติดต่อกันนาน ๆ ถ้า ละลายทิ้งไว้นานเกินกำหนดก็อาจทำให้ยานั้นเสื่อมได้ สมมุติว่าคนไข้ต้องรับ ประทานยาติดต่อกันไปนาน ๆ ต้องเอายาไปถึง 2 ขวด เราก็จะละลายให้เพียงขวด เดียวก่อน อีกขวดหนึ่งให้ผู้ป่วยไปละลายเอง

ถาม ยาที่ละลายแล้วควรเก็บรักษาอย่างไร 
ตอบ
ควรเก็บไว้ในตู้เย็น 7 วัน วิธีการละลายยาก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะในบางครั้งยา ที่เป็นผงบรรจุมาจากโรงงานทิ้งไว้นาน ๆ อาจเกาะกันอยู่ก้นขวด ก่อนที่ละลายยา ควรเขย่าขวดให้ผงยากระจายตัวเสียก่อนแล้วก็เติมน้ำ อย่าเติมทีเดียวหมด ให้เติม เศษสามส่วนสี่ก่อนแล้วเขย่า สังเกตดูว่าฟองที่เกิดยุบตัวหมดค่อยเติมน้ำอีกครั้งให้ ถึงระดับที่ต้องการ เขย่าอีกครั้งให้ยาละลาย

ถาม ยาที่เกิดตกตะกอน แยกตัวเป็นชั้นยังใช้ได้หรือไม่ 
ตอบ
ยาที่ตกตะกอน ถ้าเราเขย่าแล้วยากระจายตัวไม่แข็งนอนอยู่ที่ก้นขวดก็ใช้ได้ แต่จะมียาผสมบางชนิดซึ่งตกตะกอนเร็วมากก่อนใช้ยาจะต้องเขย่าขวดก่อนที่ ฉลากเปิดขวดจะมีคำว่าเข่าขวดก่อนใช้ยา

ถาม คำแนะนำในการรับประทานยาแขวนตะกอน 
ตอบ
เขย่าขวดก่อนรับประทานเสมอ ถ้าเป็นยาที่มีตะกอน หรือแขวนตะกอน ถ้า เป็นยาที่บ่งไว้ว่าให้รับประทานก่อนอาหาร หมายความว่าให้รับประทานยาก่อนรับ ประทานอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แต่ยาจำพวกยาย่อยเราต้องรับประทานพร้อม อาหาร หรือหลังอาหารทันที หรือยาบางพวกที่รบกวนกระเพาะได้แก่ยาแก้ปวดต่าง ๆ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เราต้องรับประทานในขณะที่ท้องไม่ว่าง เช่น หลังอาหาร แต่บางครั้งผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ ก็ให้ดื่มน้ำตามยาไปมาก ๆ หรืออาจจะ ใช้ดื่มน้ำข้าวต้ม หรือนมก่อนรับประทานยาพวกนี้ เพื่อป้องกันการระคายเคืองที่ กระเพาะอาหาร เพราะว่าการระคายเคืองอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง การที่เราดื่มนม หรือน้ำข้าวต้ม จะช่วยลดอาการระคายเคืองของกระเพาะได้

ถาม ยาแก้หวัด หรือแก้แพ้ มีข้อควรระวังในการรับประทานอย่างไร 
ตอบ
ยาแก้หวัด แก้แพ้ มีฤทธิ์ข้างเคียง คือทำให้ง่วง ไม่ควรขับรถ หรือทำงานที่ เกี่ยวกับเครื่องจักรจะทำให้เป็นอันตราย

ถาม นอกจากยาแก้หวัด แก้แพ้ มียาใดที่ต้องระวังในการรับประทานอีกหรือ ไม่ 
ตอบ
มียาจำพวกระงับประสาท หรือยานอนหลับ ซึ่งก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน เพราะว่าในบางครั้งผู้ป่วยรับประทานยานี้ดึกมากเกินไปบางทีตื่นขึ้นมาฤทธิ์ยายัง ไม่หมดทำให้เกิดอาการมึนงง อาจจะมีความง่วงเหลืออยู่ เวลาที่ขับรถหรือทำงาน เกี่ยวกับ เครื่องจักรจึงต้องระวัง มีข้อควรระวังอีกคือ ยาทุกชนิดไม่ควรรับประทาน พร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์ของยาทำให้เป็น อันตรายได้

ถาม การใช้ยาภายนอกมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร 
ตอบ
การใช้ยาภายนอก ประการแรกคือ ยาผิวหนัง อาจจะเป็นน้ำ เป็นครีม หรือเป็น ผง เป็นขี้ผึ้ง ก่อนจะใช้ยาจำพวกนี้ ต้องให้บริเวณผิวหนังที่จะใช้สะอาด จึงทาหรือ โรยยาลงไป ขี้ผึ้งก็ให้ทาบาง ๆ การที่ทาหนา ๆ ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ เป็นการสิ้น เปลืองโดยเปล่าประโยชน์

ถาม การใช้ยาเหน็บ มีวิธีอย่างไร 
ตอบ
ยาเหน็บ บ้านเราเป็นเมืองร้อน บางครั้งได้รับยาไปถึงบ้านมันเหลวก่อนที่จะนำ ไปเหน็บ เราต้องทำให้ยาแข็งก่อนที่จะใช้ อาจจะแช่ในตู้เย็น หรือแช่ในกระติกน้ำแข็ง แล้วจึงลอกกระดาษออกแล้วก็เหน็บเวลาจะเหน็บต้องอยู่ในท่านอน มือที่จะเหน็บ ต้องสะอาดเหน็บเข้าไปให้ลึกที่สุด

