ง่ายๆ นวดกดจุดฝ่าเท้าบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

thairath140110_001aทุกวันนี้คนไทยมีสถิติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้นทุกปี สืบเนื่องจากการบริโภคอาหารไขมันสูง อาหารรสเค็มจัดที่ส่งผลให้ไตทำงานหนัก อาหารพวกชีสและมันเนย อาหารจานด่วนหรืออาหารจานเดียว เช่น ผัดกะเพราไข่ดาว ผัดซีอิ๊ว ข้าวมันไก่ รวมถึงของหวานประเภทต่างๆ ทั้งขนมไทยและขนมฝรั่ง อาหารเหล่านี้มักส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด (คอเลสเตอรอล) ให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความเครียดที่มีผลต่อฮอร์โมนในต่อมหมวกไต ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเช่นกัน

ความดันโลหิตสูงมีอันตรายเกิดกับร่างกายอย่างไร น่ากลัวที่สุดคืออันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ มีผลให้หัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจอาจตายได้ ดังนั้นหากเรารู้จักป้องกันแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนนิสัยการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารหวาน อาหารเค็ม ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงความเครียด จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงได้

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะให้ยาขับปัสสาวะและยาลดความดันในเวลาเดียวกัน รวมถึงคำแนะนำในการงดอาหารหวาน มัน เค็ม การทำตัวไม่ให้เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากพบว่าผู้ป่วยยังคุมระดับความดันไม่ได้ จึงจะหาวิธีอื่นๆ มาช่วยเหลือผู้ป่วย ตามแนวคิดที่ว่า “ไม่มีศาสตร์การแพทย์แผนใดแผนหนึ่งแผนเดียวที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ครบถ้วนร้อยเปอร์เซ็นต์” ทุกศาสตร์การแพทย์ยังมีช่องว่าง (Gap of Knowledge)

เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางการแพทย์จึงเป็นที่มาของการแพทย์แบบผสมผสาน (Complementary Medicine) ให้การดูแลสมบูรณ์แบบและมีความเป็นองค์รวมมากขึ้น เช่นการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ซึ่งเป็นการนำการแพทย์แผนตะวันออกมาผสมผสานในการดูแลผู้ป่วยเพื่อบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

การนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าเป็นการกดจุดบนฝ่าเท้าที่เป็นตัวแทนอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพื่อส่งผ่านพลังตามเส้นแนวโคจรพลัง (Meridian line) ช่วยให้พลังเดินสะดวก ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนมองว่าร่างกายของมนุษย์ หากพลังงานไหลเวียนดีโดยไม่ติดขัด ถือว่ามีสุขภาพดี แต่หากมีการติดขัดที่ใดจะถือว่ามีปัญหาสุขภาพ

ทั้งนี้ ทั้งนั้น เราสามารถตรวจสอบการติดขัดของเส้นโคจรพลังได้ระหว่างการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า โดยหากพบ “เม็ดทราย” (Microcrystal หรือ Crystalline deposit) หรือตัวบ่งบอกว่าพลังเกิดความติดขัดในร่างกาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดจะต้องกดให้เม็ดทรายนั้นแตกออก พลังจะได้เดินสะดวกและผู้ป่วยจะมีสุขภาพดีขึ้น

thairath140110_001b

ในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องกด 62 จุดภายใต้ฝ่าเท้าเพื่อให้พลังไหลเวียนต่อเนื่องทุกอวัยวะ จากนั้นมาเน้น อีก 26 จุดที่เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย และสุดท้ายคือการเน้นจุดที่เป็นตัวแทนในการลดความดันโลหิต ซึ่งประกอบด้วย จุดศูนย์รวมประสาท หัวใจ ต่อมใต้สมอง ต่อมพิตูอิตารี จุดตรงฐานหัวแม่เท้า กระดูกสันหลัง กระบังลม ปอด ต่อมหมวกไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ ดังรูป คือ 11 จุดในการลดความดันโลหิตสูง

ผศ.ดร.ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
E-mail : ladawal.unp@mahidol.ac.th

ที่มา: ไทยรัฐ 10 มกราคม 2557

ทำสมาธิระงับวิตกกังวลซึมเศร้า

image140110_002นักวิจัยมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐฯ ศึกษาพบว่าการนั่งสมาธินานวันละครึ่งชั่วโมง อาจช่วยระงับความวิตกกังวล อาการซึมเศร้าและความเจ็บปวดลงได้

คณะนักวิจัยได้พบหลักฐานระดับปานกลางยืนยันเรื่องนี้ ในรายงานผลการศึกษาในเรื่องนี้ที่แล้วมา 47 เรื่องด้วยกัน

หัวหน้านักวิจัย ดร.มัธยะ โกยัล กล่าวว่า “คนหลายคนยังคิดว่า การนั่งสมาธิคือการนั่งอยู่นิ่งๆ โดยไม่ได้ทำอะไรเลย ซึ่งไม่จริง ที่จริงแล้วเป็นการฝึกจิตให้มีสติสัมปชัญญะมากขึ้น”

เมื่อ พ.ศ. 2550 เคยมีรายงานว่า คนชาวอเมริกัน เกิดความสนใจศึกษาเรื่องนี้มากประมาณร้อยละ 9 และในจำนวนนี้ มีอยู่ร้อยละ 1 ที่แจ้งว่าได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาโรคหรือใช้เป็นยา

ในการศึกษาครั้งล่านี้ พวกเขาได้พบว่ามีผู้ปฏิบัติประมาณร้อยละ 5-10 รายงานว่าช่วยให้คลายความวิตกกังวลลงได้ และมีมากประมาณร้อยละ 10-20 กล่าวว่าทำให้คลายความซึมเศร้าลง เมื่อเทียบกับผู้ปฏิบัติตนแบบอื่น

อย่างไรก็ดี สำหรับผลดีในการช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ดร.มัธยะยอมรับว่ายังไม่อาจรู้ได้ว่าการนั่งสมาธิช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดแบบไหนลงได้มากที่สุด.

ที่มา: ไทยรัฐ 10 มกราคม 2557

.

Related Article:

.

image140110_001

Meditation may help with anxiety, depression and pain

07 Jan 2014

Using data from 47 earlier studies, researchers found moderate evidence to support the use of mindfulness meditation to treat those conditions. Meditation didn’t seem to affect mood, sleep or substance use.

“Many people have the idea that meditation means just sitting quietly and doing nothing,” wrote Dr. Madhav Goyal in an email to a news agency. “That is not true. It is an active training of the mind to increase awareness, and different meditation programs approach this in different ways.”

Goyal led the study at The Johns Hopkins University in Baltimore.

He and his colleagues write in JAMA Internal Medicine that meditation techniques emphasize mindfulness and concentration.

So-called mindfulness meditation is aimed at allowing the mind to pay attention to whatever thoughts enter it, such as sounds in the environment, without becoming too focused. Mantra meditation, on the other hand, involves focusing concentration on a particular word or sound.

Approximately 9 percent of people in US reported meditating in 2007, according to the National Institutes of Health. About 1 percent said they use meditation as some sort of treatment or medicine.

For the new report, the researchers searched several electronic databases that catalog medical research for trials that randomly assigned people with a certain condition – such as anxiety, pain or depression – to do meditation or another activity. These randomized controlled trials are considered the gold standard of medical research.

The researchers found 47 studies with over 3,500 participants that met their criteria.

After combining the data, Goyal said his team found between a 5 and 10 percent improvement in anxiety symptoms among people who took part in mindfulness meditation, compared to those who did another activity.

There was also about a 10 to 20 percent improvement in symptoms of depression among those who practiced mindfulness meditation, compared to the other group.

“This is similar to the effects that other studies have found for the use of antidepressants in similar populations,” Goyal said.

Mindfulness meditation was also tied to reduced pain. But Goyal said it’s hard to know what kind of pain may be most affected by meditation.

The benefits of meditation didn’t surpass what is typically associated with other treatments, such as drugs and exercise, for those conditions.

“As with many therapies, we try to get a moderate level of confidence that the therapy works before we prescribe it,” Goyal said. “If we have a high level of confidence, it is much better.”

But he noted that the researchers didn’t find anything more than moderate evidence of benefit from meditation for anxiety, depression and pain.

There was some suggestion that meditation may help improve stress and overall mental health, but the evidence supporting those findings was of low quality.

There was no clear evidence that meditation could influence positive mood, attention, substance use, eating habits, sleep or weight.

“Clinicians should be prepared to talk with their patients about the role that meditation programs could have in addressing psychological stress, particularly when symptoms are mild,” Goyal said.

Dr. Allan Goroll, who wrote an editorial accompanying the new study, told Reuters Health the analysis is an example of an area of much-needed scientific study, because many people make treatment decisions based on beliefs – not data.

“That is particularly the case with alternative and complimentary approaches to treating medical problems,” he said. “It ranges from taking vitamins to undergoing particular procedures for which the scientific evidence is very slim but people’s beliefs are very great.”

Goroll is professor at Harvard Medical School and Massachusetts General Hospital in Boston.

Goyal said people should remember that meditation was not conceived to treat any particular health problem.

“Rather, it is a path we travel on to increase our awareness and gain insight into our lives,” he wrote. “The best reason to meditate is to gain this insight. Improvements in health conditions are really a side benefit, and it’s best to think of them that way.”

(Agencies)

Latest News from Lifestyle News Desk

SOURCE : jagran.com

 

 

สมุนไพรไทย ‘ขมิ้นชัน’

dailynews140105_001ขมิ้นชัน เป็นชื่อค่อนข้างเป็นทางการของขมิ้นชนิดไทย ๆ ที่นิยมใช้กันอยู่ในบ้านเราแต่โบราณ ทั้งใช้ในการใส่ปรุงอาหาร ยกตัวอย่างเช่น อาหารหลายอย่างในภาคใต้ เช่น แกงเหลือง และใช้เป็นสมุนไพรไทย ใช้ถูทาและรับประทาน ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ หลายอย่างหลายประการ อาทิขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการจุกเสียด อาการปวดประจำเดือน แก้ท้องเสีย โดยเฉพาะในวัยเด็กและแก้ปวดข้อในช่วงสูงวัย ในหมู่ผู้สูงอายุไทยที่นิยมขมิ้นชันในต่างอำเภอ ต่างตำบล บางครั้งก็เรียกชื่อต่าง ๆ กันไป เช่น ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นยวก ขี้มิ้น ตายอ สะยอ  หมิ้น เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L. ชื่อพ้อง Curcuma domestica Valeton วงศ์ตระกูล ZINGIBERACEAE ส่วนที่ใช้ คือ เหง้าสด หรือแห้ง

กรรมวิธีการผลิต

เก็บเหง้าหลังจากการปลูก 9-10 เดือน (ใบส่วนล่าง เปลี่ยนเป็นสีเหลือง) การเตรียมขมิ้นชันแห้งในทางการค้าเตรียมได้โดยนำเหง้ามาต้มกับนํ้าเติมมูลโคลงไปเล็กน้อย ต้มนาน 30 นาที ถึง 6 ชั่วโมงจนเหง้านิ่มและมีสีเข้มขึ้น นำมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำมาขัดเอาเปลือกออก หรือเก็บเหง้า แล้วทำความสะอาด แล้วฝานเป็นชิ้นหนา ตากแดดให้แห้ง

