ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน.. ปฐมพยาบาลทันท่วงทีลดสูญเสีย

dailynews141005_01aหัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญ เพราะมีหน้าที่คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเราใช้หัวใจทำงานหนักเกินไปจนทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงานโดยไม่รู้ตัวที่เรียกว่า “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” หากได้รับการปฐมพยาบาลหรือทำการรักษาไม่ทันอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตลงได้ และที่น่ากลัวกว่านั้นคือในผู้ป่วยบางรายที่ภายนอกร่างกายดูแข็งแรงไม่เคยเจ็บป่วยหนัก ๆ มาก่อนก็สามารถเสียชีวิตจากภาวะนี้ได้หากได้รับการช่วยเหลือไม่ถูกวิธีหรือไม่ทันเวลา

นายแพทย์ประดับ สุขุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า จากสถิติโรคหัวใจในประเทศไทยยังคงพบอัตราการตายของผู้ป่วยเป็นอันดับต้น ๆ และโรคหัวใจก็เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต แต่ปัจจุบันโรคหัวใจเป็นโรคที่มีทางป้องกันได้พอสมควร เพียงแต่ต้องการการเอาใจใส่ดูแล เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ซึ่งส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้น ภาวะอ้วน และไขมันสะสม สูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ไม่ชอบออกกำลังกาย เกิดความเครียดบ่อย ตลอดจนปัญหาทางพันธุกรรมที่เป็นตัวเร่งให้กลายเป็นโรคหัวใจ

สำหรับอาการแสดงออกถึงโรคหัวใจในแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ขณะที่เส้นเลือดเริ่มตีบตันเพียงเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการ จนกระทั่งวันใดหัวใจเริ่มขาดเลือดจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกหรือเหนื่อยง่ายกว่าปกติให้เห็น สืบเนื่องจากอุบัติการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นจากอาการช็อกหมดสติ หัวใจหยุดทำงาน เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ จาก ภาวะของโรคโดยตรง เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นต้น หรือเกิดจาก ภาวะหัวใจหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงและมักจะยังมีอายุไม่มากนักหรือเรียกว่า “โรคไหลตาย” ซึ่งอาจเกิดได้กับทุกคนโดยที่ไม่ทันรู้ตัว

หัวใจหยุดทำงานโดยไม่รู้ตัว หรือภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หมายถึง ภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างทันท่วงที สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีโรคหัวใจอยู่เดิมโดยที่เจ้าตัวอาจไม่ทราบหรือไม่เคยตรวจมาก่อน และถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันเราจะเรียกภาวะนี้ว่า ’Sudden cardiac death“ ซึ่งภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปมักเกิดจาก ’โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน“ (Acute myocardial infarction) จากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน

ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 35 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Hypertrophic cardiomyopathy) ภาวะนี้การออกกำลังกายเป็นตัวกระตุ้นให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะเส้นเลือดหัวใจขาดเลือดในคนอายุน้อย (Premature coronary artery disease) หรือภาวะเส้นเลือดหัวใจผิดปกติโดยกำเนิด (Congenital coronary artery anomalies) ผู้ป่วยบางรายมีระบบไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้ ส่วนสาเหตุภายนอกที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เช่น ภาวะที่มีวัตถุกระแทกอย่างรุนแรงที่บริเวณหน้าอก ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเฉียบพลัน หรือผู้ที่ใช้ยาโด๊ป เช่น การใช้สาร Anabolic-androgenic steroids ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตามสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดก่อนที่จะช่วยผู้ป่วยหมดสติคือ ต้องตั้งสติของตัวเองไม่ให้ตกใจจนทำอะไรไม่ได้ หลังจากนั้นให้ทำการเรียกหรือเขย่าตัวผู้หมดสติว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่ ถ้าไม่มีการตอบสนองให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งหรือไม่ หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ ให้สันนิษฐานว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลทันที และถ้าสามารถช่วยชีวิตพื้นฐานได้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น

ขั้นตอนการช่วยชีวิตพื้นฐาน ประกอบด้วย การนวดหัวใจ (Chest compression) เป็นการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองให้มากขึ้น โดยปกติสมองสามารถคงทนต่อการขาดออกซิเจนได้ไม่เกิน 5-8 นาที ถ้านานกว่านี้จะทำให้เซลล์สมองตายได้ ในปัจจุบันเราแนะนำให้นวดหัวใจเพียงอย่างเดียวโดยไม่จำเป็นต้องเป่าปากร่วมด้วยก็ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้แล้ว

วิธีการนวดหัวใจทำได้ดังนี้ วางสันมือข้างที่ถนัดไว้ตรงบริเวณกลางหน้าอกผู้ป่วย และนำมืออีกข้างหนึ่งวางทับไว้ด้านบน ระหว่างทำการนวดหัวใจให้แขนเหยียดตรงตลอดเวลา จากนั้นให้ทำการกดหน้าอกให้ลึกประมาณ 1 นิ้วครึ่งถึง 2 นิ้ว โดยทำการกดและปล่อยหน้าอกให้คืนตัวสุดก่อนการกดแต่ละครั้งกดด้วยความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที (หรือ 25 ครั้งต่อ 15 วินาที) และพยายามทำการนวดหัวใจให้ต่อเนื่องกันมากที่สุด

ส่วนการปฐมพยาบาลอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ Automated External Defibrillator (AED) เป็นเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดพกพา ได้รับการออกแบบให้ปล่อยกระแสไฟฟ้าจากภายนอกร่างกาย โดยจะวินิจฉัยการเต้นของหัวใจ หากพบภาวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติชนิดที่ไม่เป็นอันตราย เครื่องจะปล่อยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นให้หัวใจกลับมาทำงานตามปกติที่เรียกว่า “Defibrillation” เครื่องช็อตไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติซึ่งออกแบบมาให้ประชาชนทั่วไปใช้ได้สะดวกและปลอดภัยขึ้น

วิธีการใช้เมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงให้คำแนะนำ แต่ถ้าจะให้ผลดีที่สุดผู้ใช้เครื่อง AED ควรได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้องและถูกวิธี เพราะยิ่งใช้เครื่อง AED ได้เร็วเพียงใดโอกาสที่จะสามารถช่วยชีวิตจะยิ่งมีมากขึ้น โดยโรงพยาบาลกรุงเทพส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตเพิ่มมากขึ้นและวางแผนจะกระจายติดตั้งเครื่อง AED ยังสถานที่สาธารณะ ได้แก่ สถานที่ราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบินฯลฯ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงเครื่องมือให้ได้เร็วขึ้นและไม่ต้องรอเครื่องจากโรงพยาบาล ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างมาก

สุดท้ายการป้องกันโรคหัวใจก็ยังถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาสุขภาพ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจเช็กร่างกายเป็นประจำทุกปี เพราะเมื่อตรวจพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้คนไข้รู้ตัวและใช้ชีวิตได้อย่างรู้เท่าทัน ป้องกันไม่ให้โรคหัวใจกำเริบเร็วเกินไป.

ที่มา : เดลินิวส์ 5 ตุลาคม 2557

เด็กผ่าท้องคลอด ภูมิคุ้มกันอ่อน

thairath140716_01เด็กที่เกิดจากการผ่าท้องคลอด อาจจะแพ้เปรียบเพื่อนฝูงที่คลอดตามธรรมชาติไม่ได้ ตรงที่มีปริมาณของเซลล์เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันน้อยกว่ากัน

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ซึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบลูกที่เกิดจากการคลอด 2 แบบของหนูทดลอง ได้พบว่าลูกหนูซึ่งคลอดตามธรรมชาติจะมีแรงภูมิคุ้มกันดีกว่า เพราะได้ผจญจากแบคทีเรียของแม่มา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกหนูพวกนี้รู้จักแยกแยะอณูที่ให้คุณและอณูแปลกปลอม นอกจากนั้นยังไม่ค่อยเป็นโรคที่เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันต้านตนเอง อย่างโรคเบาหวานชนิดที 1 กับโรคภูมิแพ้ต่างๆอีกด้วย

ศาสตราจารย์แอกเซล คอร์เนอรัพ แฮนสัน กล่าวว่า ต่อไปเราอาจจะพบวิธีป้องกันให้กับทารกที่เกิดใหม่ คนที่ส่อท่าว่าจะเป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ภูมิป้องกันตนเองได้.

