โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด หรือ Ankylosing Spondylitis

ramachannel140715_01โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด หรือ Ankylosing Spondylitis มีการค้นพบตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ แต่มีการค้นคว้าวิจัยมากขึ้นเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว หรืออาจเรียกว่า โรค Bekhterev หรือ โรค Marie – Strümpell เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับยีน HLA – B27 พบได้ทั้งชาวเอเชียและยุโรปแต่ชาวเอเชียพบได้น้อยกว่า

ปัจจุบันยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ผลของโรคทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตัวข้อต่อกระดูกสันหลัง และข้อต่ออื่น(ข้อเข่า, ข้อตะโพก, ข้อไหล่, ซี่โครง) และมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ, เอ็นยึดกระดูก ผลจากการอักเสบทำให้ร่างกายสร้างกระดูกมาแทนที่ส่วนที่อักเสบเกิดการเชื่อมติดกันของกระดูก หากมองจากภาพ X – ray จะเห็นกระดูกสันหลังเชื่อมติดกันเป็นปล้องไม้ไผ่ นอกจากนี้แล้วตัวโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบของตา, หัวใจ, ปอด, ไต และทางเดินอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่การอักเสบมักเริ่มต้นที่ข้อต่อเชื่อมกระดูกสันหลังกับเชิงกรานกระจายขึ้นไปตลอดแนวกลางกระดูกสันหลัง

ผลจากการเชื่อมติดกันของกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้อ มีผลให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ลดลง จะเห็นท่าทางการเดินที่แข็งไม่เป็นธรรมชาติ, เวลามองด้านข้างต้องหันทั้งตัว, ยืนไหล่ห่องอตัว, หน้ายื่นคอยื่น, ยืนก้มแตะปลายเท้าได้น้อย เป็นต้น หากกระทบกับข้อต่อซี่โครงทำให้ปอดขยายตัวได้ลดลง ส่งผลต่อการหายใจ ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย นอกจากการเคลื่อนไหวที่ลดลงแล้ว อาการที่สำคัญคือปวดบริเวณหลังและก้น หรือตามข้อที่มีปัญหาโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาการค่อยเป็นค่อยไป อาการจะแย่ลงหากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหว ซึ่งต่างจากอาการปวดหลังธรรมดา ซึ่งมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวผิดท่า เช่น เอี้ยวบิดตัว, ก้มหลังเป็นเวลานาน เป็นต้น และอาการจะดีขึ้นหากได้พัก แต่จะแย่ลงหากมีการเคลื่อนไหวซ้ำ 

ramachannel140715_02

ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้

1. พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วน 3 : 1
2. อายุน้อยกว่า 45 ปี
3. อาการหลังฝืดแข็งในตอนเช้าเป็นเวลามากกว่า 30 นาที
4. ต้องตื่นขึ้นมาหลังจากนอนนานมากกว่า 30 นาที เพราะอาการปวด แต่จะดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นเปลี่ยนท่า
5. อาการปวดและฝืดแข็งจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย แต่จะแย่ลงหากอยู่นิ่ง
6. มีอาการปวดหลังเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน และจะต้องมีอาการก่อนอายุ 45 ปี มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้

ramachannel140715_03
การรักษาในปัจจุบันไม่สามารถรักษาตัวโรคให้หายขาดได้เพียงแต่ระงับการกระตุ้นของโรคซึ่งการรักษาแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การรักษาทางยา และการรักษาทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาควบคู่กันไป

1. การรักษาทางยา แบ่งยาเป็น 3 ชนิด คือ

– ยาในกลุ่ม NSAIDs เพื่อลดอาการปวด และการอักเสบ
– ยาในกลุ่ม Steroids เพื่อลดการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Corticosteroids, sulfasalazine เป็นต้น
– TNFα blocker มีประสิทธิภาพในการกดภูมิคุ้มกันสูง แต่มีราคาแพง

2. การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นส่วนสำคัญในการรักษาระยะยาวซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อลด อาการปวด คงสภาพ และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ (ข้อต่อกระดูกสันหลัง, ซี่โครง, ข้อเข่า, ข้อตะโพก และข้อไหล่) และป้องกันการผิดรูปของข้อต่อที่มีปัญหาให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตสูงสุดที่พึงมี การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

2.1 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเน้นกล้ามเนื้อในการแอ่นหลังและเหยียดตะโพกเนื่องจากการทรงท่ามักอยู่ในท่างอจำเป็นต้องเพิ่มกำลังด้านหลังต้านการงอ

2.2 การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อยืดและคงสภาพการเคลื่อนไหวของเนื้อเยื่อรอบข้อป้องกันการหดรั้งและการผิดรูปของข้อต่อ ยืดค้างนาน 10 วินาที ข้างละ 5 – 10 ครั้งต่อเซต ระหว่างออกกำลังกายจะรู้สึกตึงแต่ต้องไม่เจ็บ

2.3 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจของทรวงอกให้มีการขยายตัวอยู่เสมอ

(ดูภาพประกอบเพิ่มเติมได้ที่http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic/index.php?option=com_content&view=article&id=300%3Amyelitis&catid=52%3A2009-03-13-03-22-32&Itemid=108&limitstart=4)

ข้อแนะนำบางประการ

1. หากคุณมีความเสี่ยงหรืออาการดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์ด้านอายุรศาสตร์โรคข้อและนักกายภาพบำบัด เพื่อวินิจฉัยตรวจคัดกรองและให้การรักษาเพราะหากตรวจพบได้เร็วจะเป็นผลดีกับท่านเพื่อชะลอการดำเนินโรคและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
2. การรักษาทางยาจะต้องรักษาควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดเสมอ
3. ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดจะต้องออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
4. ควรเปลี่ยนท่าทุก 30 นาที ไม่ควรอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป
5. พยายามหนุนหมอนอย่าเกิน 1 ใบเท่าที่พอทำได้ และหมอนห้ามหนุนมาที่ไหล่เพราะจะทำให้ไหล่ยิ่งงุ้มมากขึ้น
6. ท่าทางในการนั่ง, ยืน, เดิน ไม่ควรนั่งในท่าหลังค่อมไหล่ห่องอตัว แต่จะต้องยืดตัวให้ตรง เพราะหากอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานมีผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงทำให้ไม่สามารถตั้งตัวตรงอย่างถาวร
7. หากจำเป็นต้องขับรถยนต์ควรหาอุปกรณ์เสริมกระจกมองข้างเพื่อเห็นภาพด้านหลังชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องหันมองสุดตัว เพราะผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดจะมีปัญหาการเคลื่อนไหวคอที่จำกัดร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก กภ.พิทยุตม์ โตขำ ศูนย์กายภาพ คณะกายภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : https://www.facebook.com/Ramachannel

.

Related Article:

 

คลิปวิดีโอ คุณวุฒิชัย เจียมทวีวิบูลย์ กับโรคกระดูกสันหลังยึดติด

ผู้ป่วยโรค AS ซึ่งหายจากโรค  AS

รายการหนี้แผ่นดิน สุขภาพดีกับพรีม่า ช่วง “สายใยความหวัง”
ตอน กระดูกสันหลังยึดติด
โดย คุณวุฒิชัย เจียมทวีวิบูลย์ กรรมการชมรมสายใยความหวังผู้ป่วย

โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด โดย กภ.พิทยุตม์ โตขำ

กระดูกสันหลังเป็นแกนกลางของร่างกายประกอบด้วยกระดูกจำนวน 24 ชิ้นเชื่อมเป็นข้อต่อ แยกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนคอ, อก และเอว นอกจากนั้นกระดูกสันหลังส่วนเอวยังเชื่อมกับกระดูกเชิงกรานเป็นข้อต่อ โดยกระดูกสันหลังมีหน้าที่ป้องกันไขสันหลังซึ่งเป็นทางเดินของกระแสประสาทมายังอวัยวะส่วนอื่นให้พร้อมทำหน้าที่ และเป็นตัวรับส่งแรงในการเคลื่อนไหวส่วนที่อยู่สูงและต่ำกว่า เปรียบเสมือนส่วนลำต้นไม้ซึ่งมีท่อน้ำเลี้ยง รับอาหารมาจากส่วนรากส่งผ่านไปยังส่วนกิ่งก้านใบด้านบน ในทางกลับกันเมื่อส่วนบนมีการสังเคราะห์แสงจะส่งผ่านผลผลิตที่ได้ไปยังรากด้วย

กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวหลายทิศทางได้แก่ ก้ม – เงย, เอียงซ้าย – ขวา และหมุนซ้าย – ขวา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน หลังที่ดีจำเป็นต้องมีความแข็งแรงและความยืดหยุ่นที่ดีตามด้วย หากหลังมีการเคลื่อนไหวลดลง หรือแข็ง เคลื่อนไหวไม่ได้ จะเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตอย่างมาก โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดมีผลให้กระดูกสันหลังที่อักเสบเชื่อมติดกัน ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไหวได้ลดลง หรืออาจเคลื่อนไหวไม่ได้อย่างถาวร

โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด หรือ Ankylosing Spondylitis มีการค้นพบตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ แต่มีการค้นคว้าวิจัยมากขึ้นเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่แล้ว หรืออาจเรียกว่า โรค Bekhterev หรือ โรค Marie – Strümpell เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับยีน HLA – B27 พบได้ทั้งชาวเอเชียและยุโรปแต่ชาวเอเชียพบได้น้อยกว่า ปัจจุบันยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ ผลของโรคทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของตัวข้อต่อกระดูกสันหลัง และข้อต่ออื่น(ข้อเข่า, ข้อตะโพก, ข้อไหล่, ซี่โครง) และมีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อ, เอ็นยึดกระดูก ผลจากการอักเสบทำให้ร่างกายสร้างกระดูกมาแทนที่ส่วนที่อักเสบเกิดการเชื่อมติดกันของกระดูก 

หากมองจากภาพ X – ray จะเห็นกระดูกสันหลังเชื่อมติดกันเป็นปล้องไม้ไผ่ นอกจากนี้แล้วตัวโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบของตา, หัวใจ, ปอด, ไต และทางเดินอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่การอักเสบมักเริ่มต้นที่ข้อต่อเชื่อมกระดูกสันหลังกับเชิงกรานกระจายขึ้นไปตลอดแนวกลางกระดูกสันหลัง

ผลจากการเชื่อมติดกันของกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้อ มีผลให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ลดลง จะเห็นท่าทางการเดินที่แข็งไม่เป็นธรรมชาติ, เวลามองด้านข้างต้องหันทั้งตัว, ยืนไหล่ห่องอตัว, หน้ายื่นคอยื่น, ยืนก้มแตะปลายเท้าได้น้อย เป็นต้น หากกระทบกับข้อต่อซี่โครงทำให้ปอดขยายตัวได้ลดลง ส่งผลต่อการหายใจ ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย นอกจากการเคลื่อนไหวที่ลดลงแล้ว อาการที่สำคัญคือปวดบริเวณหลังและก้น หรือตามข้อที่มีปัญหาโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน อาการค่อยเป็นค่อยไป อาการจะแย่ลงหากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหว ซึ่งต่างจากอาการปวดหลังธรรมดา ซึ่งมีสาเหตุจากการเคลื่อนไหวผิดท่า เช่น เอี้ยวบิดตัว, ก้มหลังเป็นเวลานาน เป็นต้น และอาการจะดีขึ้นหากได้พัก แต่จะแย่ลงหากมีการเคลื่อนไหวซ้ำ

ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้

  • พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อัตราส่วน 3 : 1
  • อายุน้อยกว่า 45 ปี
  • อาการหลังฝืดแข็งในตอนเช้าเป็นเวลามากกว่า 30 นาที
  • ต้องตื่นขึ้นมาหลังจากนอนนานมากกว่า 30 นาที เพราะอาการปวด แต่จะดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นเปลี่ยนท่า
  • อาการปวดและฝืดแข็งจะดีขึ้นเมื่อมีการขยับเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย แต่จะแย่ลงหากอยู่นิ่ง
  • มีอาการปวดหลังเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน และจะต้องมีอาการก่อนอายุ 45 ปี มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้

การรักษาในปัจจุบันไม่สามารถรักษาตัวโรคให้หายขาดได้เพียงแต่ระงับการกระตุ้นของโรคซึ่งการรักษาแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การรักษาทางยา และการรักษาทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาควบคู่กันไป

1. การรักษาทางยา แบ่งยาเป็น 3 ชนิด คือ

  • ยาในกลุ่ม NSAIDs เพื่อลดอาการปวด และการอักเสบ
  • ยาในกลุ่ม Steroids เพื่อลดการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Corticosteroids, sulfasalazine เป็นต้น
  • TNFα blocker มีประสิทธิภาพในการกดภูมิคุ้มกันสูง แต่มีราคาแพง

2. การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นส่วนสำคัญในการรักษาระยะยาวซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อลด อาการปวด คงสภาพ และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ (ข้อต่อกระดูกสันหลัง, ซี่โครง, ข้อเข่า, ข้อตะโพก และข้อไหล่) และป้องกันการผิดรูปของข้อต่อที่มีปัญหาให้น้อยที่สุด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตสูงสุดที่พึงมี การออกกำลังกายแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ

2.1 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเน้นกล้ามเนื้อในการแอ่นหลังและเหยียดตะโพ เนื่องจากการทรงท่ามักอยู่ในท่างอจำเป็นต้องเพิ่มกำลังด้านหลังต้านการงอ

2.2 การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นเพื่อยืดและคงสภาพการเคลื่อนไหวของเนื้อเยื่อรอบข้อป้องกันการหดรั้งและการผิดรูปของข้อต่อ ยืดค้างนาน 10 วินาที ข้างละ 5 – 10 ครั้งต่อเซต ระหว่างออกกำลังกายจะรู้สึกตึงแต่ต้องไม่เจ็บ

2.3 การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายใจของทรวงอกให้มีการขยายตัวอยู่เสมอ

ข้อแนะนำบางประการ

  1. หากคุณมีความเสี่ยงหรืออาการดังที่กล่าวมาควรรีบปรึกษาแพทย์ด้านอายุรศาสตร์โรคข้อและนักกายภาพบำบัด เพื่อวินิจฉัยตรวจคัดกรองและให้การรักษาเพราะหากตรวจพบได้เร็วจะเป็นผลดีกับท่านเพื่อชะลอการดำเนินโรคและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
  2. การรักษาทางยาจะต้องรักษาควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดเสมอ
  3. ผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดจะต้องออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
  4. ควรเปลี่ยนท่าทุก 30 นาที ไม่ควรอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป
  5. พยายามหนุนหมอนอย่าเกิน 1 ใบเท่าที่พอทำได้ และหมอนห้ามหนุนมาที่ไหล่เพราะจะทำให้ไหล่ยิ่งงุ้มมากขึ้น
  6. ท่าทางในการนั่ง, ยืน, เดิน ไม่ควรนั่งในท่าหลังค่อมไหล่ห่องอตัว แต่จะต้องยืดตัวให้ตรง เพราะหากอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานมีผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงทำให้ไม่สามารถตั้งตัวตรงอย่างถาวร
  7. หากจำเป็นต้องขับรถยนต์ควรหาอุปกรณ์เสริมกระจกมองข้างเพื่อเห็นภาพด้านหลังชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องหันมองสุดตัว เพราะผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติดจะมีปัญหาการเคลื่อนไหวคอที่จำกัดร่วมด้วย

เรียบเรียงโดย กภ.พิทยุตม์ โตขำ

เอกสารอ้างอิง

  1. อัจฉรา กุลวิสุทธิ์. เอกสารประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PTPT 334 คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง Spondylo-arthropathy; 2551.
  2. Khan MA. ANKYLOSING SPONDYLITIS : the facts. 1st ed. London: Oxford University Press; 2002.
  3. Sieper J, Braun J. Ankylosing spondylitis in clinical practice. 1st ed. London: Springer; 2011.
  4. En.Wikipedia.org [home page on the intermet]. Ankylosing Spondylitis [updated on 2011 Nov 15; cited 2011 Nov 25]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Ankylosing_spondylitis

ที่มา: ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล  12 มิถุนายน 2012

.

ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
โทรศัพท์ : 0-2441-5450 โทรสาร : 0-2441-5454

เวลาทำการ
ในเวลาราชการ    วันจันทร์ – ศุกร์ 08.00 – 16.00 น.
นอกเวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ 16.00 – 18.00 น.
วันเสาร์ – อาทิตย์ 08.00 – 16.00 น.
***เปิดบริการ 12.00 – 13.00 น.ทุกวันทำการ***

  • กายภาพบำบัดทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ

ให้บริการด้านคำปรึกษา และตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ ได้แก่ ปวดคอ หลัง ไหล่ เข่า หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ข้อเท้าแพลง นิ้วล็อก ข้อเสื่อม อาการชาตามมือ เท้า ฯลฯ โดยวิธีการตรวจประเมิน วินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด

  • กายภาพบำบัดทางระบบประสาท

ให้บริการด้านคำปรึกษา ตรวจรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังจากอุบัติเหตุ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตครึ่งท่อน หรือทั้งแขนและขา รวมไปถึงโรคจากความเสื่อมของระบบประสาท เช่น โรคพากินสัน อัลไซเมอร์ โดยทำการฝึกให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง ให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ หรือเกือบปกติมากที่สุด ด้วยวิธีการออกกำลังกายและกระตุ้นผ่านทางระบบประสาท

  • กายภาพบำบัดทางเด็ก

ให้บริการด้านคำปรึกษา ตรวจรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาจากสมองพิการ รวมไปถึงการมีพัฒนาการล่าช้า สมาธิสั้น ปัญหาด้านการปรับสภาพจิตใจ การยืน เดิน ไม่ปกติ โดยจะเป็นไปในแนวทางของการกระตุ้นพัฒนาการพร้อมๆ กับการสอนผู้ปกครองในการเข้าถึง ดูแล และปฏิบัติต่อเด็กอย่างถูกต้อง เหมาะสม

  • กายภาพบำบัดทางกีฬา

กายภาพบำบัดทางการกีฬา เป็นการบริการสำหรับนักกีฬาและประชาชนทั่วไปเรื่องการเตรียมความพร้อมของร่างกายในการเล่นกีฬา ทั้งในส่วนของการสร้างความแข็งแรง การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งเน้นให้เกิดความเหมาะสมกับการเล่นกีฬาแต่ละประเภท รวมถึงการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ซึ่งนอกจากได้รับการตรวจประเมิน การรักษาทางกายภาพบำบัดแล้ว จะได้รับการฝึกออกกำลังเพื่อฟื้นสภาพร่างกายให้สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้ และป้องกันการเกิดบาดเจ็บซ้ำ

การบริการกายภาพบำบัดทางกีฬายังมีการให้บริการนอกสถานที่ ณ สนามแข่งขัน เช่นการดูแลประจำทีมนักกีฬามหาวิทยาลัยในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยทุกปี การดูแลการบาดเจ็บเบื้องต้นทางกายภาพบำบัดในการแข่งขันวิ่งครึ่งมาราธอน มาราธอน และกอล์ฟ เป็นต้น

  • กายภาพบำบัดทางด้านการยศาสตร์

ให้บริการด้านคำปรึกษา แก้ผู้ป่วย และบุคคลทั่วไป ทั้งในและนอกสถานที่ เพื่อปรับสภาพงาน วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมภายในที่ทำงาน รวมไปถึงท่าทางในการทำงานให้เหมาะสมกับตัวเอง และปรับการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดการบาดเจ็บ และปัจจัยที่จะนำไปสู่การบาดเจ็บนั้นๆ นอกจากนี้ยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

 

ไบโอมาร์กเกอร์อาจช่วยพยากรณ์ความเสียหายที่เกิดกับกระดูกสันหลังของผู้ป่วยโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing Spondylitis)

ดร. เดนิส พอดดุบนี, CharitéUniversitätsmedizin เบอร์ลิน, เยอรมนี กล่าวว่า งานวิจัยนี้ จะช่วยให้เราแบ่งผู้ป่วย ankylosing spondylitis จากระดับความเสี่ยง และในอนาคตจะปูทางสู่ทางเลือกในการรักษามากขึ้น โดยมุ่งพัฒนามาร์กเกอร์เฉพาะเจาะจง

Deutsch: Kleine Andersson-Läsion bei Morbus Be...

Deutsch: Kleine Andersson-Läsion bei Morbus Bechterw. MRT T1 sagittal. (Photo credit: Wikipedia)

เมื่อเร็ว ๆ นี้ การศึกษาใหม่ได้ระบุคู่ของ ไบโอมาร์เกอร์ส์ ที่อาจคาดการณ์ความก้าวหน้าของโรคในผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด ankylosing spondylitis (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า: AS ), โรคภูมิคุ้มกันอัตโนมัติ เรียกอีกอย่างว่า มอร์บุส เบชทริว (Morbus Bechterew)

การศึกษากับชาวเยอรมนีอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่สำคัญระหว่างความแตกต่างของประเภทผู้ป่วยซึ่งอาจทำนายวิวัฒนาการความเสียหายของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ในอนาคตการตระหนักรู้ถึงของความแตกต่างดังกล่าวจะช่วยให้แพทย์สามารถแบ่งระดับผู้ป่วยเนื่องจากความเสี่ยง  ดังนั้นผลที่ได้จากการศึกษานี้จะช่วยปูทางสู่การพัฒนาทางเลือกการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันอัตโนมัตินี้

English: Bone Density Scan of Individual with ...

English: Bone Density Scan of Individual with Ankylosing Spondilitis. Note: The dark regions between the vertebrae in the joint areas is bone formation through calcification. (Photo credit: Wikipedia)

Read more:

.

Biomarkers may predict the progression of spinal damage in patients with ankylosing spondylitis

June 6, 2012 in Arthritis & Rheumatism

A new study presented today at EULAR 2012, the Annual Congress of the European League Against Rheumatism, has identified five biomarkers that may predict the progression of structural damage in the spine of patients with Ankylosing Spondylitis (AS) who are already at high risk of disease progression.

The German study analysed 64 patients from the German Spondyloarthritis Inception Cohort (GESPIC), due to the presence of radiographic spinal damage (syndesmophytes, the strongest predictor of further damage) and elevated blood level of c-reactive protein (CRP, a marker of systemic inflammation, another recently identified predictor of structural damage progression) at baseline. Patients were divided into two groups, Group I patients (progressors) had syndesmophytes at baseline and new syndesmophyte or syndesmophyte growth after two years. Group II patients (non-progressors) had syndesmophytes at baseline but without progression after two years.