สารสำคัญของขมิ้นชันคือ สารกลุ่ม Curcuminoids: และ Curcumin, Cyclocurcumin, Flavonoid, Terpenoids นํ้ามันหอมระเหย ประมาณ 3-7.2% ประกอบด้วยสารกลุ่ม bisabolane, quaiane และ germacrane sesquiterpenes เป็นสารหลัก ส่วนสารอื่น ๆ มีบรรยายไว้ในตำรับ–ตำราต่าง ๆ กัน อาจไม่พบในขมิ้นชันไทยและอาจมีประโยชน์ไม่มากในการสร้างผลิตภัณฑ์

ข้อกำหนดในการผลิตสมุนไพรขมิ้นชันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและปลอดภัยที่สุดนั้น แม้จะมีข้อกำหนดมากมายหลายประการ เช่น ข้อกำหนดทางกายภาพและเคมีของเภสัชตำรับไทย ตำรับอินเดีย ตำรับจีน ตำรับเยอรมัน และตำรับของ World Health Organization (WHO) ก็ตาม ขอแนะนำให้ใช้ตำรับไทยเพราะสามารถหาข้อและคำแนะนำจากผู้ชำนาญการหลายด้านของ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกฯ เพราะสามารถทั้งตอบปัญหา ปรับปรุงวิธีการ ปรับแต่งวิธีการหรือหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรผสมใหม่ ๆ ที่แตกต่างและดีขึ้นได้ด้วย

จากการศึกษาอย่างมีระบบพบว่า มีประโยชน์ทางยาดังนี้

การใช้ที่มีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกสนับสนุน ขับลม อาหารไม่ย่อย และลดกรด

การใช้ตามเภสัชตำรับและการแพทย์แผนเดิม บรรเทาอาการแน่น จุกเสียด ลดนํ้าหนัก ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการดีซ่าน ปวดไหล่และแขน บวมช้ำปวดบวม

การใช้ตามภูมิปัญญา ขมิ้นชันทั้งสดและแห้ง เป็นยาบำรุงธาตุ ฟอกเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ ขมิ้นสด ๆ แก้ท้องเสีย รักษาโรคทางเดินอาหาร แก้ปวดข้อ

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ขับลม นํ้ามันหอมระเหยมีฤทธิ์ขับลม

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ สาร curcumin มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผล โดยกระตุ้นการหลั่งสารเมือกมาเคลือบ และยับยั้งการหลั่งของนํ้าย่อยต่าง ๆ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่โดยมีผลต่อกรดหลาย ๆ ชนิดทั้งในกระเพาะและในลำไส้ใหญ่ที่จะเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้กระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ และเมื่อมีอาหารและนํ้าย่อยอาหารตามปกติก็อาจจะย่อยบริเวณที่อักเสบให้เกิดเป็นแผลได้ สารสำคัญของขมิ้นชันคือ curcumin ก็จะหลั่งมาเคลือบผิวกระเพาะทำให้บรรเทาไปได้ดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นสารสกัดขมิ้นชันยังมีผลต่อการหลั่งของกรด โดยยับยั้งที่ H2 histamine receptors และทำให้การหลั่งกรดบรรเทาลง ส่งผลให้ระคายกระเพาะหรือกัดกระเพาะได้น้อยลงเป็นแผลในกระเพาะได้ยากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่อยู่ภายใต้ความเครียดหรือภายใต้ภูมิแพ้

ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดแอลกอฮอล์และสาร curcumin มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Helicobacter pylori ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร และก่อเกิดมะเร็ง

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดแอลกอฮอล์ สารสกัดนํ้า นํ้าคั้น สาร curcuminoids (โดยเฉพาะสาร demethoxycurcumin) และนํ้ามันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันและเรื้อรังในสัตว์ทดลอง ซึ่งฤทธิ์ต้านการอักเสบช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้ สาร curcumin มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยมีกลไกต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดผ่านกลไกการยับยั้งสาร ประกอบของเกล็ดเลือดและกรด arachidonic acid และยับยั้งการสร้าง thromboxane และ Ca2 signaling และเปลี่ยนแปลงการเผาไหม้ของ eicosanoid สารอีกตัวหนึ่งในขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยมีกลไกต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดผ่านกลไกการยับยั้งกรด arachionic acid และตัวต้านการกระตุ้นเกล็ดเลือด

ฤทธิ์ขับนํ้าดี สารสำคัญที่มีฤทธิ์ขับนํ้าดีคือ สาร curcumin, sodium curcuminate และ cineolo

ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดขมิ้นชันมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ และมดลูก

ฤทธิ์ช่วยทำให้ไตพิการเนื่องจากโรคเบาหวานดีขึ้น การป้อนสาร curcumin ขนาด 15 และ 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้หนูที่ทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวาน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าจะช่วยทำให้ไตพิการเนื่องจากโรคเบาหวานดีขึ้น

ฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็งและต้านมะเร็ง สาร curcumin มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็ง ต้านมะเร็งและป้องกันการลุกลาม โดยยับยั้งเซลล์มะเร็งและเอนไซม์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สาร curcumin และ ar-turmerone มีผลทำให้เซลล์มะเร็งของคนหลายชนิดตายแบบ apoptosis

ฤทธิ์ปกป้องตับ สารสกัดขมิ้นชัน 1% มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของตับหนูจากสาร D-gatactosamine สารกลุ่ม curcuminoids มีฤทธิ์ปกป้องตับในหลอดทดลองได้ดีเทียบเท่าสารมาตรฐาน silybin และ silychristin สาร curcumin มีฤทธิ์ปกป้องตับ โดยมีผลต่อสารที่ก่อเกิดมะเร็งที่ตับ (N-nitrosodiethylamin (DENA)

ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น สารกลุ่ม curcuminoids มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น โดยสาร curcumin มีฤทธิ์ดีที่สุด และมีฤทธิ์ดีกว่าวิตามินซี และ resveratrol

ฤทธิ์ต้านการเกิดโรคความจำเสื่อม (Alzheimer disease) สาร calebin-A, curcumin, demethoxy-curcumin, bisdemethoxycurcumin และ 1.7-bis (4-hydroxyphenyl)–1-heptene-3.5-dione มีฤทธิ์ต้านการเกิดโรคความจำเสื่อม โดยมีผลป้องกันการถูกทำลายของเซลล์สมอง

ฤทธิ์ต้านความซึมเศร้า สารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านความซึมเศร้าเรื้อรังอย่างอ่อนในหนูขาว เช่นเดียวกับสารสกัดนํ้า ซึ่งมีกลไกการต้านการซึมเศร้าโดยยับยั้งการทำงานของ monoamione oxidase A (MAO)

กลไกการนำส่งยา สารกลุ่ม curcuminoids มีผลต่อการนำส่งยาโดยมีผลยับยั้งเอนไซม์ P-glycoprotein

ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P450s: สารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 สาร curcumin มีผลต่อเอนไซม์ CYPIA2, CYP3A4, CYP2D6, CYP2C9 และ CYP2B6 ซึ่งจะมีผลต่อการเผาผลาญสารต่าง ๆ ในร่างกาย แต่สารมีสลายตัวแล้วของ curcumin จะไม่มีผลดังกล่าว

 

ขมิ้นชันนี้ไม่ใช่มีเฉพาะในประเทศไทย แต่สามารถปลูกได้แพร่หลายในเอเชียตอนใต้ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย แถบคาบสมุทรอินเดีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศผู้ส่งออกได้แก่ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐอินโดนีเชีย

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายสนับสนุนสมุนไพร 5 ประเภทเป็นผลิตภัณฑ์นำหน้า (Champion Product) สำหรับประเทศไทยให้สัมฤทธิผลภายในช่วง 2-3 ปีนี้ ได้แก่ ใบบัวบก ซึ่งคอลัมน์นี้ได้นำเสนอไปให้ผู้อ่านไปแล้ว 2 ตอน ตัวต่อมาก็คือ กวาวเครือ โดยเฉพาะกวาวเครือขาว ไพร สมุนไพรรวม ได้แก่ ลูกประคบและตัวสุดท้ายคือ ขมิ้นชัน ซึ่งนำเสนอให้กับท่านผู้อ่านวันนี้เพื่อเน้นคุณค่าของสมุนไพรไทย ซึ่งยังใช้ได้เป็นยาทาภาย นอกและการผลิตแบบเก่าซึ่งหลายวิธีใช้ดื่มกินได้เพื่อบรรเทาอาการ แต่ขอให้แน่ใจว่า ผลิตถูกต้องปราศจากสารพิษเจือปนหรือปราศจากเชื้อโดยขอคำแนะนำได้จาก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกฯ รวมทั้งศึกษาหาวิธีผลิตให้เหมาะสมแบบสมุนไพรเดี่ยวหรือสมุนไพรรวมหลายประเภท ทั้งการผลิตที่เป็นอาหารเสริม เครื่องสำอาง และเป็นยาแผนโบราณที่ผลิตโดยกรรมวิธีสมัยใหม่

ข้อมูลจาก หนังสือ “คุณภาพเครื่องยาไทย งานวิจัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย ภญ.รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ และ ภญ.ผศ.ดร.นงลักษณ์ เรืองวิเศษ.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา: เดลินิวส์  5 มกราคม 2557

.

dailynews140112_001

สมุนไพรไทย ‘สมุนไพร’ ตอนที่ 2

ไม่เพียงฤทธิ์ต่าง ๆ ของสมุนไพรขมิ้นชันซึ่งดูวิเศษดังที่เสนอความรู้ไว้ในตอนที่ 1 เท่านั้น แต่ก็มีการศึกษาทางด้านพิษวิทยาด้วยพบว่า

ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ขมิ้นชันและสาร  curcumin ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง

การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ขนาดของสารสกัดเอทานอล 50% ที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง (LD) มีค่ามากกว่า 15 กรัม/กิโลกรัม โดยการป้อนทางปาก ฉีดใต้ผิวหนัง และทางช่องท้อง

การศึกษาความเป็นพิษเรื้อรัง การให้สาร curcuminoids ในขนาดที่ใช้ในคน 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน 6 เดือน ไม่ทำให้เกิดพิษในหนูขาว แต่สาร curcuminoids ในขนาดสูงอาจมีผลต่อการทำงานและโครงสร้างตับได้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้

 

การศึกษาทางคลินิก

ประสิทธิผลในการรักษาอาการท้องเสีย รายงานจากอินโดนีเซียพบว่าขมิ้นชันใช้รักษาอาการท้องเสียได้

ประสิทธิผลในการรักษาอาการแน่นจุกเสียด การรับประทานขมิ้นชัน ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน นาน 7 วัน มีผลการรักษาดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยาและที่ได้รับประทานยา flatulence

