‘ไลโคปีน’ ในมะเขือเทศ ช่วยสร้างเกราะป้องกันร่างกายเสื่อม

dailynews140824_01การใช้ชีวิตที่เร่งรีบในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเร่งรีบในการดำเนินชีวิต การบริโภคอย่างเร่งรีบ การใช้ชีวิตภายใต้ภาวะความกดดันจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดความเครียดในรูปแบบต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวทำลายสุขภาพและผิวพรรณ ทำให้เกิดความเสื่อมของวัยที่เร็วยิ่งขึ้น แต่ในธรรมชาติยังมีสาร ’ไลโคปีน“ ที่ช่วยลดความเสียหายและเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายได้!!

จากการศึกษาวิจัยไลโคปีนที่มีในผักและผลไม้สีแดง หนึ่งในนักวิจัยที่ศึกษาในเรื่องนี้ ดร.โคอิจิ ไอซาวา ผู้จัดการส่วนงานวิจัยและพัฒนา บริษัท คาโกเมะ จำกัด เล่าว่า มะเขือเทศในแต่ละสายพันธุ์มีความน่าสนใจแตกต่างกันไป มีทั้ง มะเขือเทศสีดำ มะเขือเทศขนาดจิ๋วเท่านิ้วก้อย มะเขือเทศที่อร่อยกว่าเชอรี่ คือ จะมีรสชาติหวาน หรือจะเป็นมะเขือเทศที่มีรูปร่างยาวและขนาดใหญ่ ก็มี

โดยได้ศึกษาค้นคว้า พัฒนาและวิจัยมะเขือเทศกว่า 7,500 สายพันธุ์ จากกว่า 10,000 สายพันธุ์จากทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค้นพบสารอาหารสีแดงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ที่พบมากในมะเขือเทศ แตงโม และพิงค์เกรปฟรุต หรือผลไม้ที่ให้สารสีแดง สีส้ม และเหลือง ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา โดยทําหน้าที่ช่วยปกป้องการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายจากการทําร้ายของอนุมูลอิสระ ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เติมน้ำและความชุ่มชื้นเสมือนเป็นการสร้างเกราะป้องกันให้กับคอลลาเจนในชั้นผิว ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของผิวพรรณได้ ส่งผลให้ผิวพรรณเนียนนุ่มขึ้น ช่วยสร้างความสดใสให้กับผิวพรรณแบบธรรมชาติ โดยช่วยเสริมให้สุขภาพโดยรวมดูดีจากภายในสู่ภายนอก

“อนุมูลอิสระในร่างกายเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ การเผชิญแสงแดดรังสีอัลตราไวโอเลต และมลพิษ การทำงาน ความเครียด ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ เช่น การปาร์ตี้สังสรรค์ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลายความตึงเครียด การนอนดึกและการพักผ่อนไม่เพียงพอ

รวมทั้งการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระภัยร้ายทำลายเซลล์ในร่างกายและผิวพรรณ ทำลายคอลลาเจนผิว ส่งผลทำให้เกิดริ้วรอย ความเหี่ยวย่น และความหมองคล้ำ ไปจนถึงโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง ได้ ซึ่งโดยปกติร่างกายของเราจะมีกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ แต่ถ้าหากมีปริมาณอนุมูลอิสระมากเกินกว่าที่ร่างกายสามารถกำจัดได้ ร่างกายก็จะอยู่ในสภาวะร่างกายเสื่อมโทรม หรือที่เรียกว่า สภาวะแก่ก่อนวัย”

ไลโคปีนยังเป็นสารช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะ คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งปอด ได้อีกด้วย จากสถิติมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ของผู้เป็นป่วยเป็นมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหาร และกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการสูบบุหรี่

