ชวนดูคอนเสิร์ต “เพลงรัก ในแผ่นฟิลม์” โดย นภาดา และเพื่อน พร้อมศิลปินรับเชิญ วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2558

nabhada002คอนเสิร์ต “เพลงรัก ในแผ่นฟิลม์” โดย นภาดาและเพื่อน
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2558 เวลา 19.30 น.
ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า

นภาดา สุขกฤต หรือที่รู้จักกันดีในนาม “พา” เดอะวินเนอร์อีส เจ้าของบทเพลงดัง “กลับมารักกัน” จากละครดัง “สายรุ้ง”, ไอวิลเซอร์ไวฟ์ เวอร์ชั่นอีสาน, เพลงนำภาพยนตร์; เดอะไลอ้อนคิง, บราเธอร์แบร์ทั้ง 2 ภาค, ปล้นนะยะ, ข้างหลังภาพ เธอเป็นศิลปินนักร้องและนักแสดงละครเวที คุณภาพอันดับต้น ๆ ของเมืองไทยที่มักได้รับการคัดเลือกให้แสดงเสียงต้อนรับกษัตริย์และผู้นำ เช่น กษัตริย์จิกมีแห่งภูฐาน, บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ สวดโพชฌังคปริตรถวายพระพรองค์ดาไลลามะแห่งทิเบต

ครั้งนี้เธอชวนเพื่อนศิลปินคุณภาพ

พืช ภาคิน” จากเวที เดอะวอยซ์ ซีซั่น 3 ชายผู้มีเสียงอันมีเสน่ห์น่าหลงใหล หาตัวจับยากคนหนึ่งของเมืองไทย

อิ๋งอิ๋ง” และ “จีน” สองนักร้องหญิงจากเวทีนักล่าฝัน Academy Fantasia ผู้มีพลังเสียงแห่งความสุข ในขณะเดียวกันก็เพอร์ฟอร์มได้แซ่บเว่อร์

อาเธอร์ ปัญญะโชติ” นักร้องนายแบบชื่อดังเสียงหล่อ ซึ้ง ทรงเสน่ห์ลุ่มลึก

เอ็ดเวิร์ด แวนโซ่” นักร้องนำวงคาไลโดสโคป ฉายาเจ้าพ่อเพลงร็อค และ ร๊อด สจ๊วต ของเมืองไทย

และ “บิลลี่ โอแกน” ซุปเปอร์สตาร์เจ้าของเพลงที่คุณรักอย่าง เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม

ในครั้งนี้ศิลปินใจบุญเพื่อนของนภาดาทุกคนมาร่วมแสดงด้วยใจ ร้องเพลงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ขอถวายเสียงเป็นพุทธบูชา เพราะเป็นการสร้างกุศลที่หาโอกาสได้ยาก ด้วยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปร่วมทอดกฐินสร้างบันไดขึ้นไปกราบสักการะรอยพระพุทธบาทจริงของพระพุทธเจ้า มณฑปครอบ และลานประทักษิณ บนยอดเขา ณ วัดธาตุดินแทน จ.เลย และ มอบส่วนหนึ่งเป็นธรรมทานครั้งใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติธรรม “โครงการฆราวาสชั้นเลิศ” ของสำนักธรรม “เอกายนมรรค” อีกด้วย

คอนเสิร์ตบุญครั้งนี้ คุณนักฟังผู้มีใจรักในเพลงคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงสากลและเพลงรักจากภาพยนตร์ จะได้ฟังเพลงรักในแผ่นฟิล์มที่อยู่ในหัวใจของคุณและนักฟังเพลงทั่วโลก เช่น When you say nothing at all จาก “Nothing Hill”, Can’t fight the moon light จาก “Coyote Ugly”, I don’t wanna miss a thing จาก “Armargeddon” และเพลงซาวนด์แทรคที่หาฟังยาก ๆ อีกมากมาย ออกมาโลดแล่นบนเวทีให้คุณได้ซาบซึ้ง อิ่มเอม ไปกับการร้องคุณภาพที่เต็มไปด้วยจิตอันเป็นกุศล

อีกทั้งมั่นใจในความไพเราะด้วยดนตรีที่กำกับโดย Music Director อันดับหนึ่งของเมืองไทย “ศรายุทธ สุปัญโญ” เท่านั้นยังไม่พอ กำกับการแสดงโดย “ธเนส สุขวัฒน์” แห่ง มิวสิคกูรู นักเนรมิตความสุขให้แก่แฟนคอนเสิร์ตที่เขาจัด บัตรคอนเสิร์ตขายหมดเกลี้ยงทุกครั้งแถมแฟนเพลงยังติดอกติดใจถามถึงคอนเสิร์ตครั้งต่อ ๆ ไป ทุกโชว์ของเขาประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น งานนี้รับประกันความอิ่มใจ

พบกันเวลา ทุ่มครึ่ง วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม ณ โรงภาพยนตร์ สกาล่า สยามสแควร์ ซอย1 ราคาบัตร 500 1,000 1,500 2,000 2,500 บาท ไม่ว่าคุณจะมีรายได้แค่ไหนก็ร่วมบุญใหญ่ครั้งนี้ได้

เปิดรับจองบัตรแล้ววันนี้ ที่เคาน์เตอร์ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ทุกสาขา โทร 0-2262-3456 หรือที่ www.thaiticketmajor.com

ร่วมประสบการณ์แห่งความสุข อิ่มเอม ตื้นตัน แล้วคอนเสิร์ต “เพลงรัก ในแผ่นฟิล์ม” โดย นภาดา และเพื่อน จะยิ้มและโลดแล่นอยู่ในหัวใจของคุณไปอีกนานแสนนาน

ฝากช่วยประชาสัมพันธ์ ช่วยซื้อบัตร มาช่วยงาน หรือช่วยคิด ช่วยเป็นกำลังใจด้วยนะคะ เหลืออีก 19 วัน มีอะไรต้องทำเพียบเลย หนังก็ต้องถ่ายทำ ป.เอกก็สอบ อะไรโอยตื่นเต้น ขอพลังทุกท่านหน่อยนะคะ ให้โทรซื้อบัตรที่ “พา” ก็ได้นะคะ 094 -6269541 ขอบพระคุณ และ อนุโมทนาสาธุค่ะ

nabhada003

 

nabhada004

 

nabhada005

 

nabhada006

nabhada001

เพื่อน “พา”

IMG_2341

งานแถลงข่าว “คอนเสิร์ตดาวเติมฟ้า” ปฐมบท ตอน “บันไดสู่รอยพระพุทธบาท พระธาตุดินแทน” เมื่อ 28 เมษายน 2558

IMG_2322

งานแถลงข่าว “คอนเสิร์ตดาวเติมฟ้า” ปฐมบท ตอน “บันไดสู่รอยพระพุทธบาท พระธาตุดินแทน” เมื่อ 28 เมษายน 2558

 

IMG_2323

งานแถลงข่าว “คอนเสิร์ตดาวเติมฟ้า” ปฐมบท ตอน “บันไดสู่รอยพระพุทธบาท พระธาตุดินแทน” เมื่อ 28 เมษายน 2558

 

 

“กลับมารักกัน” เพลงประกอบละคร “สายรุ้ง”

 

“One moment in time” โดย นภาดา สุขกฤต

 

 

“คิดถึง” โดย “อาเธอร์ ปัญญะโชติ” และ “พืช ภาคิน” จากเวที เดอะวอยซ์ ซีซั่น 3

 

 

” I feel good” ขับร้องโดย “อิ๋งอิ๋ง” และ “จีน” สองนักร้องหญิงจากเวทีนักล่าฝัน Academy Fantasia

 

 

คลิปวิดีโอ คุณวุฒิชัย เจียมทวีวิบูลย์ กับโรคกระดูกสันหลังยึดติด

ผู้ป่วยโรค AS ซึ่งหายจากโรค  AS

รายการหนี้แผ่นดิน สุขภาพดีกับพรีม่า ช่วง “สายใยความหวัง”
ตอน กระดูกสันหลังยึดติด
โดย คุณวุฒิชัย เจียมทวีวิบูลย์ กรรมการชมรมสายใยความหวังผู้ป่วย

พระประสงค์ ปริปุณโณ ‘รู้รักษาใจรอดเป็นยอดดี’ โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

bangkokbiznews130804_001เข้าพรรษาได้สองสัปดาห์แล้ว ‘กายใจ’ ชวนท่านผู้อ่านมาสนทนาธรรมสบายๆ กับพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก สหรัฐอเมริกา ร่วมศึกษาศิลปะการเอาใจให้รอดในทุกสถานการณ์ ชวนกันมา ‘รู้สึกตัวเต็มๆ’ ที่นี่และเดี๋ยวนี้

ปัจจุบันพระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จำพรรษาอาศรมน้อมสู่ใจ บ้านโป่งกระทิง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ชวนมาขบคิดว่าเพียงวิธีการเดียวกันนี้จะช่วยให้ ‘ใจ’รอดได้จริงไม่ว่าฝนจะตกทั่วฟ้าหรือไม่ การเมืองจะวุ่นวายเพียงใด เศรษฐกิจจะฝืดขนาดไหนหรือไม่ อย่างไร

ดังวาทะของท่านที่ว่า”รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาใจรอด เป็นยอดดี”

กายใจ : ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประวัติของท่านสักหน่อยว่าทำไมพระอาจารย์จึงบวช
พระอาจารย์ประสงค์ : แม่บนไว้ให้บวชสามเดือน บวชแล้วก็อยู่มาเรื่อย ไม่ครบสามเดือนสักที (ฮา) แม่บอกว่า เล็กๆ ป่วยบ่อย ก็เลยบนไว้กับพระธุดงค์ที่มาบิณฑบาตหน้าบ้านที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ตอนนั้นแม่จับใส่บาตร ยกให้เป็นลูกพระ พระท่านก็ฉีกจีวรมาพันข้อมือให้ แล้วบอกว่าพออายุครบให้บวชนะ ฝากให้โยมเลี้ยงด้วย หลังจากนั้นก็ไม่ป่วยอีกเลย ก็อยู่ดีมาตลอด พออายุครบ 20 ปี แม่ให้บวชก็ไม่บวช อายุ 21 ปีแม่ให้บวชก็ไม่บวช ไม่ชอบพระ ตอนนั้นดื่มเหล้า สูบบุหรี่วันละสองซอง อาตมาไม่ใช่คนดี อาตมาเมามาตลอด จนกระทั่งอายุ 22 ปี ทะเลากับแม่เรื่องจะให้บวชนี่แหละ บอกแม่ว่า แม่บนแม่ก็บวชสิ มาให้ผมบวชทำไม แต่ในที่สุดก็ยอมบวช

กายใจ : ก่อนที่พระอาจารย์จะบวชทำอาชีพอะไร

พระอาจารย์ประสงค์ : อาตมาเป็นตากล้องอิสระ ถ่ายรูป ที่บ้านเป็นร้านซ่อมนาฬิกาก็ทำเป็นอาชีพมาตลอดก่อนบวช เรียนทางด้านเทคนิคสิ่งทอ แต่เรียนไม่จบ เกเรนิดหน่อย พอดีญาติต้องการคนถ่ายรูปก็ไปช่วยญาติ พอไปช่วยก็เลยทำมาตลอด หลังจากนั้นก็มาเปิดร้านเอง เป็นช่างภาพอิสระ

 

กายใจ : พระอาจารย์ไปพบท่านพุทธทาสได้อย่างไร

พระอาจารย์ประสงค์ : ตอนบวชตั้งแต่พรรษาแรกๆ เจอหนังสือสวดมนต์แปลของสำนักสวนโมกข์ก็ประทับใจ ตอนหลังก็เดินทางไปที่สวนโมกข์ แล้วก็ไปจำพรรษาที่เกาะหาดทรายแก้ว จังหวัดสงขลา ซึ่งที่นั่นมีท่านมหาประทีปที่เคยอยู่สวนโมกข์มาสิบกว่าปี ท่านเลยพาไปกราบท่านพุทธทาสอยู่เรื่อยๆ ก็เลยได้ไปบ่อยๆ คำสอนท่านเป็นประโยชน์มาก อาตมาก็นำมาใช้กับชีวิต และเอามาบอกต่อ เวลาใครถามก็จะบอกว่า ท่านสอนไว้อย่างนี้