ประสิทธิผลในการรักษาแผลในทางเดินอาหาร  การรับประทานขมิ้นชัน ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน จะบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลได้ และการให้ขมิ้นชัน (300 มิลลิกรัม/แคปซูล) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ แผลหายในผู้ป่วย 19 ราย ใน 25 ราย (คิดเป็น 76%) อีกการทดลองในผู้ป่วย 45 คน รับประทานขมิ้นชัน (300 มิลลิกรัม/แคปซูล) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง พบว่าผู้ป่วยแผลหายภายใน 4 สัปดาห์ จำนวน 12 ราย หายภายใน 8 สัปดาห์ จำนวน 18 ราย หายภายใน 12 สัปดาห์ จำนวน 19 ราย  การศึกษาผลของสาร curcumin ในการยับยั้งเชื้อ Helicobacter pylori ในผู้ป่วย 25 คน พบว่าสาร curcumin ขนาด 30 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 เวลา ไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อ แต่อาการโรคกระเพาะดีขึ้น

ประสิทธิผลลดการบีบตัวของลำไส้  การรับประทานขมิ้นชัน วันละ 162 มิลลิกรัม พบว่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ได้

ประสิทธิผลในการรักษา Irritable bowel syndrome (IBS) ในการทดลองแบบ partially blinded randomized trial ในอาสาสมัครจำนวน 500 คน รับประทานสารสกัดมาตรฐานขมิ้นชัน ขนาด 1 และ 2 เม็ด เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดอาการดังกล่าวได้

ความเป็นพิษในคน  การศึกษา clinical trial Phase I พบว่าการรับประทานสาร curcumin ในปริมาณ 10 กรัมต่อวัน ไม่ก่อเกิดพิษ และการรับประทานน้ำมันหอมระเหยขมิ้นชันในปริมาณ 0.6 มิลลิลิตร วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 1 เดือน และ 3 เดือน ในอาสาสมัครจำนวน 9 คน พบว่ามีความปลอดภัย

 

ข้อห้ามใช้

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีท่อน้ำดีอุดตัน ผู้ที่ไวต่อขมิ้นชัน และผู้ป่วยโรคนิ่วควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

 

ข้อควรระวัง

ควรระมัดระวังการใช้ในหญิงมีครรภ์และเด็ก ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์  ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิต้านทาน

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยากลุ่มต้านการอักเสบ (NSAIDs),antiplatelet agent (เนื่องจากขมิ้นมีผลทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกลุ่ม) ยาที่มีผลต่อ cyto-chrome P450 (ขมิ้นมีผลยับยั้ง cytochrome P450, CYP1A1/1A2) ยาลดไขมันในเลือด (ขมิ้นมีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL)

 

อาการไม่พึงประสงค์

ผิวหนังอักเสบจากการแพ้ ขมิ้นขนาดยาที่สูงจะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร

 

รูปแบบยาและขนาดการใช้

ยาแคปซูลที่มีผงเหง้าขมิ้นชันแห้ง 250 มิลลิกรัม รับประทานครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 4 กรัม หลังอาหารและก่อนนอน หรือยาผง ขนาด 3-9 กรัมต่อวัน หรือยาชง ขนาดผงยา 0.5-1 กรัม วันละ 3 เวลา หรือยาทิงเจอร์ ขนาด 0.5-1 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง

ผลจากงานวิจัยสรุปว่าเครื่องยาขมิ้นชันจากงานวิจัย  มีคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีตามเกณฑ์มาตรฐานของเภสัชตำรับเยอรมัน แต่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของเภสัชตำรับไทย อินเดีย จีน และองค์การอนามัยโลก เนื่องจากมีปริมาณเถ้าไม่ละลายในกรดมากกว่า 1% และมีปริมาณสารเคอร์คิวมินอยด์น้อยกว่า 5-8% เครื่องยาขมิ้นชันมีปริมาณสารประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยคือ ar-turmerone 38% curlone 16% และ tumerone 13% รวมทั้งหมดเท่ากับ 67% ซึ่งมากกว่าข้อมูลที่ได้สืบค้น (60%)

 

จะเห็นได้ว่าจากบทความและข้อมูลที่ผมนำมาเสนอนี้ ได้มีการสกัด ตรวจค้น ค้นหา และค้นคว้ามามากพอสมควร กระนั้นก็ตามยังไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปผลิตอะไรได้จนกว่าจะได้รับคำแนะนำเฉพาะในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ เพื่อนำไปผลิตเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ยาประเภทสมุนไพรประเภทเครื่องดื่มบำรุง เครื่องดื่มเสริมสุขภาพ หรือยาก็ตาม ขั้นตอนการผลิตที่เหมาะสมยังเป็นอีกช่วงหนึ่ง แต่ขออย่าท้อถอยครับ ทุกอย่างไม่ยากเท่าที่คิด และเมื่อเป็นผลผลิต ผลิตภัณฑ์แล้ว ผลตอบแทนคุ้มค่า เพราะขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก หนังสือ “คุณภาพเครื่องยาไทย งานวิจัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย ภญ.รศ.ดร.นพมาศ  สุนทรเจริญนนท์ และ ภญ.ผศ.ดร.นงลักษณ์  เรืองวิเศษ

 

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา: เดลินิวส์  12 มกราคม 2557

 

กิน ‘อาหารสด’ ทดแทนอาหารเสริม

dailynews140105_001ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาจำหน่ายสารพัดชนิด แม้ราคาจะค่อนข้างสูง แต่หลายคนที่มีกำลังซื้อก็ยอมควักกระเป๋าซื้อหามารับประทาน จึงมีคำถามจากคนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยว่าแล้วมีอาหารสดที่ซื้อหาได้ง่าย ราคาถูก สรรพคุณเทียบชั้นผลิตภัณฑ์เหล่านั้นหรือไม่ ไปฟังคำตอบจาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กันเลย

เริ่มจาก มะยมกับมะขามป้อมแทนผลเบอรีแบบฝรั่ง มะยม คือ “เบอรี” ชนิดหนึ่ง หลายท่านอาจคิดว่าถ้าดื่มเครื่องดื่มที่โฆษณาว่าเป็นเบอรีรวมสกัดแล้วจึงจะดี แต่ที่จริงแล้วสารสำคัญของเบอรีที่ดีที่สุดคือการกินสดที่ไม่ใช่สกัดมาผ่านกระบวนการเป็นของสำเร็จรูป มะยมมีโพลีฟีนอลส์ที่ช่วยหลอดเลือดสมอง ส่วนมะขามป้อมมีวิตามินซีสูงช่วยเสริมภูมิต้านทานได้

ใบบัวบกแทนแปะก๊วย ใบบัวบกมีความพิเศษในเรื่องการบำรุงหลอดเลือดตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง ทำให้ไม่เกิดเลือดคั่ง ช่วยเส้นเลือดขอด ผลต่อสมองที่สำคัญคือช่วยให้สงบ ไม่กังวลตื่นเต้นจากสาร “ไทรเทอพีนอยด์” ที่มีอยู่ในบัวบก ที่สำคัญคือหาง่ายในบ้านเราและราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับการรับประทานแปะก๊วยช่วยสมองที่ต้องกินจากใบ ไม่ใช่เม็ดแปะก๊วยเหลือง ๆ

กระชายแทนโสม กระชายได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรบำรุงกำลังได้ดีจนมีชื่อเล่นว่า “โสมไทย” เพราะในโสมจีนหรือเกาหลีนั้นมีดีตรงที่สารจินซิโนไซด์ซึ่งเป็นสารคล้ายฮอร์โมนเพศแต่ก็ต้องระวังผลข้างเคียง สำหรับกระชายก็มีสารกลุ่มฟีโนลิกส์ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ แถมยังช่วยลดความเสื่อมที่กระดูกและข้อในผู้สูงวัยได้ ยับยั้งการโตของเชื้อจุลินทรีย์ทั้งในลำไส้และเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันโรคหัวใจและไล่มะเร็งที่ไม่มีใครปรารถนาด้วย

ข้าวซ้อมมือแทนซีเรียลอาหารเช้า (ธัญพืชอบกรอบและขนมปังโฮลวีต) ข้าวซ้อมมือ ข้าวสีนิล ข้าวเหนียวดำและข้าวไทยที่ไม่ผ่านการขัดสีมากมีสาร “แอนโทไซยานินส์” ที่เทียบได้กับสารสกัดเมล็ดองุ่นหรือไวน์แดง นอกจากนั้นถ้ารับประทาน “จมูกข้าว” เสริมเข้าไปด้วยก็จะช่วยให้ได้สารเสริมภูมิคุ้มกันอย่าง “เบต้ากลูแคน” เข้าไปอีก การเพาะข้าวกล้องงอกช่วยเพิ่มคุณค่าในแง่สาร “กาบา” ที่ช่วยสื่อประสาทสำคัญในสมองได้ไม่แพ้เครื่องดื่ม “มอลต์สกัด”

เห็ดโคนแทนเห็ดทรัฟเฟิล เห็ดทำอะไรก็อร่อย โดยเฉพาะเห็ดสัญชาติไทยอย่าง เห็ดนางฟ้า เห็ดเออรินจิ เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม

เห็ดเผาะหรือจะเป็นเห็ดฟางธรรมดา ๆ นี่ก็ให้คุณค่าทางอาหารแบบสดใหม่เทียบกันไม่ได้กับซุปเห็ดที่ขายกันราคาแพง เห็ดของไทยที่ถือเป็นสุดยอดอย่างหนึ่งคือ “เห็ดโคน” ชอบขึ้นใกล้จอมปลวก อยู่ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่มีกลิ่นหอม ถือเป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหารด้วย

ปลาทูและไข่ขาวแทนคอลลาเจนผง การรับประทานคอลลาเจนสกัดจำพวก “คอลลาเจนเพ็พไทด์” หรือคอลลาเจนไฮโดรไลเสทมากไปทำให้ไตทำงานหนัก แต่การรับประทานคอลลาเจนจากธรรมชาติอย่างปลาทูและไข่ขาวที่หาง่ายจะให้ประโยชน์ที่คุ้มกว่า ทั้งในแง่วิตามินบำรุงผิวที่ครบถ้วนและแง่ของราคาที่หาซื้อได้อย่างสบายใจ

ไข่ไก่แทนซุปไก่ ถ้าท่านอยากได้ประโยชน์จากไก่ในราคาไม่แพงให้หา “ไข่ไก่” มารับประทาน ธรรมชาติของแม่ไก่ต้องใส่ของดีที่สุดไว้ในไข่ไก่เพื่อให้ตัวอ่อน ดังนั้นการรับประทานไข่ไก่สักฟองหนึ่งย่อมให้คุณค่าที่ครบถ้วนจากของสดกว่าการดื่มซุปไก่สำเร็จรูป ถ้าปีนี้ท่านไม่อยากมอบกระเช้าซ้ำซากขอให้ลองจัดกระเช้าไข่ไก่ให้กันแทนก็ได้