โรคมะเร็งที่ติดอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ก็คือ มะเร็งปากมดลูกและรังไข่ และสําหรับผู้ชายอายุระหว่าง 40-75 ปี มักอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จากการศึกษาทางคลินิกในวารสารวิจัยมะเร็งปีพ.ศ. 2542 พบว่า ผู้ชายร้อยละ 83 มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากลดลง เมื่อได้รับสารไลโคปีนในเลือดสูงถึง 0.40 ไมโครกรัมต่อลิตร หรือเปรียบเทียบเท่ากับการรับประทานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะเขือเทศ อย่าง สปาเกตตีซอสมะเขือเทศ 2 ครั้งต่อสัปดาห์

ยังมีงานวิจัยจากสาขาวิชาสารอาหารและระบาดวิทยา ภาควิชาสาธารณสุขแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า ไลโคปีนมีประสิทธิภาพในการระงับอนุมูลอิสระที่จะทําลายผนังเยื่อหุ้มเซลส์ ซึ่งเป็นสาเหตุนําไปสู่โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด พร้อมกันนี้ นักวิจัยชาวฟินแลนด์ ได้รายงานผลการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านประสาทวิทยาแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างระดับไลโคปีนในเลือด นําไปสู่การป้องกันเส้นเลือดอุดตันในสมอง โดยหลังจากการติดตามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชายวัยกลางคน จํานวน 1,000 คน เป็นเวลา 12 ปี พบว่า ชายที่มีระดับไลโคปีนในเลือดสูง มีส่วนสําคัญในการช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดทุกประเภท และป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตันและลิ่มเลือดอุดตันได้มากถึง 59 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ยังพบว่า สารไลโคปีนมีความสำคัญกับผู้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อีกด้วย โดยออกซิเจนนับเป็นก๊าซธรรมชาติที่มีผลต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่วันแรกที่ทารกลืมตาดูโลก ซึ่งในบางครั้งการได้รับปริมาณออกซิเจนมากเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อระบบร่างกายเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะภัยในวัยทารกที่ได้รับออกซิเจนมากเกินไปจนกลายเป็นสาเหตุให้เกิดอนุมูลอิสระในชั่ววินาทีแรกของลมหายใจหรือที่เรียกว่า ภาวะเครียดออกซิเดชั่น

’เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารก ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ โดยจะต้องรับประทานมะเขือเทศเพื่อเพิ่มปริมาณสารไลโคปีน โดยสารดังกล่าวสามารถส่งต่อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ผ่านทางสายสะดือ และในน้ำนมแม่หลังจากที่ทารกลืมตาดูโลกแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้คุณแม่และลูกในครรภ์มีสุขภาพที่ดีขึ้น ช่วยลดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นที่จะเกิดขึ้นกับทารก ในส่วนของเด็ก หากได้รับสารไลโคปีนโดยการบริโภคน้ำมะเขือเทศเป็นประจำ จะทำให้เด็กมีภูมิต้านทานมากขึ้น กล่าวคือ จะเกิดอาการของภูมิแพ้ได้ยากขึ้น“

สำหรับคนปกติโดยเฉพาะคนวัยทำงานที่นิยมรับประทานอาหารติดหวาน รวมไปถึงการบริโภคน้ำอัดลมที่เต็มไปด้วยน้ำตาล ที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้ โดยประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานสูงถึง 6.9 เปอร์เซ็นต์ จากการวิจัยพบว่า การรับประทานมะเขือเทศที่มีไลโคปีน ช่วยในการควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือป้องกันภาวะความไวต่ออินซูลิน นอกจากนี้ มะเขือเทศยังมีกรดซิตริก ที่ช่วยยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของออกซิเจนที่เปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลอีกด้วย

จากการศึกษาและวิจัยพบว่า ไลโคปีนยังมีผลต่อร่างกาย โดยเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายก็ยิ่งสะสมสารอนุมูลอิสระที่ทำร้ายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ประสาทที่หน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้จดจำ ทำให้คนชราบางคนเกิดอาการหลงลืมหรือสับสนต่อเหตุการณ์ต่างๆ หากคนในวัยชรารับประทานไลโคปีนเป็นประจำก็จะช่วยยับยั้งการทำลายเซลล์ของสารอนุมูลอิสระและผลักออกจากร่างกายในเวลาต่อมา