กายใจ : ขอถามถึงเกี่ยวกับศีลข้อสามในฐานพระสงฆ์
พระอาจารย์ประสงค์ : จะถามว่าครอบคลุมไปถึงการห้ามไปยุ่งกับนักบวชผู้ประพฤติพรหมจรรย์ไหม ผู้หญิงที่ตั้งใจไปสึกพระบาปไหม กับการที่พระสึกออกมาแต่งงานต่างกันอย่างไรใช่ไหม (หัวเราะ) ต้องดูว่าเขาทำอะไรเลยเถิดหรือเปล่า ถ้ารู้สึกพอใจประทับใจก็ธรรมดา ถ้าพระท่านไม่เล่นด้วยก็จบแค่นั้น แต่ถ้าพระรู้สึกประทับใจด้วย ก็คือ ถ้าคนไม่เข้าใจเรื่องกรรม มันพูดลำบาก ถ้าเป็นกรรมเก่า เขาอธิษฐานมาเจอกันล่ะ เรื่องนี้พิสูจน์ไม่ได้ โยมสังเกตดูว่า บางคนเจอปั๊ปถูกชะตาเลย บางคนเห็นหน้าก็ไม่ถูกชะตาแล้ว มันเป็นอะไรละ มันเป็นอะไรดี เราเกลียดจมูก เกลียดปาก หรือเกลียดรูปร่างเขา มันไม่มีเหตุผล หลวงพ่อชา สุภัทโทท่านจึงบอกว่า บางเรื่องมันนอกเหตุเหนือผล ทีนี้ถ้าคนไม่เคยเจอกับตัวไม่รู้

คนที่ยังไม่เจอบุพเพสันนิวาสไม่มีทางรู้ แต่ถ้าเจอ และเขาไม่อยากทำผิดศีล ผิดธรรม ก็ไม่ได้เสียหายอะไร อย่างอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ท่านก็สึกไปมีครอบครัวทำประโยชน์แก่พระศาสนามหาศาล อาจารย์วศิน อินทสระก็สึกไปทำประโยชน์เยอะ หลายคน เพราะฉะนั้น มันอยู่ที่ว่าเขาสึกไปแล้ว เป็นคนมีศีล หรือคนไม่มีศีล ถ้าเขาสึกไปเป็นฆราวาสที่ดีก็ไม่เสียหาย ดีกว่าเป็นพระที่ชั่ว บางรูปทำไม่ดี ยังไม่ยอมสึกก็มี

อีกตัวอย่างหนึ่ง โยมคนหนึ่ง อาตมาไปเจอที่เยอรมัน เป็นผู้หญิง คนนี้เก่งมาก ไม่เคยมีความรัก แต่ต้องไปแต่งงานกับฝรั่งเพื่อหาเงินส่งมาทางบ้าน เธอไม่รู้ว่า ความรักเป็นอย่างไร ไม่เคยมีความรัก แต่ถ้าไม่แต่งงานอยู่เยอรมันไม่ได้ ก็เลยแต่งงาน พอแต่งไปก็ทำงานอย่างเดียว พอกลับไปบ้าน วันหนึ่งสามีพาผู้หญิงอื่นมานอน พอเธอเห็นก็โอ้ สาธุ ดีอกดีใจ เรียกผู้หญิงคนนั้นเป็นน้องเลย ชวนมาอยู่ด้วยกัน เธอช่วยดูแลสามีฉันหน่อย แล้วฉันจะดูแลเธออย่างดี สามีก็งง ผู้หญิงคนนั้นก็งง แล้วเธอก็ขอทำงานส่งเงินให้ที่บ้านต่อ นี่คือเรื่องของคนไม่เคยมีความรัก

แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่ง มีพระจากเมืองไทยไปที่นั่น ก่อนไปครูบาอาจารย์ก็เตือนพระว่าระวังนะ นางฟ้าเยอรมัน มันแรง พระรูปนี้ก็ไม่สนใจ พอบวชก็ลาออกจากงาน ตั้งใจบวชเต็มที่ก็อยู่สิบกว่าพรรษา พอไปที่เยอรมัน ผู้หญิงคนนี้เข้าวัดเข้าวาตลอด ก็ไปรับที่สนามบิน พอไปเจอแค่นั้นเอง ขาอ่อนเดินไม่ได้เลย ฝ่ายผู้หญิงก็ตกใจทำไมเป็นอย่างนี้ ใจเต้นแรงตุบตับๆ อยู่อย่างนั้นเอง พระรูปนั้นก็จ้องมาทางผู้หญิง แกก็ดู สายตาพระก็แปลกๆ แต่แกเป็นคนกล้าก็เข้าไปถามพระตรงๆ พระเป็นแบบโยมหรือเปล่า โยมพอเห็นหน้าท่าน ใจมันเต้น ตกใจ มือสั่นไปหมดเลย ทำไมเป็นแบบนี้ แล้วท่านเป็นไงบ้าง

พระรูปนั้นไม่กล้าพูดปดก็บอกว่า อาตมาก็เป็น ด้วยความที่ผู้หญิงคนนั้นเคารพอาตมา ตอนนั้นอาตมาอยู่ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผู้หญิงก็โทรฯหาอาตมา ทำไงดี ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต ไม่เคยเชื่อเรื่องบุพเพสันนิวาส ตอนนี้มาเจอกับตัวเองแล้ว มีความรู้สึกทุกข์ทรมานมากเลย วันๆ อยากจะใกล้ชิด อยากเห็นหน้า จนกระทั่ง แกฝืนไม่กล้าไปวัด แต่ก็สู้กับความรู้สึกตลอด ไม่รู้จะทำอย่างไรดี

อาตมาก็บอกว่า ไปวัดได้ ไม่เป็นไร อาตมาขออย่างเดียว อย่าอยู่กันสองต่อสองแค่นั้นเอง ก็ถ้าคนไม่อยู่สองต่อสองมันจะไปทำอะไรกันได้ มันก็จบ อาตมาก็บอกให้รับปากนะ มันผิดพระวินัย แล้วจะทำให้พระผิดวินัยด้วย แล้วคนก็จะมองภาพพจน์เราในทางที่เสียด้วย เธอก็รับปากอาตมา ได้ค่ะ

หลังจากนั้นผู้หญิงคนนี้ก็ไปวัดทำบุญปกติ ออกพรรษา พระรูปนี้ก็กลับเมืองไทย กลับไปก็ไปลาพระอุปัชฌาย์ ลาพ่อ ลาแม่ บอกว่า เจอเนื้อคู่ ไม่เคยคิดว่าจะเจออย่างนี้มาก่อน พอเจออย่างนี้พระเขารู้สึกว่า จิตไม่บริสุทธิ์แล้วไม่สามารถอยู่อย่างนี้ได้ ก็เลยสึกไปช่วยงานพ่อแม่ ฝ่ายผู้หญิงทำงานแล้วก็กลับบ้านไปแต่งงานกับผู้ชายคนนี้ มีความสุข รักษาศีลห้าปกติ พอวันพระก็รักษาศีลแปดทั้งสามีภรรยา ก็เป็นคู่ที่เป็นแบบอย่างที่ดี

ตัวอย่างแบบนี้มีเยอะ พระบางรูปมาบอกอาตมาว่า อธิษฐานว่า จะบวชตลอดชีวิต อาตมาบอกว่า อย่าไปอธิษฐานอย่างนี้ ควรจะอธิษฐานว่า จะไม่ทำให้ผ้าเหลืองสกปรก อย่าทำให้ศาสนามัวหมอง อย่าทำให้ศาสนาเสียหาย ผมขอแค่นี้แหละ ถ้าท่านไปอธิษฐานไม่สึก เดี๋ยวถ้ามันเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะอยู่ก็อยู่แบบสกปรก จะสึกก็ไม่กล้าสึกเพราะกลัวสัจจะที่ตั้งไว้

 

กายใจ : เราจะตอบคำถามเหตุและผลเรื่องความถูกต้องกับความรักอย่างไร

พระอาจารย์ประสงค์ : อย่างโยมคนหนึ่ง แกรูปหล่อ มีสาวๆ มาติดแกเยอะ เป็นพ่อเลี้ยงอยู่ทางภาคเหนือ อาตมาธุดงค์ขึ้นไปแล้วไปเจอกัน แกแต่งงาน เราก็ถามว่า เป็นอย่างไร ชีวิตแต่งงาน แกบอกว่า ไม่เคยคิดจะแต่งงานเลย แต่ผู้หญิงเข้ามาอยู่ประจำ คนนั้นคนนี้เข้ามาชอบอยู่เรื่อย ไม่รู้จะทำอย่างไร ไม่อยากผิดศีลห้า เพราะสมาทานไว้ตลอด ในที่สุดก็เดินไปหาพ่อของผู้หญิงคนหนึ่งขอลูกสาว ผู้หญิงก็หน้าตาธรรมดา แล้วก็แต่งงานกัน หลังจากแต่งงาน แกก็ใช้ชีวิตครอบครัวธรรมดา มีลูกคนหนึ่ง เวลาใครมายิ้ม ทำท่าทำทางอะไร แกจะบอกว่า ผมแต่งงานมีลูกแล้วครับ ก็จบอย่างนั้นมาตลอด

จนกระทั่งผู้ชายคนนี้มีโอกาสไปอินเดีย อยู่ดีๆ ไปเจอผู้หญิงคนหนึ่ง เห็นปั๊ปรักทันที ซึ่งแกบอกว่า ศีลห้า แกสุดยอด พอไปเจอตรงนั้น แกก็มาเล่าให้ฟังว่า เจอปั๊ปมันเข่าอ่อนเลย ผู้หญิงคนนี้ก็เหมือนกัน เจอปุ๊ปก็รักปั๊ปเหมือนกัน ทั้งสองคนหน้าตาคล้ายกันมาก พอดีไปทัวร์ด้วยกัน แล้วภรรยาเขาไม่ได้ไปด้วย เขาไปอินเดียคราวนั้นก็เลยได้สนิทกับผู้หญิงคนนี้ คนเห็นก็ถาม แฟนคุณน่ารักจัง หน้าเหมือนกันเลย เป็นน้องหรือเปล่า คือมันประทับใจ และคิดว่าชาตินี้ถ้าไม่ได้อยู่ด้วยกันไม่ได้ กลับไปเมืองไทย ไปขอภรรยาตัวเองว่า ขอมีอีกคนหนึ่ง ภรรยาเงียบ ไม่ได้พูดอะไร ขณะที่ตอนที่คุยกับผู้หญิงคนนั้นก็ยังบอกไปเลยว่า ผมมีภรรยา มีลูกแล้วนะครับ ก็ยังเป็น เห็นไหม นี่คืออะไรล่ะ

ดีที่ทั้งสองคนไม่ยอมผิดศีลห้า แต่ใกล้ชิดกันมีความสุข ถูกเนื้อถูกตัวมีความสุข คือไปไหนก็เกาะแขนกัน มีความสุขมาก อยู่ดีๆ วันหนึ่งปึ๊ง มันหยุดไปเฉยๆ ไอ้ความรู้สึกมันหายไปเลย พอเจอกันก็เหมือนเป็นญาติกัน คือวิบากกรรมมันจบอยู่แค่นั้น ปัจจุบันครอบครัวเขาก็อยู่กันปกติ แต่ช่วงนั้นเขาบอกอาตมาว่ามันทรมานมาก

 

กายใจ : คนเดี๋ยวนี้ไม่รู้สึกกับกฎแห่งกรรมว่ามีจริงใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ประสงค์ : น้องแม่ของอาตมา เมื่อก่อนไม่เคยสนใจบาปกรรม โยมพ่ออาตมาชอบทำหนังสติ๊กให้เล่น ทำที่ตกปลาให้เล่น แล้วน้าเจอลูกนกตกอยู่ที่พื้น จับขึ้นมาดูเห็นขามันหักอยู่ มองไปมองมาจะทำอย่างไรดี มองขึ้นไปบนต้นไม้เห็นรังนก แกก็เลยปีนขึ้นไปวาง พอเอาขึ้นไปก็เจอลูกนกอีกตัวหนึ่ง ก็เอ๊ะมีอยู่อีกตัว ไม่ได้คิดอะไรก็เอาไปวาง วางเสร็จกลับบ้าน สามสี่วันผ่านไป ก็เอ๊ะเป็นไงนะ ลูกนกโตหรือยัง แกเลยปีนขึ้นไปดู แล้วจับลูกนกมาดูก็ เอ๊ะ ตัวนี้ขาดีแสดงว่าไม่ใช่ จับอีกตัว เอ๊ะนี่ก็ขาดี อยากรู้นกรักษาขาอย่างไร แกก็เลยจับลูกนกหักขาทั้งสองข้างเลย แล้วปล่อยไว้ในรัง พอกลับบ้านข้ามถนนโดนรถชนเปรี้ยงขาหักจนถึงปัจจุบันนี้ โชคดีที่ขาหักข้างเดียว หลังจากนั้นแกก็เลยไม่กล้าทำอย่างนี้อีก

แต่กรรมมันไม่ได้เห็นทันตาอย่างนี้ทุกคนไป และไม่สามารถพิสูจน์ได้ คนก็เลยไม่เชื่อ แต่ถ้าคนเขาเคยเจอเรื่องกรรมตรงนี้ปั๊ป เขารู้เลย

กายใจ : ยิ่งปัจจุบันคนชอบเพ่งโทษ และมองว่าความผิดอยู่ที่คนอื่นใช่ไหม

พระอาจารย์ประสงค์ : หลายคนว่าคนไม่ค่อยมองว่าปัญหาทุกอย่างมีเหตุ-ปัจจัย และอาจมาจากตัวเอง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากทัศนคติของคนที่ชอบจับผิดกัน ชอบเพ่งโทษ คือ มองแต่ในแง่ร้าย วิธีการแก้ก็คือ ให้เปลี่ยนจากจับผิดเป็นจับถูก เปลี่ยนจากเพ่งโทษเป็นเพ่งคุณ ตั้งชมรมชมกันเองบ้าง ครอบครัวก็จะน่าอยู่ ที่ทำงานก็น่าทำ จิตใจเราก็จะมีความสุข