The study found key inter-group differences between the progressors and non-progressors, who were at risk for progression due to the presence of syndesmophytes and elevated CRP at baseline. Those patients whose disease progressed had significantly higher serum levels of the biomarkersmatrix metalloproteinase 3 (MMP3), bone-morphogenetic protein (BMP) 2, procollagen type II N-propeptide (PIINP) and vascular endothelial growth factor (VEGF) and lower levels of the biomarker osteoprotegerin (OPG), indicating that these may predict the progression of structural damage. These data demonstrate that combinations of biomarkers with clinical parameters might help rheumatologists to identify AS patients with bad prognosis already at the early disease stage. Active and appropriate treatment of such patients my improve a long-term outcome and prevent or retard progression of spinal damage.

Dr. Denis Poddubnyy from Charité Universitätsmedizin Berlin, Germany and lead author of the study highlighted the importance of these results: “Knowing more about why certain patients have disease progression is hugely important. Not only will this help us stratify our patients due to risk but may, in the future, pave the way for more treatment options that target specific markers to be developed.”

Patients were assessed via radiographs of the lumbar and cervical spine performed at baseline and after two years of follow up and independently scored by two trained readers. Serum levels of the following biomarkers were examined: CRP, MMP3, sclerostin, Dickkopf 1, periostin, BMP-2, BMP-7, OPG, VEGF, procollagen type I N-propeptide (PINP), PIINP, C-terminal crosslinked telopeptide of type II, bone alkaline phosphatise soluble receptor activator of kB ligand, cartilage oligomeric matrix protein and bone sialoprotein.

AS, together with rheumatoid arthritis and psoriatic arthritis, is one of the three most common forms of inflammatory arthritis. More common in men, AS mainly affects the spine but can also affect other joints, tendons and ligaments. AS describes the condition where some or all of the joints and bones of the spine fuse together. The overall prevalence of AS is 0.5-1% of the general population.

Data from: medicalxpress.com

First person: ‘Chronic illness doesn’t care if it’s your birthday or you’re getting married’

First person: ‘Chronic illness doesn’t care if it’s your birthday or you’re getting married’
By JULIETTE WILLS
UPDATED: 11:15 GMT, 5 March 2012

When sports journalist Juliette Wills was diagnosed with a devastating illness, her relationship and career crumbled under the strain. But despite the relentless pain and her physical limitations she is finding joy and success in new ways

Juliette at her home in Brighton. She has been battling ulcerative colitis and inflammatory arthritis for more than a decade

Yesterday I visited a friend for coffee, cleaned the bathroom and made a pie. Today I woke at dawn, swallowed some painkillers, had to be helped into the bath and was unable to leave the house. Things weren’t always this way, but for the past decade, chronic illness has decided my fate each day. I simply have no say in it. My life-changing moment came in the bathroom of a motel in France in the summer of 1999. I was covering the Formula 1 Grand Prix motor racing season for men’s magazine Loaded. I had already been to Barcelona, with trips to Monaco and Australia coming up. Between races I wrote a football column for a broadsheet. I’d just bought a flat in Brighton. I was 27 years old; happy, independent and fiercely ambitious. I certainly hadn’t expected to see blood in the toilet bowl that morning. Worried, but not panicked, I made a mental note to visit my doctor, and flushed it away.

My whole world went with it. Ulcerative colitis is a debilitating form of inflammatory bowel disease (IBD). There is no cure, but in most cases it can be managed. I cut out wheat and dairy from my diet, upped my vitamin intake to counteract the steroids I’d been ordered to take and started doing yoga. My boyfriend, a ruggedly handsome 1950s throwback, took me out dancing every weekend. I kept fit, and although I was exhausted, I wasn’t in any pain. One morning, six months after my diagnosis, I woke abruptly, engulfed in such excruciating pain around my ribcage that I was unable to catch my breath. I couldn’t bend down to dress myself without screaming as pain shot through my hips. I was sure it had nothing to do with the colitis. This went on for weeks until one evening I passed out, and woke with a raging fever and stomach cramps. I was admitted to hospital where I underwent emergency surgery to remove my large bowel as it had begun to perforate. I came round from the operation to find I had an ileostomy – a blob of small intestine protruding from my stomach, encased in a clear bag.

My hair went grey overnight; my weight fell from eight to six stone. I had tubes and needles inserted into various parts of my anatomy and a 12-inch scar from under my ribcage to my pubic bone. I was repulsed by what had become of my body. My boyfriend visited every day, but once I left hospital three weeks later, our relationship ground to a halt; I needed space, both in an emotional and literal sense. I was in a state of shock, barely speaking to my parents as they did their utmost to care for me, but the pain had gone. Nine months later I went through an eight-hour operation to give me a new internal plumbing system. The ileostomy was removed, and the colitis itself had been dealt with: I could move on and get my career back on track. But within weeks of my recovery from surgery, the same pain was back with a vengeance. It made no sense.

I doubled my prescription painkiller doses, worked when I could and just about kept my head above water. I was too proud to take up my parents’ offer of moving back home; Dad would bail me out if I needed help with a mortgage payment or gas bill. When I experienced a rare whole month of barely any pain, I flew to Las Vegas with friends for a rockabilly break, where I danced every night and rode the roller coasters, the ultimate two fingers up to my illness. Naturally, my frail body didn’t cope and I could barely walk for the last few days of the holiday and the six months that followed.

In 2004, aged 32, I was finally diagnosed with ankylosing spondylitis, a debilitating, chronic inflammatory arthritis, often triggered by IBD, in which the sacroiliac joints (which join the base of the spine to the pelvis) become inflamed. Scar tissue forms in the spaces between vertebrae and eventually they fuse together, causing limited movement of the spine and, in my case, constant, agonising pain in my spine, ribcage, shoulders, neck and hips.

Having tried every treatment to no avail, the local health authority agreed that I could trial a new injectable drug. The pain disappeared overnight then, a few months later, came back with vigour, but sporadically. I had no idea how I would feel from one day to the next; I just pushed myself to do as much as possible whenever I woke up and felt OK, from writing a book to decorating my flat. I had good weeks and bad weeks, and just rode the wave.

Juliette with Gautier on their wedding day

One night, in February 2007, I was introduced to a handsome, brooding, aloof, chain-smoking French guitarist called Gautier at a gig in London. Sparks flew. He visited me in Brighton two weeks later, proffering a typically Gallic shrug when I told him about my illness. I had been told that the effects of this drug on a growing foetus were unknown, so I mustn’t get pregnant; add all the post-surgery scar tissue and the fact that I could barely look after myself and having a child was not an option. Gautier was unfazed, while I was becoming used to having decisions made for me.
I flew to Gautier’s home town in France for his 30th birthday in March. He proposed that weekend. We married on an extraordinarily sunny day in September at Brighton’s Royal Pavilion. A cocktail of prescription painkillers enabled me to stand in my four-inch heels during the ceremony. He already thought me beautiful; it was my determination, I think, that he was beginning to admire.

We had no money for a honeymoon so, instead, we got ourselves a cat. Two summers later, with Gautier in full-time work in the computer games industry and playing in his band, I sold my flat and we bought a 1930s house with a white picket fence in the Brighton suburbs. Over the past year, the effects of my drug appear to be wearing off; I wake up each day at dawn with the pain tearing through me. Some days I manage to go to the supermarket or clean the kitchen, but most mornings I can’t reach my painkillers or get out of bed without Gautier’s help. Although I often have a glazed expression from today’s dihydrocodeine and last night’s diazepam, and walk with an awkward, twisting gait, wearing a slick of red lipstick and my leopard-print coat means I always look OK, even if I’m falling apart. Half the battle is psychological.

Chronic illness is wicked and cruel. It is debilitating, exhausting, destructive, isolating and totally unforgiving. It knows no bounds, and has no mercy. It doesn’t care that it’s your birthday or you’re getting married; it’ll still show up and ruin your day. It’s hard to have hope when you know there’s no cure; near impossible to stay positive with no light at the end of the tunnel. There is no such phrase as ‘when I’m better’, and I am constantly reminded of my own inabilities, surrounded by friends with great careers or new babies. I feel I have no purpose; I’m 39, but neither a career woman nor a mother.

Then I look at Gautier and the cat and think, ‘They’re my purpose, get on with it.’ On the odd days when my pain is manageable, I’ll head to the local RSPCA centre where I take a little dog on a walk, for as long as my hips allow. Maybe I’ll do some washing and bake a cake. If I’m OK to drive, Gautier and I might head to the seafront for brunch or to the zoo as we did on my birthday. On a good day I’ll wear Chanel No 5; on a bad day Gautier puts up with the less attractive scent of Deep Heat.

Wearing a slick of red lipstick means I look OK, even if I’m falling apart. Half the battle is psychological

If my life were a weather report, it would read ‘mostly cloudy, with a few bright spells’, but those bright spells are the moments that keep me going, despite them diminishing rapidly. Still, I have confidence at times where many fit and healthy women don’t: on the beach, despite my scars, I wear a bikini. If anyone stares, I tell them that I was mauled by a bear. When Gautier goes away with his band, I don’t sit at home fretting about what he’s up to, surrounded by free drinks and beautiful women. I trust him implicitly; he gives me no reason not to. On the other hand, I’d understand if he left me for one of them, but if I worried all day, I’d go insane. We are not destitute, but my illness has had a huge impact on my finances. My underwear and beauty products are supermarket own-brand, my Topshop jeans second-hand. I haven’t been to the hairdresser in a decade. I would love to go to New York this summer with Gautier to celebrate my 40th birthday, but we’d have to win the Lottery for that to happen. I’m hoping we can at least afford – and my illness permits – a weekend on the Isle of Wight.

If my parents are the glue that holds me together, Gautier is the Sellotape on top. He is incredibly wise; the calm to my storm. His love gives me emotional stability where there is so much uncertainty elsewhere in my life.

My closest friends, Bo, Alice and Cherry, offer me invaluable emotional support. Sara saves all her magazines for me and Amy brings me chocolates and cuts my hair. I hope that, someday, the good days will outweigh the bad. I hope I will always feel this loved, because that’s what keeps me going. As they say in the film Transformers, ‘Hope for the best, but prepare for the worst’ – because at the end of every bad day, there is always tomorrow.

HOW TO HELP A FRIEND OR RELATIVE WITH A CHRONIC ILLNESS

Chronic illness often means isolation, frustration and, above all else, boredom. While you can’t take away a person’s pain, there are ways in which you can help.
● If the sufferer says they’re too unwell to come out to meet you, don’t offer a glib, ‘Hope you feel better soon’ — pop in to see them instead. This never occurred to my friends until I told them how isolated I felt. I’m often in too much pain to go out but a cup of tea and a gossip does wonders to lift my spirits.
● I struggle with housework but never ask for help. When my parents visit, Dad will mow the lawn or clean my car while Mum runs the Hoover round. If you pop by ‘for a chat’ and just happen to do something useful while you’re there, it’ll be much appreciated.
● If you’ve finished with a book or DVD, pass it on. Chronic illness often means little money.
● Pick up the phone. Tell them you’re thinking of them. Sometimes, it really is that simple.

HOW I HELP MYSELF

● I try not to sweat the small stuff. If the kitchen and bathroom are clean, the washing’s done and there’s food in the house, it’s not the end of the world if there’s a bit of dust.
● I find it very hard to relax, and rarely get more than two to three hours of sleep a night due to pain and a stressed state of mind. Gautier runs me a bubble bath once a week, or sends me to bed early with a good book to help me wind down — for his sanity and mine.
● I remind myself of the mad things I did before I became ill, such as in 1996 when I interviewed the Spice Girls for 90 Minutes football magazine. I showed Victoria a photo of David Beckham to see if she fancied him. She did. ‘Go to Old Trafford with Mel C and buy him a drink in the players’ lounge,’ I told her. ‘I’m going to ask him out for dinner!’ she exclaimed. A few weeks later they duly met in the players’ bar and the rest is history, but I never did get a wedding invitation, despite them both telling the story in their autobiographies. Pah!
● I’m devastated that I can’t dance any more, so I found myself a new interest — working my way through The Masterchef Cookbook. I feel a real sense of achievement when I come up with something fabulous for dinner, even if it’s just for the two of us.

