คนไข้โรคมดลูกกลายร่างเป็นนางงาม หมอปวดขมับจับต้นชนปลายไม่ถูก

หมอเมืองมะกะโรนีอดพิศวงไม่ได้ว่า พวกคนไข้หญิงที่ป่วยด้วยโรคเนื้อเยื่อมดลูก ไปเกิดในที่ต่างๆ นอกมดลูก บริเวณช่องเชิงกรานอย่างรุนแรง กลับมีรูปร่างหน้าตาสวยงามผิดปกติ ชักอดสงสัยไม่ได้ การมีหน้าตาดีอาจเป็นอาการของโรคเฉพาะของผู้หญิง ซึ่งมีอาการเจ็บปวดโรคนี้หรือไม่ตามธรรมชาติแล้ว ความสวยงามของผู้หญิง จะเนื่องมาจากการมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนสูง

ดร.เปาโล เวอเซลลินิ สูติแพทย์และนรีเแพทย์ มหาวิทยาลัยเดกลี สตูดี มีความเห็นว่า “อาจจะเพราะฮอร์โมนสูงไปส่งเสริมให้เป็นโรคก็ได้” และบอกว่า สตรีที่เป็นโรคเฉพาะนี้ จะมีอยู่มากประมาณร้อยละ 5-10

ผลจากการตรวจร่างกายพบว่า พวกเธอแต่ละคนจะมีรูปร่างดี ไม่อ้วน ทรวงอกขยายใหญ่กว่าตอนก่อนหน้าที่จะเจ็บป่วย.

ที่มา: ไทยรัฐ 28 กันยายน 2555

.

Related Articles:

.

Study suggests women with severe forms of endometriosis are more attractive

September 24, 2012 by Bob Yirka in Obstetrics & gynaecology

(Medical Xpress)—In a truly odd study undertaken by a group of OB/GYN researchers in Italy, volunteer women were judged to determine if a medical condition known as endometriosis causes those afflicted to be viewed as more attractive by other people. The team found, as they describe in their paper published in the journal Fertility and Sterility, that women with a severe form of the disorder were far more likely to be seen as attractive than women in the general population.

Endometriosis is a condition where cells that are normally only found on the lining of the uterus for some reason begin to grow on other body parts in the pelvis, e.g. the ovaries, anus, bladder and also respond to fluctuations in hormone levels the same way as they would in the uterus, i.e. they grow thicker then shrink during the menstrual cycle. This causes bleeding and pain and also, apparently, a heightened state of attractiveness, at least to some doctors. The cause of the disorder is not known, though researchers suspect it has something to do with estrogen levels.

In the study, which some might consider a bit outside of the normal realm of strong science, a team made up of two male and two female doctors met with three groups (100 women each) of female volunteers (all in their early thirties or late twenties); those that suffered from the severe type of endometriosis known as rectovaginal endometriosis, those that suffered from a much less serious form of the disorder, and those that did not have the disorder at all. In tallying up the results, the researchers found that 31% of the women in the rectovaginal group were deemed to be attractive by the judges, while just 8 and 9% of those with the less severe form of the disorder or no disorder, respectively, were deemed as such. This, they say, shows that severe forms of endometriosis either cause women to be more attractive, or that the conditions that cause one to come about, also cause the other to do so as well.

What’s not clear is why the study was conducted or what sort of science was advanced by the results. The researchers also found that women with rectovaginal endometriosis also had larger breasts than average and a lower body mass index, which no doubt contributed to their attractiveness scores, but didn’t lead to any explanations as to why such differences exist in women with the disorder or how future studies focused on it might use what has been learned to either treat it, or help other women expand their bust lines or lower their BMI.