ตอนนี้รู้สึกว่าดัชนีความสุขในใจคนมันหายไป เราต้องมองให้เห็นว่า เพราะชีวิตคนมันสั้น แค่ลมหายใจเข้าออกนี่เอง ถ้าหายใจเข้าไม่ออกก็ตาย หายใจออกไม่เข้าก็ตาย วันๆ หนึ่งคนมันตายแปดร้อยกว่าคนทุกวัน ตอนนี้ที่เราไม่รู้สึกอะไร เพราะเราไม่ได้เข้าไปร่วมในการตายในนั้น ไม่มีญาติที่ตาย พอวันไหนที่ญาติเราตายเราก็วูบทีหนึ่ง เราต้องพิจารณาตรงนี้ให้มากๆ

เราต้องมองให้ออก ปัญหาระดับประเทศอย่างเช่น อาร์เจนติน่า ล้มเหลวเพราะอะไร เขมรล้มเหลวเพราะอะไร เกาหลีล้มเหลวเพราะอะไร เพราะการทะเลาะกันในประเทศชาติ เราสามารถที่จะเอาความผิดพลาดของคนอื่นมาพัฒนาตนเองโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปผิดพลาดเอง แต่ตอนนี้ รู้สึกว่า เรากำลังเริ่มหลงทางกัน เราใช้สื่อสาธารณะกันไปในทางเพ่งโทษกันเองมาก ถ้าเราหันกลับมาดูตัวเรา เราจะเพ่งโทษคนอื่นน้อยลง แต่ก็ยังโชคดีว่าบางคนยังมีปัญญาที่จะเข้าใจในสิ่งนี้อยู่
เข้าพรรษาแล้วปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันอย่างไรดี ทำศีลห้าให้บริสุทธิ์ก็ปิดอบายภูมิแล้ว

 

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ 4 สิงหาคม 2556

ติช นัท ฮันห์ ‘สนทนากับความว่าง’ โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

เครดิตภาพ : สุกล เกิดในมงคล

เครดิตภาพ : สุกล เกิดในมงคล

หนึ่งเดือนแห่งการจาริกธรรมในประเทศไทยของพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระแห่งพุทธศาสนามหายาน นิกายเซน ชาวเวียดนาม ผ่านไปอย่างรวดเร็ว เชื่อว่า คนไทยไม่น้อยคงจะค้นพบปาฏิหาริย์จากลมหายใจของตนเอง

หลังจากไปภาวนากับท่านในคอร์สใดคอร์สหนึ่ง หรือไม่ก็ไปฟังธรรมจากท่านครั้งใดครั้งหนึ่ง หรือว่ายังไม่เคยพบท่านเลยก็ตาม ณ พื้นที่กายใจตรงนี้จึงขอมอบลมหายใจ รอยยิ้มและความสุขจากท่าน ในชั่วขณะสองชั่วโมงที่ท่านให้สัมภาษณ์เมื่อยามเช้าวันที่ 23 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สถานปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย บ้านสระน้ำใส ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

เราอาจอ่านบทสัมภาษณ์ของใครต่อใครมามาก แต่วันนี้จะขอเล่าบรรยากาศและบทสนทนาเบื้องหลังการให้สัมภาษณ์ของบุคคลระดับโลกที่ทำงานด้านสันติภาพมาตลอดชีวิต หากมีวิถีชีวิตเรียบง่ายดังเช่นพระป่าธรรมดารูปหนึ่ง

ในวันนั้นท่านให้สัมภาษณ์เป็นกันเองอย่างยิ่งบนศาลามุงจากหลังเล็กๆ ที่พระช่วยกันสร้างขึ้นใกล้ๆ กับกุฏิสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ประมาณ 100 รูป อยู่ห่างจากกุฏิของภิกษุณีพอสมควรซึ่งจำพรรษาอีก 60 รูป บนผืนดินที่กำลังก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมที่ผสานไปกับธรรมชาติรอบๆ เขาใหญ่ที่กำลังจะกลายเป็นวัดเซนให้เราได้เรียนรู้วิถีเซนอย่างต่อเนื่องในไม่ช้านี้

หากเราเคยพบหลวงปู่มาก่อน คงสังเกตการเดินของท่านที่ไม่เหมือนใคร การเดินอย่างสงบทุกย่างก้าวที่อาจจะทำให้ใครบางคนลืมกระพริบตาหรือลืมหายใจไปชั่วขณะหนึ่ง เช่นเดียวกับขณะนี้ที่ท่านเดินออกมาจากกุฏิ ทุกย่างก้าวเต็มไปด้วยความสงบ เบา สบายอย่างยิ่ง เมื่อท่านมานั่งลงตรงกลางศาลาเรียบร้อยแล้ว ท่านนั่งสงบอยู่พักหนึ่งแล้วกล่าวว่า เราอาจให้การสัมภาษณ์ครั้งนี้เป็นการสัมภาษณ์ภาวนา นั่นหมายถึงว่าให้เป็นการสัมภาษณ์ในวิถีแห่งสติ ดังนั้น บางครั้ง เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง ขอให้เราผ่อนคลายกลับมาอยู่กับลมหายใจของเราอย่างมีสติ

“เพราะเราอยู่ในประเทศพุทธศาสนา เรามีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนี้ และหลวงปู่เองก็ต้องการความสงบและสันติสุขในใจเพื่อที่จะให้สัมภาษณ์ ซึ่งผู้สัมภาษณ์ก็ต้องการสิ่งนี้เช่นเดียวกัน”

ระฆัง

นับเป็นการเริ่มต้นสัมภาษณ์ที่มีความตื่นเต้นอยู่ภายใจเป็นอย่างยิ่ง ฉันสัมผัสได้ถึงภาวะของหัวใจเต้นมากกว่าปกติ และเสียงของลมหายใจของตัวเองที่ดังกว่าใครๆ บนศาลา ทุกอย่างสงบนิ่ง ยกเว้นเสียงนกร้อง เสียงลมพัดใบไม้ไหว และเสียงภายในของฉัน แต่ไม่นานนัก ความสงบก็ค่อยๆ มาเยือนภายในใจของฉัน และพบกับความสงบอย่างยิ่งจนทำให้ลืมการสัมภาษณ์ไปเลยเมื่ออยู่ต่อหน้าหลวงปู่ที่ใจดี มีเมตตาในวัย 87 ปี พรรษาที่ 71 กระทั่ง เมื่อหลวงปู่บอกว่า จำเป็นอย่างมากที่ในระหว่างการสัมภาษณ์เราจะต้องภาวนาไปด้วยกันเพื่อรักษาสันติสุขภายในของเรา และเราจะเริ่มต้นบทสนทนาด้วยเสียงระฆัง

หลวงปู่กล่าวว่า เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง เราจะหยุดพูดคุย หยุดการคิด หยุดการให้สัมภาษณ์และมาเบิกบานกับเสียงระฆังด้วยกันและปล่อยให้ร่างกายของเราได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ให้เราเบิกบานกับสิ่งรอบๆ ข้าง รับรู้ว่า ชีวิตอยู่ตรงนั้นกับเรา เราสามารถให้สัมภาษณ์โดยไม่มีความตึงเครียดและความกังวล ถ้าเราทำเช่นนั้น บทความก็จะออกมาดี

“และคนที่ได้อ่านบทความของเราก็จะได้รับความผ่อนคลายและมีความสงบสุขด้วย ในวิถีพุทธ เวลาเราได้ยินเสียงระฆัง ซึ่งเป็นตัวแทนพระพุทธองค์ เราจะหยุดคิด หยุดพูด และกลับมาอยู่กับเสียงระฆังอย่างเต็มเปี่ยม และเมื่อเธอหายใจออก เธอก็ยิ้มให้กับชีวิตและปลดปล่อยความตึงเครียดทั้งหมดในร่างกายของเ รา ในวัดของเรามักเคยชินกับการทำอย่างนี้โดยไม่ต้องบังคับตังเอง เราไม่จำเป็นต้องเคร่งขรึม เราเพียงแค่เบิกบานแล้วกลับมาตามลมหายใจเข้า หายใจออก

“ในประเพณีทางพุทธศาสนา เราสามารถฝึกปฏิบัติเพื่อที่จะผ่อนคลายร่างกายของเรา เธอสามารถทำอารมณ์ความรู้สึกให้สงบลง เธอสามารถผลิตความสุข ความสงบในปัจจุบันขณะได้ หลวงปู่ทำงานกับนักข่าวมากมายในประเทศทางตะวันตก หลวงปู่จะให้นักข่าวผ่อนคลาย เบิกบาน แล้วสนทนาบนวิถีแห่งสติไปด้วยกัน”

เชิญดื่มชา

เสียงรินน้ำชาของพระอุปัฏฐากหลวงปู่ ทำให้ฉันต้องเหลียวไปมอง ตามวิถีที่ไม่ค่อยมีสติของฉัน ซึ่งมักหันไปหาตามสัญชาตญาณ แต่การหันไปครั้งนี้ทำให้ฉันสงบลงเป็นอย่างมาก เมื่อเห็นอากัปกิริยาของพระที่ค่อยๆ รินน้ำชาอย่างมีสติจนครบทุกถ้วยแล้วหลวงปู่ก็กล่าวว่า เชิญดื่มชา

ระหว่างการดื่มชาอึกแรก อึกที่สอง และอึกที่สาม ฉันได้ยินเสียงนกร้องรอบๆ ตัวชัดเจนมาก ชั่วขณะนั้น หลวงปู่หายไปจากความคิด ไม่มีศาลา ไม่มีแม้แต่ฉัน มีเพียงรสน้ำชาขมๆ ที่ค่อยๆ ผ่านลำคอลงไปจนหมดเกลี้ยง ถ้วยชาของฉันว่างแล้ว เมื่อเหลียวมองถ้วยชาของหลวงปู่ยังเหลืออยู่และของท่านอื่นๆ ก็ยังเหลืออยู่ ฉันเริ่มกลับมาอยู่กับความคิดใหม่ โอ้โห เราซดจนหมดเลยหรือนี่ เอ้อ ความคิดเริ่มเป็นนายเราอีกแล้ว

ชั่วขณะนั้น หลวงปู่ก็กล่าวขึ้นว่า ขณะที่กำลังถ่ายทำก็ขอให้เราเบิกบาน และยิ้มผ่อนคลาย ในระหว่างการสัมภาษณ์ไม่ควรเดินไปเดินมา เพราะจะทำให้เสียสมาธิในการสัมภาษณ์ และให้ถ่ายรูปหลังจากสัมภาษณ์แล้ว แต่ไม่ให้ถ่ายระหว่างการสัมภาษณ์

“ความเข้าใจเป็นเรื่องสำคัญมาก มันจะสะท้อนออกมาในบทความที่เราเขียน หากเราต้องการให้สังคมมีความเข้าใจกัน มีความสมานฉันท์ เราต้องรดน้ำแห่งความเมตตา กรุณาให้เกิดขึ้นในใจเราก่อน บทความนั้นก็จะเต็มไปด้วยความเข้าใจ ความเมตตาและกรุณา ”

แล้วเราก็กลับมาอยู่กับลมหายใจแห่งสติด้วยกันเมื่อเสียงระฆังดังขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ปลุกพุทธะให้ตื่น

จากนั้นหลวงปู่กล่าวว่า มีหัวข้อสองเรื่องที่อยากจะพูดในวันนี้ หัวข้อแรกก็คือ เราจะช่วยทำอย่างไรที่จะปรับปรุงพุทธศาสนาในประเทศนี้ให้ใหม่

“นั่นคือการคำนึงถึงบุคคลมากมาย ไม่เพียงแต่แวดวงพุทธศาสนา พระ และฆราวาสทั้งหลาย เพราะเมืองไทยเต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางพุทธ หลวงปู่อยากให้พุทธศาสนาได้รับใช้ประเทศชาตินี้เหมือนในอดีต แต่เพราะเราไม่รู้วิธีทำให้พุทธศาสนาให้ใหม่ คำสอนและการฝึกปฏิบัติถ้าไม่ร่วมสมัย คำสอนนั้นก็จะสูญเสียความสามารถ การทำงานทางพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของนักบวชหรือของพระเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของทุกคน เป็นมรดกของประเทศชาติ ในประเทศตะวันออกกลางมีน้ำมัน แต่ประเทศเรามีพุทธศาสนา ถ้าเรารู้วิธีใช้พุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์ เราจะไปช่วยรับใช้ประเทศชาติของเราได้ เพราะฉะนั้นการทำให้พุทธศาสนาใหม่อยู่เสมอเป็นสิ่งที่สำคัญ