Juliette’s blog is at juliettewills.wordpress.com

Data from: dailymail.co.uk

Juvenile Ankylosing Spondylitis

What is juvenile ankylosing spondylitis?

Juvenile ankylosing spondylitis (JAS) is a type of arthritis that affects the spine and the sites where the muscles, tendons, and ligaments are attached to bone. “Ankylosing” means stiff or rigid, “spondyl” means spine, and “itis” refers to inflammation. The disease causes inflammation of the spine and large joints, resulting in stiffness and pain. The disease may result in erosion at the joint between the spine and the hip bone (the sacroiliac joint), and the formation of bony bridges between vertebrae in the spine, fusing those bones. In addition, bones in the chest may fuse.

JAS is considered to be a multifactorial condition. Multifactorial inheritance means that “many factors” are involved in causing a health problem. The factors are usually both genetic and environmental, where a combination of genes from both parents, in addition to unknown environmental factors, produce the trait or condition. Often one gender (either males or females) is affected more frequently than the other in multifactorial traits. Multifactorial traits do recur in families because they are partly caused by genes.

A group of genes on chromosome 6 code for HLA antigens play a major role in susceptibility and resistance to disease. Specific HLA antigens influence the development of many common disorders. Some of these disorders, such as JAS, are autoimmune related and inherited in a multifactorial manner. When a child has a specific HLA antigen type associated with the disease, he/she is thought to have an increased chance to develop the disorder. The HLA antigen associated with JAS is called B27. Children with the B27 HLA antigen are thought to have an increased chance (or “genetic susceptibility”) to develop JAS; however, it is important to understand that a child without this antigen may also develop JAS. This means HLA antigen testing is not diagnostic or accurate for prediction of the condition. Males are affected with JAS three times more often than females.

JAS is one of four disorders which are classified as spondyloarthropathies. The other disorders are psoriatic arthritis, inflammatory bowel disease, and Reiter’s syndrome. These disorders have similar features such as:

  • inflammation of the spine and sacroiliac joints
  • family history of the disease
  • similar non-arthritis symptoms
  • absence of rheumatoid factor (RF) in the blood (an antibody found in the blood of most, but not all, people who have rheumatoid arthritis, as well as other rheumatic diseases)

Who is affected by juvenile ankylosing spondylitis?

AS strikes young people, typically between ages 17 and 35, but it also may affect adolescents.  AS is thought to affect males two to three times more often than it does females.

What are the symptoms of juvenile ankylosing spondylitis?

Symptoms of JAS tend to occur and disappear over periods of time. The following are the most common symptoms of JAS. However, each child may experience symptoms differently. Symptoms may include:

  • back pain, usually most severe at night during rest
  • early morning stiffness
  • stooped posture in response to back pain (bending forward tends to relieve the pain)
  • inability to take a deep breath, if the joints between the ribs and spine are affected
  • appetite loss
  • weight loss
  • fatigue
  • fever
  • anemia
  • pain at the site of attachment of muscles, ligaments, and/or tendons to bone (enthesitis)
  • joint pain, particularly in the legs
  • vague pain, usually in the buttocks, thighs, heels, or near the shoulders
  • eye inflammation that is painful and causes redness and light sensitivity; may have frequent recurrences of eye inflammation
  • organ damage, such as the heart, lungs, and eyes

Symptoms of juvenile ankylosing spondylitis may resemble other medical conditions or problems. Always consult your child’s physician for a diagnosis.

How is juvenile ankylosing spondylitis diagnosed?

In addition to a complete medical history and physical examination, diagnostic procedures for juvenile ankylosing spondylitis may include:

  • x-rays – a diagnostic test which uses invisible electromagnetic energy beams to produce images of internal tissues, bones, and organs onto film.
  • erythrocyte sedimentation rate (ESR or sed rate) – a measurement of how quickly red blood cells fall to the bottom of a test tube. When swelling and inflammation are present, the blood’s proteins clump together and become heavier than normal. Thus, when measured, they fall and settle faster at the bottom of the test tube. Generally, the faster the blood cells fall, the more severe the inflammation. (People with JAS often have an elevated ESR.)
  • detection of (HLA-B27) antigen – HLA-B27 is an antigen (a substance that causes the body to produce antibodies to fight bacteria, viruses, and other “foreign” particles to prevent infection) whose presence may indicate the presence of some type of autoimmune disease (a condition in which the body’s own defenses begin to attack the body’s cells).

Treatment for juvenile ankylosing spondylitis:

The goal of treatment for JAS is to reduce pain and stiffness, prevent deformities, and help your child maintain as normal and active a lifestyle as possible.

Specific treatment for juvenile ankylosing spondylitis will be determined by your child’s physician based on:

  • your child’s overall health and medical history
  • extent of the condition
  • your child’s tolerance for specific medications, procedures, and therapies
  • expectation for the course of the disease
  • your opinion or preference

Treatment may include:

  • nonsteroidal anti-inflammatory medication, NSAIDs, (to reduce pain and inflammation)
  • short-term use of corticosteroids (to reduce inflammation)
  • maintain proper posture
  • regular exercise, including exercises that strengthen back muscles
  • physical therapy

data from: Lucile Packard Children’s Hospital

Children of ankylosing spondylitis systemic symptom

Children of ankylosing spondylitis systemic symptom

อาการของเด็กที่เป็นโรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด ankylosing spondylitis

high fever symptoms are phases.Chronic disease for low heat usually takes the symptoms, significant weight loss, the whole body is fatigue, muscle atrophy, many local with serious peripheral large joints, and joint axis, hip osteoarthritis symptoms in most see more.A few children have lymph node enlargement, mild or severe anemia.

happened only history of repeated episodes of iris inflammation, can last for years, early iris inflammation can be ankylosing spondylitis only performance, performance for unilateral jealous, pain, photophobia, and black Meng etc, can have eyes, involving heavy appear alternately, duration is commonly 4-6 weeks, iris inflammation usually without sequelae.

serious aortic valve closed not all were rare, individual ankylosing spondylitis have nonspecific block lesions.

spread the chest rib joint affect respiratory function.No serious patients with spinal involvement, the general effect of thoracic range of motion and breathe without change.

and onset form: the disease in older children, male more than female, men and women ratio is about 80%-90% of cases now, other than weeks joint, or as the main symptoms of infection attachment points and general with lower limb is given priority to, have lower back pain, morning stiffness, activities such as the limited symptoms or X-ray sacrocoxitis.Affected joint usually less than 10, few joint see more than many joints, often for one or not symmetrical.

peripheral arthritis: the performance for the single arthritis, few arthritis or attachment point inflammation, sustainable or repeated attacks months and years.More than 85% lower limb joints involved, upper limbs arthritis rare, few arthritis is usually unilateral or asymmetry, many joint general symmetry, for often misdiagnosed for rheumatoid arthritis. And the following disease identification:(1) children ankylosing spondylitis and children of rheumatoid arthritis identify: children of ankylosing spondylitis early clinical performance often meet children of rheumatoid arthritis diagnosis standard. But ankylosing spondylitis always have a positive family history, HLA-B27 positive, arthritis, joint hands with lower limbs as less involvement.We experience, and close examination double sacroiliac joints, such as tenderness, 4 words experiment and often the positive results; Attachment points for both the best identify disease, especially in full, knee weeks the place such as the involvement more meaningful.If three or five years appear joint axis performance, it is not difficult to diagnosis general.

the genetic differences: children of ankylosing spondylitis often SC42 single times type and G1o-1 b dialdehyd enzyme and adult-onset phenotype, a single times for SC31 type and G1o-2 b dialdehyd enzyme phenotype.2, clinical differences: children of ankylosing spondylitis, including sufficient with peripheral joints involved more;And the adult-onset including cervical, thoracic vertebra, square change, and vertebral bone bridge and bone into the joint axis involvement at more see. Children of ankylosing spondylitis sustained or repeated attacks of hip, knee, ankle and between toes arthritis is adult see more, need to do more also hip replacement. In addition, fever, anemia, such as interleukin increased is also see more children.

do not easily identify diagnostic rheumatoid arthritis.

This article from:Disease knowledge

โรคปวดข้อในเด็ก…มีจริงหรือ?

คำกล่าวที่ว่า “เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก” มักเป็นประโยคสั้น ๆ ที่ได้ใจความและทำให้เราเข้าใจในความเป็นเด็กมากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เด็กมีอาการเจ็บป่วย เขาจะบอกเราไม่ได้ว่ารู้สึกอย่างไร คงได้แต่เกิดจากการสังเกตและคาดเดาของผู้ปกครองและคนใกล้ชิดเท่านั้น

ประวัติเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัย ไม่แพ้กับการตรวจร่างกาย ปัญหาที่หมอมักพบบ่อย ๆ ปัญหาหนึ่งคือ “ลูกไม่ยอมเดินเอาแต่ร้องไห้ แม่ก็ไม่รู้ว่าลูกร้องเพราะจะอ้อนแม่หรือปวดขา” “บางทีลูกเป็นอะไรไม่รู้ หงุดหงิดง่าย แต่พอแม่อุ้มหรือจับขาก็ร้องไห้จ้าเลยก็มี  มารู้ทีหลังว่าที่แท้ลูกปวดข้อตะโพก หรือปวดข้อเข่า เวลาแม่อุ้มจึงร้องไห้เพราะเจ็บ” เพราะเด็กโดยเฉพาะในเด็กเล็กยากที่จะบอกว่ามีข้ออักเสบหรือไม่ ไม่เหมือนในผู้ใหญ่ซึ่งเห็นได้ชัด

หมอเป็นหมอเฉพาะทางที่ดูแลผู้ป่วยเด็กที่มาด้วยเรื่องเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หรือบางทีจะได้ยินคนเรียกภาวะนี้ว่า “แพ้ภูมิตัวเอง” เพราะเข้าใจง่ายกว่า แต่ในความเป็นจริงเราไม่ได้แพ้ภูมิอะไร โรคในกลุ่มนี้เกิดจากภูมิคุ้มกันเราสับสน ทำลายไม่เลือก แทนที่จะทำลายแต่เพียงเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเราก็ดันไปทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง จึงเกิดการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ ตามมา หนึ่งในนั้นคือโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (เจไอเอ) ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง

เพราะเด็กไม่พูด ไม่สามารถอธิบายได้ เราจึงต้องอาศัยการตรวจร่างกาย เพื่อจะได้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง หลายครั้งที่มีคนถามหมอว่า เด็กนี่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ด้วยเหรอ? นึกว่าเป็นแต่คนแก่ หรือไม่ก็ไม่เคยรู้เลยว่าลูกมีข้ออักเสบ มารู้อีกทีข้อติดไปหมดแล้วก็มีเด็กบางคนป่วยมาเป็นระยะเวลาหลายปี มาพบหมออีกที ตัวเล็กนิดเดียวเพราะเวลากินอะไรเข้าไปก็เอาไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากโรคหมด ไม่ได้ใช้กับการเจริญเติบโตเลย แถมข้อติดอีกต่างหาก กลายเป็นพิการตั้งแต่อายุยังน้อย