นํ้าเต้าหู้แทนเครื่องดื่มเพ็พไทด์ การดื่มเพื่อบำรุงสมองนั้น สารสำคัญต่อสมองไม่ได้อยู่ที่เพ็พไทด์อย่างเดียวหากแต่อยู่ที่ “นํ้า” และ “วิตามินบี” ที่ต้องมีครบด้วย ซึ่งมีอยู่แต่ในของสดเท่านั้น ในเครื่องดื่มสกัดก็จะมีเพียงเท่าที่เขาใส่มา ซึ่งในนํ้าเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองธรรมชาตินั้นจะให้สารบำรุงสมองนอกจากเพ็พไทด์แล้วก็ยังมี วิตามินบี 6 แพลนท์สตานอลช่วยลดไขมันและยังมี “พฤกษฮอร์โมน” ซึ่งช่วยความจำและยังป้องกันกระดูกพรุนได้อีกด้วย

ถั่งเช่าดักแด้ไหมไทยแทนถั่งเช่าทิเบต ถั่งเช่าทิเบตมีดีตรงสารบำรุงกำลังอย่าง “คอดีเซปิน” และ “เบต้ากลูแคน” ซึ่งไทยเราผลิตสุดยอด “ถั่งเช่า” สายพันธุ์ใหม่ได้จากการค้นคว้าของนักวิจัยที่สนับสนุนโดยกรมหม่อนไหม ทำให้เพาะได้สายพันธุ์ถั่งเช่าที่เฉพาะซึ่งเชื่อว่าต่อไปจะมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางและกระจายออกสู่ตลาดได้มากขึ้นในราคาที่ไม่แพงจนน่าตกใจดังเช่นถั่งเช่าทิเบตหรือถั่งเช่าสีทอง

นํ้ามันเมล็ดชาล้างหลอดเลือดแทนนํ้ามันรำข้าว การศึกษาชี้ว่าคุณค่าของนํ้ามันจาก “เมล็ดชานํ้ามัน” ไม่ได้ด้อยไปกว่า “นํ้ามันมะกอก” แต่อย่างใด เพราะมันมีกรดไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง นอกจากนั้นยังมีกรดไขมัน โอเมก้า 3 6 และ 9 ในปริมาณที่สูง ที่สำคัญคือเมล็ดชานํ้ามันหาได้ในบ้านเรามีผลผลิตมาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาชานํ้ามันและพืชนํ้ามันที่ จ.เชียงราย.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ที่มา : เดลินิวส์ 5 มกราคม 2557

ระวังมะเร็งตับจากสมุนไพรแห้ง

dailynews131227_001สมุนไพรแห้ง ไม่ว่าจะจีนและไทย ยังจัดว่าเป็นยาโบราณที่ทรงคุณค่า มีผลในการช่วยบำรุง ตลอดจนฟื้นฟูร่ายกาย ตามสรรพคุณที่แพทย์แผนโบราณได้ศึกษาและบอกต่อกันมา แต่หลายต่อหลายคนอาจลืมไปว่า ของที่มีคุณ อาจกลายเป็นภัยแฝง ที่ส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ หากกระบวนการผลิต และสภาวะการจัดเก็บที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ได้ช่วยปกป้องสมุนไพรแห้งที่แสนจะมีประโยชน์นี้ ให้ปลอดภัยจากสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา ที่มีชื่อว่า “อะฟลาทอกซิน (aflatoxin)” หากสมุนไพรแห้งที่นำมาใช้นั้น มาจากกระบวนการผลิต และการจัดเก็บที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จนมีเชื้อราที่สร้างสารพิษปะปนมากับสมุนไพร ก็จะเกิดผลร้ายกับร่างกายเราได้ ที่เรียกว่าภัยแฝงนั้น นั่นเพราะ สารพิษชนิดนี้ ไม่ได้ก่อให้เกิด มะเร็งหรือโรคต่างๆกับร่างกายในทันที จนบางทีเราอาจไม่รู้ว่า ถึงเวลาที่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากสารพิษชนิดนี้ นั่นมีที่มาจากสมุนไพรแห้งที่เราเคยทานเป็นยาเข้าไปเมื่อนานมาแล้วนั่นเอง

ปัจจุบันองค์การ IARC ( International Association Research Cancer ) ได้จัดสารอะฟลาทอกซิน เป็นสารก่อมะเร็ง Class I ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ตับ และอาจก่อมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน สารพิษอะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษ ที่ผลิตโดยเชื้อราในกลุ่มราในโรงเก็บ (storage fungi) เชื้อราตัวสำคัญที่สร้างสารพิษนี้ได้ ได้แก่ Aspergillus flavus, A. parasiticus, Penicillium citrinum เป็นต้น ได้มีการศึกษาการสร้างอะฟลาทอกซินของ A. flavus ในห้องปฏิบัติการพบว่า A. flavus บางสายพันธุ์สร้างอะฟลาทอกซินในปริมาณสูงมาก บางตัวก็ไม่สร้าง ดังนั้นการที่พบเชื้อราเหล่านี้บนผลิตผลเกษตรจึงไม่สามารถสรุปว่าผลิตผลนั้นมีสารพิษ ในทำนองเดียวกันก็อาจมีการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในผลิตผล โดยที่เราไม่เห็นเชื้อราเนื่องจากเชื้อราอาจถูกกำจัดออกไป โดยผู้ผลิตคิดว่าเมื่อไม่มีเชื้อราปรากฏให้เห็น ผลิตผลนั้นก็สะอาดปลอดภัย บริโภคได้ แต่ไม่ทราบว่าเชื้อราได้สร้างสารพิษและยังตกค้างอยู่ในผลิตผลนั้น ๆ การกำจัดอะฟลาทอกซินก็ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสารพิษชนิดนี้ทนความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส เป็นสารพิษที่ก่อมะเร็งที่ตับ และตับอักเสบทั้งในมนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารที่มีสารพิษนี้เข้าได้จึงเห็นได้ว่าเป็นสารพิษที่อันตรายมาก ๆ

 

สมุนไพรและผลิตผลเกษตรอื่น ๆ ที่พบแอฟลาทอกซิน

เชื้อราสร้างสารพิษแอฟลาทอกซินได้ในสมุนไพรเกือบทุกชนิด ตัวอย่างสมุนไพรที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลายที่ตรวจพบแอฟลาทอกซินได้แก่ ข้าวเย็นเหนือ อบเชยเทศ โป๊ยกั๊ก ฟ้าทะลายโจร ขิง มะขามแขก บอระเพ็ด กานพลู ขมิ้นชัน มะตูม ขี้เหล็ก แสมสาร แห้วหมู พิกุล สารภี ระย่อม อบเชยญวน เกสรบัวหลวง สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น โดยที่บางชนิดตรวจไม่พบเชื้อราเจริญบนสมุนไพร แต่พบสารพิษในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐาน เช่นในอบเชยเทศ โป๊ยกั๊ก ฟ้าทะลายโจร และกานพลู เป็นต้น นอกจากในสมุนไพรแล้วผลิตผลเกษตรที่พบแอฟลาทอกซินส่วนใหญ่เป็นผลิตผลตากแห้ง และอาหารแปรรูป เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาร (ที่เก็บนาน ๆ) ข้าวเหนียว ลูกเดือย งา ข้าวสาลี กระเทียม หอม พริกไทยป่น พริกป่น ปลาป่น และในผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น ถั่วตัด งาตัด น้ำมันถั่วลิสง (ที่นำถั่วลิสงที่ไม่มีคุณภาพมาแปรรูป) และนมสด (จากการที่นำข้าวโพด ถั่วหรืออื่น ๆ ที่มี แอฟลาทอกซิน ชนิด B1 ปนเปื้อนอยู่ เป็นส่วนผสมในอาหารเลี้ยงสัตว์ แอฟลาทอกซิน จะเปลี่ยนจากชนิด B1 เป็น M1) จึงเห็นได้ว่าแอฟลาทอกซินอยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ในต่างประเทศก็มีรายงานการตรวจพบแอฟลาทอกซินในสมุนไพรเช่นกัน เช่น ในประเทศศรีลังกาพบว่าสมุนไพร 6 ชนิดที่นิยมใช้ในการรักษาโรคนั้นตรวจพบสารพิษทั้ง 6 ชนิด ส่วนในประเทศอินเดียพบว่าสมุนไพรหรือเครื่องเทศที่พบว่ามีการปนเปื้อนของ แอฟลาทอกซิน มากที่สุดคือพริกไทย

 

ขั้นตอนใดในการผลิตสมุนไพรที่ตรวจพบอะฟลาทอกซิน

เชื้อราสามารถเข้าทำลายและสร้างสารพิษได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 80% อุณหภูมิระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส และเกิดได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตสมุนไพรหลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้ว คือในขั้นตอนของการหั่น การตากแห้ง การบด การบรรจุ และการเก็บรักษา หรือแม้แต่ช่วงที่ผู้บริโภคซื้อมา และรับประทานไม่หมดแล้วไม่ปิดเก็บให้มิดชิดในที่แห้ง ความชื้นจากบรรยากาศก็สามารถเข้าไปทำให้สมุนไพรที่ตากแห้งแล้วมีความชื้นมากขึ้น เชื้อราจึงเจริญได้ โดยปกติเชื้อรา Aspergillus spp. อาศัยได้ทั่วไปในอากาศ ดิน เศษซากพืช สปอร์ปลิวกระจายทั่วไปโดยอาจมีปริมาณไม่มากนัก เมื่อมาสัมผัสกับสมุนไพรที่อยู่ระหว่างการตากแห้ง ที่ตากที่ลานบ้าน หรือช่วงที่รอการนำไปบดที่ร้านขายยา หรือในช่วงที่นำมาบรรจุใส่ซองหรือใส่แคปซูล ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อและเชื้อสร้างสารพิษได้ดี เนื่องจากสมุนไพรที่บดมีขนาดเล็ก มีพื้นที่ผิวในการดูดความชื้นได้มาก จึงมีความชื้นสูงกว่าช่วงตากแห้ง การเจริญของราและการสร้างสารพิษจึงสูงกว่าในขั้นตอนอื่น ๆ กระบวนการผลิตที่ผลิตอย่างมีมาตรฐานตามข้อกำหนด GMP (Good Manufacturing Practice) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

ประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนด กฏหมาย ที่กำหนดปริมาณสารแอฟลาทอกซิน ในสมุนไพร มีกำหนดเฉพาะในอาหารสำหรับบริโภคเท่านั้น ที่กำหนดให้มี อะฟลาทอกซินได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/ กิโลกรัม จึงยังเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องระมัดระวังและดูแลตัวเอง ในอดีตคนไทยรับประทานสมุนไพรเป็นยาโดยรับประทานสด แม้ว่าคุณสมบัติของสารออกฤทธิ์จะลดน้อยกว่าสมุนไพรตากแห้ง ดังนั้นถ้ามีโอกาสและสามารถบริโภคสมุนไพรสดก็ควรบริโภคแบบสด แต่หากปฏิบัติไม่ได้ควรเลือกบริโภคสมุนไพรที่มีการบรรจุดี สะอาด มิดชิด ความชื้นจากบรรยากาศไม่สามารถเข้าไปได้ ควรมีทะเบียนยารับรอง ระบุวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยา การเลือกซื้อสมุนไพรที่ผลิตโดยโรงพยาบาลและบริษัทที่มี อย. รับรองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด

หลายท่านอาจคิดว่า ก่อนนำไปดื่มหรือบริโภค ก็ต้องนำไปผ่านความร้อนโดยการต้มให้เดือด ก็น่าจะทำลายสารพิษชนิดนี้ได้ แต่อย่าลืมนะคะว่า เจ้าสารพิษชนิดนี้ทนความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิน้ำเดือดทั่วไปไม่สูงถึงขั้นจะทำลายสารพิษชนิดนี้ได้

จะเลือกทานสมุนไพรแห้งใส่ใจแหล่งที่มา จนถึงคุณภาพ และมาตรฐานในการผลิตกันให้ดีนะคะ

โดย “PrincessFangy”
Twitter @Princessfangy

เนื้อหาบางส่วนจาก http://share.psu.ac.th/blog/

ภาพประกอบจาก http://www.hanji-herb.com/herb/

ที่มา : เดลินิวส์  27 ธันวาคม 2556

ล้างพิษตับอ่อน หยุดแป้งเลิกผลไม้ ลดอ้วนรักษาเบาหวาน โดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล

matichon131101_001แป้งข้าว ผลไม้ ก่อไตรกลีเซอไรด์สูง
อันตรายกว่าไก่ตอน หมูสามชั้น


มาร์กาเรต แอลบริงก์ (Margaret Albrink) เป็นแพทย์สาวทำงานกับ จอห์น ปีเตอร์ส (John Peters) ในภาควิชาอายุรกรรม มหาวิทยาลัยเยล ปีเตอร์สใช้เครื่องมือตรวจวัดสารเคมีในเลือดเพื่อดูปริมาณไตรกลีเซอไรด์ที่ส่งมาจากโรงพยาบาลนิวฮาเวน โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัยเยล

ปีเตอร์สเสนอแนะให้แอลบริงก์ศึกษาความสัมพันธ์ของระดับไตรกลีเซอไรด์กับอัตราการเกิดโรคหัวใจ “เพราะปีเตอร์สเป็นคนคิดนอกกรอบ เขาไม่เชื่อทฤษฎีคอเลสเตอรอล” แอลบริงก์กล่าว ซึ่งรวมทั้งเอเวอลิน แมน (Evelyn Man) เพื่อนร่วมงานของแอลบริงก์อีกคนหนึ่ง

แอลบริงก์ยังได้ทำงานร่วมกับ วิสเตอร์ เมกส์ (Wister Meigs) ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเยลซึ่งทำงานด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และเป็นแพทย์ประจำบริษัทอเมริกันผู้ผลิตเหล็กกล้าและเส้นลวด

ทั้งสามคนทำงานวิจัยร่วมกันและได้ปรากฏผลงานวิจัยในปี ค.ศ.1960 โดยศึกษาเปรียบเทียบระดับไตรกลีเซอไรด์กับคอเลสเตอรอลในผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดของ รพ.นิวฮาเวน เปรียบเทียบกับคนงานที่สุขภาพดีของบริษัทเหล็กกล้า

แล้วก็พบว่า ในผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดจะมีไตรกลีเซอไรด์สูงมากซะยิ่งกว่าการมีคอเลสเตอรอลสูง

กล่าวคือ ในคนสุขภาพปกติวัยหนุ่มมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเพียง 5% ของประชากร เปรียบเทียบกับคนสุขภาพปกติวัยกลางจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง 38% ของประชากร

แต่ในผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือดจะมีไตรกลีเซอไรด์สูงถึง 82% ของจำนวนผู้ป่วย

พฤษภาคม 1961 ไม่กี่เดือนหลังจากที่สมาคมโรคหัวใจอเมริกันยกย่องชมเชยสมมติฐานของคีย์ส (เกี่ยวกับผลร้ายของคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัวที่มีต่อโรคหัวใจ) อาห์เรนและแอลบริงก์ก็เสนอผลงานของพวกเขาในงานประชุมวิชาการสมาคมแพทย์อเมริกันที่แอตแลนตา

ทั้งสองคนรายงานว่าการเพิ่มของระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ขณะเดียวกันอาหารไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตสูงเป็นตัวการของการเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์

รายงานนี้มีน้ำหนักมากขนาดนิตยสารนิวยอร์กไทม์ (New York Times) ขึ้นปกหน้าหนึ่ง ระบุว่า “สถาบันร็อกกีเฟลเลอร์ท้าทายความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า ไขมันเป็นปัจจัยก่อโรค”

เนื้อหาในเล่มยังได้แสดงข้อมูลของอาห์เรนที่พิสูจน์ว่า “คาร์โบไฮเดรตต่างหาก ไม่ใช่ไขมัน ที่เป็นสารพึงเฝ้าระวังถ้าจะป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจหลอดเลือด”

ไทม์ยังได้รายงานว่า “การค้นพบดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกผิดคาดในหมู่แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากมายที่ร่วมอยู่ในการประชุมครั้งนั้น”

แอลบริงก์เปิดเผยบรรยากาศในที่ประชุมหลังการเสนอผลงานของเธอว่า “มันราวกับว่างานวิจัยของเราไปทำให้หลังคาบ้านถล่มทลายลงมา ผู้ฟังพากันโกรธเกรี้ยว พวกเขาบอกว่าไม่เชื่อหรอก”

ความไม่เชื่อนี้ยังคงดำรงอยู่อีกตลอด 10 ปี หลังจากนั้น ซึ่งแอลบริงก์ก็ยังคงวิจัยต่อไปและเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการอีกหลายครั้ง

แน่นอนว่าเธอต้องได้รับการโจมตีจากกลุ่มความคิดเก่าตามสมมติฐานของคียส์ตลอดมา กว่าที่วงการวิทยาศาสตร์จะตระหนักความจริงของอันตรายจากไตรกลีเซอไรด์ในภายหลัง

ปีค.ศ.1970 แนวคิดของแอลบริงก์ได้รับการยืนยันจากนักวิจัยที่โดดเด่นอีก 3 คน ต่างกรรมต่างวาระกัน
หนึ่งคือ ปีเตอร์ คูโอ (Peter Kuo) มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย
สองคือ ลาร์ส คาร์ลสัน สถาบันคาโรลินสกี สตอกโฮล์ม
และนักวิจัยซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในภายหลัง โจเซฟ โกลด์สไตน์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

ทั้งสามคนล้วนรายงานว่าภาวะไตรกลีเซอไรด์สูงพบในผู้ป่วยโรคหัวใจบ่อยเสียยิ่งกว่าภาวะคอเลสเตอรอลสูง

คูโอรายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (Journal of the American Medical Association) ว่าการศึกษาในผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแข็งตัว 286 คน ในจำนวนนั้นมี 246 คน ที่ได้รับการส่งตัวมาจากแพทย์ท่านอื่นโดยเข้าใจว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นภาวะคอเลสเตอรอลสูงจากพันธุกรรม

ผลวิจัยปรากฏว่าเป็นปัจจัยจากพันธุกรรมจริงเพียง 10% ที่เหลืออีก 90% นั้นเป็นภาวะไขมันเลือดสูงที่มีสาเหตุจากคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate-induced lipemia)

บุคคลเหล่านี้ร่างกายตอบสนองต่อการกินคาร์โบไฮเดรตแล้วทำให้ทั้งไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลสูงขึ้น

เมื่อคูโอจัดการให้ผู้ป่วยเหล่านี้กินอาหารที่ไม่มีน้ำตาล มีแคลอรีจากคาร์โบไฮเดรตเพียง 500-600 แคลอรี/วัน ก็ปรากฏว่าทั้งไตรกลีเซอไรด์รวมทั้งคอเลสเตอรอลก็ลดลงอย่างชัดเจน

สองเดือนต่อจากนั้นวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA) ก็ตีพิมพ์บทบรรณาธิการสนองตอบชิ้นงานของคูโอว่า “นักวิชาการส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดผู้มีแต่ความคิดต่อต้านคอเลสเตอรอลจากอดีตถึงปัจจุบัน ล้วนได้ให้บริการที่ผิดพลาดไปแล้วจากทฤษฎีชี้นำที่ผิดพลาดของตน ยังโชคดีที่ว่าใน 2-3 ปีที่ผ่านมามีงานวิจัยซึ่งส่งผลดีทำให้เราสามารถแยกแยะหลักพื้นฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของไตรกลีเซอไรด์กับกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว”

อย่างไรก็ตาม แม้วารสารสมาคมแพทย์อเมริกันจะได้ให้ข้อสรุปซึ่งเปรียบเสมือนรุ่งอรุณแห่งความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องความสัมพันธ์ของไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจหลอดเลือด กับเรื่องอันตรายของคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันอิ่มตัวกันแน่ที่ก่อโรค

แต่กลุ่มแพทย์และนักวิชาการในสำนักความคิดเดิมก็ยังคงเดินหน้าในความเชื่อของตนต่อไป

และเนื่องจากว่าสมัยนั้นเครื่องมือที่จะใช้ตรวจระดับไตรกลีเซอไรด์ยังมีน้อย ผลก็คืองานวิจัยจากสถาบันใหญ่ 3 องค์กรอันได้แก่สถาบันฟรามิงแฮม, ห้องวิจัยของคีย์ส และห้องวิจัยอาหารและโรคหัวใจแห่งชาติ ซึ่งล้วนมีความเชื่อในทฤษฎีเก่า พวกเขาเหล่านั้นจึงศึกษาแต่ระดับของคอเลสเตอรอล

และแม้ว่าจะสามารถศึกษาให้ละเอียดต่อไปถึงระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ แต่พวกเขาก็ไม่ทำ

ผลก็คืองานวิจัยของ 3 องค์กรเหล่านี้ที่ป้อนให้แก่สถาบันสุขภาพแห่งชาติหรือกระทรวงสาธารณสุขอเมริกา จึงเป็นงานยืนยันเรื่องระดับคอเลสเตอรอลเท่านั้น

เราจึงพบว่าความคิดชี้นำเรื่องอันตรายของคอเลสเตอรอลยังคงเป็นความคิดกระแสหลัก ตราบเท่าทุกวันนี้

ประสบการณ์ตรงในประเทศไทย

คุณเฉลียว (นามสมมติ) เป็นแม่คุณเฉลิมผู้อ่อนน้อม รายที่ทั้งอ้วนทั้งเบาหวานและไขมันสูงนั่นแหละ แท้ที่จริงแล้วคุณเฉลียวเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพลูก ด้วยความเข้าใจผิดว่า กินไก่ตอนหมูสามชั้นอันตรายจากไขมันอิ่มตัวจะทำให้ลูกอ้วน เธอจึงห้ามเขา

แต่ปล่อยให้กินข้าว ขนม ผลไม้อย่างอุตลุด

ไม่ใช่แต่ลูกเท่านั้น ตัวคุณเฉลียวเองก็ปฏิบัติเช่นนั้นเป็นตัวอย่าง

ผลก็คือ คุณเฉลียวจึงป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และไขมันสูงเป็นแบบอย่างเช่นเดียวกัน

เธอป่วยด้วยโรค
1) อ้วน แบกน้ำหนักตัวร้อยกว่า ก.ก.
2) เบาหวาน กินยา 2 ชนิดควบวันละ 6-7 เม็ด
3) ไขมันเลือดสูง ถูกสั่งให้กินยา
4) ไขมันพอกตับ จากผลข้างเคียงของยาลดไขมัน
5) ความดันเลือดสูง กินยา

