นักวิจัยชี้ว่าโฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

voathai130516_001ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าโฟลิคเอซิดช่วยป้องกันความพิการทางสมองของทารกในครรภ์รวมทั้งออติสซึ่มได้หากผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์รับประทานวิตามินชนิดนี้เสริมตั้งแต่ก่อนตั้งท้องจนถึงช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์

ผักใบเขียว ผลไม้และถั่วชนิดต่าง ๆ มีสารโฟลิคเอซิดซึ่งเป็นวิตามินบีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ๆ ที่เเข็งแรง การรับประทานวิตามินต่างๆ ก่อนตั้งภรรค์ รวมทั้งกรดที่โฟลิคเอซิด ช่วยให้ทารกในครรภ์สร้างหลอดประสาทได้อย่างสมบูรณ์

ด็อกเตอร์พอล สุเรน แห่งสถาบันสุขภาพประเทศนอร์เวย์กล่่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าหลอดประสาทของตัวอ่อนทารกในครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของสมองมนุษย์และจะปิดในช่วงต้นๆของพัฒนาการของตัวอ่อนและหากหลอดประสาทปิดไม่สนิทจะทำให้เกิดความบกพร่องใน หลอดประสาทที่ก่อให้เกิดความผิดปกติในกระดูกสันหลังที่เรียกว่า Spina bifida

เนื่องจากวิตมินบีชนิดโฟลิคเอซิดสามารถป้องกันความบกพร่องเหล่านี้ได้หากมารดารับประทานวิตมินเสริมชนิดนี้ก่อนหรือทันที่ที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ด็อกเตอร์สุเรนและทีมนักวิจัยต้องการค้นหาคำตอบว่าวิตมินบีชนิดนี้จะสามารถช่วยป้องกันโรคออติสซึ่มได้หรือไม่เพราะเป็นความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองชนิดหนึ่ง

ด็อกเตอร์พอล สุเรน หัวหน้าการวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าทีมวิจัยทำการค้นคว้าข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของผู้หญิงสองกลุ่ม โดยแม่กลุ่มแรกรับประทานโฟลิคเอซิดตั้งเเต่เริ่มตั้งครรภ์ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเริ่มกินโฟลิคเอซิดในช่วงหลังตั้งครรภ์สามเดือนแรก

ผลปรากฏว่าหญิงที่รับประทานโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งท้อง ทารกในครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับหญิงที่เริ่มรับประทานโฟลิคเอซิดล่าช้าคือเริ่มในระยะหลังสามเดือนเเรกของตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรคออติสซึ่มจะไม่ลดลงเลย ด็อกเตอร์ เอสร่า ซัสเช่อร์ ผู้เชี่ยงชาญแห่งมหาวิทยาลัย Columbia เป็นหนึ่งในผู้ร่างผลการวิจัยนี้

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการเริ่มต้นรับประทานโฟลิคเอซิดเสริมกับระยะของการตั้งครรภ์มีความเกี่ยวพันกันมากหากต้องการลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่ม ผู้หญิงควรเริ่มกินโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งหลังตั้งครรภ์ได้สองเดือน

ผลการสำรวจโดย The March of Dimes หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กภาคเอกชนในสหรัฐ เปิดเผยว่า ผู้หญิงชาวสหรัฐน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์รู้ว่าโฟลิคเอซิดช่วยลดความพิการของทารกตั้งแต่ในครรภ์

ด็อกเตอร์เอ็ด แม็คแคบ แห่งหน่วยงาน The March of Dimes กล่าวว่าสาเหตุมาจากปัญหาสองประการ ปัญหาแรกคือการตั้งครรภ์ส่วนมากเกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผน ผู้หญิงไม่คิดว่าตัวเองจะตั้งท้อง จึงไม่ได้กินโฟลิคเอซิดเป็นการล่วงหน้า ปัญหาที่สองเกิดจากความไม่รู้ เขากล่าวว่าผู้หญิงสหรัฐจำนวนมากไม่รู้ถึงความสำคัญของโฟลิคเอซิดต่อการพัฒนาในช่วงเริ่มต้นของตัวอ่อนในครรภ์

หน่วยงาน The March of Dimes หวังว่าผลการวิจัยชิ้นใหม่นี้จะช่วยสร้างความตื่นตัวแก่คนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้

Carol Pearson

16.05.2013

ที่มา : www.voathai.com

.

Related Article :

.