“เราสามารถที่จะรักษาความสงบสุข เราสามารถที่จะถอดถอนการแบ่งแยก เราสามารถให้คนสื่อสารกันและกันมากขึ้น ง่ายขึ้น เราสามารถทำให้คืนสัมพันธภาพกันใหม่ เราสามารถทำให้นักการเมืองเป็นทุกข์น้อยลง ช่วยให้นักธุรกิจทุกข์น้อยลง ประสบความสำเร็จมากขึ้น เราอาจจะช่วยคุณครูเป็นทุกข์น้อยลง ช่วยสอนให้ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ช่วยทำให้นักเรียนในโรงเรียนเป็นทุกข์น้อยลง สิ่งเหล่านี้สามารถทำได้ เราควรทำพุทธศาสนาเข้าไปในทุกวิถีชีวิต เพื่อที่จะหยิบยื่นสันติภาพ ความเข้าใจ ความกรุณา เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติอย่างลึกซึ้ง”

สิ่งที่ท่านเน้นย้ำก็คือ เราจำเป็นต้องมีนักข่าวที่ภาวนาอย่างลึกซึ้งเพื่อที่จะได้มีคนหนุ่มสาวมาบวชอีก เมื่อก่อนวัดไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน วัดเป็นผู้นำทางการศึกษา เยียวยาทุกอย่าง แต่ปัจจุบันนี้ วัดไม่ได้เป็นอย่างนั้นและได้สูญเสียความเป็นผู้นำทางพุทธศาสนา เพราะไม่สามารถปรับปรุงพุทธศาสนาให้ใหม่เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

” นี่คือปัญหาไม่เพียงแต่ประเทศไทย ประเทศศรีลังกา ประเทศทางพุทธในกระแสหลัก เกาหลี ประเทศจีน พุทธศาสนากำลังตายไปอย่างช้าๆ เพราะฉะนั้นเราจะต้องปกปักรักษาประเพณีทางพุทธศาสนาไว้เป็นมรดกของประเทศชาติเรา นี่คือหัวข้อแรกที่หลวงปู่อยากจะแลกเปลี่ยน”

การเมืองในใจ

อีกหัวข้อหนึ่งที่หลวงปู่แลกเปลี่ยนก็คือ นักการเมืองจะปรองดองกันอย่างไร เพื่อรับใช้ประเทศชาติ เพราะฉะนั้น ข้อแรกเชื่อมโยงกับข้อที่สอง คือเมื่อพุทธศาสนามีชีวิตก็สามารถที่จะรับใช้สังคมและประเทศชาติได้

“ในประเทศอเมริกา สถานการณ์ในกองทัพและกรมตำรวจนั้น ตำรวจเขาใช้ปืนของเขาฆ่าตัวตาย จำนวนตำรวจที่ตายมีมากกว่าตำรวจที่ถูกพวกแก๊งฆ่า เช่นเดียวกันกับทหารทั้งหลาย จำนวนทหารที่ฆ่าตัวตายนั้น มีมากกว่าบรรดาทหารที่ถูกฆ่าในสงคราม เขาเข้าไปประเทศในตะวันออกกลาง เขาต่อสู้ แต่เขาไม่ได้ถูกฆ่าตายที่นั่น เขากลับมายังประเทศของเขาแล้วเขาทนความทุกข์ของเขาไม่ไหวจนต้องฆ่าตัวตาย เพื่อให้ออกจากความทุกข์ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก เป็นปัญหาที่ร้ายแรง จนเขาไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ไม่มีใครช่วยเขาฝึกสติ ไม่มีใครที่จะเยียวยา

“ทหารผ่านศึกที่กลับมาจากตะวันออกกลาง เราได้จัดภาวนาให้กับพวกที่เคยอยู่ในสงคราม ทหารที่ผ่านสงคราม ทหารผ่านศึก และตำรวจ เป็นการยากมากที่จะจัดภาวนาให้กับบุคคลเหล่านี้ แต่เรารู้จักตำรวจหญิงท่านหนึ่ง ที่มาภาวนาและอยากจะช่วยให้ตำรวจมีความทุกข์น้อยลง และขอให้เราช่วยจัดงานภาวนาให้กับตำรวจ เพราะมีความทุกข์ที่ใหญ่มากในกรมตำรวจ

“ตำรวจมีความทุกข์มากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตอนเช้าไปทำงาน เขาไม่รู้ว่าตอนเย็นจะได้กลับบ้านแล้วมีชีวิตอยู่ไหม พอเขากลับบ้าน เขาก็ปฏิบัติกับคนในบ้านเหมือนกันคือเต็มไปด้วยอำนาจ เขาก็ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตครอบครัวเขา เพราะเขาใช้อำนาจกับลูก หลาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่อยู่ในคุก ผู้ที่คุมคุก มีความทุกข์เป็นอย่างยิ่ง ในงานภาวนามีชื่อว่า ‘keeping the peace :รักษาสันติสุข ‘ เมื่อความสันติสุขในตนเองเกิดขึ้น นั่นก็คือสันติสุขในสังคม”

‘ฟัง’ คลายความทุกข์

หลวงปู่ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยเราเป็นชาวพุทธ มีองค์ประกอบของสิ่งต่างๆ เหล่านี้อยู่แล้วมากมาย เราจะต้องจัดงานภาวนาให้กับนักจิตบำบัด นักธุรกิจ ครู เราจำเป็นต้องหยิบยื่นคำสอนในวิถีพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวพันกับสังคม จะได้ฝึกคุณครู คุณครูจะได้มีความทุกข์น้อยลง เขาจะปฏิบัติกับนักเรียนได้ด้วยใจที่เมตตากรุณา แม้ว่านักเรียนยังอายุน้อยเป็นทุกข์เพราะอาจจะมาจากครอบครัวที่แตกร้าว มีความรุนแรง คุณครูจะต้องรู้ปัญหา เพื่อที่จะให้เขามีความสงบสุขมากขึ้น และมีความทุกข์น้อยลง เมื่อคุณครูสามารถทำได้ด้วยตนเอง คุณครูก็จะสอนนักเรียนให้ทำได้

“เช่นการรับฟังอย่างลึกซึ้ง คุณครูจะต้องนั่งลงเพื่อรับฟังความทุกข์ของเขา เพียงแค่นั่งและรับฟังก็ช่วยให้มีความทุกข์น้อยลงแล้ว และช่วยจัดตั้งระหว่างคุณครูด้วยกัน กับนักเรียนและคำสอน กับการเรียนก็จะดีขึ้น ถ้านักเรียนนั่งรับฟังคุณครูได้ก็เช่นเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะว่าคุณครูเป็นทุกข์มาก เราจึงต้องเรียนรู้การรับฟังตามแนววิถีพุทธ เพื่อนำสิ่งที่ดีงามมาเยียวยา เราจะต้องฝึกคุณครูมากมายในหลายประเทศ เพื่อที่จะทำสิ่งเหล่านี้ เราจึงจำเป็นต้องมีธรรมาจารย์อย่างเพียงพอทั้งนักบวชและฆราวาส นั่นคือการทำให้พุทธศาสนาใหม่เสมอ”

ประตูสู่การรู้แจ้ง

สิ่งที่หลวงปู่ฝากให้เรากลับมาหาพุทธศาสนาในใจเราก็เพราะว่า ในพุทธศาสนาเรามีสติ สมาธิ และปัญญารู้แจ้ง

“เวลาที่เรามีสติ มีความสงบสุข เราจะได้รับปัญญารู้แจ้ง เราจะช่วยประเทศชาติเราได้อย่างไร ก็ช่วยโดยการฝึกสติ สมาธิและปัญญารู้แจ้งนี้เพื่อช่วยให้ประเทศชาติออกจากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ปัญญารู้แจ้งนั้นจะบอกเธอ และเธอสามารถนำปัญญารู้แจ้งนี้กลับไปให้สาธารณชนรับทราบ ดังนั้น การจะช่วยประเทศชาติได้ก็มาจากการฝึกสติ สมาธิ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ถ้าเธอชัดเจนกับปัญญารู้แจ้ง เธอจะเข้าใจอุเบกขาอย่างลึกซึ้ง นั่นคือ การไม่แบ่งแยก”

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  5 พฤษภาคม 2556

The Mindful Way – Buddhist Monks of the Forest Tradition in Thailand with Ajahn Chah

Excellent BBC Open University documentary about the life and function of a Buddhist monastery of the Forest Tradition in Thailand. An excellent introduction to the thought and practices of one of the oldest surviving traditions of Buddhism.

ภาพยนตร์สารคดี เรื่อง The Mindful Way เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ BBC เข้ามาถ่ายทำเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเมืองไทย และได้เข้าไปถ่ายทำเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ และข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุ ในวัดหนองป่าพง เมื่อราวต้นเดือนตุลาคม ๒๕๒๐ หลังจากที่หลวงปู่ชา กลับจากการจาริกไปต่างประเทศครั้งแรก หลังจากนั้นไม่นาน หนังสารคดีเรื่องนี้ก็ได้แพร่หลายสู่สายตาของคนค่อนโลก

The Mindful Way – Buddhist Monks of the Forest Tradition in Thailand with Ajahn Chah

‘แก่นรักษาธรรม’ พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

bangkokbiznews130303_001มาฟังพระอธิการเฮนนิ่งเกวลี ชาวเยอรมัน เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ในวัยไม่ถึง 40 ปี สิบกว่าพรรษากันดูว่า การที่ท่านพบแก่นธรรมคำสอนจากพระพุทธเจ้าที่แท้จริงทางภาคอีสานของประเทศไทยทำให้ท่านเปลี่ยนไปอย่างไร และพุทธศาสนาได้ช่วยเหลือผู้คนให้พบกับความสงบเย็นได้มากเพียงใด…

“อาตมาขอโอกาสพูดในฐานะที่เป็นผู้ใหม่ในศาสนา และในฐานะที่อยู่ร่วมกับลูกศิษย์พระเดชพระคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท แม้ไม่ได้เจอหลวงพ่อชา เพราะอาตมาบวชไม่ทันที่จะเจอท่าน แต่ครูบาอาจารย์ชาวต่างประเทศหลายรูปที่ได้บวชหลังจากที่พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ได้บุกเบิกทางแล้ว ก็ยังมีโอกาสอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติโดยตรง ยังมีโอกาสอุปัฏฐากท่านประมาณ 10 ปี อาตมามาทีหลัง ช่วงที่พระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว ยังถือว่า มีความโชคดีที่ได้เจอคำสั่งสอนของท่าน และได้เจอครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของท่าน ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมา คือพระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน ”

พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี ชาวเยอรมัน เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ในช่วงงานอาจาริยบูชาหลวงพ่อชา สุภัทโท 12-16 มกราคม 2556 ที่ผ่านมาท่ามกลางพระกว่าพันรูปซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์หลวงพ่อชาที่เดินทางมาจากทั่วโลก และประชาชนเรือนหมื่นที่มาปักกลดกางเต็นท์ปฏิบัติบูชากันเต็มวัดในทุกพื้นที่

สิ่งสำคัญที่เราขออนุญาตนำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านก็คือ เหตุใดชาวต่างชาติจึงหันมาสนใจในพุทธศาสนากันมากขึ้นจนกระทั่งวัดกว่า 300 สาขาสายหนองป่าพงทั่วโลกไม่เพียงพอต่อความต้องการบวชเรียนขอผู้คนที่แสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วยวิธีนี้กัน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เตรียมบวชในต่างประเทศมากกว่าจำนวนวัดที่จะรองรับได้

โชคดีที่พบต้นฉบับ

อาตมารู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้บวชเรียนที่นี่เพราะว่า เรื่องข้อวัตรปฏิบัติ เรื่องรูปแบบ คำสั่งสอนของหลวงพ่อชารู้สึกว่ายังมีทางที่จะเข้าถึงได้ เพราะมีหลายคนมาช่วยกันรักษาไว้ อาตมากำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี ในต่างประเทศอีกหลายแห่งจะหารูปแบบที่เจอในประเทศไทยนี้ไม่ได้

ประเทศของอาตมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม เป็นประเทศที่เขาว่าเจริญ และเน้นทางด้านการศึกษาทางโลก แต่ละคนที่เป็นญาติพี่น้องทางโน้นมีความรู้สึกต่อชีวิตของตัวเองเหมือนคนอื่น ๆ ทั่วโลกคือ เราพัฒนาความสงบเย็นเหมือนกัน แต่จะทำอย่างไรถ้าเราไม่มีวิธี ไม่มีส่วนรวมที่จะร่วมมือ ร่วมกำลังได้ก็อาจจะยาก ทางศาสนาเดิมของอาตมา คือศาสนาคริสต์ ก็สอนความดีให้คนบำเพ็ญเมตตาจิตพอสมควร ส่วนหนึ่งก็เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้ทุกที่ เสมือนคำสอนของพระพุทธองค์เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวเอเชีย ชาวไทย แต่ถ้าชาติไหน สังคมไหน ไม่รักษาต้นฉบับ ทางที่จะเข้าถึงสิ่งที่ทางศาสนาสอน ก็อาจจะหายาก