เธอรักลูกมากกว่าตัวเอง แม้ว่าตัวเองต้องเฝ้าร้านค้าซึ่งขายดีอุตลุดจนละจากมาไม่ได้ แต่ด้วยความสงสารลูกที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน จึงนำพาลูกหันหาธรรมชาติบำบัดสูตรล้างพิษตับอ่อน

ด้วยเวลา 10 วัน ทำตัวให้หยิ่งยโสกับแป้งข้าว ผลไม้ และของหวาน แต่แสดงความรักกับหมู ไก่ ไข่ ปลา และอาหารไขมันอย่างไม่ยำเกรง แต่ก็บังคับตัวเองให้กินผักราวกับชาติที่แล้วเกิดเป็นกระต่าย แถมด้วยไก่ตุ๋นยาจีนบำรุงตับอ่อน

ระหว่าง 10 วัน ยาเบาหวานถูกลดทอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนวันสุดท้ายไม่ต้องกินยาเลย

ส่วนยาลดไขมันทิ้งลงถังขยะไปตั้งแต่วันแรก

เสร็จแล้วผลของกุศลกรรมก็ปรากฏให้เห็นชัด เมื่อพบว่า
น้ำตาลเลือด น้ำตาลสะสม Chol Trig HDL LDL น้ำหนักตัว
ม.ก.% % ม.ก.% ม.ก.% ม.ก.% ม.ก.% ก.ก.
ก่อน 138 7.3 272 130 66 180 111.8
หลัง 129 6.1 223 88 49 156 107.7

ด้วยประสบการณ์ตรงเช่นนี้เอง ผมจึงบอกกับแฟนๆ ผู้อ่านว่า ถ้าคุณชื่นชอบหนังไก่ก็กินไปโดยไม่ต้องเลาะทิ้ง หมูสามชั้นกินครบทุกชั้นอย่างเอร็ดอร่อย ขอแต่ให้เพิ่มผัก งดข้าวงดผลไม้ แล้วคุณจะหุ่นดี มีความสุข

( ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 25-31 ตุลาคม 2556)

ที่มา : มติชน 1 พฤศจิกายน 2556

 

ลดความอ้วนและไขมันในเลือดสูงด้วยผักพื้นบ้านไทย

Credit: en.wikipedia.org

Credit: en.wikipedia.org

ลดความอ้วนและไขมันในเลือดสูงด้วยผักพื้นบ้านไทย

รองศาสตราจารย์ .ภญ. พร้อมจิต ศรลัมพ์
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          ภาวะไขมันในเลือดสูงในคนไทยทั้งชายและหญิงเป็นปัญหาสุขภาพที่นับวันจะรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัว พบว่าทัศนคติในการบริโภคของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กไทยเปลี่ยนจากอาหารไทยที่อุดมไปด้วยผักนานาชนิด ไปเป็นอาหารจานด่วนแบบตะวันตก ที่เข้ามาแพร่หลาย ได้รับความนิยมสูงและหาซื้อง่าย สารอาหารที่พบในอาหารจานด่วนส่วนใหญ่เป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งถ้าบริโภคเป็นประจำ จะส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูงและจะพัฒนาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็งในทางเดินอาหาร เราควรหาโอกาสไปพบคุณหมอและตรวจหาข้อมูลสุขภาพสักปีละครั้ง เพื่อป้องกันก่อนเกิดโรคเหล่านี้

image0003

ระดับไขมันในคนปกติจะต้องมีค่าโคเลสเตอรอลรวมน้อยกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 170 มก./ดล. ไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับโคเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายและนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ควรมีค่ามากกว่า 60 มก./ดล. ส่วนไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล. สำหรับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้นำในการรับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันโรคต่างๆ เอาไว้ก่อน

วัฒนธรรมการปรุงอาหารไทย ใช้เครื่องปรุงที่มีอยู่ในพื้นที่ เป็นพืชผักและเครื่องเทศ ซึ่งพบว่ามีสารประกอบพฤกษเคมี หรือไฟโตเคมิคอล (phytochemical) ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการและปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นด้วย ทำให้เราใช้ประโยชน์เป็นยาที่ช่วยปรับสมดุล ป้องกันและรักษาโรคได้ดีมาก มีการวิจัยเพื่อตรวจหาศักยภาพของผักในบ้านเราที่สามารถลดไขมันในเลือดได้ พบว่า

พริกไทยดำ และสารสำคัญคือไปเปอรีนสามารถลดการซึมผ่านของโคเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด (cholesterol uptake)1,2

ส่วน ข่า มีน้ำมันหอมระเหยและ ชาดำ มีสารกลุ่มแทนนินช่วยต้านกระบวนการย่อยสลายไขมันในลำไส้ของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อน (pancreatic lipase activity) ทำให้ไขมันที่บริโภคไม่สามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ และถูกขับออกมากับกากอาหารอื่น1 ข่า ยังสามารถลดระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟไลปิด และเพิ่มระดับไขมันชนิดดี (HDL) ในซีรัมหนูทดลองไขมันสูง3

ส่วนสารสกัด กลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบแดง ใบมะรุมและผลมะระขี้นก ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase เช่นเดียวกับยาลดไขมันกลุ่มสแตติน เช่น พราวาสแตติน ทำให้การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในร่างกายลดลง1

     ใน เหง้าขิง มีสารสำคัญกลุ่มน้ำมันหอมระเหยและยางเรซินซึ่งไม่ค่อยละลายในน้ำ พบว่าสัตว์ทดลองไขมันสูงกินน้ำต้มขิงในขนาดสูง (500 มก./กก.) สามารถลดโคเลสเตอรอลได้ แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอไรด์4หลังจากให้กระต่ายทดลองที่กินขิงสกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์ ตรวจพบปริมาณไขมันถูกขับออกมาในอุจจาระเพิ่มขึ้น5 

สารสีแดงกลุ่มแคโรทีนอยด์ใน พริกชี้ฟ้า ชื่อแคปแซนตินทำให้ระดับไขมันชนิดดีในสัตว์ทดลองสูงขึ้น6

ใบผักบุ้ง ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ของหนูแรทที่ทำให้มีไขมันสูงได้ทั้งในเลือด ตับ ไต และหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ7

หนูทดลองกินน้ำต้ม ใบตะไคร้ ขนาดต่างๆ นาน 42 วัน พบว่า ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและไขมันชนิดไม่ดีลดลงตามขนาดที่กิน แต่ไม่มีผลลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์8

มีผลงานวิจัยที่ทดลองในสัตว์เป็นจำนวนมาก ระบุว่า ผลมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก พบว่าน้ำคั้นผลมะขามป้อมสด สามารถลดระดับโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์และ LDL ของกระต่ายโคเลสเตอรอลสูงลงได้ โดยกลไกลดการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มการขับถ่ายออกไปพร้อมอุจจาระ9 สารออกฤทธิ์เป็นกลุ่มฟลาโวนอยด์ และโพลีฟีนอล ซึ่งลดการสังเคราะห์ไขมันและเสริมการทำลายโคเลสเตอรอลทั้งในซีรัมและในเนื้อเยื่อของหนูที่โคเลสเตอรอลสูงด้วย10

สารอัลลิซินและอะโจอินใน กระเทียมสด มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างสารโคเลสเตอรอลในร่างกายและมีฤทธิ์ต้านการก่อไขมันอุดตันในหลอดเลือดได้11

มีการวิจัย ลูกเดือย ในปี 2012 นี้สรุปว่าในลูกเดือยมีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งออกฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอล ต้านอนุมูลอิสระ และลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด12

มะเขือเทศ เป็นผักที่มีไลโคปีนสูง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสามารถลดระดับไขมันชนิดเลวได้ดี13 การศึกษาโดยการสังเกตและวิเคราะห์ไปข้างหน้า (Prospective cohort) พบว่าหญิงที่รับประทานมะเขือเทศเป็นหลักอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 7-10 มื้อ จะลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย14

การนำผักเครื่องเทศเข้ามาในเมนูอาหารของครอบครัวเป็นเรื่องง่าย เติมพริกไทยในอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ แกงจืดใบตำลึง น้ำพริกแนมกับใบมะรุม ผลมะระขี้นก ใบตำลึงต้ม อันที่จริงเรามีน้ำพริกหลากหลายชนิด น้ำพริกมะม่วง น้ำพริกกะปิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า ไตปลาแห้ง เป็นต้น เป็นอาหารที่นำไปสู่การบริโภคผักที่ดี ไก่ต้มข่า หากใช้ข่าอ่อน จะเคี้ยวทานไปได้เลย เวลาทำข้าวต้มปลา จะใช้ข่าอ่อนโขลก เติมน้ำปลา ใส่ในข้าวต้มตอนรับประทาน และคีบเนื้อปลาจิ้ม จะหอม และกลบกลิ่นคาวปลา อร่อยมาก ตะไคร้เป็นเครื่องเทศที่พบในอาหารไทยเสมอ ยำตะไคร้ใส่กุ้งหมูและน้ำยำรสจัด ทำให้เราบริโภคตะไคร้ในปริมาณที่มากขึ้น มีพริกอยู่ในอาหารแทบทุกจานอยู่แล้ว ลองนำมะเขือเทศมาผัดกับหมูและไข่ เหยาะน้ำปลา โรยต้นหอมผักชีเล็กน้อย ทานกับข้าวสวยร้อนๆ หรือจะผัดเป็นข้าวผัดก็ดี ใส่ลูกเดือยในแกงจืด หรือทำขนมก็ได้ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำชาจีน น้ำมะขามป้อม เป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติแตกต่างกันและมีคุณประโยชน์ดีกว่าน้ำอัดลม

ที่กล่าวถึงเป็นเพียงตัวอย่างผักและเครื่องปรุงอาหารบางส่วนเท่านั้น อันที่จริงนอกจากสารประกอบพฤกษเคมีหลากหลายชนิดที่พบในผักผลไม้ต่างๆ แล้ว ยังมีส่วนประกอบอื่นที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ คือ สารแมคโครนิวเทรียนต์ (macronutrient) ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน สารอาหารอีกชนิดหนึ่งคือ สารไมโครนิวเทรียนต์ (micronutrient) เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเช่นกัน แต่ต้องการปริมาณเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ไวตามินและแร่ธาตุ แม้แต่ส่วนกากเส้นใย (fiber) ก็ยังช่วยดูดซับไขมันที่เราบริโภคในมื้อนั้นไว้ และช่วยนำพาไปกำจัดออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ

วันนี้ท่านรับประทานผักหรือยัง ทุกมื้อควรมีผักครึ่งหนึ่ง อาหารอื่นอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อสุขภาพที่ดีเราต้องทำให้ได้ เป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