Folic Acid Supplements Shown To Reduce Risk Of Autism

Doctors generally recommend that women take folic acid supplements if they plan to become pregnant – because the B-vitamin reduces the risk of life-threatening birth defects in their newborn.  The March of Dimes, a private U.S. group that promotes maternal and child health, goes one step further.  It urges that all women of childbearing age take these supplements, even if they are not planning a pregnancy.  A new study finds that folic acid supplements may also reduce the risk of a brain development disorder known as autism.

Green, leafy vegetables, fruits and nuts naturally contain folate, a B vitamin that helps the body make healthy new cells.  Most pre-natal vitamins include folic acid because it protects against defects in the formation of the neural tube, the precursor to the central nervous system.

Dr. Pal Suren is with the Norwegian Institute of Public Health:

“The neural tube is the origin of the human brain in the fetus and closes very early in development, and the neural tube defect is when this tube doesn’t close properly,” said Suren..

Neural tube defects include spina bifida, a defect of the spine, as well as some brain defects.  Since taking folic acid supplements before or right after becoming pregnant prevents these defects, Dr. Suren and his colleagues wanted to find out if the supplements could also prevent autism. They asked thousands of pregnant women to record all dietary supplements they took.  After the children were born, the researchers reviewed the rate of autism.

“We went back to the data we had from early pregnancy and compared those mothers who had taken folic acid to those who hadn’t taken any folic acid,” he said.

They found that the women who took folic acid supplements in early pregnancy had a 40 percent reduction in the risk of having a child with autism.  But for those who started taking it in mid-pregnancy, there was no reduced risk. Dr. Ezra Susser of Columbia University was one of the co-authors.

“There’s a sensitive period in which folic acid supplements need to be taken in order to reduce the risk of autism,” said Susser. “The period begins before pregnancy and continues approximately two months after pregnancy.”

A recent survey conducted by the March of Dimes found that less than 30 percent of American women are aware that folic acid helps to prevent birth defects.

The March of Dimes’ Dr. Ed McCabe says this is the result of two problems.

“Many pregnancies are unplanned, so women aren’t thinking they are going to become pregnant, and therefore [that] they need to be on folic acid,” said McCabe. “And then a lot of women don’t know the importance of folic acid when they are becoming pregnant.”

The March of Dimes hopes the new research will raise public awareness of the critical role folic acid plays in protecting babies’ developing brains. The study was published in The Journal of the American Medical Association.

Carol Pearson

April 17, 2013

SOURCE : www.voanews.com

‘ข้าวกล้อง’ พระเอกตัวจริง

ไขข้อสงสัย ข้าวกล้อง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์มากกว่า ข้าวขาว อย่างไร? กับคอลัมนิสต์น้องใหม่ในแวดวงสุขภาพ @princessfangy กูรูด้านวิทยาศาสตร์อาหาร ประเดิมเรื่องแรกในคอลัมน์ ‘กินดี’ กับเรื่องข้าว ๆ

‘ข้าว’ อาหารจานหลักที่คนไทยส่วนใหญ่ขาดไม่ได้ทุกมื้อ จัดเป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับร่างกายของเรา

แล้วทราบไหมคะว่า ข้าว จัดเป็นอาหารที่เรารับประทานกันในปริมาณมากที่สุดในชีวิตเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น กล่าวคือถ้าคำนวณด้วยหลักว่า พวกเราทานข้าวมื้อละ 100 กรัม หรือคิดเป็นปริมาณแค่ราวๆ 1 ทัพพีเองนะคะ เดือนๆ นึงข้าวที่เราทานกันจะมีน้ำหนักเกือบ 10 กิโลกรัมต่อคนเลยทีเดียวเชียวค่ะ

ในเมื่อเราทานกันในปริมาณที่เยอะขนาดนี้ ถ้าจะเรียกว่าข้าวนั้นเป็นพระเอกในมื้ออาหารไทยก็คงไม่ผิดนัก ฉะนั้น เราน่าจะลองหันมาใส่ใจกับพระเอกแห่งมื้ออาหารของเราดูว่า ข้าวแบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นพระเอกตัวจริงกันสักนิดดีไหมคะ

ข้าว ที่เรารับประทานกันส่วนใหญ่เป็นข้าวที่ผ่านการขัดสี จนได้เป็นข้าวขาว เมล็ดเรียวๆ สวยๆ  ทราบไหมคะว่า กว่าจะได้ข้าวขาว ๆ สวย ๆ แบบนี้นั้น ต้องผ่านการขัดสีหลาย ๆ ครั้ง จนเยื่อหุ้มของเมล็ดข้าวที่เรียกอีกชื่อว่า ‘รำ’ และจมูกข้าวหลุดออกไปจนเหลือแต่เนื้อในของข้าว ทั้งที่ความจริงแล้ว รำข้าวและจมูกข้าวที่หลุดออกไปนั้นมีคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แต่เรากลับเอาส่วนที่มีประโยชน์ที่สุดในเมล็ดข้าวหรือรำนั้น ไปให้พี่หมูน้องหมูทานแทนเรากัน ดูสิคะ!!