Journal reference: Fertility and Sterility 

SOURCE : medicalxpress.com

ไขข้อข้องใจกับโรคช็อกโกแลตซีสต์

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของโรคช็อกโกแลตซีสต์ หรือโรคที่ทางการแพทย์เรียกว่า โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งหมายถึง โรคที่มีภาวการณ์เจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่

ลักษณะอาการ โดยปกติแล้วเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะเจริญเติบโตภายในโพรงมดลูก  แต่ถ้ามีการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดที่จะทำให้เกิดอาการ ซึ่งอาการแสดงของโรคนี้แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ชนิดที่พบภายนอกมดลูก เป็นชนิดที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่มักพบบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ รังไข่ ท่อนำไข่ เยื่อบุช่องท้อง รวมถึงอวัยวะใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ ท่อไต ลำไส้เล็ก ปอด สมอง และบริเวณผิวหนัง หรือแผลผ่าตัด เป็นต้น อีกชนิดพบได้ในกล้ามเนื้อมดลูก อันเกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญแทรกอยู่ในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนและตรวจพบว่ามดลูกมีขนาดโตขึ้น โดยทั่วไปโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะหมายถึง ชนิดที่พบภายนอกมดลูก

ช็อกโกแลตซีสต์ และคำว่า ซีสต์ หมายถึง ถุงน้ำ ช็อกโกแลตซีสต์ จึงเป็นอาการแสดงหนึ่งของโรคเยื่อบุโพรงมดเจริญผิดที่ โดยตัวโรคไปเกิดขึ้นที่รังไข่ในลักษณะของถุงน้ำ ที่เราเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ เพราะลักษณะของถุงน้ำในโรคนี้ ภายในมีของเหลวที่มีลักษณะคล้ายกับช็อกโกแลต

สำหรับสาเหตุของการเกิดถุงน้ำช็อกโกแลต เชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดระดู หรือประจำเดือนมีการไหลย้อนกลับเข้าไปในอุ้งเชิงกราน ผ่านทางท่อนำไข่ ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาผู้หญิงมีประจำเดือน นอกจากเลือดประจำเดือนจะไหลออกมาทางช่องคลอดแล้ว จะมีเลือดบางส่วนไหลผ่านท่อนำไข่เข้าไปในอุ้งเชิงกราน โดยเลือดประจำเดือนนี้จะมีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะมีกลไกในการกำจัดเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้ แต่ในผู้หญิงบางคนมีความผิดปกติของกลไกในการกำจัดเซลล์เหล่านี้ ทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมานั้น ไปฝังตัวตามจุดต่าง ๆ ในอุ้งเชิงกราน รวมถึงรังไข่ และเจริญเติบโตจนทำให้เกิดถุงน้ำขึ้น เวลาที่เรามีประจำเดือน เซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ในถุงน้ำก็จะมีเลือดออกเข้าไปในถุงน้ำนั้นด้วย เมื่อเวลาผ่านไป น้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบในถุงเลือดนั้นจะถูกดูดซึมกลับ ทำให้เลือดในถุงมีลักษณะเข้มขึ้น และเมื่อค้างอยู่นาน ๆ ก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต เราจึงเรียกว่า ถุงน้ำช็อกโกแลต หรือ ช็อกโกแลตซีสต์

ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคนี้สูงจะสัมพันธ์กับการมีประจำเดือน พบว่าสตรีที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนเพื่อน ๆ สตรีที่เข้าสู่ภาวะวัยหมดประจำเดือน(วัยทอง) ช้ากว่าปกติ สตรีที่มีประจำเดือนออกมากและออกนานหลายวัน สตรีที่รอบเดือนมาถี่หรือระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้น สตรีที่มีแม่ พี่สาว หรือน้องสาวเป็นโรคนี้ สตรีที่มีลูกคนแรกตอนอายุมาก ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีที่ดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟมาก ๆ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สูงขึ้น

สำหรับอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นถุงน้ำช็อกโกแลต ได้แก่ อาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ นอกจากนี้อาจมีอาการปวดท้องน้อยขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดท้องน้อยเรื้อรัง (มีอาการปวดท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน) มีบุตรยาก ในบางคนคลำได้ก้อนที่ท้องน้อย หรือบางคนอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด ส่วนน้อยอาจมีอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของโรค เช่น มีก้อนโตขึ้นและปวดในช่วงที่เป็นประจำเดือน หรือมีอาการไอเป็นเลือดในช่วงเป็นประจำเดือน เนื่องจากมีเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญที่ปอด เป็นต้น