เอกสารอ้างอิง

  1. Duangjai A, Ingkaninan K, Limpeanchob N. Potential mechanisms of hypocholesterolaemic effect of Thai spices/dietary extracts. Nat Prod Res 2011;25(4):341-52.
  2. Duangjai A, Ingkaninan K, Praputbut S, et al. Black pepper and piperine reduce cholesterol uptake and enhance translocation of cholesterol transporter proteins. J Nat Med 2012;67(2):303-10.
  3. Achuthan CR and Padikkala J. Hypolipidemic effect of Alpinia galanga (Rasna) andKaempferia galanga (Kachoori). Indian J Clin Biochem 1997;12(1):55-8.
  4. Thomson M, Al-Qattan KK, Al-Sawan SM, et al. The use of ginger (Zingiber officinale Rosc.) as a potential anti-inflammatory and antithrombotic agent. Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids 2002;67(6):475-8.
  5. Sharma I., Gusain D., Dixit VP. Hypolipidaemic and Antiatherosclerotic effects of Zingiber officinale in cholesterol fed rabbits. Phytother Res1996;10:517–8.
  6. Aizawa K and Inakuma T. Dietary capsanthin, the main carotenoid in paprika (Capsicum annuum), alters plasma high-density lipoprotein-cholesterol levels and hepatic gene expression in rats. Br J Nutr 2009;102(12):1760-6.
  7. Sivaraman D. Hypolipidemic activity of Ipomoea aquatica Forsk. leaf extracts on lipid profile in hyperlipidemic rats. Int Pharm Biol Arch 2010;1(2):175-9.
  8. Adewale AA and Oluwatoyin AE. Hypoglycemic and hypolipidemic effects of fresh leaf aqueous extract of Cymbopogon citrarus Stapf. in rats. J Ethnopharmacol 2007;112:440-4.
  9. Mathur R, Sharma A, Dixit VP, et al. Hypolipidaemic effect of fruit juice of Emblica officinalisin cholesterol-fed rabbits. J Ethnopharmacol 1996;50:61-8.
  10. Anila L and Vijayalakshmi NR. Flavonoids from Emblica officinalis and Mangifera indica-effectiveness for dyslipidemia. J Ethnopharmacol 2002;79(1):81-7.
  11. Sendl A, Schliack M, L?ser R, et al. Inhibition of cholesterol synthesis in vitro by extracts and isolated compounds prepared from garlic and wild garlic. Atherosclerosis 1992;94(1):79–85.
  12. Wang L, Sun J, Yi Q, et al. Protective effect of polyphenols extract of adlay (Coix lachryma-jobi L. var. ma-yuen Stapf) on hypercholesterolemia-induced oxidative stress in rats. Molecules 2012; 17(8):8886-97.
  13. Agarwal S and Rao AV. Tomato lycopene and its role in human health and chronic diseases. CMAJ 2000; 163(6): 739–44.
  14. Sesso HD, Lin S, Gaziano JM, et al. Dietary lycopene, tomato – based food products and cardiovascular disease in women. J Nutr 2003; 133: 2336–41.

ที่มา : http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=151

ออกกำลังกายในน้ำ กับ ธาราบำบัด

dailynews130915_003เรื่องราวของการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ มีการกล่าวถึงมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้คุณสมบัติเรื่องอุณหภูมิของน้ำในการรักษาเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส อีกทั้งในสมัยนั้นยังไม่มีบ่อหรือสระธาราบัด จึงใช้การอาบน้ำแร่หรือบ่อน้ำพุร้อนต่าง ๆ ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดตามข้อหรือตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ

แต่ ณ ปัจจุบัน ทางกายภาพบำบัดได้นำเอาศาสตร์นี้มาใช้รักษาผู้ป่วย โดยเริ่มต้นใช้อ่างน้ำวนหรืออ่างน้ำอุ่น รักษาผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ เพื่อจุดประสงค์ในการลดอาการปวด ต่อมาการรักษาธาราบำบัดได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยให้ผู้ป่วยลงไปอยู่ในน้ำ หรือสระธาราบำบัดทั้งตัว ประกอบกับใช้ท่าทางของการออกกำลังกาย ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด

กภ.ยศวิน สกุลกรุณา นักกายภาพบำบัด จากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล” ให้ข้อมูลว่า “ธาราบำบัด” คือการออกกำลังกายในน้ำซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาทางกายภาพ บำบัด โดยใช้น้ำเป็นสื่อหรือตัวกลางในการรักษา โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรองรับทุกส่วนของร่างกาย ทำให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายและข้อต่อในส่วนต่าง ๆ ได้อย่างอิสระและง่ายขึ้น จึงช่วยลดแรงกระแทก และช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในขณะฝึกและออกกำลังในน้ำ ต่างจากการออกกำลังกายบนบกที่บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่สามารถยืนหรือลงน้ำหนักได้ หรือในบางท่วงท่าก็ไม่สามารถทำได้ เช่น การเดิน, การก้าวขาขึ้น-ลงบันได หรือก้าวขาไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือการทรงตัว เพราะฉะนั้นเมื่อเราเปลี่ยนจากการออกกำลังกายบนบกมาทำในน้ำก็จะช่วยให้การทำกายภาพ บำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ โดยธาราบำบัดทางกายภาพบำบัดนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อเรื้อรัง ส่งผลให้กำลังกล้ามเนื้อลดลงไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ การทำธาราบำบัดจะมีการออกแบบท่าออกกำลังกายให้เหมาะสมกับส่วนที่มีปัญหาและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่หายไปเพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้

2. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น เดินเซ ก้าวสั้น หรือเดินหลังค่อม น้ำจะเป็นตัวช่วยพยุงรอบตัวเพื่อให้ง่ายต่อการฝึกเดินหรือออกกำลังกายในท่าต่าง ๆ โดยที่ท่าเหล่านี้อาจทำได้ลำบากถ้าทำบนบก

3. ผู้ป่วยกระดูกหักหลังผ่าตัดหรือหลังถอดเฝือก โดยเฉพาะในส่วนกระดูกสันหลังและกระดูกขา การเริ่มฝึกเคลื่อนไหวให้กลับมาเป็นปกติจะมีข้อจำกัดคือความเจ็บแผลผ่าตัดและข้อต่อที่ยึดติดทำให้ยากต่อการฝึกฝน ธาราบำบัดจะมีส่วนช่วยในการพยุงเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและลดความเจ็บปวดกล้ามเนื้อ มีผลทางด้านจิตใจคือช่วยลดความกลัวที่จะลงน้ำหนักได้อย่างปกติ

4. ผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง จากโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังต่าง ๆ การฝึกการเคลื่อนไหวในน้ำจะช่วยให้ง่ายต่อการทรงตัว

5. นอกจากผู้ป่วยแล้วบุคคลปกติที่มีปัญหาเรื่อง น้ำหนักตัว ความเครียด กล้ามเนื้อตึงจากการใช้งานไม่ถูกวิธีและมากเกินไป การทำธาราบำบัดก็สามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้

ธาราบำบัดหรือกายภาพบำบัดในน้ำ ยังใช้ได้ผลดีกับการคลอดลูก ผู้มีภาวะความเครียด ผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ ผู้ที่เพิ่งถอดเฝือก รวมถึงผู้ที่มีปัญหาหมอนรองกระดูก ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เข้าเฝือกอันเนื่องมาจากกระดูกหัก หรือเอ็นข้อเข่าขาด ต้องผ่าตัดเย็บซ่อม ก็จะมีการใช้ธาราบำบัดเข้ามาช่วย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เมื่อใช้ธาราบำบัดร่วมกับการฟื้นฟูบนบก จะสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงหลังการผ่าตัดเอ็นข้อเข่าให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติได้ โดยใช้การฟื้นฟูประมาณ 4 -5 เดือน ต่างกับสมัยก่อนที่ใช้การฟื้นฟูบนบกอย่างเดียวที่ต้องใช้เวลา 10-12 เดือน

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการทำธาราบำบัดก็คือ ในผู้ป่วยที่ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่เคยว่ายน้ำมาก่อนเลย หรือกลัวการลงน้ำ จะสามารถเข้ารับการรักษาได้หรือไม่ เรื่องนี้นักกายภาพบำบัดอธิบายว่า คนกลุ่มนี้ก็สามารถเข้ารับการรักษาด้วยธาราบำบัดได้เช่นกัน เพราะในการรักษาจะเริ่มต้นด้วยน้ำลึกเพียง 1 เมตรหรือน้ำในระดับเอวเท่านั้น ซึ่งน้ำในระดับนี้จะช่วยทอนน้ำหนักลงไปได้ถึง 50% แล้ว ผู้ป่วยสามารถที่จะลงไปแกว่งขาในน้ำได้ เดินในน้ำได้ หรือจ๊อกกิ้งในน้ำได้ เมื่อผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับน้ำในระดับนี้ได้ ก็จะเพิ่มความลึกของน้ำเป็นระดับอกหรือระดับไหล่ ซึ่งน้ำในระดับนี้จะช่วยทอนน้ำหนักลงไปได้ถึง 70–80% และผู้ป่วยจะสามารถออกกำลังกายในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เพิ่มมากขึ้น…และในกรณีคนไข้ที่ไม่เคยว่ายน้ำมาก่อนเลย แนะนำว่าให้มาพบนักกายภาพบำบัดก่อนเพื่อที่จะให้คนไข้ได้ปรับตัวและคุ้นเคยกับน้ำก่อน คุ้นเคยกับว่าเราจะลอยตัวในน้ำอย่างไร คุ้นเคยว่าน้ำนั้นมีแรงต้านกับเรายังไง และคุ้นเคยกับการทรงตัวในน้ำ

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฝึกกายภาพ บำบัดในน้ำแบบเดี่ยวก่อน จนกระทั่งสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว มีการทรงตัวที่ค่อนข้างดี และควบคุมการเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างดี จากนั้นจะมีจับกลุ่มกับผู้ป่วยท่านอื่น ๆ ที่มีภาวะเจ็บป่วยใกล้เคียงกัน มีการออกแบบท่วงท่าในการออกกำลังกายในน้ำที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม หรืออาจใช้อุปกรณ์ช่วยร่วมกับการฝึกการทรงตัวทั้งบนบกและในน้ำ ซึ่งจะให้ผลที่ดีกว่าการฝึกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว สำหรับระยะเวลาในการรักษาต้องใช้อย่างน้อย 3 เดือนจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

หลายคนมีข้อสงสัยว่าการกายภาพบำบัดในน้ำนั้นจะช่วยลดอาการปวดได้ด้วยหรือไม่ ในประเด็นนี้ก่อนอื่นผู้ป่วยต้องทราบว่าอาการปวดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดนั้น เกิดจากการคั่งค้างของของเสียในร่างกาย รวมถึงสารอักเสบและเลือดเสียที่คั่งค้าง สังเกตได้ว่าหลังการผ่าตัดนั้นขาเราจะบวม ซึ่งการที่เราลงไปในน้ำ น้ำจะมีคุณสมบัติคือมีแรงดันทุกทิศทางกับร่างกายของเรา เพราะฉะนั้นแรงดันเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่คั่งค้างให้กระจายออกไป อาการปวดก็จะทุเลาลง เป็นการช่วยลดการอักเสบของข้อต่อและลดอาการบวมได้ ดังนั้นในผู้ป่วยที่ออกกำลังกายในน้ำอยู่สม่ำเสมอก็มีส่วนทำให้ความดันโลหิตลดลงได้”