ปัจจุบันมีผู้ที่ใส่ใจสุขภาพหันมาทานข้าวแบบไม่ขัดสีหรือที่เรียกกันว่า ‘ข้าวกล้อง’ กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น สมัยที่เรายังเด็ก อาจเคยได้ยินคนโบราณเขาเรียกข้าวประเภทนี้ว่า ‘ข้าวซ้อมมือ’ ซึ่งนี่แหละค่ะคือพระเอกตัวจริงของเรา

ความจริง ไม่ว่าจะเรียกข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ก็คือข้าวที่มีประโยชน์ชนิดเดียวกันนั่นเองค่ะ แต่ที่คนโบราณเรียกว่าข้าวซ้อมมือนั้น ก็เพราะสมัยก่อนชาวบ้านจะใช้วิธีการตำข้าวด้วยมือ เพื่อเอาเปลือกออกไป ซึ่งปัจจุบันใช้การสีเอาเปลือกออกด้วยเครื่องสีข้าวแทน

สงสัยไหมคะว่า ข้าวกล้องมีสารอาหารที่มีประโยชน์ ที่ทำให้เป็นพระเอกตัวจริงมากกว่าข้าวขาวอย่างไร? มาดูกันค่ะ

อันดับแรกเลย คาร์โบไฮเดรตหรือพลังงานในข้าวอาจจะไม่ต่างกัน แต่สิ่งที่ช่วยให้พระเอกอย่างข้าวกล้องดูจะเหนือกว่าพระรองอย่างข้าวขาวนั้น คือวิตามินในกลุ่มบี ไม่ว่าจะเป็น วิตามินบี 1 ที่ข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวขาวถึง 4 เท่า วิตามินบี 2 มี มากกว่าข้าวขาวประมาณ 2 เท่า อีกทั้งวิตามินบี 3 (ไนอาซีน) หรือวิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก) บี 6 ที่มีมากกว่าข้าวขาวตั้ง 5 เท่าเลยนะคะ

วิตามินบีต่างๆที่กล่าวมานี้ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำดี อารมณ์ดี ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมความฟิตของกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยรักษาโรคเหน็บชา เพิ่มความแข็งแรงของเยื่ออ่อนในร่างกาย เช่นเยื่อตา เยื่อบุในปาก และยังช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตอีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ทั้งยังช่วยในเรื่องการขยายหลอดเลือดฝอย ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ลดการอุดตันของเส้นเลือด แถมยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยในการผลัดผิวหนังขึ้นมาใหม่ ช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลิน ทำให้ระบบประสาทดีขึ้น และยังเชื่อว่าทำลายฤทธิ์ของสารก่อมะเร็งได้ด้วย

ถัดมาข้าวกล้องยังมีกากอาหาร (Fiber) ซึ่งช่วยระบบขับถ่าย ไม่ทำให้ท้องผูก และยังช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย นอกจากนี้พระเอกตัวจริงของเรายังมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ มากกว่าข้าวขาว ที่ช่วยในการส่งเสริมการทำงานของส่วนต่างๆในร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ

ส่วนใครที่รู้สึกว่าข้าวกล้องมีสีสันไม่น่าทานแถมยังแข็งไม่นุ่มลิ้น แนะนำให้ผสมข้าวขาวเล็กน้อยก่อนในระยะแรก ๆ อาจตามด้วยแครอท ข้าวโพด เห็ดหอม และเมล็ดแตงโม เพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ และเพิ่มสีสัน ความอร่อยให้กับข้าวกล้องได้อีกนะคะ

ถึงตอนนี้ก็พอจะรู้จักพระเอกตัวจริงหรือข้าวกล้องกันแล้ว รู้ขนาดนี้แล้วอย่าลืมหาข้าวกล้องมาฝึกทานให้เป็นประจำทดแทนข้าวขาวที่เคยทานอยู่

ฝรั่งเขาบอกว่า You are what you eat ทานอะไรก็เป็นแบบนั้น ดังนั้นใส่ใจสักนิดเลือกพระเอกตัวจริงไว้ในทุกมื้ออาหาร จะได้ทานอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกันดีกว่าค่ะ.

“PrincessFangy”
twitter.com/PrincessFangy

 

ที่มา: เดลินิวส์ 7 กันยายน 2555