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการปวดประจำเดือนนั้น เป็นอาการปวดประจำเดือนตามปกติที่ผู้หญิงเป็นกัน หรือเป็นจากภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในเรื่องนี้แนะนำให้ดูที่อายุ และลักษณะอาการปวดประจำเดือนที่เป็น ถ้าอายุยังไม่มากแล้วมีอาการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน โดยเริ่มมีอาการปวดประจำเดือนตั้งแต่เริ่มเป็นประจำเดือนครั้งแรก อาการปวดเป็นเท่า ๆ เดิมไม่ได้ปวดรุนแรงขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดประจำเดือนธรรมดา แต่ถ้าอายุมากขึ้น แล้วอยู่ ๆ มาเริ่มมีอาการปวดประจำเดือน หรืออาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เดิมมีอาการปวดประจำเดือนไม่มาก พอทนได้ หรือทานเพียงยาพาราเซตามอลก็หาย แต่ต่อมาอาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น ต้องทานยาแก้ปวดปริมาณมากขึ้น หรือต้องทานยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงขึ้น มีอาการปวดจนต้องหยุดเรียน หยุดงาน หรือปวดจนรบกวนชีวิตประจำวัน หรือบางคนถึงขั้นต้องไปฉีดยาแก้ปวดที่คลินิกหรือโรงพยาบาล อาการดังกล่าวค่อนข้างบ่งชี้ว่า น่าจะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่


หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าโรคช็อกโกแลตซีสต์นี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร ภาวะนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดประจำเดือน ทำให้เราต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปวด ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง บางครั้งส่งผลทางด้านการงานและสังคม ทำให้เราต้องหยุดเรียน หรือหยุดงานเนื่องจากอาการปวด ในบางคนเกิดการแตกของถุงน้ำ จะทำให้เกิดอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน ซึ่งอาจต้องได้รับการผ่าตัดแบบฉุกเฉิน นอกจากนั้นโรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากโรคนี้มักจะทำให้เกิดพังผืดในอุ้งเชิงกราน บางรายเป็นมากจนทำให้เกิดการอุดตันของท่อนำไข่ ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องรักษาโดยการผ่าตัด หรือต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว สำหรับบางท่านกังวลว่า ช็อกโกแลตซีสต์นี้สามารถกลายเป็นมะเร็งได้ไหม ซึ่งจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า โอกาสที่โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้นจะกลายเป็นมะเร็ง มีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1%

ในกรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ แนะนำให้พบสูตินรีแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจภายใน ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวด์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์นั้นอาจทำการตรวจทางหน้าท้อง หรือตรวจทางช่องคลอด ซึ่งแพทย์จะเลือกตรวจตามความเหมาะสม แต่สำหรับการวินิจฉัยที่แน่นอนที่สุดคือ การส่องกล้องเข้าไปในช่องท้อง ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อเล็ก ๆ เอามาตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งการตรวจโดยวิธีส่องกล้องนี้ไม่จำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกคน แพทย์จะทำเมื่อเห็นว่ามีความเหมาะสม

การรักษาโรคนี้ หลัก ๆ มี 3 วิธี คือ การใช้ยา การผ่าตัด หรือใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน โดยวิธีการรักษาจะคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ อาการของผู้ป่วย อายุ ความต้องการมีบุตร และความรุนแรงของโรค โดยการรักษาแบบใช้ยามีทั้งการใช้ยาในกลุ่มที่มีฮอร์โมน และไม่มีฮอร์โมน ส่วนการผ่าตัดก็มีทั้งวิธีการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง หรือวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ซึ่งวิธีการผ่าตัดส่องกล้องจะมีข้อดีคือ แผลเล็ก ปวดแผลน้อย ใช้เวลานอนรักษาในโรงพยาบาลหรือการพักฟื้นหลังผ่าตัดสั้นกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แต่ว่าวิธีการผ่าตัดแบบส่องกล้องนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า และต้องอาศัยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งวิธีการรักษานั้น แพทย์จะเลือกตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย

สุดท้ายนี้ ขอแนะนำว่า ในกรณีที่เรามีอาการปวดประจำเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดนั้นรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือมีอาการอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น ขอให้ท่านรีบไปปรึกษาสูตินรีแพทย์ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

อาจารย์นายแพทย์ศรีเธียร เลิศวิกูล
ภาควิชาสูติศาสตร์ – บริเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ที่มา: เดลินิวส์ 11 กุมภาพันธ์ 2555