ถาม นอกจากยาที่กล่าวมาแล้ว ยาภายนอกยังมีอะไรบ้าง 
ตอบ
มียาหยอดตา หยอดหู ข้อปฏิบัติในการใช้ก็ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนจะหยอด ตา โดยเฉพาะยาตาก่อนหยอดมือต้องสะอาดมาก ๆ ถ้าเป็นยาพวกขี้ผึ้งให้บีบยา ประมาณครึ่งเซ็นติเมตร คลึงเบา ๆ อย่าให้ปลายหลอดถูกกับตา เสร็จแล้วปิดจุกให้ แน่น และถึงแม้จะปิดจุกแน่นอย่างไรก็ตาม ยาที่เปิดจุกแล้ว ไม่ควรใช้เกิน 1 เดือน และยาน้ำให้หยด 1-2 หยด ยาตาไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่นยาหยอดหูก่อนใช้ให้ทำ ความสะอาดหู โดยใช้สำลีเช็ดบริเวณภายในหูอย่าให้ลึกจะไปโดนหูส่วนในหยอดยา 4-5 หยด เอียงศีรษะทิ้งไว้ครู่หนึ่ง ตั้งศีรษะตรงเช็ดยาส่วนที่อาจจะไหลออกมาให้ สะอาด

ถาม ขอเรียนถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้ยาอมใต้ลิ้น 
ตอบ
ยาประเภทนี้ระบุมาให้อมใต้ลิ้นจะรับประทานไม่ได้จะสังเกตว่าเวลาอมยานี้จะรู้ สึกซ่า ถ้าไม่ซ่าแสดงว่ายาหมดฤทธิ์ การเก็บยาประเภทนี้ก็ต้องระวังให้อยู่ในขวด สีน้ำตาล อย่าให้ถูกแสง ปิดจุกให้แน่นและเก็บไว้ในที่เย็น เพราะยานี้ส่วนใหญ่จะ เป็นยาเกี่ยวกับโรคหัวใจจึงควรระวังเป็นพิเศษ

ถาม กรณีที่ลืมรับประทานยาบางมื้อ จะไปเพิ่มจำนวนยาในมื้อต่อไปได้หรือ ไม่ หรือในกรณีที่หลับไปก่อนจะทำอย่างไร 
ตอบ
ห้ามเพิ่มยาหรือรับประทานซ้ำ อาจจะทำให้ได้รับยาเกินขนาด มากเกินไปเป็น อันตรายได้

ถาม เด็กที่รับประทานยายาก ถ้าพ่อแม่จะผสมยาในนมได้หรือไม่ 
ตอบ
ยาที่ผสมกับนมได้มีเพียงบางชนิดที่ผสมไม่ได้ เช่นยาที่เข้าหลักพวกบำรุง โลหิต ยาเตตร้าซัยคลิน ถ้าผสมนมจะไม่ได้ผล การที่จะเอายาไปผสมนม ยังมีข้อ เสียว่าถ้าเด็กดื่มนมไม่หมดก็จะได้รับยาไม่ครบตามขนาด ที่ต้องการ ถ้าจะเอายา ผสมนม ก็ต้องให้เด็กดื่มนมให้หมด แต่ทางที่ดีแล้วอย่าผสมดีกว่าการให้ยาถ้าผู้ ป่วยนอนหลับ ก็เลื่อนเวลาไปนิดหน่อยให้ผู้ป่วยตื่นก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วยตื่นก่อน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงก็ต้องพยายามให้ผู้ป่วย ได้รับประทานยาตรงตามเวลาไม่เช่นนั้นโรคจะไม่หาย

ถาม จะทราบได้อย่างไรว่ายาเสีย 
ตอบ
ยาที่เปลี่ยนสี หรือรูปร่าง ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจจะเสื่อมคุณภาพ หรือ มีสารแปลกปลอมเกินขึ้นซึ่งอาจจะเป็นพิษได้ ยาที่ตกตะกอน ตัวยาแข็งไม่กระจาย ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะจะทำให้ได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่ต้องการ ยาเม็ดหรือ แคปซูลที่เปลี่ยนสี เม็ดเคลือบแตก มีลายเกิดขึ้น ก็ไม่ควรใช้เช่นกัน นอกจากนี้ยัง สังเกตอายุของยาได้จากฉลากด้วย ถ้าไม่มีอายุบ่งไว้ ให้ดูวันผลิตถ้าเกิน 5 ปี แล้วไม่ควรใช้

ถาม วิธีเก็บยาที่ถูกต้อง 
ตอบ
หลักใหญ่ของการเก็บยาคือไม่ให้ถูกแสง ความชื้น เก็บในขวดสีน้ำตาล ปิดฝา ให้แน่นอย่าให้ถูกแสงแดดพวกที่ระเหยได้ง่ายต้องปิดฝาให้แน่น พวกวัคซีน เช่น วัคซีนโรคกลัวน้ำ บาดทะยัก ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิที่เก็บยาจะระบุไว้ที่ฉลาก ด้วย เก็บยาให้พ้นจากมือเด็ก อยู่ในตู้ปิดมิดชิด เพื่อป้องกันเด็กเข้าใจผิดว่าเป็นลูก กวาด หรือน้ำเขียว น้ำแดง แล้วจะหยิบไปรับประทาน

ข้อมูลจาก: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=72

http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=73

Leave a comment