ที่มา : ไทยรัฐ 16 กรกฎาคม 2557

“การฉายแสงแดดเทียม” ทางเลือกสำหรับรักษาโรคสะเก็ดเงิน โดย พญ.รัศนี อัครพันธุ์

manager140308_001bแสงอัลตราไวโอเลต (UV) หรือ “แสงแดด” ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจฉกรรจ์ของผิวสวย และยังเป็นต้นเหตุของสารพัดริ้วรอยไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่หนุ่มๆ สาวๆ หลายคนต้องส่ายหน้าร้องยี้กันเลยทีเดียว แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังบางประเภท แสงอัลตราไวโอเลตนี้อาจมีคุณและเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยเยียวยาอาการของโรคให้ทุเลาเบาบาง

manager140308_001a
พญ.รัศนี อัครพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ Phototherapy ศูนย์ผิวหนังและความงามกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า แสงอัลตราไวโอเลตเป็นส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์ แสงแดดที่ส่องมาถึงพื้นผิวโลกนอกจากประกอบไปด้วยแสงอัลตราไวโอเลตแล้วยังมีส่วนประกอบอื่น เช่น แสงที่ใช้ในการมองเห็น และแสงอินฟราเรด ที่ทำให้เกิดความร้อน แสงแดดเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกคือ ให้แสงสว่างและความอบอุ่น ความรู้เรื่องแสงแดดผลของแสงต่อผิวหนังได้มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ได้มีการค้นพบว่าแสงแดดสามารถโรคผิวหนังได้ โดยเฉพาะ “โรคสะเก็ดเงิน” (Psoriasis)

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง ที่เกิดจากการปรวนแปรของภูมิคุ้มกันของร่างกายมีกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วกว่าปกติหลายเท่าทำให้ผิวหนังหนาเป็นปื้น มีขุยขาวหนาคล้ายเงิน พบได้บ่อยในช่วง อายุ 20 ปี และ 40 ปีขึ้นไป พบได้ประมาณ ร้อยละ 1-2 ของประชากรทุกเชื้อชาติ หญิงและชายพบได้เท่ากัน

โดยโรคสะเก็ดเงินนี้ มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ถ้าบิดาและมารดาเป็นโรค บุตรที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าถ้าบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรค นอกจากนี้ โรคสะเก็ดเงินยังสัมพันธ์กับโรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน โดยมีอาการคือ มีตุ่มแดงขอบเขตชัดเจน และมีขุยสีขาวอยู่ที่ผิว ต่อมาตุ่มจะค่อยๆขยายออกจนกลายเป็นปื้นใหญ่ และหนาตัวขึ้นเป็นสะเก็ดสีเงินซึ่งสามารถขูดออกได้ง่าย

บางครั้งสะเก็ดนี้จะร่วงเวลาถอดเสื้อหรือเดินไปไหนมาไหน หรือร่วงอยู่ตามเก้าอี้ ที่นอน และเมื่อขูดขุยสะเก็ดหมดจะมีจุดเลือดออกบนรอยผื่น ผื่นอาจเกิดบนรอยแผลถลอกหรือรอยแผลผ่าตัด ผื่นผิวหนังพบได้หลายลักษณะ ผื่นหนาเฉพาะที่ หรือกระจายในบริเวณที่มีการเสียดสี ศีรษะ ไรผม สะโพก ศอก เข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ผื่นขนาดเล็กเท่าหยดน้ำหรือเล็กกว่า 1 ซม.กระจายทั่วตัว พบบ่อยในเด็กตามหลังการเกิดไข้หวัด 1-2 สัปดาห์ ผิวหนังแดงลอกทั่วตัว ผื่นชนิดตุ่มหนอง พบเป็นตุ่มหนองเล็กๆ ที่ปราศจากเชื้อโรค บนผื่นสีแดง อาจเป็นเฉพาะที่ เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ปลายนิ้ว มือ ปลายนิ้วเท้า หรือกระจายทั่วตัว ความผิดปกติของเล็บ เช่น เล็บล่อน ปลายเล็บหนามีขุยใต้เล็บ หรือ จุดสีน้ำตาลใต้เล็บ มีการอักเสบของข้อซึ่งอาจเป็นได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก เป็นข้อเดียว หรือหลายข้อ และอาจจะมีข้อพิการตามหลังการอักเสบเรื้อรัง

manager140308_001c

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคสะเก็ดเงินให้หายขาดได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาโดยใช้ยาทาคู่กับยารับประทาน และการรักษาด้วยแสงอัตราไวโอเลต หรือเรียกว่า การฉายแสงอาทิตย์เทียม (UV Phototherapy) ร่วมด้วยจะทำให้ผลการรักษาเร็วขึ้น

โดยรังสีอัลตราไวโอเลตที่ใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

1.รังสีอัลตราไวโอเลต เอ พูว่า ( PUVA) คือการฉายแสงอัตราไวโอเลต เอ ซึ่งมีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร ร่วมกับการรับประทานยาเซอราเลน (PSORALEN) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางโรคผิวหนังรุนแรงปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงมาก หรือใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยยาทาและยารับประทาน

ผู้ป่วยควรจะได้รับการฉายแสงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และจะมีอาการดีขึ้นหลังจากได้รับการฉายแสงประมาณ 12-18 ครั้ง แต่อาจต้องได้รับการฉายแสงต่อเนื่องเพื่อป้องกันกันการกำเริบของโรคเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน โดยจะให้ผลดีประมาณ 70-80% ขึ้นไป พบผลข้างเคียงน้อย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันและแดงบริเวณผิวหนังที่ฉายแสงหลังทำการรักษา ข้อดีคือ ส่วนใหญ่การกลับเป็นซ้ำของโรคจะน้อยกว่าการรักษาโดยใช้ยาทาหรือยารับประทาน

2.รังสีอัลตราไวโอเลต บี แต่เดิมจะใช้คลื่นแสงในช่วง 290-320 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นแสงช่วงคลื่นกว้าง (Broadband UVB) ชึ่งจะพบผลข้างเคียงจากการรักษาค่อนข้างมาก ต่อมาได้มีการพัฒนาให้ใช้แสงที่ช่วงความยาวคลื่นแคบลงอยู่ในช่วง 311 นาโนเมตร เรียกว่า Narrowband UVB ผู้ป่วยไม่จำเป็นจะต้องรับประทานยาเซอราเลน ก่อนการฉายแสงชนิดนี้

เครื่องฉายแสง UV Phototherapy มีหลายประเภท ชนิดฉายทั่วตัว ฉายเฉพาะ มือ-เท้า ฉายเฉพาะศีรษะ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตามตำแหน่งและความรุนแรงของผื่น และยังมีเครื่องฉายแสงเฉพาะหย่อมเล็กๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นปริมาณมาก ส่วนการเลือกว่าจะใช้แสงอัตราไวโอเลต เอ หรือ บี ขึ้นกับลักษณะของโรค ความรุนแรงของโรค และอายุของผู้ป่วย โดยก่อนการรักษาแพทย์จะทำการซักถามประวัติเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยจะต้องไม่มีประวัติแพ้แสงแดดหรือเป็นมะเร็งผิวหนังมาก่อน จากนั้นจะให้ทานยาเซอราเลน (PSORALEN) ก่อนได้รับการฉายแสงอัลตราไวโอเลต เอ 2 ชั่วโมง และควรรับประทานยาหลังอาหารเพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

โดยหลังจากทานยาผู้ป่วยไม่ควรตากแดดเป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง ควรหลบแดดควรใส่แว่นตากันแดด สวมเสื้อแขนยาว ทายากันแดด หรือกางร่ม เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น และผู้ป่วยต้องไม่รับประทานยาประเภทที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้แสงแดด เช่น ยาโรคเบาหวาน ยาความดันโลหิตสูงบางชนิด ถ้ารับประทานยาประเภทนี้อยู่ควรแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบ ต้องไม่เป็นต้อกระจกและควรตรวจตาสม่ำเสมอ