ช่วงนี้ที่อาตมาอยู่ในผ้าเหลืองมาสิบกว่าปีในประเทศไทย รู้สึกว่าเจอรูปแบบที่ดีที่เป็นต้นฉบับให้พวกเราทั้งหลายได้ ในขณะที่เรารักษาข้อวัตรปฏิบัติ รักษาพระธรรมและพระวินัย โดยความเคารพต่อการนับถือ และลงมือในการเสียสละในการรักษาไว้ โดยใจเอื้อเฟื้อ ใจบุญ ด้วยใจเสียสละ

ในสังคมเดิมของอาตมา หลายคนก็อยากจะทำเหมือนกัน แต่หลายคนก็เจอปัญหาชีวิต เช่นความทุกข์ก็ต้องปรากฏขึ้น ที่จะเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนต้องอาศัยการช่วยกัน และหาวิธี ถ้าเป็นลักษณะที่แต่ละคนต้องหาทางเองก็ลำบาก เราทั้งหลายก็ถือว่าโชคดี อาตมาก็รวมอยู่ในคนโชคดี ที่ยังได้เจอทางที่สมบูรณ์แบบที่มีการรักษาไว้ ก็เช่นพ่อแม่ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า วิธีการปฏิบัติในสายวัดป่าอาจจะเป็นเรื่องของสมัยก่อน แต่ว่า หากมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เราสามารถตอบคำถามกับคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เข้าใจได้ ถ้าปฏิบัติอยู่ เราก็อธิบายได้ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้มีวิธีเช่นนี้อยู่ ถ้าไม่ปฏิบัติก็น่าเสียดายว่า หลักเดิมที่มีการตรวจสอบ มีการทดลองมาพอสมควร ค่อยๆ จะหายไป

‘สามัคคี’ ทำให้อบอุ่น

ถ้าเรามีหลักอันเดียวกัน และจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน ก็ทำให้เราเกิดกำลังด้วย ในสังคมเมืองนอกไม่ได้เน้นเรื่องสามัคคีเท่าไหร่ แล้วรูปแบบที่เคยมีเมื่อก่อน บางส่วนก็หายไปแล้ว เป็นสังคมที่แต่ละคนต้องหาทางเอง แต่ละคนต้องคิดเอง ต้องมีความสร้างสรรค์เป็นพิเศษเฉพาะตัว และกว่าจะได้เจอหลักที่เป็นสากลอาจจะใช้เวลานาน อาจหลงทางเป็นบางช่วง อาจทำสิ่งที่ผิดแล้วแก้ไขได้ยาก ก็ขาดหลักความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต

ในขณะเดียวกัน แต่ละคนที่ประสบความสำเร็จโดยลำพังก็มีความภาคภูมิใจเหลือเกิน ที่ทำให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น เด็กเมืองนอกถ้าเขาได้ตอบปัญหาที่ครูตั้งให้ถูกต้อง โดยไม่ได้ดูหนังสือ ไม่ได้ท่อง แต่คิดเอาเอง เขาจะมีความภาคภูมิใจ เขามีความฉลาด สามารถที่จะหาทางเองก็ดี สำหรับคนที่ฉลาดพอ คนที่มีปัญญาพอ ก็หาทางเองได้ บางคนก็อาจจะหลง ไปสู่ทางที่เขาต้องการเองไม่ได้

ถ้าเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม มีหลักจริงๆ ก็มีเครื่องแบบ มีเครื่องมือให้คนได้อยู่กัน เป็นผาสุก สงบเย็น แต่สังคมที่เน้นเรื่องความหลากหลาย เน้นเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง อาจจะไม่สามารถหาจุดที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันง่ายๆ อาจเกิดความตึงเครียดขึ้นในจิตใจของคน

อาจจะเป็นเพราะคนส่วนหนึ่งได้ทิ้งรูปแบบเก่าที่เคยมี เช่นทางศาสนาที่เป็นจังหวะของชีวิตคน ที่เคยซึมซับอยู่ในชีวิตประจำวันของคนแต่ก่อน สังคมคริสต์ก็มี เช่น วันอาทิตย์ทางคริสต์ศาสนาให้หยุดทำงาน ไม่ใช่ว่าเพื่อจะได้ขี้เกียจ ไม่ทำอะไร แต่เพื่อจะได้ประกอบศาสนกิจ คือมีการหยุดเพื่อจะได้ไม่ต้องไปมีกิจกรรมทางโลก แต่ให้หันหน้าสู่จิตใจของตนเอง โดยคนที่ได้สัมผัสเห็นประโยชน์ว่า ได้ผ่อนคลายและมีโอกาสที่จะวางสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เกิดความกังวลได้ลง

แต่ปัจจุบัน โบสถ์ในคริสต์ศาสนาที่เคยมีอยู่ทุกหมู่บ้านที่เราเห็นปัจจุบันเป็นวัตถุโบราณ ค่อนข้างจะร้างและบาทหลวงก็เหลือน้อย เป็นอาชีพที่เขาว่าล้าสมัย รูปแบบนี้คนก็ไม่เอา อันนี้อาจจะมีสาเหตุหลายอย่าง เรื่องคำสั่งสอนก็มีส่วน อันนี้พูดในฐานะที่ตัวเองเป็นผู้เปลี่ยนศาสนาจากคริสต์มาเป็นพุทธ แต่ว่าโดยทั่วไป ถ้าเราดูหลักที่ศาสนาสอน เรื่องความดี การเอื้อเฟื้อต่อกัน คริสต์ศาสนาก็ไม่ผิดกันกับพุทธศาสนา เพราะมาปรากฏชัดในสังคมที่มีหลักจริงๆ เขาก็จะปฏิบัติตามนี้ แล้วก็มีวิธี จังหวะ การแบ่งเวลาให้

อันนี้เป็นสิ่งที่อยากให้สำนึกถึงว่า ถ้าศาสนามีรูปแบบในการจัดการชีวิตที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราจริงๆ มันเป็นประโยชน์แก่เรา แล้วเราจะหาจุดยืนของเราได้อย่างดี ถ้าทิ้งหลักนี้ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในเมืองนอกแล้ว เป็นลักษณะว่าของใครของมัน ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ ในอนาคตอาจจะไม่เหลือมากเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเราเห็นภาพอันงดงามของคนที่ตั้งใจปฏิบัติร่วมกัน รักษาระเบียบ เห็นประโยชน์ต่อผลกระทบต่อจิตใจของเราเองด้วย เราควรจะรักษาไว้และส่งเสริมต่อ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องการด้วยในสังคมของเรา

ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้

อาตมามาจากสังคมที่ศาสนาหายไป แต่ยังเจอทางพุทธศาสนาที่เป็นต้นฉบับสมบูรณ์ ทำให้เราเห็นทางสำหรับตัวเองในประเทศไทยนี้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้สอนอย่างชัดเจน และเข้าถึงจิตชาวพุทธในประเทศไทยโดยไม่รู้สึกตัว ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้เหมือนกัน เพราะเป็นการสอนที่มีการปฏิบัติที่ลึกมาก อย่างเช่น เราไปบิณฑบาตกันทุกเช้า อาจจะเปลี่ยนไปได้ ถ้าไม่ระวัง

พระบางทีไม่ได้บิณฑบาตด้วยการเดิน แต่นั่งรถ บางทีนั่งรถอยู่แล้วให้โยมมาใส่บาตรที่รถ อันนี้จะทำให้ต้นฉบับหายไปได้ วิถีชีวิตก็จะเปลี่ยนไปพอสมควร เพราะการบิณฑบาต เรามีส่วนเกี่ยวข้องกันในเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนทุกเช้า มีอิทธิพลต่อเราพอสมควร ถ้าเป็นพระไม่ต้องบิณฑบาต มาเรียนหนังสืออย่างเดียว นั่งสมาธิอย่างเดียว ต้นฉบับจะหายไป

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อาตมาโชคดีได้ไปร่วมการประชุมกับองค์ดาไลลามะ ประมุขสายทิเบตที่อินเดีย ทางโน้นเอง ท่านไม่อยากเรียกว่าสายทิเบตเท่าไหร่ ท่านบอกว่า พุทธะไม่ได้ขึ้นอยู่กับชาติ การเรียกว่า พุทธศาสนาไทย พุทธศาสนาทิเบตเป็นเรื่องชาตินิยม แต่จริงๆ แล้ว ควรเรียกว่า พุทธภาษาสันสกฤตจากมหาวิทยาลัยนาลันทา และของเราก็เป็นพุทธภาษาบาลี อาตมามีความซึ้งใจมากที่มีการเกี่ยวข้องกับชาวพุทธคนละอย่าง ทำให้เข้าใจอะไรมากขึ้น

เมื่อก่อนอาตมา เปรียบเทียบพุทธกับคริสต์ศาสนาในสังคมตะวันตก ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่พอมาเทียบระหว่างพุทธด้วยกันในเอเชีย ทำให้เปลี่ยนมุมมอง เกิดความรู้ใหม่ เห็นว่า เราโชคดีได้เจอสายพระป่า และได้รับการถ่ายทอดจากครูบาอาจารย์ที่เป็นศิษย์หลวงพ่อชา ในภาพรวมที่เป็นต้นฉบับจากพุทธกาลที่สืบทอดมาโดยพระป่าของเราควรอนุรักษ์จริงๆ เพราะจะเป็นเครื่องมือให้อีกหลายรุ่นได้ใช้สะดวก

คุณธรรมขององค์ดาไลลามะ เน้นเรื่องเมตตา กรุณา ซึ่งเป็นพรหมวิหารสายโพธิสัตว์ คุณธรรมนี้เป็นใหญ่เช่นเดียวกับคริสต์ศาสนา ในตะวันตกพุทธสายนี้จึงเป็นที่รู้จักและมีผู้ปฏิบัติตามมากมาย

องค์ดาไลลามะได้พูดถึงหลักของศาสนาพุทธควรเน้นอะไรในปัจจุบัน ในสังคมอุตสาหกรรม สังคมที่เจอปัญหานานัปการซึ่งห่างเหินจากจิตวิญญาณพอสมควร ตามที่ท่านได้สัมผัสอยู่เมืองนอก อยู่นอกประเทศของท่าน ซึ่งสังคมเมืองนอกห่างจากจิตใจของตัวเอง เน้นรูปธรรม วัตถุสิ่งของ แต่ตัดเรื่องจิตใจออกไป ทางพุทธศาสนา เน้นเรื่องคุณธรรมด้านจิตใจ ทำอย่างไรจึงจะโปรดโลก ช่วยโลก ท่านก็มองด้วยสายตามหายาน มองชนทั้งหลายเป็นใหญ่ พูดในอุดมการณ์ของพุทธศาสนา

จริง ๆ ก็เข้ากับหลักของเราได้ดี ท่านเน้นเรื่องหลักแท้ของพุทธศาสนาทุกสาย ท่านพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา อริยมรรคมีองค์ 8 ต้องปฏิบัติเรื่องนี้โลกจะได้เจริญทางจิตใจ ท่านพูดเรื่องศีลปาติโมกข์ ของเถรวาทกับสายนาลันทาไม่ต่างกันเท่าไหร่ เช่น การไม่ฉันในเวลาวิกาล หลักอันเดียวกัน ท่านบอกว่าไม่มีอุปสรรคในเรื่องพระวินัย ศีลของคฤหัสถ์ก็ไม่มีอุปสรรค ให้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ เป็นประเด็นของคนทางโลกที่ต้องการผ่อนคลาย และต้องปฏิบัติกรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญา

พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

หลักของพุทธศาสนาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ท่านบอกว่า อิทธิพลของการนั่งสมาธิมีผลกับสมอง อารมณ์ดีชั่วมีผลกับร่างกายและจิตใจ การละความคิดอกุศล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ องค์ดาไลลามะ เน้นเรื่องพุทธศาสนาให้ทันสมัยตามความรู้ทางโลก และควรมีการเทียบกับระบบสากลที่นักปรัชญาในหลายๆ สาขา เช่นนักวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นต้น

อาตมาเองได้สัมผัสกับประเทศของอาตมาในเยอรมัน ล้วนให้เกียรติพุทธศาสนา เพราะมีเหตุผล ไม่ชักชวนในทางที่งมงาย สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

คนไทยเล่า มีแก่นธรรมอยู่กับตัวหากไม่ปฏิบัติก็น่าเสียดาย!

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร งานเปิดนิทรรศการภาพถ่ายโดยพระอาจารย์ชาคิโน “วิถีวิเวก”

15ขอเชิญร่วมฟังพระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร ในงานเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “วิถีวิเวก” ภาพถ่ายวิถีชีวิตธุดงค์ของพระสายวัดป่า โดย พระอาจารย์ชาคิโน อดีตช่างภาพมือรางวัลชาวมาเลเซียที่ทิ้งลาภ ยศ สรรเสริญ ทางโลก มาหาความสงบในพระพุทธศาสนา แต่ต้องตัดสินใจจับกล้องอีกครั้ง

Please be invited to Dhamma talk by Ajahn Jayasaro, held in an opening of a photo exhibition, Dhammafarers by Ajahn Cagino. The Dhamma talk will be on January 22, 2556, 14:30, at Bangkok Art and Cultural Center.