ปัจจุบันในประเทศไทยมีหมอที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้อยู่น้อยมาก เทียบกับประชากรทั้งประเทศ จึงมีไม่น้อยเลย ที่มีเด็กป่วยด้วยโรคนี้ แต่ไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ดังนั้นนี่คงเป็นโอกาสดีที่หมอจะได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ พร้อมวิธีสังเกตลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายว่า  เมื่อไรที่ควรสงสัยว่าลูกเราน่าจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคข้อและควรจะมาพบแพทย์

โรคข้ออักเสบในเด็กทั่ว ๆ ไป จะแบ่งเป็นชนิดที่เกิดขึ้นฉับพลันกับชนิดที่เป็นเรื้อรัง  โดยชนิดที่เป็นเรื้อรัง เด็กมักจะมีอาการมากกว่า 6 สัปดาห์ และมีอาการต่อเนื่องเกือบทุกวัน  ชนิดที่พบบ่อยสุดเป็นชนิดที่เกิดฉับพลัน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ คราวนี้มาดูกันว่า มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เด็กมีอาการปวดแขนขา หรือข้ออักเสบ

ข้อสังเกตง่าย ๆ ให้คุณแม่ดูว่าลูกมักบ่นปวดข้อเวลาไหนเป็นหลัก ถ้าลูกเป็นข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (เจไอเอ) ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น  เด็กมักจะบ่นปวดตอนเช้า ๆ หลังตื่นนอน  ข้อมักจะติดแข็งขยับลำบาก เวลาขยับจะปวด แต่พอสาย ๆ อาการปวดจะทุเลาลง เริ่มขยับได้มากขึ้น ลูกจะให้ประวัติว่าพอนั่งรถถึงโรงเรียนอาการปวดข้อจะดีขึ้น เนื่องจากตอนนอนมีการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบออกมา พอตื่นนอนข้ออักเสบจึงกำเริบ พอขยับข้อสักพัก สารพวกนี้จะถูกดูดกลับไปในกระแสเลือด อาการเลยดีขึ้น 

โรคนี้พบได้ตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป การประคบน้ำอุ่นจะทำให้เคลื่อนไหวข้อได้ง่ายขึ้น และลดอาการปวดได้  หากเด็กบ่นปวดข้อช่วงตอนเย็นหลังเลิกเรียน กรณีนี้พบมากและมาปรึกษาหมอบ่อย  ส่วนมากจะเป็นจากการใช้งานเยอะ ไม่ใช่โรคอะไร เพราะเด็กกลุ่มนี้จะมีกิจกรรมสูง วิ่งเล่นกันทั้งวัน  และส่วนมากเด็กกลุ่มนี้มักจะมีอาการหรือภาวะข้อหลวมร่วมด้วย

ดังนั้นหากเขาใช้ข้อไหนมากเป็นพิเศษก็จะบ่นว่าปวดข้อนั้นภายหลังจากใช้งาน เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตปกติ จะมีประวัติการปวดมาเป็นปี ๆ แต่ก็ไม่มีข้อติดแต่อย่างใด การลดกิจกรรมที่ทำให้ใช้ข้อนั้นมากจนเกินไปลง อาการปวดข้อก็จะดีขึ้น  ส่วนเด็กที่มักมีอาการปวดขาตอนกลางคืน เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้น สัปดาห์หน้าหมอมีคำตอบมาฝาก พร้อมทั้งคำถามเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก และการรักษา.

อ.พญ.โสมรัมชช์ วิไลยุค
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา:  เดลินิวส์ 24 ธันวาคม 2554

.

Related link:

.

ภาวะปวดข้อในเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้

สวัสดีปีใหม่ แฟนคอลัมน์ “หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพ” ขอให้มีความสุขตลอดทั้งปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัย และก็ติดตามเรื่องราวสุขภาพต่าง ๆ ที่คุณหมอของ รพ.รามาธิบดี เขียนเองกับมือได้ทุกสัปดาห์เช่นเคยค่ะ

ฉบับที่แล้วนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรคปวดข้อในเด็ก ที่มีการแบ่งชนิด และลักษณะอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูก ๆ ตั้งแต่ยังเด็ก สัปดาห์นี้ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับโรคปวดข้อในเด็กมาฝากกันต่อ

เด็กที่มักมีอาการปวดขาตอนกลางคืน เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ อย่างแรกที่เรียกกันว่า “โกรวอิ้ง เพนส์” ซึ่งเมื่อก่อนเชื่อว่าเป็นเพราะกระดูกยืดหรือเด็กกำลังโต แต่ในความเป็นจริงไม่เกี่ยวกับเด็กกำลังโตหรือกระดูกยืดแต่อย่างใด บางคนเชื่อว่าเกิดจากการปวดกล้ามเนื้อที่ใช้งานมามากระหว่างวัน แต่ภาวะนี้ไม่ใช่โรค และไม่ต้องรักษา มักพบในเด็กที่มีช่วงอายุ 3-8 ขวบ หรือวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเด็กจะตื่นมาบ่นปวดขาตอนกลางคืน ให้คุณแม่นวด แล้วก็นอนหลับได้ พอตอนเช้ามาก็วิ่งเล่นได้ตามปกติ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ภาวะนี้จะหายไปได้เองเมื่อโตขึ้น ถ้าเด็กมีข้ออักเสบจริง ๆ เด็กจะไม่ยอมให้แม่นวดเลย เพราะจะเจ็บ

จะตรงกันข้ามกับ “โกรวอิ้ง เพนส์” ในอีกกรณีที่เด็กหลับไปแล้ว ตื่นขึ้นมาร้องปวดขามากตอนกลางคืน นวดยังไงก็ไม่หาย ลูกจะดูซึมลง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร หรืออาจมีไข้ไม่ทราบสาเหตุร่วมด้วย กรณีนี้ต้องสงสัยภาวะมะเร็งที่ลามไปที่กระดูก ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์โดยเร็ว  อีกภาวะหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การติดเชื้อในข้อ ซึ่งในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่จะบอกได้ชัดเจนว่าข้อลูกผิดปกติเพราะข้อจะบวมแดงร้อนชัดเจน ไข้ขึ้นสูง ขยับข้อนั้น ๆ แทบไม่ได้ คือปวดตลอดเวลา มักจะมีอาการเพียงข้อเดียว ส่วนมากเด็กที่เป็นโรคนี้มักจะมีภูมิต้านทานต่ำกว่าปกติ จึงติดเชื้อได้ง่าย

ส่วนสุดท้ายที่จะกล่าวถึงในข้ออักเสบฉับพลันคือไข้รูมาติก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ สเตร็ปโตคอคคัส เด็กมักมีอาการคออักเสบ หรือเป็นหวัดนำมาก่อนประมาณ 3 สัปดาห์ ภายหลังการติดเชื้อระบบภูมิต้านทานเราเกิดสับสนระหว่างเชื้อโรคกับเนื้อเยื่อในร่างกาย จึงเกิดการทำลายเนื้อเยื่อตัวเองขึ้น ที่กล่าวไปข้างต้นว่าเป็นการเกิดภาวะ “ภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง” ซึ่งในโรคนี้จะเกิดบริเวณข้อ หัวใจ หรือแม้แต่ในสมอง ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการไข้สูง ปวดข้อมาก ข้ออักเสบ บวม ร้อน ขยับแล้วเจ็บมาก รวมทั้งในบางรายมีอาการลิ้นหัวใจรั่วหรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติร่วมด้วย

ส่วนภาวะข้ออักเสบเรื้อรังที่มีคนถามว่า “เด็กเป็นรูมาตอยด์แบบผู้ใหญ่ได้ด้วยเหรอ” ขอตอบว่าได้ค่ะ สมัยก่อนจะเรียกกันว่า “ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก” ปัจจุบันเปลี่ยนใหม่แล้วเรียกว่า “ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก” เพราะไม่ทราบสาเหตุจริง ๆ ว่าอยู่ดี ๆ ทำไมถึงเกิดขึ้น รู้แต่ว่าเกิดจากระบบภูมิต้านทานที่ทำงานผิดปกติ แทนที่ภูมิต้านทานเราจะทำร้ายสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว หลังจากกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคไปแล้ว มันกลับไม่หยุดทำงานและหันกลับมาทำร้ายตัวเอง และเจาะจงที่ข้อ จึงเกิดข้ออักเสบขึ้นมา ไม่มีใครบอกได้ว่าทำไมมันถึงทำงานผิดพลาดได้อย่างนี้ ลักษณะของอาการข้ออักเสบในเด็กจะแตกต่างกับรูมาตอยด์ในผู้ใหญ่หลายอย่าง นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ เพราะกลัวจะสับสนกัน

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในผู้ใหญ่มักจะปวดตามข้อนิ้วมือ และมักเป็นเท่ากันทั้งสองข้าง ในเด็กอาการข้ออักเสบเป็นได้หลายแบบมาก ตั้งแต่ปวดข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ กระดูกสันหลังบริเวณคอ บริเวณเอว สารพัดจะปวด จะเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ เด็กบางรายเป็นมากจนแทบจะเดินไม่ได้ ต้องหยุดโรงเรียนบ่อย ๆ มีผลกระทบทั้งครอบครัวและตัวเด็กเอง นอกจากนี้ข้ออักเสบชนิดนี้ยังถูกแยกย่อยออกได้เป็นอีกหลายชนิด ขึ้นกับการดำเนินของโรค และการรักษา บางชนิดเด็กจะมีอาการไข้สูงเรื้อรัง หาสาเหตุของไข้ยังไงก็ไม่เจอ และมีผื่นร่วมด้วย โดยเด็กจะมีไข้สูงวันละ 1-2 ครั้ง ตอนมีไข้เด็กจะปวดข้อและซึมมาก พอไข้หาย เด็กบางคนลุกขึ้นวิ่งเล่นได้เลยก็มี  ลักษณะผื่นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ เม็ดเล็ก ๆ ผื่นจะขึ้นตามไข้ ถ้าไข้ขึ้นผื่นขึ้น ไข้หายผื่นหาย ผื่นจะไม่ค่อยคัน จึงแตกต่างกับเด็กที่มีผื่นจากโรคภูมิแพ้ทั่วไป

สำหรับยาที่ใช้รักษาก็เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบ และยากดภูมิคุ้มกัน ก็เพราะภูมิคุ้มกันมันทำงานเยอะเกินเราก็เลยต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันเพื่อควบคุมมันไม่ให้มาทำร้ายตัวเอง ในระยะยาวมีทั้งเด็กที่หายขาด หรือมีทั้งเป็นเรื้อรังจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดที่เด็กคนนั้นเป็น เพราะการดำเนินโรคในแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน แต่การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้รักษาง่ายกว่า และลดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า เพราะฉะนั้นหากลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้ารักษาช้า อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา เด็กไม่โตเท่าที่ควร หรือทำให้ข้อติด ข้อโดนทำลาย ทำให้ใช้งานไม่ได้ตามปกติ กลายเป็นพิการไป ทั้ง ๆ ที่รักษาได้ตั้งแต่แรก.

อ.พญ.โสมรัชช์ วิไลยุค
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

ที่มา:  เดลินิวส์ 7 มกราคม 2555

.