นอกจากโรคสะเก็ดเงินแล้วพบว่า การฉายแสงอาทิตย์เทียม (UV Phototherapy) ยังสามารถใช้การรักษาโรคผิวหนังชนิดอื่น เช่น โรคด่างขาว (Vitiligo) ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) ผื่นคันเรื้อรังที่มือและเท้า ผื่นคันที่พบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคตับ โรคไต ผื่นคันไม่ทราบสาเหตุ ผื่นกุหลาบ (Pityriasis rosea) มะเร็งผิวหนังบางชนิด (mycosis fungoides) ได้อีกด้วย

ที่มา :ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2557

ลดความอ้วนและไขมันในเลือดสูงด้วยผักพื้นบ้านไทย

Credit: en.wikipedia.org

Credit: en.wikipedia.org

ลดความอ้วนและไขมันในเลือดสูงด้วยผักพื้นบ้านไทย

รองศาสตราจารย์ .ภญ. พร้อมจิต ศรลัมพ์
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          ภาวะไขมันในเลือดสูงในคนไทยทั้งชายและหญิงเป็นปัญหาสุขภาพที่นับวันจะรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัว พบว่าทัศนคติในการบริโภคของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กไทยเปลี่ยนจากอาหารไทยที่อุดมไปด้วยผักนานาชนิด ไปเป็นอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ที่เข้ามาแพร่หลาย ได้รับความนิยมสูงและหาซื้อง่าย สารอาหารที่พบในอาหารจานด่วนส่วนใหญ่เป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งถ้าบริโภคเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงและจะพัฒนาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็งในทางเดินอาหาร เราควรหาโอกาสไปพบคุณหมอและตรวจหาข้อมูลสุขภาพสักปีละครั้ง เพื่อป้องกันก่อนเกิดโรคเหล่านี้

image0003

ระดับไขมันในคนปกติจะต้องมีค่าโคเลสเตอรอลรวมน้อยกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 170 มก./ดล. ไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับโคเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายและนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ควรมีค่ามากกว่า 60 มก./ดล. ส่วนไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล. สำหรับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้นำในการรับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันโรคต่างๆ เอาไว้ก่อน

วัฒนธรรมการปรุงอาหารไทย ใช้เครื่องปรุงที่มีอยู่ในพื้นที่ เป็นพืชผักและเครื่องเทศ ซึ่งพบว่ามีสารประกอบพฤกษเคมี หรือไฟโตเคมิคอล (phytochemical) ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการและปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นด้วย ทำให้เราใช้ประโยชน์เป็นยาที่ช่วยปรับสมดุล ป้องกันและรักษาโรคได้ดีมาก มีการวิจัยเพื่อตรวจหาศักยภาพของผักในบ้านเราที่สามารถลดไขมันในเลือดได้ พบว่า

พริกไทยดำ และสารสำคัญคือไปเปอรีนสามารถลดการซึมผ่านของโคเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด (cholesterol uptake)1,2

ส่วน ข่า มีน้ำมันหอมระเหยและ ชาดำ มีสารกลุ่มแทนนินช่วยต้านกระบวนการย่อยสลายไขมันในลำไส้ของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน (pancreatic lipase activity) ทำให้ไขมันที่บริโภคไม่สามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ และถูกขับออกมากับกากอาหารอื่น1 ข่า ยังสามารถลดระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลปิด และเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) ในซีรัมหนูทดลองไขมันสูง3

ส่วนสารสกัด กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดง ใบมะรุมและผลมะระขี้นก ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase เช่นเดียวกับยาลดไขมันกลุ่มสแตติน เช่น พราวาสแตติน ทำให้การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในร่างกายลดลง1

     ใน เหง้าขิง มีสารสำคัญกลุ่มน้ำมันหอมระเหยและยางเรซินซึ่งไม่ค่อยละลายในน้ำ พบว่าสัตว์ทดลองไขมันสูงกินน้ำต้มขิงในขนาดสูง (500 มก./กก.) สามารถลดโคเลสเตอรอลได้ แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์4หลังจากให้กระต่ายทดลองที่กินขิงสกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ ตรวจพบปริมาณไขมันถูกขับออกมาในอุจจาระเพิ่มขึ้น5 

สารสีแดงกลุ่มแคโรทีนอยด์ใน พริกชี้ฟ้า ชื่อแคปแซนตินทำให้ระดับไขมันชนิดดีในสัตว์ทดลองสูงขึ้น6

ใบผักบุ้ง ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ของหนูแรทที่ทำให้มีไขมันสูงได้ทั้งในเลือด ตับ ไต และหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ7

หนูทดลองกินน้ำต้ม ใบตะไคร้ ขนาดต่างๆ นาน 42 วัน พบว่า ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและไขมันชนิดไม่ดีลดลงตามขนาดที่กิน แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์8

มีผลงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์เป็นจำนวนมาก ระบุว่า ผลมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก พบว่าน้ำคั้นผลมะขามป้อมสด สามารถลดระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และ LDL ของกระต่ายโคเลสเตอรอลสูงลงได้ โดยกลไกลดการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มการขับถ่ายออกไปพร้อมอุจจาระ9 สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มฟลาโวนอยด์ และโพลีฟีนอล ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมันและเสริมการทำลายโคเลสเตอรอลทั้งในซีรัมและในเนื้อเยื่อของหนูที่โคเลสเตอรอลสูงด้วย10

สารอัลลิซินและอะโจอินใน กระเทียมสด มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างสารโคเลสเตอรอลในร่างกายและมีฤทธิ์ต้านการก่อไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้11

มีการวิจัย ลูกเดือย ในปี 2012 นี้สรุปว่าในลูกเดือยมีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งออกฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด12

มะเขือเทศ เป็นผักที่มีไลโคปีนสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสามารถลดระดับไขมันชนิดเลวได้ดี13 การศึกษาโดยการสังเกตและวิเคราะห์ไปข้างหน้า (Prospective cohort) พบว่าหญิงที่รับประทานมะเขือเทศเป็นหลักอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 7-10 มื้อ จะลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย14

การนำผักเครื่องเทศเข้ามาในเมนูอาหารของครอบครัวเป็นเรื่องง่าย เติมพริกไทยในอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ แกงจืดใบตำลึง น้ำพริกแนมกับใบมะรุม ผลมะระขี้นก ใบตำลึงต้ม อันที่จริงเรามีน้ำพริกหลากหลายชนิด น้ำพริกมะม่วง น้ำพริกกะปิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า ไตปลาแห้ง เป็นต้น เป็นอาหารที่นำไปสู่การบริโภคผักที่ดี ไก่ต้มข่า หากใช้ข่าอ่อน จะเคี้ยวทานไปได้เลย เวลาทำข้าวต้มปลา จะใช้ข่าอ่อนโขลก เติมน้ำปลา ใส่ในข้าวต้มตอนรับประทาน และคีบเนื้อปลาจิ้ม จะหอม และกลบกลิ่นคาวปลา อร่อยมาก ตะไคร้เป็นเครื่องเทศที่พบในอาหารไทยเสมอ ยำตะไคร้ใส่กุ้งหมูและน้ำยำรสจัด ทำให้เราบริโภคตะไคร้ในปริมาณที่มากขึ้น มีพริกอยู่ในอาหารแทบทุกจานอยู่แล้ว ลองนำมะเขือเทศมาผัดกับหมูและไข่ เหยาะน้ำปลา โรยต้นหอมผักชีเล็กน้อย ทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะผัดเป็นข้าวผัดก็ดี ใส่ลูกเดือยในแกงจืด หรือทำขนมก็ได้ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำชาจีน น้ำมะขามป้อม เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติแตกต่างกันและมีคุณประโยชน์ดีกว่าน้ำอัดลม

ที่กล่าวถึงเป็นเพียงตัวอย่างผักและเครื่องปรุงอาหารบางส่วนเท่านั้น อันที่จริงนอกจากสารประกอบพฤกษเคมีหลากหลายชนิดที่พบในผักผลไม้ต่างๆ แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือ สารแมคโครนิวเทรียนต์ (macronutrient) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน สารอาหารอีกชนิดหนึ่งคือ สารไมโครนิวเทรียนต์ (micronutrient) เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเช่นกัน แต่ต้องการปริมาณเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ไวตามินและแร่ธาตุ แม้แต่ส่วนกากเส้นใย (fiber) ก็ยังช่วยดูดซับไขมันที่เราบริโภคในมื้อนั้นไว้ และช่วยนำพาไปกำจัดออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ

วันนี้ท่านรับประทานผักหรือยัง ทุกมื้อควรมีผักครึ่งหนึ่ง อาหารอื่นอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีเราต้องทำให้ได้ เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

เอกสารอ้างอิง

  1. Duangjai A, Ingkaninan K, Limpeanchob N. Potential mechanisms of hypocholesterolaemic effect of Thai spices/dietary extracts. Nat Prod Res 2011;25(4):341-52.
  2. Duangjai A, Ingkaninan K, Praputbut S, et al. Black pepper and piperine reduce cholesterol uptake and enhance translocation of cholesterol transporter proteins. J Nat Med 2012;67(2):303-10.
  3. Achuthan CR and Padikkala J. Hypolipidemic effect of Alpinia galanga (Rasna) andKaempferia galanga (Kachoori). Indian J Clin Biochem 1997;12(1):55-8.
  4. Thomson M, Al-Qattan KK, Al-Sawan SM, et al. The use of ginger (Zingiber officinale Rosc.) as a potential anti-inflammatory and antithrombotic agent. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids 2002;67(6):475-8.
  5. Sharma I., Gusain D., Dixit VP. Hypolipidaemic and Antiatherosclerotic effects of Zingiber officinale in cholesterol fed rabbits. Phytother Res1996;10:517–8.
  6. Aizawa K and Inakuma T. Dietary capsanthin, the main carotenoid in paprika (Capsicum annuum), alters plasma high-density lipoprotein-cholesterol levels and hepatic gene expression in rats. Br J Nutr 2009;102(12):1760-6.
  7. Sivaraman D. Hypolipidemic activity of Ipomoea aquatica Forsk. leaf extracts on lipid profile in hyperlipidemic rats. Int Pharm Biol Arch 2010;1(2):175-9.
  8. Adewale AA and Oluwatoyin AE. Hypoglycemic and hypolipidemic effects of fresh leaf aqueous extract of Cymbopogon citrarus Stapf. in rats. J Ethnopharmacol 2007;112:440-4.
  9. Mathur R, Sharma A, Dixit VP, et al. Hypolipidaemic effect of fruit juice of Emblica officinalisin cholesterol-fed rabbits. J Ethnopharmacol 1996;50:61-8.
  10. Anila L and Vijayalakshmi NR. Flavonoids from Emblica officinalis and Mangifera indica-effectiveness for dyslipidemia. J Ethnopharmacol 2002;79(1):81-7.
  11. Sendl A, Schliack M, L?ser R, et al. Inhibition of cholesterol synthesis in vitro by extracts and isolated compounds prepared from garlic and wild garlic. Atherosclerosis 1992;94(1):79–85.
  12. Wang L, Sun J, Yi Q, et al. Protective effect of polyphenols extract of adlay (Coix lachryma-jobi L. var. ma-yuen Stapf) on hypercholesterolemia-induced oxidative stress in rats. Molecules 2012; 17(8):8886-97.
  13. Agarwal S and Rao AV. Tomato lycopene and its role in human health and chronic diseases. CMAJ 2000; 163(6): 739–44.
  14. Sesso HD, Lin S, Gaziano JM, et al. Dietary lycopene, tomato – based food products and cardiovascular disease in women. J Nutr 2003; 133: 2336–41.

ที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=151

ดูแลสุขภาพกับเบาหวาน มุมมองของเภสัชกรชุมชน

dailynews130707_005จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้ทำการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22.2 ล้านคน ใน พ.ศ. 2554 พบผู้ป่วยเบาหวาน 1,581,857 คน ในจำนวนนี้มีผู้ที่ภาวะแทรกซ้อน 277,020 คน ซึ่งพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางไตมากที่สุด รองลงมาคือภาวะแทรกซ้อนทางตา และมีการคาดการณ์ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยเบาหวานสูงขึ้นถึง 4.7 ล้านคน

เภสัชกรหญิงวิไลวรรณ ลักษมีเลิศ จากสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานว่า “เบาหวาน” เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เนื่องจากโดยปกติแล้วฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อนจะนำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่าง ๆ แต่ถ้าร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอที่จะนำน้ำตาลไปใช้ได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “น้ำตาลในเลือดสูง” ซึ่งในระยะยาวจะมีผลให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และหากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงได้

“ในร่างกายของคนปกติทั่วไปจะมีระดับน้ำตาลอยู่ที่ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลสูงถึง 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป…แต่เวลาที่คนไข้ไปโรงพยาบาลคุณหมอมักแนะนำให้อดอาหารก่อนไปเจาะเลือดตรวจ ถ้าเป็นดังนี้จะพบว่า คนที่อดอาหารมากกว่า 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป ในคนปกติจะตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ในคนเป็นเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลที่มากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถามว่าทำไมแพทย์จึงต้องให้อดอาหารก่อน นั่นก็เพราะว่าการตรวจเลือดในขณะอดอาหารจะช่วยให้เราสามารถเช็กการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ดีกว่าการไม่อดอาหาร คุณหมอจึงต้องให้เราอดอาหารก่อนไปตรวจนั่นเอง”

เบาหวาน สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ เบาหวานชนิดที่ 1, เบาหวานชนิดที่ 2, เบาหวานที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ และเบาหวานที่มาจากสาเหตุอื่น ๆ แต่ที่เราจะพูดคุยในวันนี้ก็คือเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ซึ่งพบได้บ่อยกว่าชนิดอื่น

เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่พบในเด็ก เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราไปทำลายเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยมาก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปตลอด

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และพบได้มากในผู้ใหญ่ สาเหตุมาจากความเสื่อมของเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยทั่วไปมักสัมพันธ์กับเรื่องพันธุกรรม น้ำหนักตัวที่มาก และการขาดการออกกำลังกาย ประกอบกับวัยของผู้ป่วย เซลล์ที่เริ่มมีการเสื่อมลงแล้ว ทำให้การทำงานของอินซูลินไม่เป็นปกติเหมือนเดิม หรือมีภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เซลล์ต่าง ๆ ของตับอ่อนถูกทำลายลงไปบ้างส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งการรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ในขั้นต้น แพทย์จะให้รับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ภก.หญิงวิไลวรรณ  กล่าวว่า ผู้ป่วยเบาหวานต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการดูแลตนเอง โดยมีหลักปฏิบัติง่าย ๆ 4 ข้อ ดังนี้

1. ต้องทานยาที่แพทย์สั่งเป็นประจำ อย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ เพราะยาจะเป็นตัวที่ช่วยดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เรา ยาที่ต้องทานก่อนอาหารผู้ป่วยก็ต้องทานก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงตามที่แพทย์สั่ง เพื่อที่ยาจะช่วยดึงให้ระดับน้ำตาลในเลือดมาอยู่ในระดับที่เหมือนคนปกติทั่วไป…ยาเบาหวานเป็นยาที่ต้องรับประทานเป็นประจำและตามเวลาที่แพทย์ระบุ มิเช่นนั้นเซลล์ของเราจะไม่สามารถที่จะมีกระบวนการทำงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือตามปกติได้ ยาเบาหวานไม่เพียงแต่เป็นยาที่ใช้รักษาตามอาการเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวช่วยในการปรับระบบการทำงานของเซลล์อีกด้วย

2. ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เท่า ๆ กัน ในแต่ละมื้อ ไม่ควรที่จะกินจุกกินจิก เพื่อให้ตรงตามตารางการใช้ยาที่คุณหมอกำหนดให้ ทั้งนี้ไม่ว่าเราจะรับประทานอาหารชนิดใดก็ตาม อาจทำให้เราได้รับน้ำตาลสูงเกินความจำเป็น

3. หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยากลับบ้านไปแล้ว ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองหลังทานยาว่ามีอาการโหยหรือไม่ ใจสั่นหรือไม่ มีอาการเป็นลม หรือมีอาการแพ้จากการรับประทานยาหรือไม่ หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้คุณหมอตรวจเช็กเรื่องการทานยา ไม่ควรปรับเปลี่ยนการรับประทานยาด้วยตัวเอง ซึ่งอาการโหยหรือใจสั่น อาจเกิดจากการที่เราได้รับยาที่เกินขนาด จึงทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ หรือที่เรียกว่า “น้ำตาลตก” ได้

4. ผู้ป่วยควรมีการออกกำลังกายบ้าง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที ประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อที่ร่างกายของเราจะได้ลดการดื้อต่ออินซูลินได้ แต่ต้องเลือกชนิดการออกกำลังกายที่ไม่หักโหมเกินไป เพราะการออกกำลังกายที่หนักจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกลงมาได้ อาจจะเลือกใช้การบริหารอวัยวะเป็น
ส่วน ๆ เช่นที่ปลายเท้าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ซึ่งจะช่วยลดภาวะอาการเท้าชาได้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือหลักปฏิบัติง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อช่วยให้ท่านที่เป็นเบาหวานแล้วห่างไกลจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมา เพราะความน่ากลัวของโรคเบาหวานนั้น แท้ที่จริงแล้วอยู่ที่โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ นี่เอง

ดังที่ทราบกันว่าในทุก ๆ อวัยวะทั่วร่างกายล้วนมีหลอดเลือดและเลือดไปหล่อเลี้ยง ดังนั้นเมื่อหลอดเลือดเกิดความเสื่อมอันเนื่องมาจากโรคเบาหวาน ก็ย่อมจะส่งผลถึงทุกอวัยวะทั่วร่างกายเช่นเดียวกัน ซึ่งหลายคนคงเคยได้ยินเรื่องของ “เบาหวานขึ้นตา” หรือคนเป็นเบาหวานเป็นแผลแล้วหายยากหายช้า อาการเหล่านี้เป็นเรื่องของโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน ประมาณ 5 ปีขึ้นไป จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เหล่านี้ ยิ่งถ้าเกิดกับอวัยวะสำคัญก็จะอันตรายมาก ไม่ว่าจะเป็นสมอง หัวใจ ตา ไต รวมถึงอวัยวะปลายมือปลายเท้าของเราก็มีผลได้ทั้งหมด

ในเรื่องของการดูแลเท้า ผู้ป่วยควรหมั่นดูแลเท้าทุกวัน ทั้งหลังเท้าและฝ่าเท้าว่ามีแผลเกิดขึ้นหรือไม่ ผู้ป่วยจะต้องล้างเท้า ฟอกสบู่และเช็ดให้แห้งทุกวัน หลังจากนั้นก็ควรทาโลชั่นเพื่อให้เท้าชุ่มชื้นไม่แห้งไม่แตก หรือเกิดแผลได้ง่าย ผู้ป่วยควรสวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ไม่ควรแช่เท้าในน้ำอุ่น ทั้งนี้เนื่องจากเท้าของผู้ป่วยเบาหวานจะมีความรู้สึกชาและตอบรับกับอุณหภูมิของน้ำไม่เหมือนกับคนปกติจึงไม่ควรแช่เท้าในน้ำอุ่น อีกทั้งเมื่อเกิดแผลแล้วก็ต้องรีบทำแผลทันที ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อลุกลามไปได้

แนะนำว่า “ควรตัดเล็บเท้าเป็นแนวตรง” อาจจะตะไบที่มุมเล็บเล็กน้อย ไม่ควรตัดเล็บในลักษณะโค้ง เพราะเสี่ยงต่อการตัดเข้าเนื้อ และอาจทำให้แบคทีเรียเข้าไปอยู่บริเวณนั้นเกิดสะสมจนเป็นแผลอักเสบขึ้นได้ นอกจากนี้ควรมีการบริหารเท้าหรือนวดเท้าทุกวันเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่เท้า

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือเรื่องของอาหาร ภก.หญิงวิไลวรรณ  ให้ข้อมูลว่า มีอาหารหลายชนิดที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ ยกตัวอย่างเช่น ปลา ซึ่งมีโอเมก้า 3 ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ดึงให้ร่างกายของเรามีการใช้น้ำตาลได้ดีขึ้น, หอมใหญ่ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้, บรอกโคลี มีโครเมี่ยมสูง ช่วยให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้นเพื่อดึงน้ำตาลเข้าไปเลี้ยงเซลล์ได้ดีขึ้น, มะระขี้นก จากงานวิจัยพบว่าในมะระขี้นกมีสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดคล้ายกับอินซูลิน, ถั่วฝักยาวและพืชตระกูลถั่ว จะมีไฟเบอร์สูง จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดดูดซึมอย่างช้า ๆ ช่วยลดภาวะการดื้อต่ออินซูลินได้, ใบกะเพรา ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้, โสม จะช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดของเราได้

ภก.หญิงวิไลวรรณ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า อาหารของผู้ป่วยเบาหวานสามารถแบ่งง่าย ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1. อาหารที่ไม่แนะนำให้รับประทาน นั่นคืออาหารกลุ่มแป้ง กลุ่มที่มีน้ำตาลสูง รวมถึงของหวานต่าง ๆ ช็อกโกแลต ไอศกรีม และเครื่องดื่มอัดลม และน้ำผลไม้ต่าง ๆ

2.กลุ่มอาหารที่สามารถทานได้ และไม่จำกัดปริมาณในการรับประทาน นั่นก็คือผักใบเขียวทั้งหลาย ซึ่งสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งยำ สลัด และผัดผัก เพราะกลุ่มพืชผักใบเขียวเหล่านี้มีไฟเบอร์สูง ไฟเบอร์ที่สูงนี้จะช่วยให้ร่างกายเราดูดซึมน้ำตาลได้อย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป และช่วยในเรื่องการขับถ่ายของผู้ป่วยด้วย

3. กลุ่มอาหารที่สามารถทานได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณในการรับประทาน เช่น อาหารที่มีแป้ง คาร์โบ ไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาในการรักษาค่อนข้างยาวนานหรือบางท่านก็อาจจะตลอดชีวิต แต่ถ้าเราสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีคุณภาพชีวิตและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขเฉกเช่นคนปกติทั่วไป.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

 

ที่มา : เดลินิวส์ 7 กรกฎาคม 2556

เซลล์ตกแต่งพันธุกรรมอาจกลายเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต

voathai130428_001ทีมนักวิจัยในสหรัฐเปิดเผยว่าในอนาคต แพทย์จะสามารถรักษาโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้ด้วยเซลล์ที่ผ่านการทำพันธุวิศวกรรม สร้างความหวังว่าการรักษาโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมอาจจะกลายเป็นการรักษาโรคทั่วไปแทนการรักษาด้วยยา

ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of California ในซานฟรานซิสโกชี้ว่าการบำบัดโรคด้วยเซลล์เป็นแนวทางการรักษาโรคแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการบำบัดโรคร้ายแรงหลายๆโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ศาสตราจารย์เวนเดล ลิม หัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์ Systems and Synthetic Biology ที่มหาวิยาลัยกล่าาว่าเราสามารถกระตุ้นให้ระบบการต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติในร่างกายคนเราทำงานได้มากกว่าที่ทำอยู่

ศาสตราจารย์ลิมกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าร่างกายคนเราสร้างขึ้นจากเซลล์และภายในร่างกายคนเรา มีเซลล์หลายประเภท  อาทิ เซลล์ภูมิต้านทานที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ร่างกายคนเรามีระบบบำบัดที่ซับซ้อนหลายอย่างอยู่ในตัว เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าจะใช้เซลล์เหล่านี้ให้ทำหน้าที่เหมือนยาที่สามารถบำบัดโรคได้ในตัวได้อย่างไร

ศาสตราจารย์ลิมกล่าวว่าทีมนักวิจัยได้เริ่มต้นพัฒนายุทธวิธีบำบัดโรคด้วยเซลล์ที่ซับซ้อนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของพันธุกรรมในการกำหนดพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย

เขายกตัวอย่างว่าเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตามธรรมชาติที่ต่อสู่กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอ่อนแอ ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการตกแต่งพันธุกรรมเซลล์ภูมิต้านทานให้เพิ่มจำนวนขึ้นและยังกำหนดให้ทำหน้าที่กำจัดโมเลกุลที่พบในเซลล์มะเร็งเป็นการเฉพาะ เขากล่าวว่าจาการทดลองบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรม ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างน่าพอใจ