Exhibition at BACC will be held from January 22-31, 2556.
Exhibition at Ramada Hotel Riverside Bangkok will be held from February 1-14, 2556.

More information:
https://www.facebook.com/events/125944004240297/

ขอเชิญร่วมฟังพระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร ในงานเปิดนิทรรศการภาพถ่าย “วิถีวิเวก” ภาพถ่ายวิถีชีวิตธุดงค์ของพระสายวัดป่า โดย พระอาจารย์ชาคิโน อดีตช่างภาพมือรางวัลชาวมาเลเซีย

—————————————————-

ท่ามกลางความวุ่นวายของมหานคร
มูลนิธิธัมมคีรี ขอเชิญท่านปลีกตัวไปชมนิทรรศการภาพถ่าย “วิถีวิเวก”

อิ่มบุญกับภาพถ่าย โดย พระอาจารย์ชาคิโน (พระสายหนองป่าพง)
อดีตช่างภาพชนะเลิศรางวัลระดับชาติจากมาเลเซีย
ระหว่างวันที่ 22-31 มกราคม 2556
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ตรงข้ามมาบุญครอง)

เพื่อระดมทุนสร้างสถานพักพิงทางธรรมแก่เด็กชาวเขา แม่ฮ่องสอน
เป็นแหล่งบุญบริสุทธิ์ เพื่อชีวิตนับร้อยเรียนรู้ที่จะตื่นอย่างเบิกบานในสายหมอก ความงดงามแห่งการให้ที่ไร้พรมแดน เชิญร่วมบุญตามหนทางอันประเสริฐ เพื่อความสุขในปีใหม่นี้

ชมตัวอย่างภาพ http://www.youtube.com/watch?v=ymxwJEK3VSU

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณศิลจิรา อภัยทาน
www.dhammagiri.or.th
088-2468-075

01

ชีวิตอิสระ

โดดเดี่ยว ในป่า ฟ้ากว้าง
เคว้งคว้าง บนหน ทางใหญ่
ล้มบ้าง ลุกบ้าง เป็นไร
ปีกฝัน ยังใฝ่ โบยบิน
ไม่ต้อง ให้เก่ง เหนือใคร
ทำดี ที่ใคร ตัดสิน
แบกกลด แบกบาตร เดินดิน
ชีวิต พอกิน ประทัง
ไม่หยุด ก้าวไป เรื่อยๆ
แม้เหนื่อย ไม่ท้อ ถอยหลัง
มีธรรม น้ำใจ พลัง
สองขา คงยัง ก้าวเดินฯ

Wandering Free

Alone in the looming forest
rootless on the road,
I may slip or even fall
but my aspiration won’t waiver.
What’s the use of competition?
Who can judge my life?
With this alms bowl and robe
I’ll get by.
Though exhausted I’ll not give in —
forward I’ll go!
With the Dhamma as my companion,
these two legs will take me far.

02

มีทางนี้เท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ
ไม่มีทางอื่น
เธอทั้งหลาย จงดำเนินไปตามทางนี้เถิด
เพราะทางนี้จะกระทำมารและเสนาให้หลง
(ขุ.ธ. ๒๗๔)

Just this is the path
— there is no other —
to purify vision.
Follow it, and throw Māra into confusion.
(Dhp 274)

03

จิตนั้นบุคคลข่มได้ยาก เกิดดับเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ต่างๆ ตามความใคร่ของตน
การฝึกจิต เป็นความดีให้สำเร็จประโยชน์
จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
(ขุ.ธ. ๓๕)

The mind is hard to hold down, swiftly moving,
alighting wherever it likes.
Its taming is good.
The mind well-tamed
brings ease.
(Dhp 35)

04

สำรวมกายเป็นการดี
สำรวมวาจาเป็นการดี
สำรวมใจเป็นการดี
ความสำรวมทวารทั้งปวงเป็นความดี
ภิกษุผู้สำรวมทวารทั้งปวงแล้ว
ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
(ขุ.ธ. ๓๖๑)

Restraint with the body is good,
good is restraint with speech.
Restraint with the heart is good,
good is restraint everywhere.
A monk everywhere restrained
is released from all suffering and stress.
(Dhp 361)

05

ฝากชีวีไว้ด้วยการให้
Every Offering is a Cleansing of the Heart

06

สัปปุริสทาน ๕ ประการ คือ ให้ทานด้วยศรัทธา ๑
ให้ทานโดยเคารพ ๑ ให้ทานโดยกาลอันควร ๑
เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๑ ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑
(องฺ ปญฺจก ๑๔๘)

A superior person gives in these ways. He gives a gift out of faith;
he gives a gift respectfully; he gives a gift at the right time;
he gives a gift with a generous heart;
he gives a gift without denigration.
(AN 5:148)

07

หนทางเดินเพลินไปในสงสาร
ไม่มีการสิ้นสุดลงที่ตรงไหน
ไม่เหมือนเดินแบบพระละเยื่อใย
ทางนั้นไซร้มุ่งไปใฝ่นิพพาน

Samsāra’s road is long and bewitching.
No ending can be seen.
The solitary path leads toward detachment.
Its destination the perfect peace.

 08

ท่านที่หมดการสะสม มีโภชนะอันกำหนดแล้ว
มีสุญญตวิโมกข์และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นโคจร
คติของท่านเหล่านั้น รู้ตามได้โดยยาก
เหมือนคติฝูงนกบนท้องฟ้า ตามทันได้ยาก ฉะนั้น
(ขุ.ธ. ๙๒)

Those who understand the role food plays
and would not dream of hoarding it,
those whose only pasture is emptiness and
whose trail is liberation,
are like birds whose trajectories leave no trace.
(Dhp 92)

09

บัณฑิตทราบความแตกต่างของธรรมทั้งสองแล้ว
ย่อมตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท
เป็นผ้ยู ินดีในแนวทางของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
(ขุ.ธ. ๒๒)

Knowing this as a true distinction —
those wise in heedfulness
rejoice in heedfulness
and enjoy the way of the Noble Ones.
(Dhp 22)

10

พลังน้ำที่น้อมต่ำ พลังธรรมที่ถ่อมตัว

Just as water’s strength can be seen
when it falls from a great height
so is humility
the measure of a man’s integrity.

11

ค้น พบ ทุกสิ่ง เป็นทุกข์
ใจ กลับ เป็นสุขอย่างยิ่ง
คืน ไป สิ่งใดไม่จริง
สงบ นิ่ง สรรพสิ่ง นิพพานฯ

Discovering that everything
is unsatisfactory,
my heart fills with delight.
Enough of reaching out
for the not-yet real,
it is in resting I find real peace.

12

เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไป
ในสังสารเป็นอเนกชาติ
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือนคือตัณหาผู้สร้างภพ
การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป
(ขุ.ธ. ๑๕๓)

For many lives I have wandered
looking for, but not finding,
the House-builder who caused my suffering.
But now you are seen and
you shall build no more.
(Dhp 153)

13

นี่แน่ะ นายช่างปลูกเรือน เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว
เจ้าจักทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา(ขุ.ธ. ๑๕๔)

House-builder, you are seen!
You will not build a house again.
All your rafters are broken,
and the ridge pole dismantled.
Immersed in dismantling, the mind
has attained the end of its craving.
(Dhp 154)

14

วิเวก (ความสงัด, ความปลีกออก)
1. กายวิเวก (ความสงัดกาย อยู่ในที่สงัด ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียว)
2. จิตตวิเวก (ความสงัดใจ ทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ สังโยชน์ และอนุสัย
หมายเอาจิตแห่งท่านผู้บรรลุฌาน อริยมรรค อริยผล)
3. อุปธิวิเวก (ความสงัดอุปธิ ธรรมเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง ปราศจากกิเลส
ขันธ์ อภิสังขาร ที่เรียกว่าอุปธิ หมายเอาพระนิพพาน)
(ขุ.ม.29/33/29; 229/170)

Viveka: seclusion
1. Kāya-viveka: bodily seclusion i.e. solitude
2. Citta-viveka: mental seclusion i.e. the state of Jhāna
and the Noble Paths and Fruitions
3. Upadhi-viveka: seclusion from the essentials of existence, i.e. Nibbāna

Please be invited to Dhamma talk by Ajahn Jayasaro, held in an opening of a photo exhibition, Dhammafarers by Ajahn Cagino.

SOURCE:  http://www.facebook.com/jayasaro.panyaprateep.org

พระอาจารย์ชาคิโน เดิมเป็นชาวจีนมาเลเซีย จบปริญญาศิลปศาสตร์จากสถาบันศิลป์มาเลเซีย (Malaysian Institute of Art) ช่วงอายุ 22-27 ปี ประกอบอาชีพช่างภาพ ได้รับรางวัลระดับประเทศกว่า 40 ชิ้น ปี พ.ศ.2533 ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันภาพถ่ายอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นที่คันทรี่ไฮ้ มาเลเซีย เนื่องจากยังไม่มีภาระด้านครอบครัว เงินรางวัลที่ได้มาส่วนใหญ่นำไปถวายทำบุญที่วัด อายุ 29 ปี เดินทางจาริกไปในประเทศไทยและนิวซีแลนด์เพื่อแสวงหาธรรมะ ได้บรรพชาเป็นสามเณรในนิกายมหายานที่วัดอัง ฮก สี ในปีนัง เป็นเวลาปีครึ่ง หลังจากนั้นได้มาเมืองไทยและอุปสมบทเป็นพระภิกษุกับพระอาจารย์กัณหา ที่วัดแพร่ธรรมารามอยู่ 5 พรรษา ในปี พ.ศ.2548 ได้มาบวชเป็นพระอีกครั้งในสายปฏิบัติของหลวงพ่อชา สุภัทโท โดยมีพระราชภาวนาวิกรม (พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้รับการฝึกข้อวัตรปฏิบัติเบื้องต้นจากวัดป่านานาชาติและวัดหนองป่าพงระหว่างครองสมณเพศได้ออกเดินธุดงค์ไปในถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทยเป็นเวลากว่าทศวรรษ ช่วง 2-3 ปีหลัง พักในถ้ำทุรกันดารเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในช่วงนี้เองที่ได้เห็นชีวิตของเด็กชนกลุ่มน้อยชาวเขาที่กำพร้าและยากจน ความคิดที่จะช่วยเด็กเหล่านีื้ เป็นต้นกำเนิด ของมูลนิธิธัมมคีรี ซึ่งช่วยจัดหาที่พักอาศัย ทุนการศึกษา และให้การอบรมธรรมะ หวังให้เด็กๆเหล่านี้ได้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต

พระมหากีรติ ธีรปัญโญ ก่อนมาบวชได้จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาแพทย์เฉพาะทางพิเศษต่ออีก 6 ปี ที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างฝึกงานได้พบพระอาจารย์ชยสาโร (เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติในตอนนั้น) ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ออกบวชในสายวัดหนองป่าพง โดยมีพระราชภาวนาวิกรม (ลพ.เลี่ยม ฐิตธัมโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ชยสาโรเป็น พระอาจารย์ผู้ฝึกสอน จำพรรษา ๕ พรรษาแรกที่วัดป่านานาชาติ ทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูตที่สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ ก่อนจะมาเป็นรองเจ้าอาวาสที่ วัดป่าบุญล้อม อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี

พุทธศาสน์กับ “ศักราชใหม่” พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล โดย ชฎาพร นาวัลย์

bangkokbiznews121230_001ต้อนรับเข้าสู่ศักราชใหม่ ด้วย “แนวทาง” หรือเครื่องมืออันทรงพลังที่จะนำทุกท่านไปพบความจริงของชีวิต จากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
ต้อนรับเข้าสู่ศักราชใหม่ ปี 2556 ซึ่งเราต่างกำหนดให้มันเป็นจุดสตาร์ทความฝัน และความมุ่งมั่นอันแรงกล้า กายใจฉบับนี้จึงขอเสนอ “แนวทาง” หรือเครื่องมืออันทรงพลังที่จะนำทุกท่านไปพบความจริงของชีวิต เพื่อความสุขความเจริญตลอดปีและตลอดไป

แท้จริงแล้ววันเวลาก็เดินของมันไปตามกลไกธรรมชาติ จะปีเก่า ปีใหม่ วันไหน ๆ ก็สำคัญเท่าเทียมกัน หากแต่ในวันนี้ ปัจจุบันนี้มนุษย์ผู้มีกิเลสหนาทั้งหลาย ยังไม่สามารถไขว่คว้าหาคำตอบให้กับตนเองได้ บ้างก็ยังมัวเมาหรือลุ่มหลงกับความบันเทิงเริงใจ จนประมาทและชะล่าใจกับการใช้ชีวิตที่ถูกครรลอง