Arthritis in Children

tag: Juvenile Idiopathic Arthritis (JIA)

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลราชวิถีได้จัดสัมมนาให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยมี ศ. พญ.รัตนวดี ณ นคร ให้เกียรติ มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้ด้วย

โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินคืออะไร 
       ศ. พญ.รัตนวดี กล่าวว่า “โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน หรือ “ซอริเอซีส” (psoriasis) หมายถึงโรคผิวหนังชนิดเรื้อรังที่มีลักษณะเป็นสะเก็ดหนาปะปนกับผื่นนูนแดงกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สาเหตุเกิดจากความผิดปรกติในการตอบสนองของระบบอิมมูน คล้ายกันกับที่พบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่คล้ายกันได้ ผู้ป่วยที่เป็นข้ออักเสบสะเก็ดเงินบางรายมีอาการไม่รุนแรง ไม่ลุกลาม และรักษาง่าย แต่บางรายก็มีอาการรุนแรง เรื้อรัง และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อต่อสึกกร่อนและถูกทำลาย ซึ่งวิธีการรักษาในปัจจุบันนับว่ามีประสิทธิภาพและได้ผลดีในผู้ป่วยส่วนใหญ่”

โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบ แต่เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับภาวะทาง พันธุกรรมร่วมกับปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง ทำให้เกิดความผิดปรกติในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินให้ประวัติว่ามีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ด้วย และบุตรของผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าประชากรทั่วไป 100 เท่า โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่พบว่าการติดเชื้อบางชนิดอาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ HIV อาจทำให้อาการของโรคสะเก็ดเงินกำเริบรุนแรงได้มาก นอกจากนี้การได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนังหรือบริเวณข้ออาจเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบได้ด้วย

ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินมีมากน้อยเพียงใด
จากจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน 15 คน จะมีเพียง 1 คนที่มีอาการข้ออักเสบสะเก็ดเงินร่วมด้วย โดยโอกาสที่จะเป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน คาดเดาไม่ได้ ส่วนมากผู้ป่วยมักจะมีอาการทางผิวหนังอยู่ก่อนแล้ว จากนั้นจึงเกิดข้ออักเสบตามมาภายใน 10 ปี มีน้อยรายที่เกิดข้ออักเสบขึ้นก่อนแล้วอาการทางผิวหนังจึงปรากฏขึ้น ภายหลัง ซึ่งเกิดตามมาในระยะเวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี เพศหญิงกับเพศชายมีโอกาสเกิดข้ออักเสบสะเก็ดเงินพอ ๆ กัน อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังสะเก็ดเงินอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 15-25 ปี น้อยกว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 25-50 ปี

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังสะเก็ดเงินก็มีโอกาสเป็นโรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน) ได้เช่นเดียวกับคนปรกติอื่น ๆ เช่น อาจเป็นข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเสื่อม หรือโรคเกาต์ ร่วมด้วยก็ได้

ข้ออักเสบสะเก็ดเงินเกิดได้กับข้อไหนบ้าง
       ศ. พญ.รัตนวดี กล่าวว่า เกิดได้ทุกตำแหน่ง แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดในตำแหน่งใกล้เคียงกับที่พบรอยโรคทางผิวหนัง เช่น ผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่เล็บ (เล็บหนา ผิวมีรอยบุ๋ม) ก็อาจเกิดข้อปลายนิ้วมืออักเสบร่วมด้วย เป็นต้น ในเวชปฏิบัติเราแบ่งรูปแบบของข้ออักเสบออกเป็น 5 ลักษณะด้วยกันคือ
1. มีข้ออักเสบ 2-3 ข้อแบบไม่สมมาตร คือเป็นซีกซ้ายและขวาไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น มีข้อเข่าอักเสบ 1 ข้อร่วมกับข้อนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าอักเสบอีก 2-3 ข้อ
2. มีข้ออักเสบหลายข้อแบบสมมาตร หมายถึงมีข้ออักเสบมากกว่า 4 ข้อขึ้นไป โดยเป็นทั้งซีกซ้ายและซีกขวาของร่างกาย ส่วนใหญ่จะเกิดกับข้อเล็ก ๆ ที่นิ้วมือและข้อมือ ดูคล้ายกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มาก
3. มีข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ โดยข้อต่อกระดูกเชิงกรานอักเสบร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังโดยเฉพาะบริเวณบั้นเอวหรือก้นกบ อาการจะคล้ายกับอาการของโรคข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด ลักษณะเช่นนี้พบได้ไม่บ่อย เพียง 1 ใน 20 ของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินทั้งหมด
4. มีข้อปลายนิ้วมือหรือนิ้วเท้าอักเสบ มักพบร่วมกับรอยโรคที่เล็บ
5. มีข้อนิ้วมือนิ้วเท้าอักเสบรุนแรง หรือเรียกว่า “อาโตรติส มูติแลน” (arthritis multilans)

อาการของโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเป็นอย่างไร
ประกอบด้วยอาการทางข้อ เส้นเอ็น และยังมีอาการที่อวัยวะอื่นนอกข้อได้ด้วย
1. ปวดตึงตามข้อที่มีอาการอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือหลังจากนอนพักนาน ๆ ข้อบวมแดง และอุ่น ผู้ป่วยแต่ละคนจะปวดรุนแรงไม่เท่ากัน และในแต่ละคนอาการปวดก็ไม่เท่ากันตลอด เปลี่ยนแปลง ไปตามระยะเวลาของโรคด้วย พวกที่มีการอักเสบรุนแรง โครงสร้างของข้อจะสึกกร่อนถูกทำลายจนผิดรูปมาก ๆ ได้
2. เจ็บบริเวณเส้นเอ็นที่ยึดเกาะรอบ ๆ ข้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะเส้นเอ็นของนิ้วมือนิ้วเท้า ทำให้นิ้วมือบวมแดงตลอดนิ้ว ลักษณะอ้วนกลมคล้ายไส้กรอก การอักเสบทำให้เจ็บและขยับไม่ได้จนต้องแยกจากการติดเชื้อ การอักเสบของเส้นเอ็นที่พบในโรคนี้มักจะเกิดขึ้นในตำแหน่งที่เส้นเอ็นยึดเกาะกับกระดูก เช่น ตำแหน่งที่เอ็นร้อยหวายเกาะกับกระดูกส้นเท้า หรือเกิดกับแผ่นพังผืดทั้งแผ่น เช่น แผ่นพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำให้เจ็บส้นเท้าและฝ่าเท้าเวลาเดิน
3. มีผื่นผิวหนัง หรือรอยโรคที่เล็บที่เป็นลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน
4. อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ ซีด อ่อนเพลีย ตาแดง ปวดตา เนื่องจากม่านตาอักเสบ อาการนอกเหนือจากนี้พบได้น้อยมาก เช่น การอักเสบของหลอดเลือดแดงใหญ่ หรือปอดอักเสบ

โรคนี้วินิจฉัยได้อย่างไร
ศ. พญ.รัตนวดี กล่าวต่อว่า “วินิจฉัยโดยดูจากอาการทางคลินิกเป็นสำคัญ ตรวจพบข้ออักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ มีรอยโรคที่ผิวหนังและเล็บ ถ้ารอยโรคที่ผิวหนังไม่ชัดเจน (จากการได้รับยาทา หรือหายไปได้เอง) อาจต้องตรวจชิ้นเนื้อหรือตัดเล็บไปตรวจ แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย โดยดูจากอัตราเร็วในการตกของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่าค่า ESR ถ้าค่าสูงหมายถึงร่างกายมีการอักเสบ ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในการติดตามการรักษาได้ด้วย นอกจากนั้นจะดูความเข้มข้นของเลือด ผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบรุนแรงเรื้อรังอาจพบว่าซีดได้เล็กน้อย การตรวจเคมีทางเลือดอาจพบระดับกรดยูริกในเลือดขึ้นสูงกว่าปรกติได้จากการที่เซลล์ผิวหนังมีการแบ่งตัวและหลุดลอกเป็นจำนวนมาก การตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงพร้อมกับมีอาการปวดข้อ อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่า เป็นโรคเกาต์ได้ การส่งตรวจภาพถ่ายรังสีในตำแหน่งข้อที่อักเสบหรือตำแหน่งที่ตรวจพบเส้นเอ็นอักเสบ อาจช่วยสนับสนุนวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคได้ โดยเฉพาะรายที่มีข้ออักเสบเรื้อรังมานาน หรือมีข้อผิดรูป แต่สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการ อาจไม่พบความผิดปรกติใด ๆ จากภาพถ่ายรังสี การวินิจฉัยอาจทำได้ยาก ถ้าเกิดข้ออักเสบก่อนจะมีรอยโรคทางผิวหนัง หรือรอยโรคมีขนาดเล็กและหลบซ่อนอยู่ตามร่มผ้า รูสะดือ หนังศีรษะ ไรผม หรือรอยโรคจางหายไปเนื่องจากได้ใช้ยาทามาก่อน กรณีเช่นนี้แพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยแยกโรค อาจต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างอื่นเพิ่มเติม หรือเจาะตรวจน้ำไขข้อ เพื่อให้แน่ใจว่าข้ออักเสบนั้นไม่ได้เกิดจากโรคเกาต์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์”

คนที่เป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินแล้วจะบอกได้หรือไม่ว่าโรคจะลุกลามได้มากน้อยเพียงใด
เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก เพราะความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยแต่ละรายนั้นแตกต่างกันได้มาก ในการรักษาอาการทางข้อจำเป็นต้องติดตามการรักษาระยะยาว อาการทางข้อและอาการทางผิวหนังมักจะไปด้วยกัน มีลักษณะเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ ได้คล้ายกัน โรคมักกำเริบเมื่อมีการติดเชื้อหรือมีภาวะเครียด ถ้าพบลักษณะที่บ่งบอกว่าโรคอาจลุกลาม และมีแนวโน้ม ที่จะเกิดการทำลายโครงสร้างของข้อ แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาที่สามารถ ป้องกันหรือชะลอไม่ให้ข้อสึกกร่อนมากขึ้น

โรคนี้รักษาได้อย่างไร 
เป้าหมายของการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินมี 3 ประการคือ
1. เพื่อลดอาการปวดตึงตามข้อและเส้นเอ็นที่อักเสบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. เพื่อป้องกันหรือชะลอไม่ให้ข้อต่อถูกทำลาย
3. เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ลดข้อจำกัดที่เกิดจากอาการปวด หรือภาวะผิดรูปให้มากที่สุด

การลดอาการปวดตึงตามข้อและเส้นเอ็น

1. ควรพักข้อ ลดการใช้งานลง ถ้าขยับแล้วปวดมากอาจพักชั่วคราว การนวดเบา ๆ ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดทา และประคบอุ่นอาจช่วยลดอาการปวดลงได้

2. การรับประทานยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ที่เรียกย่อ ๆ ว่า “เอ็น-เสท” (NSAID-Non-Steriodal Antirheumatic Drugs) ยากลุ่มนี้
มีอยู่ด้วยกันหลายขนาน ซึ่งไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักในแง่ของประสิทธิภาพ ในการลดการอักเสบ แต่ผู้ป่วยแต่ละรายอาจตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน การดูว่ายาแต่ละตัวจะได้ผลดีหรือไม่ต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังเริ่มยา และยาจะออกฤทธิ์ต้านอักเสบสูงสุดใน 6 สัปดาห์ ระหว่างติดตามอาการถ้าอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจปรับยาโดยใช้ขนาดสูงขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นยาขนานอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ ไม่ควรรับประทาน NSAID ขณะท้องว่าง เพราะเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดในการใช้ยากลุ่มนี้ อาการข้างเคียงที่รุนแรงอาจทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ หรือถึงกับกระเพาะทะลุ ซึ่งมักจะพบในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเป็นโรคกระเพาะหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน ในการใช้ยากลุ่มนี้แพทย์จึงมักให้ควบคู่ไปกับยาป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ควรใช้ยา NSAID 2 ขนานร่วมกัน นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น สำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อม มีประวัติเป็นโรคหัวใจ ต้องรับประทานยาแอสไพรินหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นประจำ ควรปรึกษา แพทย์ก่อนรับประทานยา NSAID เพราะยากลุ่มนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายและเลือดออกในทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น