ดร.โคอิจิ กล่าวต่อว่า สารไลโคปีนในมะเขือเทศจะพบมากในมะเขือเทศที่ผ่านความร้อนเพราะจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลงทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่ามะเขือเทศสด เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ ซึ่งจะพบว่า มีไลโคปีนมากเป็น 2-3 เท่าของมะเขือเทศสด อีกทั้งความร้อนและกระบวนการต่าง ๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์มะเขือเทศยังทำให้ไลโคปีนเปลี่ยนรูปแบบจากไลโคปีนชนิดออลทรานส์เป็นชนิดซิสซึ่งเป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น

ร่างกายของคนเราควรได้รับปริมาณไลโคปีนอย่างน้อย 20-30 มิลลิกรัมต่อวัน แต่จากการวิจัยพบว่า มะเขือเทศที่ปลูกในประเทศไทยจะมีความแตกต่างจากมะเขือเทศที่ปลูกในญี่ปุ่นตรงที่ว่ามะเขือเทศญี่ปุ่น 1 ลูกให้สารไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศที่ปลูกในประเทศไทย เมื่อเป็นเช่นนี้ คนไทยจึงจะต้องบริโภคมะเขือเทศสดประมาณ 5-6 ลูกต่อวัน เป็นประจำทุกวัน โดยจะบริโภคในช่วงใดของวันก็ได้ แต่หากใน 1 วัน บริโภคมากกว่า 20-30 มิลลิกรัมก็ไม่เป็นอะไร เนื่องจากสารไลโคปีนเป็นสารปลอดภัย และยังไม่มีรายงานใดระบุว่าได้รับสารไลโคปีนเข้าไปในร่างกายปริมาณมากแล้วเกิดผลเสียต่อร่างกาย.

ทีมวาไรตี้

 

ที่มา : เดลินิวส์ 24 สิงหาคม 2557

เอาชนะอาการร้อนวูบวาบ เมื่อวัยขึ้นเลข 4

dailynews140813_01อาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อพบชายหนุ่มในดวงใจเท่านั้นนะคะ แต่อาจเป็นอาการของผู้หญิงวัยกลางคนที่กำลังเข้าสู่วัยทองได้ด้วย เจ้าอาการร้อนวูบวาบ นี้มักมาพร้อมกับอารมณ์แปรปรวน และมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย ดังนั้น เพื่อไม่ให้อาการที่กล่าวมาสร้างปัญหาให้กับการใช้ชีวิตของคุณผู้หญิงในวัยเลข 4 และส่งผลกระทบกับคนรอบข้าง ผู้หญิงวัยนี้คงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจในวัยหมดประจำเดือนไว้ก่อน แต่เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังเข้าข่ายวัยทองแล้วหรือยัง มาเช็คให้ชัวร์กันก่อนดีกว่าค่ะ

1. ประจำเดือนไม่แน่นอน บางทีมาถี่ๆ บางทีก็ทิ้งช่วงหลายเดือน และอาจมามากกว่าปกติ

2. ร้อนวูบวาบ 2 ใน 3 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการร้อนวูบวาบมากที่สุดใน 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด ซึ่งความรุนแรงและความถี่ในแต่ละคนจะต่างกันไป และจะบรรเทาลงใน 1-2 ปี

3. อาการนอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นบ่อยๆกลางดึก หรือ ตื่นเช้ากว่าปกติ

4. อารมณ์แปรปรวน เกิดอาการซึมเศร้า โกรธง่าย หงุดหงิด โดยไม่มีสาเหตุ ควบคุมอารมณ์ได้ยาก

5. ปัญหาของช่องคลอด ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่นและความหล่อลื่นลดลง ทำให้ผู้หญิงมักมีปัญหาติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย

6. ผิวหนังแห้ง ขาดความยืดหยุ่น เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การผลิตคอลลาเจนก็ลดลงด้วย ทำให้ผิวหนังเริ่มบางลง ความยืดหยุ่นลดลง ผิวแห้งและเหี่ยวย่นง่ายขึ้น