ไม่เพียงแต่ในผู้ใหญ่เท่านั้น กายภาพบำบัดในน้ำยังมีประโยชน์กับเด็กที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีความพิการทางสมอง เช่น ในเด็กปกติทั่วไปจะสามารถเดินได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ แต่เด็กเหล่านี้จะมีพัฒนาเรื่องการเดินได้ล่าช้ากว่านั้น ซึ่งจะมีนักกายภาพบำบัดให้การดูแลร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว ซึ่งจะใช้ท่วงท่าของการกระตุ้นเพื่อให้เด็กเตะขาและสามารถเหยียดขาได้ ใช้ท่านอนคว่ำเพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังให้เด็กสามารถเหยียดหลังและเหยียดคอได้ รวมถึงท่าในการกระตุ้นกล้ามเนื้อตะโพกให้เด็ก เพื่อให้เด็กสามารถที่จะลุกขึ้นคลานได้ ยืนได้ และเดินได้ พอเรากระตุ้นการเคลื่อนไหวของเด็กในน้ำแล้ว การเคลื่อนไหวบนบกของเด็กก็จะมีพัฒนาการได้ดีมากขึ้น

แม้การทำธาราบำบัดจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อควรระวังและข้อห้ามดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ควรแจ้งแก่นักกายภาพบำบัดก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักกายภาพบำบัดได้เตรียมระดับของน้ำที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย

2. จริงๆ แล้วการออกกำลังกายในน้ำร่างกายผู้ป่วยจะมีการสูญเสียเหงื่อหรือสูญเสียน้ำเช่นเดียวกับการออกกำลังกายบนบก ดังนั้นจึงควรมีการจิบน้ำเป็นระยะ ๆ ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

3. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ไม่แนะนำให้ทำธาราบำบัด

4. ผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อของผิวหนัง รวมถึงมีบาดแผลเปิด ไม่ควรทำธาราบำบัด จำเป็นต้องรักษาอาการติดเชื้อเหล่านั้นให้หายเสียก่อนจึงจะเข้ารับการธาราบำบัดได้

โดยสรุปก็คือการทำธาราบำบัดสามารถใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็กเรื่อยไปถึงวัยสูงอายุ ในเด็กจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่วัยคลานไปจนถึงวัยเดิน ส่วนในวัยรุ่นที่มีการบาดเจ็บทั้งจากการเล่นกีฬาหรือการทำงาน ธาราบำบัดสามารถช่วยฟื้นฟูให้กลับมาใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เร็วขึ้น…ในวัยทำงานหรือวัยกลางคนที่มักจะมีความเครียดเกิดขึ้น รวมถึงมีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ธาราบำบัดสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดเหล่านั้นได้ในระดับหนึ่ง สุดท้ายในวัยสูงอายุ ธาราบำบัดนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในผู้สูงอายุอาจมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ความดันโลหิต และกล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสนุก สนาน มีสังคม อีกทั้งยังได้ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงด้วยครับ

สำหรับผู้สนใจเรื่องกายภาพบำบัดในน้ำหรือธาราบำบัด สามารถติดต่อได้ที่คณะกายภาพ บำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โทรศัพท์ 0-2441-5450 ต่อ 12.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา: เดลินิวส์  15 กันยายน 2556

การฝึกสมาธิช่วยเลิกบุหรี่ การเจริญสติเอาชนะการเสพติดได้

(IchZeit, CC BY-NC-ND 2.0)  Researchers observe increased self-control and changes in the brains of smokers who participate in mindfulness meditation training.

(IchZeit, CC BY-NC-ND 2.0) Researchers observe increased self-control and changes in the brains of smokers who participate in mindfulness meditation training.

การทำสมาธิแบบเ้จริญสติเทคนิคจิตบำบัด ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เพียงนำทางผู้คนให้ตรัสรู้ งานวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแสดงให้เห็นว่าการอบรมทำสมาธิเจริญสติสามารถช่วยให้ผู้คนเอาชนะการเสพติดบุหรี่ของพวกเขาได้่

การศึกษานี้ได้ทดลองกับผู้ที่สูบบุหรี่อย่างน้อย 10 มวนต่อวันจำนวน 10 คน ได้รับการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการบรรลุสมดุลของร่างกายและจิตใจนำโดยโค้ช IBMT และคอมแพคดิสก์” ผู้เขียน แต่ละเซสชั่นกินเวลาประมาณ 30 นาทีซึ่งการฝึกอบรมซ้ำตรงกันทุกวัน เป็นเวลา 10 คืน

สองสัปดาห์ของการ IBMT ลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 60

ดร. ยี ทัง หยวน นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยเทกซัสเทคกล่าวว่า

“เพราะการทำสมาธิสติส่งเสริมการควบคุมส่วนบุคคลและได้รับการแสดงในเชิงบวกส่งผลกระทบต่อความสนใจและเปิดกว้างกับประสบการณ์ภายในและภายนอก เราเชื่อว่าการทำสมาธิแบบเจริญสติจะเป็นประโยชน์สำหรับการรับมือกับอาการติดยาเสพติดได้”

ความอยากนิโคตินเป็นตัวแทนของเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคนสหรัฐ 44 ล้านคนที่ต้องการเลิกบุหรี่

ดร. ไมเคิล ไอ โพสเนอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณวิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยออริกอน กล่าวว่า “เราไม่สามารถบอกได้ว่าผลของการสูบบุหรี่ที่ลดลงนั้นจะมีอายุนานแค่ไหน”

“นี่คือการค้นพบแรกเริ่ม แต่ก็ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาเพิ่มเติม  มันอาจเป็นไปได้ว่าการลดหรือเลิกสูบบุหรี่จะมีผลถาวรได้ ถ้าผู้สูบบุหรี่ยังคงฝึกเจริญสติต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง”

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม…

Popular Chinese Meditation Technique Helps Smokers Cut Back

By Nsikan Akpan | Aug 5, 2013
Mindfulness meditation, a psychotherapy technique rooted in the teachings of Buddha, may do more than lead a person to enlightenment. New research from the University of Texas shows that meditation training can help people beat their cigarette addictions.

The study had 15 smokers — those who smoked at least 10 cigarettes per day — partake in integrative body-mind training (IBMT). A popular practice in China, IBMT focuses on whole body relaxation, mental imagery, and mindfulness — a calm self-awareness of one’s mood and feelings.

“The trainees concentrated on achieving a balanced state of body and mind guided by an IBMT coach and a compact disc,” wrote the authors. Each session lasted about 30 minutes, which the trainees repeated every day for 10 straight nights.

Another 12 participants, who served as controls, were taught relaxation techniques, but not IBMT.

Two weeks of IBMT curtailed smoking habits by 60 percent, as observed by measuring the subjects’ carbon monoxide before and after the train sessions began. No significant reduction was witnessed in the relaxation-only group.

A follow-up exam one month later revealed that five people in the IBMT group had successfully maintained their lower levels of cigarette consumption.

The researchers attributed this success to diminished cravings.

“We found that participants who received IBMT training also experienced a significant decrease in their craving for cigarettes,” said co-author Dr. Yi-Yuan Tang, a psychologist at Texas Tech University.

“Because mindfulness meditation promotes personal control and has been shown to positively affect attention and an openness to internal and external experiences, we believe that meditation may be helpful for coping with symptoms of addiction.”

Nicotine cravings represent a major barrier for those among the 44 million U.S. smokers who want to quit.

Better self-control may also be responsible for the changed habits, as revealed by functional magnetic resonance imaging (fMRI) brain imaging. Results from fMRI scans, prior to IBMT, revealed lower activity in brain regions implicated in self-control, including the anterior cingulate cortex and the left lateral prefrontal cortex. Two weeks of IBMT boosted brain activity in these areas. This pattern was not observed in the non-IBMT group.

The combination of heightened self-control and relaxation may explain why these smokers had lower cravings, although the authors noted that a larger study with more subjects is needed.

“We cannot say how long the effect of reduced smoking will last,” concluded co-author Dr. Michael I. Posner, professor emeritus of psychology at the University of Oregon.

“This is an early finding, but an encouraging one. It may be that for the reduction or quitting to have a lasting effect, smokers will need to continue to practice meditation for a longer time period.”

Source: Tang YY, Tang R, Posner MI. Brief meditation training induces smoking reduction. PNAS. 2013.

SOURCE : www.medicaldaily.com

ท้องเสีย มีเลือดออก ทับทิมช่วยได้

dailynews130801_001POMEGRANATE หรือ ทับทิม มีชื่อท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป เช่น พิลา พิลาขาว มะก่องแก้ว มะเก๊าะ หมากจัง แต่ทั้งหมดล้วนหมายถึง ‘ทับทิม’ ผลไม้ชนิดนี้ชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาว เนื้อทับทิมก็ยิ่งมีสีแดงเข้ม ส่วนเปลือกทับทิม นำไปตากแห้งแล้วบดละเอียด สามารถนำไปโรยแก้น้ำกัดเท้าได้ หรือจะนำไปต้มแล้วรอให้อุ่นจึงแช่เท้าก็ได้

ในหนังสือ สมุนไพร 91 ชนิด พิชิตโรค ชุด ตำรายาล้ำค่าของหมอโฮจุน ที่ยูเนสโกคัดเลือกให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก จากสำนักพิมพ์อินสปายร์ บันทึกไว้ว่า ต้นทับทิม เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กของเอเชีย มีถิ่นกำเนิดในอิหร่าน เมล็ดมีรสเปรี้ยวอมหวาน มีฤทธิ์ร้อน ช่วยกระตุ้นลมปราณลำไส้ใหญ่และลมปราณไต แก้ท้องเสีย หยุดอาการเลือดออกและช่วยสมานแผลในลำไส้ได้ นอกจากนี้ ยังใช้ในการรักษาอาการท้องร่วง โรคบิด โรคเลือดออกในมดลูก โรคเลือดออกในลำไส้ ตกขาว โรคหูรูดเสื่อม ฯลฯ

วิธีการคือ นำเปลือกทับทิมตากแห้ง 3-5 กรัม มาบดแล้วกินแบบผง หรือต้มน้ำดื่มทุกวัน จะทำให้อาการดีขึ้น อีกสูตรหนึ่งคือ เปลือกทับทิมผัด (120 กรัม) ประกอบด้วย เห็ดอา-กโย (MERULIUS TREMELLOSUS) รากของต้นตี่ยู้ (SALAD BURNET มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า SANGUISORBA OFFICINALIS) ต้นหวงป๋อ อย่างละ 40 กรัม นำไปคั่วนิดหน่อย ตามด้วยตังกุย (KOREAN ANGELICA ROOT) ผัด 40 กรัม และโกศหัวบัว 1.2 กรัม บดเป็นผง แล้วนำทั้งหมดไปผสมกับข้าวต้ม กินครั้งละ 4 กรัม

ยาดังกล่าวดีต่อหญิงมีครรภ์ ที่อุจจาระเป็นเลือด ท้องเสียมีเลือดปน หรือมีอาการปวดท้อง

ที่มา : เดลินิวส์  1 สิงหาคม 2556