ศาสตราจารย์ลิมกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทีมงานพบข้อมูลที่น่าตื่นเต้นที่ทำให้พวกเขาเชื่อว่าการบำบัดโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมนี้สามารถทำได้และมีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จ ในการทดลอง ทีมงานได้นำเซลล์จากร่างกายผู้ป่วยมะเร็ง และนำเซลล์ไปทำพันธุวิศวกรรมเพื่อให้ทำหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง ปรากฏว่าการบำบัดได้ผลดีในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) และมะเร็งในระบบเซลล์ภูมิคุ้มกัน (lymphoma) หลายคน

อย่างไรก็ดี ก่อนจะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยได้ทั่วไป การบำบัดโรคด้วยเซลล์ภูมิต้านทานตกแต่งพันธุกรรมนี้จะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยอีกมากมายหลายครั้งโดยทีมนักวิจัยเอกเทศและโดยหน่วยงานควบคุมของรัฐบาลเสียก่อน

แต่ศาสตราจารย์ลิมกล่าวว่าการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการบำบัดโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมมีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้ที่จะนำวิธีบำบัดโรคแบบนี้ไปใช้และยังจะมีบทบาทช่วยในการพัฒนาให้การบำบัดแนวใหม่นี้ดีขึ้น

หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ายารักษาโรคมากมายที่เราใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยล้วนเริ่มต้นมาจากสารธรรมชาติในพืชหรือในต้นไม้ ที่เรานำมากลั่นกรองจนมีความบริสุทธิ์และเพิ่มประสิทธิิผลในการรักษา ตลอดจนลดความเป็นพิษ การบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมก็จะต้องผ่านขั้นตอนเดียวกันนี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศาสตราจารย์ลิมและทีมงานได้จัดการประชุมเป็นเวลาหนึ่งวันกับบรรดานักวิจัยทางวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านชีวการแพทย์ระดับชั้นนำของสหรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าเป็นไปได้แค่ไหนที่การบำบัดด้วยเซลล์ตัดแต่งพันธุกรรมจะกลายเป็นวิธีหลักในการรักษาโรคในอนาคต

24.04.2013

ที่มา : www.voathai.com

.

Related Article :

.

Director of the UCSF Center for Systems and Synthetic Biology Wendell Lim (UCSF).

Director of the UCSF Center for Systems and Synthetic Biology Wendell Lim (UCSF).

Engineered Immune Cells May Yield Novel Disease Therapies

Rick Pantaleo

April 10, 2013

Researchers in California say that someday, doctors will be able to treat serious illnesses with modified cells, adding that the technique could become as common as it is now to treat the sick with drugs.

Researchers at the University of California, San Francisco say novel cell therapies have the potential to address critical needs in the treatment of some of the deadliest illnesses, including diabetes, cancer and inflammatory bowel diseases.

These possibilities are described in an article published in the online journal Science Translational Medicine, co-authored by Professor Wendell Lim, who is also director of the UCSF Center for Systems and Synthetic Biology. Lim says our body’s natural disease-fighting systems could be harnessed to do much more.

“Our bodies are made of cells and we have in our bodies cells, like immune cells, that go around and protect us,” said Lim. “So, they actually carry out complex therapeutic functions.  What we just haven’t really found a lot about is the idea that we can actually use these cells, these living sort of entities, as the actual medicine.”

Lim says researchers have been developing complex new cell therapy strategies that build on our growing knowledge of how genes program the development and inner workings of cells.

For example, because the body’s natural immune response to spreading cancer cells is often weak, scientists are engineering and growing populations of immune cells that target specific molecules found on cancer cells.   Lim said that there have already been some remarkable cancer recoveries that can be credited to these experimental cell therapy treatments.

“In the last year or two, there have been some other really exciting findings that have shown that the idea of using cells as therapies maybe have some real legs [can exist and be successful],” he said. “One of them is that people have started taking out immune cells from patients who have cancer and actually engineering them to now attack and kill that cancer.  And, that’s turned out to be remarkably effective for a handful of patients with leukemia and lymphoma that have been treated with this kind of engineered immune cell.”

As with any proposed new medical treatment, the cell therapies that are currently being developed will face lengthy and rigorous testing by independent laboratories and regulatory agencies before they can be put to regular use.

But Lim says the testing will not only protect any of those who may use the therapies, but may also play an important role in further developing and refining the therapies themselves.

“You know a lot of drugs that we use as therapeutics started out as some natural product within the bark of some tree,” he said. “And really that’s not a very controlled way of treating a disease. You have to know how to purify that compound, how to make variants of it that optimize the efficiency, but also minimize toxicity.  These are the type of things that we need to be able to do to cells to make this viable.”

Lim and his colleagues are conducting a daylong symposium on April 12 to discuss the future of cell therapy.  The meeting will feature talks by some of the nation’s leading researchers and biomedical scientists to see if cell-based therapies can someday become a viable pillar of medicine.

SOURCE : www.voanews.com

อดนอนร่างกายวิปริต ยีนต่าง ๆ ทำงานรวน

Studies have also shown a lack of sleep can lead to cognitive impairment Photo: Alamy

Studies have also shown a lack of sleep can lead to cognitive impairment Photo: Alamy

นักวิจัยอังกฤษค้นพบว่า การอดหลับอดนอนติดๆกันหลายวัน จะทำให้การทำงานในร่างกายมนุษย์เกิดการแปรปรวนขึ้น  ยีนเป็นร้อยๆ ปฏิบัติหน้าที่กันอย่างระส่ำระสาย

พวกเขาได้เปิดเผยในวารสาร “สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ของสหรัฐฯว่า การนอนไม่พอ ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เหตุที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วนและสมองทึบ ล้วนแต่เกี่ยวกับการอดนอนทั้งสิ้น

นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเซอเรย์ได้ศึกษากับ กลุ่มคนที่ได้นอนอย่างเต็มอิ่มวันละ 10 ชม. ทั้งอาทิตย์ เปรียบเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้หลับนอนวันละไม่ถึง 6 ชม. โดยตรวจเลือดดูด้วย ได้พบว่ามียีนที่มีหน้าที่สร้างโปรตีนไม่ต่ำกว่า 700 ตัวถูกกระทบ กระเทือน อีกทั้งนาฬิกาชีวภาพในตัว ก็พลอยสับสน

ศาสตราจารย์โคลิน สมิธ หัวหน้านักวิจัย กล่าวว่า การนอนไม่พอ ทำให้การทำงานของยีนหลายประเภทเปลี่ยนแปร โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันโรค และการซ่อมแซมความสึกหรอของร่างกาย เห็นได้ชัดว่า การนอนหลับสนิท เป็นสิ่งจำเป็นกับการซ่อมแซม และคงภาวะการทำงานปกติของร่างกาย ความเสียหายที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่าจะเป็นเหตุให้สุขภาพเสื่อมโทรม.

ที่มา:  ไทยรัฐ 4 มีนาคม 2556

.

Related Article :

.

Lack of sleep ‘switches off’ genes

One week of bad sleep can “switch off” hundreds of genes and raise the risk of a host of illnesses including obesity and heart disease, scientists claim.

By Nick Collins, Science Correspondent  25 Feb 2013

 

Getting fewer than six hours’ sleep per night deactivates genes which play a key role in the body’s constant process of self-repair and replenishment, according to a new study.

Our bodies depend on genes to produce a constant supply of proteins which are used to replace or repair damaged tissue, but after a week of sleep deprivation some of these stopped working.

The findings suggest that chronic lack of sleep could prevent the body from fully replenishing itself and raise the risk of a host of diseases, researchers said.

Scientists from Surrey University divided 26 volunteers into two groups, one of which slept for less than six hours per night for an entire week, and one which slept for ten hours per night.

At the end of the week each group was kept awake for 40 hours and donated blood samples, which were studied to examine the effects of their sleep regimes.

The week of sleep deprivation was found to have altered the function of 711 genes, including some involved in metabolism, inflammation, immunity and stress.