3. การรับประทานยาบรรเทาปวดธรรมดา เช่น ยาพาราเซตามอล ยาตัวนี้ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบแต่ช่วยลดอาการปวดข้อที่ไม่รุนแรงได้ ยาพาราเซตามอลบางตำรับจะมีส่วนผสมของสารโคเดอีน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์บรรเทาปวดอย่างแรง ยาแก้ปวดสูตรผสมนี้จะช่วยลดอาการปวดที่รุนแรงได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา

4. ยาสเตียรอยด์ บางครั้งแพทย์อาจให้การรักษาโดยใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าโดยตรงในตำแหน่งที่มีการอักเสบ เช่น การฉีดเข้าข้อหรือฉีดรอบ ๆ เส้นเอ็นที่มีการอักเสบ ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ลดการอักเสบได้ดี แต่ต้องใช้ยาด้วยความระมัดระวัง และอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อยและขาดได้

หมายเหตุ ยาในกลุ่ม NSIAD, ยาบรรเทาปวด และยาสเตียรอยด์ จะช่วยลดอาการปวดตึงตามข้อระหว่างที่มีการอักเสบได้ดี แต่ไม่เปลี่ยนการดำเนินโรค ไม่ช่วยป้องกันหรือชะลอการสึกกร่อนของข้อ โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งยากลุ่มนี้ให้ใช้เป็นครั้งคราวขณะที่ข้ออักเสบกำเริบ เมื่อการอักเสบดีขึ้น หายปวด ผู้ป่วยสามารถหยุดยาเหล่านี้ได้ ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อเนื่อง

 

การป้องกันหรือชะลอไม่ให้โครงสร้างของข้อถูกทำลาย 

1. ยาที่ออกฤทธิ์ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค หรือเรียกสั้น ๆ ว่ายาในกลุ่ม “ดี-หมาด” (DMARD = Disease Modifying Antirheumatic Drugs) ระหว่างใช้ยาต้านอักเสบ ถ้าแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่โรคจะลุกลามและข้อมีการสึกกร่อน จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาในกลุ่มนี้ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายขนาน ยาในกลุ่ม DMARD สามารถลดการอักเสบของข้อได้เช่นกัน แต่ออกฤทธิ์ช้ากว่าจะเห็นผลอาจต้องรอนานถึง 4-6 สัปดาห์ ดังนั้น ระหว่างที่แพทย์เริ่มให้รับประทานยา DMARDs ใหม่ ๆ แพทย์มักสั่งยา NSAID ให้รับประทานควบคู่ไปด้วย เมื่อเห็นว่าน่าจะได้ในระยะเวลาที่ DMARDs ออกฤทธิ์แล้วแพทย์จะแนะนำให้ลดขนาด หรือหยุดใช้ยา NSIAD โดยสั่งยา DMARDs ให้รับประทานต่อเนื่องในระยะยาว แม้ว่าขณะนั้น

ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปวดข้อและรอยโรคทางผิวหนังก็ดีขึ้นมากแล้ว เพราะการรับประทานยา DMARDs ระยะยาวจะช่วยป้องกันหรือชะลอการสึกกร่อนของข้อ และลดการกำเริบของโรคได้ ตัวอย่างยาในกลุ่ม DMARDs ที่ใช้บ่อยได้แก่ ยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine), ยาเมธโธเทรกเซท (methotrexate) และยาเกลือทองชนิดฉีด (gold salt injection) ตัวอื่น ๆ ได้แก่ ยาเลฟฟลูโนไมด์ (lefluonmide), ยาไซโคลสปอรีน-เอ (cyclosporine A) และยาเอซาไธโอปรีน (azathioprine) ซึ่งมักสงวนไว้ใช้กรณีที่ตอบสนองต่อยากลุ่มแรกไม่สมบูรณ์ ยา DMARDs แต่ละตัวจะมีอาการข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับทราบข้อมูลจากแพทย์ก่อนการใช้ยา ระหว่างใช้ยากลุ่มนี้แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเจาะเลือด หรือตรวจปัสสาวะทุกครั้งก่อนที่จะสั่งยาให้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ดูจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือด ตรวจดูหน้าที่ตับ หน้าที่ไต และการเปลี่ยนแปลงในปัสสาวะ เป็นต้น หากสงสัยว่าจะเกิดอาการข้างเคียงจากยา (แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปรกติใด ๆ ก็ตาม) แพทย์จะแนะนำให้หยุดยาชั่วคราวแล้วตรวจเลือดซ้ำ แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาต่อได้ (แต่อาจลดขนาดลง) หากเห็นว่าผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกลับมาเป็นปรกติ ระหว่างที่ใช้ยาในกลุ่ม DMARDs นี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมหรือใช้ยาสมุนไพร การรับประทานยาหลาย ๆ ตัวพร้อมกันอาจส่งผลต่อตับได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้ยาอื่นควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างยา สำหรับยาต้านมาลาเรียที่ใช้กันมากในการรักษาข้ออักเสบจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือโรคเอสแอลอีนั้น แม้จะพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงินอยู่บ้าง แต่แพทย์มักจะหลีกเลี่ยงไม่ใช้ เนื่องจากมีรายงานว่าการใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้อาการทางผิวหนังกำเริบได้

2. ยาในกลุ่มสารชีวภาพ เป็นยาตัวใหม่ที่ใช้ในกรณีที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยา DMARD ดั้งเดิม โดยอาจใช้เดี่ยว ๆ หรือให้ร่วมกับยา DMARD ดั้งเดิม ยากลุ่มนี้สามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคได้เช่นเดียวกับยา DMARD ข้อเสียคือเป็นยาฉีดทั้งหมด ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาเอทาเนอเซฟท์ (etanercept), ยาอินฟรีซิแมบ (infliximab), ยาเอดาลิมูแมบ (adalimumab) และยาอนาคินรา (anakinra) เฉพาะยา 2 ตัวแรกเท่านั้นที่มีการนำเข้าในประเทศไทย

การเพิ่มคุณภาพชีวิตลดข้อจำกัดอันเกิดจากอาการปวด หรือภาวะผิดรูปให้มากที่สุด 
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินต้องพยายามช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด การอยู่เฉย ๆ โดยไม่มีกิจกรรมจะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อฝ่อลีบ เมื่อข้ออักเสบดีขึ้นถ้าได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดอาการข้อแข็งตึง ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ถ้ามีปัญหาที่ข้อเข่าอาจเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ข้อต่อไม่ต้องรับแรงกระแทกมากนัก เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินในน้ำ ควรปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อเรียนรู้วิธีการบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อ เพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงมากขึ้น การบริหารที่ผิดวิธีอาจทำให้ปวดข้อเพิ่มขึ้น ในรายที่ข้อติดผิดรูปหรือข้อคลอนอาจต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อให้ออกกำลังกาย ได้ดีขึ้น ถ้าข้อนิ้วมือผิดรูปไม่สามารถกำมือได้สนิท หยิบจับสิ่งของหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ควรปรึกษานักอาชีวบำบัดเพื่อปรับแต่งอุปกรณ์ หรือสิ่งของที่จำเป็นต่อการใช้ในชีวิตประจำวันให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น ถ้าข้อผิดรูปมากหรือข้อหลุดไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ พิจารณา รักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ หรือผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็นที่ฉีกขาด

การรักษาอื่น ๆ
ผู้ป่วยบางรายอาจสนใจในการแพทย์ทางเลือก เช่น การใช้อาหารเสริม การฝังเข็ม การดัด การนวด หรือวิธีการอื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวด การรักษาในรูปแบบนี้ยังไม่มีการศึกษาว่าถ้าใช้กับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนที่จะตัดสินใจใช้วิธีการดังกล่าว

โรคนี้มีพยากรณ์โรคเป็นอย่างไร
ส่วนใหญ่ค่อนข้างดี เพราะข้ออักเสบหรือเอ็นอักเสบมักจะอยู่ในระดับน้อยหรือปานกลาง ตอบสนองต่อการรักษาดี ข้ออาจสึกกร่อนไปบ้างแต่ ไม่มากนัก และไม่ถึงกับพิการ มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง โรคลุกลาม และมีการทำลายโครงสร้างข้ออย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันมียาในกลุ่ม DMARDs หรือสารชีวภาพหลายขนานที่มีประสิทธิภาพดี สามารถป้องกันและชะลอการสึกกร่อนของข้อได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนหากได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

โรคนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมหรือไม่
ถ้ามีอาการรุนแรงอาจมีผลอยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ซีด เกิดอาการซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวนได้ง่าย ทำความเข้าใจกับโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเพื่อคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงปรกติ

ผู้ป่วยหลายรายคิดว่าเมื่อป่วยเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังแล้วจะต้องพักและใช้งานให้น้อยที่สุด แม้ว่าการอักเสบจะหายแล้วก็ตาม จึงทำให้มีอาการฝืดตึงข้อ ข้อแข็งและกล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากไม่ค่อยได้ใช้งานการออกกำลังกายหรือบริหารร่างกายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สุขภาพโดยทั่วไปดีขึ้น และทำให้ขยับข้อได้ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหักโหม การเดินไปเดินมาบ่อย ๆ ทำงานบ้านบ้าง และพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุดก็จะช่วยได้มาก สำหรับรายที่เดินลำบากเนื่องจากเท้าผิดรูป มีปัญหา

ที่ข้อเท้าหรือข้อเข่า ควรปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยปรับแต่งรองเท้า ให้กระชับกับรูปเท้า และฝึกเดินโดยใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้าถ้าระยะแรกยังเดินบนบกไม่ได้ก็อาจเปลี่ยนไปบริหารร่างกายหรือเดินในน้ำแทน ทำให้น้ำหนักตัวเบาลงช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อต่อขณะเดิน ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ถ้าไม่สะดวกที่จะบริหารร่างกายในน้ำ อาจปั่นจักรยานอยู่กับที่โดยใช้แรงต้านน้อย ๆ และปรับอานให้อยู่ในความสูงที่เหมาะสมการฝึกโยคะเพื่อยืดกล้ามเนื้อจะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น การทำกายภาพบำบัด อาชีวบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจะช่วยปกป้องข้อไม่ให้สึกกร่อน อ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

ศ. พญ.รัตนวดี กล่าวปิดท้ายว่า “แม้ว่าโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง แต่ความรุนแรงนั้นมีหลากหลาย บางรายเกิดข้ออักเสบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป ในขณะที่บางรายเกิดข้ออักเสบเรื้อรังและมีการทำลายข้อได้มาก โรคนี้เป็นโรคที่รักษาได้ การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการปวด ปกป้องข้อไม่ให้ถูกทำลาย และใช้งานได้ตามปรกติ

ที่มา: http://www.medicthai.com/admin/news_detail.php?id=2307

แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยากลุ่ม Anti- TNF Agents ใน โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด AS รวมถึง โรคข้อสันหลังอักเสบที่จำแนกประเภทไม่ได้ Undifferentiated Spondyloarthropathy โดย สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยากลุ่ม Anti- TNF Agents ใน โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึดรวมถึง Undifferentiated Spondyloarthropathy*