ในขณะที่บางคนอาจค้นพบทางออกของตนแล้ว ทว่าก็ยังไม่มั่นใจในทางเลือกหรือคำตอบของตนเอง หลายคนว่าพวกเขาไม่มีหลักยึดที่ถูกต้องแท้จริง จึงโอนเอนท่ามกลางคลื่นข้อมูลความรู้ที่หลากหลายถาโถมซัดกระหน่ำ แล้วพวกเขาจะตัดสินใจให้ถูกต้องได้อย่างไร มันเป็นคำถามที่น่าแปลกใจสำหรับชาวพุทธที่มีศาสดาองค์เดียวกัน ผู้ตรัสรู้ความจริงของโลกอย่างแจ่มแจ้ง

เราเดินทางมุ่งหน้าสู่วัดหนองป่าพง อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี เพื่อปุจฉา สอบถามความจริง ไขข้อสงสัยกับพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ซึ่งท่านเมตตาวิสัชนา ให้ความกระจ่างกับผู้อ่านกายใจ

พระสูตรหรือพุทธวจนะคือคำตอบของทุกสิ่งหรือ

ใช่ เพราะพระพุทธเจ้าคือ สัพพัญญู รู้ทุกเรื่อง รู้โลกธาตุ เพราะฉะนั้นความศรัทธาที่ชาวพุทธมีต่อศาสดาตนเอง ต้องศรัทธาว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง ไม่ว่าเรื่องทางโลกหรือเรื่องทางธรรม รู้ทั้งหมดและพระองค์ก็ได้จำแนก แจกแจง เปิดเผย บอกเราทุกอย่างแล้ว ก็เลยกลายเป็นว่าคำพูดของพระพุทธเจ้าคือคำตอบของทุกเรื่องในโลก
เป็นคำตอบที่เป็นสัจจะ คือความจริง ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตรงจริง สัจจะในทางโลก จริงวันนี้ อีกห้าปี สิบปี ร้อยปีอาจจะเปลี่ยนก็ได้ เป็นอนิจจัง ไม่แน่นอน ดังคำที่พระพุทธเจ้าตรัสกับสาวกว่า วิธีการรักษาไว้ซึ่งความจริงคือ อย่าคิดว่าสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ด้วยความคิดอย่างนี้ความจริงจะถูกรักษาเอาไว้ เพราะสิ่งที่เรารู้มามันเป็นอนิจจังคือไม่แน่นอน มันเปลี่ยนแปลง

หลักธรรมใดที่เราควรยึดใช้ในชีวิต

อริยสัจ ๔ เป็นความจริงที่เป็นกฎตายตัวของธรรมชาติ เพราะข้างในของมันก็คือปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ครอบคลุมทุกเรื่อง ว่าด้วยสิ่งนี้มีสิ่งนี้จะมี ถ้าสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จะไม่มี กฎตัวนี้มันเป็นหลักเหตุหลักผลของสังคม ถ้ามนุษย์ใช้หลักตรงนี้ มันตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง ใครค้าขายไม่ดี ก็ไปสร้างเหตุไม่ดี ซึ่งอาจเป็นเหตุทางโลกหรือเหตุทางธรรม เหตุทางโลกขยันแล้ว การศึกษาดีแล้ว ทำไมอุปสรรคเยอะ เจอแต่คนไม่ดี ทำไมโอกาสเราไม่เหมาะกับเวลา ไม่ได้จังหวะ แหม พลาดไปนิดเดียว ก็ต้องไปสร้างเหตุปัจจัยสิ่งที่บางทีเรามองไม่เห็น เรานึกไม่ถึง แต่ตถาคตทราบ นั่นคือ พระศาสดาของเรา

นั่นก็คือการต้องเป็นผู้มีศีลดี ไม่ห่างเหินจากฌาน หรือสมาธิ ประกอบกับการทำวิปัสสนา คือมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยง อยู่วิเวกบ้าง หรือให้ความศรัทธาศีล สุตมยปัญญาก็ได้ แล้วก็จะได้สมความปรารถนา

สิ่งนี้ต้องยึดไว้ตลอดชีวิตเลย เพราะเราตายแน่นอน เพราะเวลาเราจะตาย เราจะวางจิตไม่ไหว นี่เป็นคำสอนที่ตอบได้ทั้งทางโลกและทางธรรม คนมักจะคิดไปว่าพระพุทธเจ้าสอนในเรื่องการหลุดพ้นอย่างเดียว นั่นคือเขายังไม่เข้าใจว่าสัพพัญญูคืออะไร ทางโลกก็ตอบไป ทางธรรมก็ตอบไป แต่เพราะคนยังไม่เป็นโสดาบันจึงมีความหวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ก็เลยไปฟังคนอื่น ฟังหมอดูบ้าง พึ่งผีสางเทวดานางไม้ พึ่งตัวเลข ก็จะแสวงหาไปเรื่อย ๆ ท่านก็บอกว่าเดินไปหาที่พึ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถแก้ปัญหาความทุกข์ได้

แล้วมีหลักธรรมใดใช้แก้ปัญหาปากท้อง

อันดับแรกต้องเชื่อพระพุทธเจ้าก่อน กลับมารักษาศีล กลับมานั่งสมาธิ มาเห็นสัจจะว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เดี๋ยวอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ จะค่อย ๆ หมดไปเอง พื้นฐานต้องยอมรับระดับหนึ่งว่า แต่ละคนมีมาไม่เท่ากัน ภายใต้ความไม่เท่ากันตรงนี้ อยากให้ผลกรรมดีนั้นส่งผลในปัจจุบันไหม พระพุทธเจ้าให้ทำสมาธิ ๘ ระดับซึ่งจะส่งผลในปัจจุบันทันที เมื่อเรามีศีล สมาธิ อุปสรรคปากท้องจะค่อย ๆ หมดไป ชีวิตจะดีขึ้นไปเรื่อย ๆ ต้องศรัทธาตรงนี้ก่อน ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ

เราจะเห็นคนจบตรี โท เอก ขยันเท่า ๆ กัน แต่ทำไมบางคนสำเร็จ บางคนไม่สำเร็จ นั่นเพราะมีเหตุปัจจัยที่หลายคนไม่รู้ แต่สัพพัญญูรู้ ท่านบอกให้พึ่งตนและพึ่งธรรมะ พระองค์ให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ กลับมารู้ลมหายใจตนเอง เจริญอาณาปานสติ

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคืออะไร แล้วเราจะจัดการมันได้อย่างไร

คือการไม่รู้อริยสัจ ๔ หรือ ปฏิจจสมุปบาท น่ากลัวที่สุดเลย จึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนานในสังสารวัฏ แต่ถ้ารู้ในอริยสัจ ๔ ไม่มีอะไรจะต้องกลัว เราจะรู้ว่าชีวิตเป็นไปตามกรรม และเราออกจากกรรมได้ จะมีความมั่นคงมาก เพราะฉะนั้น จิตของพระโสดาบันจะมีความมั่นคงประดุจเสาหินยาว ๑๖ ศอกฝังลึกลงในดิน ๘ ศอก ยาวขึ้นมา ๘ ศอก โดยไม่หวั่นไหวต่อแรงโน้มท่วงที่มาทั้ง ๔ ทิศฉันใด จิตโสดาบันก็ฉันนั้น ส่วนจิตของปุถุชนก็เบาเหมือนปุยนุ่น ใครเขาบอกตรงนี้นิด ก็เอนไปแล้ว ลมพัดซ้ายทีก็ไปซ้าย พัดขวาทีก็ไปขวาอย่างนี้ ไม่มีความมั่นคง

หลักเดียวกัน หลักอริยสัจ ๔ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดที่จะต้องรู้ เหมือนฟางไหม้ผมบนศีรษะ พระพุทธเจ้าตรัสถามว่าเธอจะทำอะไรก่อน ตอบกลับมาว่าดับผมบนศีรษะก่อน พระพุทธเจ้าบอกมารู้อริยสัจก่อน ขนาดนั้น ฉะนั้นการไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท หรืออริยสัจ ๔ ร้อนยิ่งกว่านรก ในนรกว่าร้อนแล้วนะ แต่การไม่รู้นี่ร้อนยิ่งกว่า

ปฏิจจสมุปบาท ก็คืออริยสัจ ๔ ข้อที่ ๒ และ ๓ เราจะพูดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ คนที่ไม่รู้ก็อาจสับสน แต่มันคืออย่างเดียวกัน ปฏิจจสมุปบาท คือการลงรายละเอียดในข้อ ๒ และ ๓ สมุทัย เหตุเกิด คือ ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด การเกิดขึ้นของความตาย ส่วนปฏิจจสมุปบาทสายดับคือตัวนิโรธ เวลาพระพุทธเจ้าจะพูดนิโรธอย่างเดียว เพราะองค์จะตรัสลำดับขั้นการดับไปของความตาย ว่าตายสามารถดับไปได้ เข้าแบบที่เหตุ ถ้าฆ่าไม่มี ตายก็ไม่มี ถ้าดับภพ ชาติจะไม่มี ถ้าดับอุปาทาน ภพจะไม่มี ถ้าดับตัณหา อุปาทานจะไม่มี ถ้าดับเวทนา ตัณหาก็ไม่มี ถ้าดับผัสสะ เวทนาจะไม่มี ไล่ดับไปเรื่อย ๆ

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยาก มีอยู่กับตัว แต่ไม่ดูเอง ก็มัวแต่เพลินกับรูปรสกลิ่นเสียง แต่อริยสัจอยู่คาตาของทุกคน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้มีผัสสะบังหน้า ก็เลยเพลินในผัสสะ เข้าใจผิดในผัสสะ ก็เลยไม่เห็นไง สุขเกิดมาสักพักก็ดับไป แต่ไม่มีใครเห็นเวลามันดับ ความทุกข์เกิดมาที่สุดก็ดับไป แต่ไม่มีใครสังเกตว่าดับไปของทุกข์ ความจริงก็เห็นอยู่ในปัจจุบันขณะ เห็นอย่างนี้ได้คนนั้นหลุดพ้นจากความตาย ไม่ต้องตายอีกต่อไป นี่คือสุดยอดของปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ใดก็ช่วยให้พ้นจากความตายไม่ได้นอกจากปาฏิหาริย์คือคำสอน

ที่ผ่านมาเราเชื่ออิทธิปาฏิหาริย์ เรามีเครื่องวัดผิด เพราะเราไม่ได้ศึกษาพุทธวจนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญนะ สังคมจึงมีมาตรฐานผิดเครื่องวัดผิด คิดว่าเขาเป็นอริยบุคคลก็เลยเชื่อไปตามนั้น มันก็เลยรู้ผิดกันไปเรื่อยๆ พอบอกแก้กรรมก็ไปรดน้ำมนต์ ไปบังสกุลเป็น-ตาย ไปสะเดาะเคราะห์ ไปดูฤกษ์ยาม คิดว่าเป็นมงคล แต่ตถาคตบอกว่านี่เป็นเดรัจฉานวิชา เลี้ยงชีวิตผิด ซึ่งถ้าเขาเป็นอริยะ เขาต้องมีสัมมาอาชีวะ และเขาต้องเพียรพยายามละมิจฉาอาชีวะให้ได้ ต้องมีสติ เพื่อเป็นสัมมาสติ ละมิจฉาสติได้ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย แต่เป็นเรื่้องจริงหรือไม่จริง อยากรู้ความจริงก็ต้องศึกษา ที่จะต้องทำความเข้าใจและอย่าหยุดความเพียร ก็จะบรรลุได้แน่นอน

เราจะแก้ไขความขัดแย้งในตัวเราและสังคมได้อย่างไร

ต้องไม่หวั่นไหวในพระศาสดา ต้องถามว่าเขาศาสนาพุทธหรือเปล่า แต่ถ้าไม่ใช่หรือมีลัทธิอื่น พระพุทธเจ้าก็มีการสอนอีกแบบหนึ่ง เราก็เอาความดีที่เห็นตรงกันมาคุยกันก่อน ศาสดาใดสมาทานความดีที่เห็นตรงกันได้มากกว่ากัน ให้เป็นเลือกนับถือสิ่งนั้น

แต่ถ้าเรามีศาสดาแล้ว นับถือพุทธใช่ไหม แต่ยังไปฟังความเห็นอื่น แสดงว่าหวั่นไหวในศาสดาของตัวเอง แต่ถ้าเชื่อมั่นก็จะฟังแต่พุทธวจนะ เพราะนี่คือคำที่ออกจากปากศาสดา สาวกมีหน้าที่จดจำคำศาสดามาถ่ายทอด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เธอทั้งหลายเป็นทายาทแห่งตถาคต เป็นโอรสอันเกิดจากปากตถาคต พระสงฆ์มีเอาไว้เป็นกระบอกเสียงของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ใช่เอาคำพูดของตัวเองมาพูดเอง มิฉะนั้นถ้าเอาคำพูดนั้นมาได้ ก็แสดงว่าคำพระพุทธเจ้านั้นผิด เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จะไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติ จะไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไปแล้ว อยากเจริญก็ทำแบบนี้ อยากเสื่อมก็บัญญัติเข้าไป เสื่อมแน่นอน เพราะฉะนั้นตถาคตก็ไม่เป็นหนึ่งเดียว นี่คือสับสนตั้งแต่ตนเอง คนอื่นก็เลยสับสน สังคมก็เลยสับสน ก็เกิดการแตกแยก นี่ขนาดแค่สังคมพุทธ ยังมีหลายสำนักหลายนิกาย