Inadequate sleep also interfered with genes which are designed to become more or less active at certain points in the day, by throwing off the body’s 24-hour internal clock.

Although a week’s normal sleep was enough to restore the affected genes to their normal pattern, researchers said that prolonged periods of sleeplessness could lead to serious health problems including obesity and heart disease.

Studies have also shown a lack of sleep can lead to cognitive impairment, for example limiting our ability to drive a car safely.

Prof Colin Smith, one of the authors of the new paper, which was published in the Proceedings of the National Academy of Sciencesjournal, said: “This is only a week of sleep restriction and it is only five and a half or six hours a night. Many people have that amount of sleep for weeks, months and maybe even years so we have no idea how much worse it might be.

“If these processes continue to be disrupted, you could see how you are going to get impairment of organs, tissues, heart disease, obesity, diabetes. If you are not able to replenish cells and tissues that are damaged then you are going to suffer permanent ill health.”

SOURCE : telegraph.co.uk

 

 

ภัยเงียบ “เบาหวาน”

dailynews121222_001ทุกคนรู้จักโรคเบาหวาน แต่ไม่คิดว่าจะเกิดกับตัวเอง จึงใช้ชีวิตอย่างประมาท กินอาหารทำลายสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย ในที่สุดโรคเบาหวานก็มาเยือน

รศ.นพ.สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร รองผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริการ) โรงพยาบาลจุฬากรณ์ สภากาชาดไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อ บอกว่า สังคมไทยและเอเชียเปลี่ยนไป เดิมกินน้อย ออกกำลังกายมาก กลายมาเป็นกินมาก ออกกำลังกายน้อย

ในอดีตโรคเบาหวานเป็นโรคของชาวตะวันตกที่กินมาก อ้วนมาก แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว คนเอเชียเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจนน่ากลัว เชื่อกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า โรคเบาหวานครึ่งหนึ่งของโลกจะอยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียอาคเนย์

ประเทศในเอเชียอาคเนย์พัฒนาเร็วมาก โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มาเลเซียประมาณ 10-11%ของประชากรเป็นโรคเบาหวาน ประเทศสิงคโปร์ 11%สำหรับประเทศไทยตัวเลขอยู่ที่ 6-7% ถ้าตัวเลขของประเทศไทยพุ่งขึ้นไปถึง 2 หลักแสดงว่าต่อไป 1 ใน 10 คนเป็นเบาหวาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุน่าเป็นห่วงมากเพราะทุกวันนี้ผู้สูงอายุ 2 ใน 10 คน เป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานไม่ได้เจอเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น คนอายุน้อยก็พบมากขึ้น โดยในเอเชียและประเทศไทยเริ่มพบคนเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่อายุ 30 ปี คือ ผู้ป่วย 1 ใน 3 อายุประมาณ 30-35 ปีก็เริ่มเป็นโรคนี้แล้ว

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่อายุยังน้อย เชื่อว่าเป็นเพราะพฤติกรรมการกินอยู่เปลี่ยนแปลงไป คือ กินน้ำตาล ไขมันมาก กินอาหารไม่มีประโยชน์ ขาดการออกกำลังกาย เดี๋ยวนี้บ้านเรามีปัญหาเด็กอ้วนมากขึ้น ทั้งในโรงเรียนประถม และมัธยม ส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวเล็กลง หลายครอบครัวมีลูก 1-2 คน ลูกเป็นเหมือนหัวแก้วหัวแหวน พ่อแม่พยายามให้ลูกกินทุกอย่างที่มีอยู่ พอเด็กออกกำลังกายน้อย ส่งผลให้เป็นโรคอ้วน แม้แต่การเรียนวิชาพลศึกษา เด็กไทยเรียนแค่ 1 วันต่อสัปดาห์ ในทางกลับกันเด็กกินน้ำอัดลมทุกวัน กินขนมกรุบกรอบทุกวัน แล้วจะไม่ให้อ้วนได้อย่างไร

โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม จึงต้องแก้ไขที่พฤติกรรม แต่ปัญหาพฤติกรรมแก้ไม่ได้ง่าย เพราะหลายคนยังคงกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง

ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ กินอาหารอย่างระมัดระวัง ออกกำลังกายให้มากขึ้น เพราะโรคเบาหวานเป็นแล้วไม่หาย แต่สามารถป้องกันได้ ควรดูแลสุขภาพป้องกันไม่ให้เกิดโรค ไม่ใช่เป็นแล้วค่อยมารักษาภายหลัง เพราะถ้าเป็นโรคเบาหวานแล้วต้องกินยา บางคนกินยาไม่ได้ผลก็ต้องฉีดยา มีส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจไม่ต้องใช้ยา เนื่องจากเป็นไม่มาก และเขาสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เช่น ลดน้ำหนักได้ คุมอาหารได้ ใส่ใจสุขภาพ

แนะนำว่าอายุ 30 ปีขึ้นไปควรไปตรวจหาเบาหวานทุกปี แต่หลายคนไม่ได้ตรวจร่างกาย มาพบแพทย์ช้า เพราะคนที่จะตรวจร่างกายเป็นประจำมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน มีสวัสดิการ คนทั่วไปทำงานส่วนตัวอยู่กับบ้านน้อยคนที่จะไปตรวจร่างกายประจำปี

ก่อนไปตรวจร่างกายไม่ต้องอดอาหาร เพราะเวลาเจาะเลือดไปตรวจหาเบาหวาน อาจตรวจไม่เจอ ถ้าอยากตรวจเบาหวาน อย่าหลอกตัวเอง อย่าเตรียมตัว ควรใช้ชีวิตปกติ แล้วไปตรวจเลย หลายคนเตรียมตัวก่อน จะไปตรวจร่างกายวันจันทร์ เสาร์อาทิตย์ไม่กินอะไรเลย ระวังตัวมากเพราะกลัวน้ำตาลขึ้น แบบนี้ไม่ดี

ใครก็ตามที่รู้ว่ามีความเสี่ยง เช่น มีคนในครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ย่าตายายเป็นโรคเบาหวานควรระวังไว้ เพราะโรคเบาหวานเป็นเหมือนภัยเงียบ ระยะแรกอาจไม่มีอาการอะไร ถ้าไปตรวจร่างกายน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180-200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานมาประมาณ 3-4 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเป็น

ที่น่าห่วง คือ เบาหวานขึ้นจอประสาทตาพบเยอะมาก ในบ้านเราตาบอดอันดับ 1 สาเหตุมาจากโรคเบาหวาน การตัดเท้าก็เช่นกันถ้าไม่นับอุบัติเหตุ เหยียบกับระเบิด ส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน แม้กระทั่งคนไข้ที่มานอนโรงพยาบาลเดี๋ยวนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งล้วนเป็นโรคเบาหวาน คนไข้ที่มาลงทะเบียนล้างไตทั่วประเทศก็เช่นกัน 70% เป็นโรคเบาหวาน.

นวพรรษ บุญชาญ

 

ที่มา : เดลินิวส์ 22 ธันวาคม 2555

เกียจคร้านเป็นเหตุให้เป็นเบาหวานปริมาณกลูโคสในเลือดพุ่งขึ้นสูงสุด

นักวิทยาศาสตร์รู้แล้วว่า เหตุใดความเซื่องซึม ทำให้คนเราเจ็บไข้ได้ป่วยได้ เพราะพบว่า เมื่อเวลาอยู่เฉย ๆ นาน ๆ จะทำให้ระดับกลูโคสในเลือดสูงขึ้น ป่วยเป็นเบาหวานและโรคหัวใจได้ง่าย

นักวิจัยมหาวิทยาลัยมิสซูรีของสหรัฐฯได้เพียรพยายามหาสาเหตุของการอยู่นิ่งเฉย ที่ทำให้สุขภาพของคนเราเสื่อม และได้ทดลองให้กลุ่มผู้ที่ขยันออกกำลัง งดการปาดเหงื่อลงชั่วคราว อย่างเช่นลดปริมาณการเดินเหินในชีวิตประจำวันลงเหลือเพียงครึ่งเดียว

ผลปรากฏว่า แค่ให้ทำเพียง 3 วันเท่านั้น พวกเขาต่างอ่อนปวกเปียกไปตาม ๆ กัน ซ้ำร้ายปริมาณกลูโคสในเลือดจะขึ้นสูง หลังจากการกินอาหารเข้าไปทุกมื้อ.