(Guideline for Anti-TNF Therapies in Ankylosing Spondylitis Including Undifferentiated Spondyloarthropathy)*

 สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

 

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ายาในกลุ่ม anti-TNF agents มีประสิทธิภาพดีทั้งในระยะสั้น และระยะยาวในการรักษาโรค ankylosing spondylitis (AS) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้มีราคาแพงและต้องใช้ต่อเนื่องระยะยาว แม้จะมีข้อมูลสนับสนุน ด้านความคุ้มค่าของการใช้ยากลุ่มนี้ แต่เป็นการศึกษาในประเทศที่มีรายได้มวลรวมประชาชาติสูง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ยากลุ่มนี้ในประเทศไทย จึงต้องใช้ยาให้เหมาะสมตามข้อบ่งชี้ มีกระบวนการติดตามเพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาในระยะยาว

โรค AS เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่ม spondyloarthropathy (SpA) เกณฑ์การวินิจฉัยโรคใน ปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่มาก เพราะ New York Criteria เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่ออกแบบเพื่อ คัดเลือกผู้ป่วยเข้ามาศึกษาในงานวิจัยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงภาพถ่ายรังสี ซึ่งในระยะแรกอาจยังตรวจไม่พบ และผู้ป่วยบางรายมีข้ออักเสบเป็นอาการเด่นกว่าอาการปวดหลัง ทำให้การวินิจฉัยโรคมักล่าช้าไป 5-10 ปี ส่งผลถึงผลการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยจึงเห็นชอบให้ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรค AS ของ The European Spondyloarthropathy Study Group ด้วยอีกเกณฑ์หนึ่งซึ่งจะทำให้ผู้ป่วย AS ในระยะแรก (early AS) อาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น undifferentiated SpA (uSpA) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มโรคเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในการรักษาโรคตั้งแต่ระยะแรกเนื่องจากการรักษาโรคในระยะแรกจะให้ผลลัพธ์ของโรคดีกว่ารักษาเมื่อมีอาการรุนแรงหรือเกิดภาวะทุพพลภาพเรียบร้อยแล้ว

 วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้การรักษาผู้ป่วย AS และ  uSpA  ด้วยยากลุ่ม anti TNF  agents  เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

2. เพื่อให้ผู้ป่วย AS และ uSpA ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ anti TNF agents ทั้งด้าน ประสิทธิภาพ (efficacy) และความปลอดภัย (safety)

3. เพื่อให้ความคุ้มค่า (cost-effectiveness) จากการรักษาด้วยยา anti TNF agents

กลุ่มเป้าหมาย

1. สำหรับอายุแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่มและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค AS และ uSpA เพื่อให้การใช้ยากลุ่ม anti-TNF agents เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

2. สำหรับแพทย์ทั่วไป พยาบาลวิชาชีพชำนาญการด้านการดูแลผู้ป่วยโรคข้อ และ บุคคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการเฝ้าติดตามผลข้างเคียงจากการใช้ยา กลุ่มนี้

แนวทางปฏิบัติการใช้anti-TNF agents ในโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบติดยึด(ankylosing spondylitis) รวมถึงundifferentiated spondyloarthropathy*

 1.  ข้อบ่งชี้ (indication) (ตารางที่1)

ตารางที่ 1 แผนผังแสดงการใช้ยากลุ่ม Anti- TNF Agents  ใน AS และ USpA

ตารางที่ 1 แผนผังแสดงการใช้ยากลุ่ม Anti- TNF Agents ใน AS และ USpA

 ผู้ป่วยจะต้องมีคุณสมบัติครบเกณฑ์ทุกข้อดังต่อไปนี้

  •  ได้รับการวินิจฉัยโรค AS ครบถ้วนตามเกณฑ์ของ Modified New York criteria (ภาคผนวกที่14) หรือ The European Spondyloarthropathy Study Group Criteria (ภาคผนวกที่15)
  •  ได้รับการวินิจฉัยโรค undifferentiated SpA (uSpA) ครบถ้วนตามเกณฑ์ของ ESSG (ภาคผนวกที่16)
  •  อยู่ในระยะกำเริบโดยมี Bath Ankylosing Spondylitis Disease Activity Index (BASDAI) > 4 หน่วย(ภาคผนวกที่12) และมีค่า physician global assessment > 2 (ภาคผนวกที่ 10)
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน

               ในกรณีเป็น peripheral joint involvement ต้องไม่ตอบสนองต่อ NSAIDs อย่างน้อย 2 ชนิดภายใน ระยะเวลา 3 เดือน และ ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา DMARDs ≥ 2 ชนิด โดยแต่ละชนิดต้องใช้ใน ขนาดมาตรฐานอย่างน้อย 3 เดือน (ภาคผนวกที่17) และ ในกรณีที่เป็น oligoarthritis หรือ enthesitis จะต้องไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย local steroid injection อย่างน้อย 2 ครั้ง(ถ้าไม่มีข้อห้าม) ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (functional class III หรือIV) (ภาคผนวกที่11)

                กรณีเป็น axial involvement

  •  ไม่ตอบสนองต่อ NSAIDs ³  2 ชนิด (โดยใช้ทีละชนิดและแต่ละชนิดใช้ในขนาดรักษา) เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
  •  ไม่ตอบสนองต่อยา DMARDs ³  2  ชนิด(sulphasalazine,  methotrexate,  azathioprine  –ตามข้อแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ)เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

 

                                                            ภาคผนวก 13

ขนาดยา DMARDs ที่ควรใช้ในการรักษาโรค AS ก่อนให้ Anti-TNF agents

Sulphasalazine    ขนาดเต็มที่    40 มก/กก/วัน แบ่งให้ 2-3 เวลา สูงสุดไม่เกิน 3 กรัม/วัน

Azathioprine    ขนาดเต็มที่    2 มก/กก/วัน แบ่งให้ 2 เวลา

Methotrexate    ขนาดเต็มที่    0.3 มก/กก/สัปดาห์  สูงสุดไม่เกิน 20 มก./สัปดาห์

Leflunomide    ขนาดเต็มที่    20 มก/วัน

 

 

2.  ข้อห้าม (contraindication) (ภาคผนวกที่4)

 

3.  การประเมินก่อนให้ยา(pretreatment screening)  (ภาคผนวกที่5 และ 6)

 

 

4.  ขนาดและวิธีการบริหารยา (dosage and administration)

  1. Etanercept (25, 50 มก./ขวด) 25 มก. ฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือ 50 มก. ฉีด เข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ หรือให้ร่วมกับ methotrexate
  2. Infliximab (100 มก./ขวด) เริ่มให้ในขนาด 5 มก/กก./ครั้งเจือจางใน 0.9% NSS 250 มล. หยดเข้าหลอดเลือดดำช้าๆ ในเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 0, 2, 6 และต่อด้วยทุก 8 สัปดาห์ หรือให้ร่วมกับ methotrexate หากการตอบสนองไม่เป็นที่น่าพอใจหลังจากรักษา ไปนาน 3 เดือน อาจพิจารณาเพิ่มขนาดยาเป็น 10 มก./กก./ครั้งหยดเข้าหลอดเลือดทุก 8 สัปดาห์

  

5.   การประเมินผลตอบสนองต่อการรักษา (evaluation of effectiveness)

 ประเมินผลในสัปดาห์ที่ 12 นับจากวันที่เริ่มให้ยา anti-TNF agents

  •                  ผู้ที่ตอบสนองต่อการรักษา(responder) หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นโดยบรรลุเกณฑ์ การประเมินดังนี้

 สำหรับผู้ป่วย peripheral involvement ถือว่าผู้ป่วยมีการตอบสนอง (responder) เมื่อบรรลุเกณฑ์ 2/3 ข้อ โดยต้องมี 5.1 หรือ 5.2 ร่วมด้วยอย่างน้อย 1 ข้อ

                 5.1  Tender joint count ลดลงร้อยละ ≥ 30

                 5.2  Swollen joint count ลดลงร้อยละ ≥ 30

                 5.3  Physician global assessment มีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ≥1หน่วย

สำหรับผู้ป่วยaxial  joint  involvement  ถือว่าผู้ป่วยมีการตอบสนอง(responder)  เมื่อค่า BASDAI ลดลง ≥ 2 หน่วย  และphysician global assessment ดีขึ้น ≥ 1 หน่วย

  •                  ผลการเปลี่ยนแปลงทางรังสี: ควรส่งตรวจภาพรังสีมือ ข้อมือ และ เท้า ทุกปีอาจให้ คะแนนโดยใช้ modified total Sharp score

 

6. การให้ยาซ้ำและระยะเวลาของการให้ยา (Repeated treatment and treatment duration)

 ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาในการให้ยา anti-TNF agents ในการรักษา ankylosing spondylitis ว่าควรให้ยานานเท่าใด แต่มีข้อเสนอแนะว่าเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด อาการข้างเคียงจากยาในระยะยาว ในรายที่ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วย anti-TNF agents ให้พิจารณาปรับลดขนาดยาลงหรือหยุดยาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาให้ยา DMARDs ต่อเนื่องระยาวเพื่อป้องกันโรคกำเริบ

7.     เกณฑ์การถอนตัวจากการรักษา (drug withdrawal criteria)

  • ให้หยุดยากลุ่ม anti-TNF agents ในกรณีต่อไปนี้
  • โรคมะเร็ง
  • เกิดผลข้างเคียงหรือพิษจากยาอย่างรุนแรง
  • ตั้งครรภ์ (ถอนตัวชั่วคราว)
  • การติดเชื้อรุนแรง (ถอนตัวชั่วคราว)
  • การผ่าตัด (ถอนตัวชั่วคราว) กรณีผ่าตัดไม่เร่งด่วนควรหยุด etanercept ล่วงหน้า 2 สัปดาห์และหยุด infliximab ล่วงหน้า8 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา (non-responder) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการไม่ดีขึ้น โดยไม่บรรลุตามเกณฑ์การตอบสนองต่อการรักษา (ดังที่ระบุไว้ในข้อ 5) หลังใช้ยานาน 12 สัปดาห์

8.   ผลข้างเคียง (adverse events) (ภาคผนวกที่7)

 

9.   ข้อควรปฏิบัติและการเฝ้าติดตามผลข้างเคียงระหว่างการให้ยา biologic (adverse events)

(ภาคผนวกที่8)

 

10. ระยะเวลาของการให้ยา (treatment duration)

 ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาในการให้ยา anti-TNF agents ส าหรับผู้ป่วย AS ว่า ควรให้ยานานเท่าใดแต่มีข้อเสนอแนะว่าเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการข้างเคียงจากยาในระยะยาว ในรายที่ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วย anti-TNF agents ให้พิจารณาปรับลดขนาดยาลงหรือหยุด ยาตามความเหมาะสม โดยพิจารณาให้ยา DMARDs ต่อเนื่องระยาวเพื่อป้องกันโรคกำเริบ

 

10. ระบบเฝ้าติดตามผลการรักษาและผลข้างเคียง (effectiveness and side effect monitoring)

 เพื่อความคุ้มค่า แพทย์ผู้รักษาควรทำการประเมินประสิทธิภาพและผลข้างเคียงจากการใช้ยาทุก 3 เดือนเพื่อปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับสภาวะของโรคและอาจพิจารณาหยุดยาถ้าเป็นไปได้

อ่านข้อมูลทั้งหมดได้ที่ สมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย

แนวทางเวชปฏิบัติการใช้สารชีวภาพในการรักษาโรครูมาติก (Guideline for Biologic Therapy in Rheumatic Diseases)