เพราะฉะนั้น อย่างที่พระพุทธเจ้าบอก สุตตันตะ เหล่าใดที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษรสละสลวยมีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนวเป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดีไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึงและจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคตเป็นข้อความลึกมีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน

ความขัดแย้งจะหมดไป ถ้าเรามีศรัทธาร่วมกันในคน ๆ เดียว ทุกอย่างเรียบร้อยหมด ไม่ใช่ว่าพอคนนี้บอกให้หยุด อีกวันคนนั้นบอกให้หยุด คนนี้ก็บอกคนนั้นทำได้ ทำไมจะทำบ้างไม่ได้ อย่างนี้ไม่มีวันแก้ได้ แต่ถ้าเรายึดมั่นในพระศาสดา ทุกเรื่องในสังคม แก้ปัญหาได้ทั้งหมด พระพุทธเจ้าตอบปัญหาของคนทั้งโลกไว้หมดแล้ว จิปาถะ ความเห็นมนุษย์ทั้งโลกคิดได้ ๖๒ แบบ เพราะฉะนั้นคนที่มีอินทรีย์แก่กล้า ดวงตามากน้อยแค่ไหน พระพุทธเจ้ารู้ทั้งหมด แม้จะไม่มีตอบไว้ ก็มีหลักเทียบเคียง ถ้าเข้ากันได้กับสิ่งที่ควร อันนั้นก็ควร ถ้าเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร อันนั้นก็ไม่ควร วางหลักเอาไว้แล้ว ฉะนั้นเวลาฟังคำใคร อย่าเพิ่งเชื่อ อย่ารับรอง อย่าคัดค้าน แต่จำให้ดีว่าเขาพูดว่าอะไร เสร็จแล้วเอามาเทียบเคียงกับสิ่งที่ตถาคตว่าไว้ ถ้าเข้ากันได้แสดงว่าคนที่พูดนั้น เขาจำมาถูก แต่ถ้าไม่เข้ากับคำตถาคตให้ละทิ้งความเชื่อและคำพูดนั้นเสีย

อันความขัดแย้งในสังคมนั้นมีหลายเหตุปัจจัย เหตุปัจจัยหนึ่งของการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ยักษ์ นาค อสูร เทวดา มันทะเลาะกันหมด เหตุปัจจัยในการขัดแย้งคือ อิจฉา และ ตระหนี่ อิจฉากันและมีความตระหนี่หวงแหน มันจะเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันทันที เรียกว่าเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกัน แล้วก็มีคนถามพระพุทธเจ้าว่าความอิจฉาและตระหนี่เกิดจากอะไร ท่านก็ตอบว่าเพราะสิ่งอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก เดี๋ยวจะเกิดอิจฉาและตระหนี่ขึ้น แล้วก็จะทะเลาะกัน ทางแก้ก็คือ เมื่อรักใครไม่ชอบใครก็ให้รีบวางอุเบกขา วางเป็นความเฉย ๆ แล้วความรักที่เกิดจากรัก รักที่เกิดจากเกลียด เกลียดที่เกิดจากรัก และเกลียดที่เกิดจากเกลียดจะดับไป อารมณ์คนมี ๔ อย่างในโลก

อีกทั้งการเจริญธรรม ๓ อย่างให้มาก นั่นคือ ถ้าเราเจริญความคิดในทางกาม ปฏิบัติ เบียดเบียน การทะเลาะก็จะเกิดขึ้น แต่ถ้าเราละ ๓ อย่างแล้วมาเจริญธรรม คือ การหลีกออกจากกาม หลีกออกจากพยาบาท และหลีกออกจากการเบียดเบียน การทะเลาะเบาะแว้งจะไม่เกิดขึ้น คนในสังคมมองกันด้วยสายตาแห่งความรัก จะเข้ากันได้ดุจน้ำกับน้ำนม

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 30 ธันวาคม 2555

.

Related Article :

.

ผลการสแกนสมองพระในพุทธศาสนา “การฝึกสมาธิ” ทำให้สมองส่วนความสุขมีขนาดใหญ่กว่าคนปกติ

ผลการสแกนสมองพระในพุทธศาสนา “การฝึกสมาธิ” ทำให้สมองส่วนความสุขมีขนาดใหญ่กว่าคนปกติ

การฝึกสมาธิ สามารถเปลี่ยนสมอง ความคิดและชีวิตได้

การฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันสามารถเพิ่มขนาดของสมองส่วนความสุขให้ใหญ่ขึ้นได้

Matthieu Ricard เขาคือผู้ชายที่มีความสุขมากที่สุดในโลก?

Is this the world’s happiest man? Brain scans reveal French monk has ‘abnormally large capacity’ for joy – thanks to meditation

  • Brain scans reveal Buddhist monk Matthieu Ricard has largest capacity for happiness ever recorded
  • Meditation ‘completely changes your brain and therefore changes what you are’, says 66-year-old
  • He says you can do it too by learning how to let your thoughts drift

By CLAIRE BATES

PUBLISHED: 10:41 GMT, 31 October 2012

Ricard: ‘Meditation is not just blissing out under a mango tree but it completely changes your brain’

A French genetic scientist may seem like an unusual person to hold the title – but Matthieu Ricard is the world’s happiest man, according to researchers.

The 66-year-old turned his back on Parisian intellectual life 40 years ago and moved to India to study Buddhism. He is now a close confidante of the Dalai Lama and respected western scholar of religion.

Now it seems daily meditation has had other benefits – enhancing Mr Ricard’s capacity for joy.

Neuroscientist Richard Davidson wired up the monk’s skull with 256 sensors at the University of Wisconsin as part of research on hundreds of advanced practitioners of meditation.

The scans showed that when meditating on compassion, Ricard’s brain produces a level of gamma waves – those linked to consciousness, attention, learning and memory – ‘never reported before in the neuroscience literature’, Davidson said.

The scans also showed excessive activity in his brain’s left prefrontal cortex compared to its right counterpart, giving him an abnormally large capacity for happiness and a reduced propensity towards negativity, researchers believe.

Research into the phenomenon, known as “neuroplasticity”, is in its infancy and Ricard has been at the forefront of ground-breaking experiments along with other leading scientists across the world.

‘We have been looking for 12 years at the effect of short and long-term mind-training through meditation on attention, on compassion, on emotional balance,’ he said.

‘We’ve found remarkable results with long-term practitioners who did 50,000 rounds of meditation, but also with three weeks of 20 minutes a day, which of course is more applicable to our modern times.’

Andy Francis (left) and associate scientist and Antoine Lutz (right) outfit Matthieu Ricard with a net of 128 sensors

He added to AFP: ‘It’s a wonderful area of research because it shows that meditation is not just blissing out under a mango tree but it completely changes your brain and therefore changes what you are.’

He believes meditation can alter the brain and improve people’s happiness in the same way that lifting weights puts on muscle.

A computer monitor displays graphic renderings of Matthieu Ricard’s brain during an MRI test at the University of Wisconsin-Madison

The son of philosopher Jean-Francois Revel and abstract watercolour painter Yahne Le Toumelin, became something of a celebrity after writing ‘The Monk And The Philosopher’ with his father. This was a dialogue on the meaning of life.

He followed up with a practical guide in 2011 called ‘The Art Of Meditation’ making the case for why others should follow the same path.

Matthieu Ricard is a close confidante of the Dalai Lama

Ricard said: ‘That was the end of my quiet time because it was a bestseller. Suddenly I was projected into the western world. Then I did more dialogues with scientists and the whole thing started to spin off out of control.

‘I got really involved in science research and the science of meditation.’

A prominent monk in Kathmandu’s Shechen Monastery, Ricard divides his year between isolated meditation, scientific research and accompanying the Dalai Lama as his adviser on trips to French-speaking countries and science conferences.

He addressed the World Economic Forum in Davos at the height of the financial crisis in 2009 to tell gathered heads of state and business leaders it was time to give up greed in favour of “enlightened altruism”.

He was awarded the French National Order of Merit for his work in preserving Himalayan culture but it is his work on the science of happiness which perhaps defines him best.

Ricard sees living a good life, and showing compassion, not as a religious edict revealed from on high, but as a practical route to happiness.

‘Try sincerely to check, to investigate,’ he said.

‘That’s what Buddhism has been trying to unravel – the mechanism of happiness and suffering. It is a science of the mind.’

MATTHIEU RICARD ON WHY YOU SHOULD MEDITATE AND HOW YOU CAN DO IT

Mattieu Ricard has spoken about The Art of Meditation in a video hosted by the charity RSA. Here are some hints and tips…

  • A healthy mind should act like a mirror – faces can be reflected in a glass but none of them stick. Use the same technique with thoughts – let them pass through your mind but don’t dwell.
  • It’s impossible to stop thoughts from coming but focusing on a particular sound or the breath going in and out calms the mind, giving greater clarity. Controlling the mind is not about reducing your freedom, it’s about not being a slave to your thoughts. Think of it as directing your mind like a boat rather than drifting.
  • Be mindful – pay attention to the sensations of your breath going in and out. If you notice your mind wandering simply bring it back to focusing on your breath. This is known as mindfulness. You can apply it to other sensations to bring you into the ‘now’ rather than dwelling on the past or future. You could focus instead  on heat, cold and sounds that you hear.
  • Once you’ve achieved some skill in this you can use that to cultivate qualities such as kindness, or dealing with disturbing emotions. He says everyone has felt all-consuming love but usually it lasts for about 15 seconds, but you can hold on and nurture this vivid feeling by focusing on it in meditation. If you feel it becoming vague you can consciously revive it.
  • Like when playing the piano, practising the feeling for 20 minutes has a far greater impact over time than a few seconds.  Regular practise is also needed like watering a plant.
  • You can then use meditation to gain some space from negative emotions. Ricard says: ‘You can look at your experience like a fire that burns. If you are aware of anger you are not angry you are aware. Being aware of anxiety is not being anxious it is being aware.’ By being aware of these emotions you are no longer adding fuel to their fire and they will burn down.
  • You will see benefits in stress levels and general wellbeing as well as brain changes with regular practise in a month. Those who say they don’t have enough time to meditate should look at the benefits: ‘If it gives you the resources to deal with everything else during the other 23 hours and 30 minutes, it seems a worthy way of spending 20  minutes,’ Ricard says.

 

Mr Ricard has undergone a battery of tests, including an MRI (left) to reveal how his ‘enlightened’ mind works

A computer monitor displays data being recorded during an EEG test conducted with Mr Ricard

SOURCE:  dailymail.co.uk

Meditation Could Improve Empathy, Study Suggests

มหาวิทยาลัยเอมอรีได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการฝึกสมาธิพบว่า ผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นประจำมีความเห็นอกเห็นใจเอาใจใส่ผู้อื่นสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ฝึกสมาธิ

Meditation Could Improve Empathy, Study Suggests

Posted: 10/07/2012

Meditation could help people to be more empathetic, according to a small new study from Emory University.

The research, published in the journal Social Cognitive and Affective Neuroscience, showed that a meditation program called Cognitively-Based Compassion Training was able to improve people’s ability to read emotional expressions on others’ faces. Researchers said the meditation program is based on ancient Buddhist practices, but this particular program was secular. It included mindfulness techniques, but mainly involved training people to think about their relationships with other people.

“It’s an intriguing result, suggesting that a behavioral intervention could enhance a key aspect of empathy,” study researcher Jennifer Mascaro, a post-doctoral fellow at Emory, said in a statement.

The study included 21 people who all underwent fMRI brain scans as they were administered a “Reading the Mind in the Eyes” test to gauge empathy. The test involves looking at black-and-white photographs of different facial expressions — except the photographs only show the eye region of the face. People taking the test are then asked to say what kind of emotion or thinking is being evoked in each expression.

Then, 13 study participants underwent eight weeks of the meditation training program. The other eight study participants didn’t undergo the training program, but participated in classes where there was discussion on topics like how well-being is influenced by factors like exercise.

After the eight weeks, all the study participants completed the “Reading the Mind in the Eyes” test again. The researchers found that people who underwent the meditation training program had a 4.6 percent higher score on the empathy test at the end of the study period. Meanwhile, people who only partook in the discussion classes didn’t experience any increase in empathy scores, and some even experienced a decrease in their scores.

The brain scans also revealed that people who took the meditation courses also had increased brain activity in the regions linked with empathy.

Empathy is important, and not only for nurturing interpersonal relationships — a recent study showed a link between a doctor’s empathy and the outcomes of his or her patients.

That study, published in the journal Academic Medicine, showed that the diabetes patients of doctors who scored low on an empathy test were more likely to experience acute metabolic complications associated with their condition, compared with patients of doctors who scored higher on the test.

SOURCE: huffingtonpost.com