ที่มา: ไทยรัฐ 26 ตุลาคม 2555

.

Related Article:

.

How laziness can kill you

By ANI | ANI – Mon 22 Oct, 2012

London, October 22 (ANI): In a new study, researchers have tried to tease out the precise role of inactivity in causing ill health.

People who are inactive can eat poorly, be obese, smoke and have other lifestyle issues.

The researchers from the University of Missouri in the US devised a novel approach – they stopped a group of very active people from exercising as usual.

They got them to cut the number of steps they took each day by at least half and the question the researchers asked was will this physical laziness stop the body from being able to control blood sugar – the key disease-inducing factor for diabetes and heart disease.

Volunteers were fitted with glucose measuring devices so that their blood sugar could be checked continuously through 24 hours.

They were asked to move about as little as possible but eat normally, the Mirror reported.

To examine their basic blood sugar control, these healthy people were told they could walk and exercise as normal for three days.

During these three days their blood sugar didn’t spike at all after eating, a sign that they had perfect control over their blood sugar and they were ideally sensitive to insulin.

For the second part of the experiment, the volunteers became virtually sedentary and the time spent exercising fell to about three minutes.

The researchers found that during those three inactive days, blood glucose levels spiked after every meal with the peaks being 25 percent higher than during active days.

In other words, blood sugar went more and more out of control, the longer the subjects remained inactive, but if being inactive is your way of life, this experiment shows that the knock-on effect is your insulin loses its effect and you’re on the slippery slope to ill health. (ANI)

SOURCE: yahoo.com

เบาหวาน-หลอดเลือดแดงแข็ง-โรคหัวใจ

Credit: freedietsplan.com

มีการกล่าวขานหลายๆ อย่างเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เบาหวานทำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวานทำให้เกิดอัมพาต เบาหวานทำให้ตาบอด เบาหวานทำให้ไตวาย เบาหวานทำให้ถูกตัดขา ฯลฯ

แล้วผู้ที่เป็นเบาหวานกลัวอะไรมากที่สุด บางคนกลัวตาบอด บางคนกลัวล้างไต บางคนกลัวเป็นอัมพาต บางคนกลัวถูกตัดขา หลากหลายต่างๆ กันไป แน่นอน….ถ้าไม่เกิดขึ้นดีที่สุด แต่….คงไม่โชคดีตลอดไป ถ้าเกิดโรคแทรกซ้อน นั่นคงหมายถึงต้องทุกข์ทรมานตลอดชีวิต

เบาหวานตายจากอะไรมากที่สุด

คงไม่ยากที่จะเดาคำตอบได้ว่า เบาหวานตายจากโรคหัวใจมากที่สุด คนที่เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่เป็น 2-4 เท่า และโรคหัวใจที่ทำให้เกิดอัตราตายสูงสุดคือโรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (coronary heart disease)

Credit: health-pic.com

นั่นหมายความว่า ต้องมีการตีบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจจึงทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด  การที่หลอดเลือดแดงตีบก็ต้องเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ที่เกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ (คือหลอดเลือดแดงโคโรนารี)

เบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดแดงแข็ง แต่เบาหวานและหลอดเลือดแดงแข็งเป็นกระบวนการคนละอย่างกัน การเปลี่ยนแปลงในพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงแข็งอาจเกิดขึ้นก่อนการเป็นเบาหวานหลายปีหรืออาจนับสิบปี ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานครั้งแรกพบมีพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงแข็งแล้วถึง 50%!!

ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเป็นสาเหตุนำไปสู่การตายในเบาหวานถึง 65% โดย 40% มาจากหัวใจขาดเลือด อีก 15% มาจากโรคหัวใจอย่างอื่น และที่เหลือ 10% จากสมองขาดเลือด จะเห็นว่าสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดทั้ง 3 ประการนี้ มาจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

ทำไมเบาหวานจึงไปเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดงเข็ง

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) เป็นสาเหตุสำคัญของเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้งเป็นสาเหตุสำคัญของกลุ่มอาการเมตะบอลิกด้วย ภาวะดื้อต่ออินซูลินพบในเบาหวานประเภทที่ 2 ประมาณ 85-90% และจะคงสภาพนี้ไปตลอด เมื่อการหลั่งอินซูลินลดลง น้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้น โดยน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงขึ้นก่อนน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร เมื่อระดับอินซูลินลดลงถึงระดับหนึ่งน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารจึงเริ่มสูงขึ้น โดยทั่วไปหน้าที่ตับอ่อนในการสร้างอินซูลินจะสูญเสียไปประมาณ 50% ขึ้นไป น้ำตาลในเลือดขณะอดอดอาหารจึงเริ่มสูง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ เบาหวานเป็นความผิดปกติที่มีการดำเนินของโรคอย่างต่อเนื่อง หน้าที่ของตับอ่อนจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เป็นนานขึ้น นั่นหมายความว่า ถ้าไม่ได้รักษา โรคจะเป็นมากขึ้น น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามระดับของอินซูลินที่ลดลง ในขณะที่ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังคงสูงเหมือนเดิม

ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังมีความสัมพันธ์กับความอ้วน มีเพียงประมาณ 20% ของผู้ที่อ้วนเท่านั้นที่ไม่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในขณะที่ผู้ที่ผอมหรือมีน้ำหนักปกติมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ประมาณ 20% เช่นกัน  นอกจากอ้วนแล้ว ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง (ไตรกลีเซอไรด์สูง, ไขมันเอชดีแอลซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่ำ) ตลอดจนรบกวนหน้าที่ของเยื่อบุเซลล์ชั้นในของผนังหลอดเลือดด้วย (endothelial cell) ความผิดปกติต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งทั้งสิ้น (จริงๆ แล้วมีมากกว่านี้อีกหลายอย่าง)

ภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงเป็นเหตุสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงที่กระตุ้นกระบวนการของหลอดเลือดแดงแข็ง ความผิดปกติในกระบวนการเมตะบอลิสม ก่อให้เกิดการสร้างสารเคมีหรือกระบวนการบางอย่างที่ไปมีส่วนทำลายหลอดเลือดแดง เช่น การทำหน้าที่ของเยื่อบุเซลล์ชั้นในของผนังหลอดเลือดแดง (endothelial cell) ผิดปกติ ทำให้สูญเสียกลไกการป้องกันหลอดเลือด และไปกระตุ้นกระบวนการทำลายหลอดเลือดแทนการเพิ่มอนุมูลอิสระ และเพิ่ม oxidative stress การเปลี่ยนแปลงในกลไกการแข็งตัวของเลือดให้มีการเกาะจับตัวของเลือดได้ง่ายขึ้น การกระตุ้นกลไกการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง การเพิ่มการจับตัวของน้ำตาลกลูโคสกับสารโปรทีนบางอย่าง (glycosylation) ซึ่งเป็นเสมือนสารพิษในร่างกาย และ ฯลฯ

เบาหวานจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง

เมื่อเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง จะเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย กลไกการเกิดจะค่อยๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงระดับที่เลือดไหลเวียนสู่อวัยวะที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ ก็เกิดเป็นโรคขึ้น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการขาดเลือด อวัยวะที่สำคัญที่เกี่ยวกับการดำรงชีพคือหัวใจ เมื่อหัวใจขาดเลือดนำไปสู่อาการและโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง รวมทั้งการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน

จงอย่าประมาท อยู่อย่างมีสติและปัญญา และร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อเบาหวาน-หลอดเลือดแดงแข็ง-โรคหัวใจกันเถิด

ยากหรือไม่ที่จะสร้างภูมิคุ้มกัน
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะป้องกันเบาหวาน
ทำอย่างไรที่วินิจฉัยเบาหวานแต่แรกเริ่ม
รักษาเบาหวานให้เหมือนปกติได้จริงหรือ
คงต้องบอกว่า “ไม่ลอง ไม่รู้”  ถ้า “ไม่รู้ ก็น่าจะลอง” เพราะถ้า “ลองแล้ว จะรู้”

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี

 

ที่มา: ไทยรัฐ 7 พฤศจิกายน 2555