ผู้หญิงบางคนอาจพบว่า มีอาการเหล่านี้เป็นแค่บางครั้งบางคราว เรียกว่า กำลังเข้าสู่ระยะก่อนเข้าวัยทอง โดยจะมีอาการบ้างเป็นบางครั้ง แล้วก็หายไป และอาจกลับมาเป็นซ้ำอีกวนเวียนไปจนผู้หญิงได้เข้าสู่วัยทองอย่างเต็มตัว บางคนอาจพบเจออยู่เป็นประจำ เรียกว่า เข้าสู่วัยทองแล้ว แต่ไม่ว่าคุณผู้หญิงจะอยู่ในระยะไหน วันนี้ เมก้า วีแคร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีคำแนะนำสำหรับผู้หญิงที่รักในการดูแลสุขภาพ และอยากเตรียมรับมือก่อนเข้าสู่วัยทองด้วยวิตามิน และสารอาหารธรรมชาติ ดังนี้คะ

ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง สารอาหารธรรมชาติจากถั่วเหลือง ออกฤทธิ์ทดแทนฮอร์โมนแบบธรรมชาติ ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ ป้องกันผิวพรรณเหี่ยวย่น หรือแห้งเกินไป ช่วยลดปัญหาการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ ที่สำคัญการรับประทานถั่วเหลืองไม่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม โรคหัวใจและหลอดเลือดเหมือนการใช้ฮอร์โมนทดแทน เรียกว่าเป็นสารอาหารตัวแรกๆ ที่ผู้หญิงรักสุขภาพทุกคนต้องเรียกหากันเลยทีเดียว

สารต้านอนุมูลอิสระ ผู้หญิงทุกคนคงทราบกันดีว่า สารต้านอนุมูลอิสระมีความสำคัญอย่างมากต่อการชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ผู้หญิงคนไหนอยากต่อต้านอนุมูลอิสระได้มาก ก็ต้องเลือกรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระที่หลากหลาย อย่างการรับประทานโคเอนไซม์ คิวเทน, กรดอัลฟา ไลโปอิค, วิตามินเอ ซี อี ซีลีเนียม และไบโอ ฟลาโวนอยด์ ซึ่งจะช่วยเสริมฤทธิ์กันในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดกับผู้หญิง ช่วยชะลอการเสื่อม และชราของอวัยะต่างๆ ได้

แคลซียม และวิตามินดี เพื่อการป้องกันโรคกระดูกพรุน ผู้หญิงควรได้รับแคลเซียม และวิตามินดีอย่างเพียงพอ และเป็นประจำ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง เป็นจุดเปลี่ยนที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม ควรพิจารณาถึง ปริมาณแคลเซียมอิสระที่ได้รับ ตามค่า Thai RDI ปริมาณแคลเซียมที่ผู้หญิงควรได้รับต่อวันคือ 800 มก. และควรได้รับควบคู่ไปกับวิตามิน ดี3 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ลดการเสียมวลกระดูก ตลอดจนลดอุบัติการกระดูกหักในผู้สูงอายุได้

ดังนั้น คุณผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว อย่าลืมเน้น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง นม หรืออาหารที่มีแคลเซียมสูง ผักผลไม้ และควรหากิจกรรมกลางแจ้งทำ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดด แต่หากพบว่า ตัวเราไม่สามารถรับสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างเพียงพอ และเป็นประจำแล้ว การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเติมเต็มความต้องการของร่างกายได้

ข้อมูลโดย เมก้า วีแคร์

 

ที่มา : เดลินิวส์ 13 สิงหาคม 2557

กินอาหารช่วยต้านแดด

bangkokbiznews140502_01แสงแดดและอากาศที่ร้อนขึ้นทุกวัน มีผลกระทบโดยตรงต่อผิวหนังของเรา ทั้งปัญหาผิวแห้งกร้าน ผิวแดง ผิวไหม้ ไปจนถึงปัญหาใหญ่อย่างมะเร็งผิวหนัง การหลีกเลี่ยงและป้องกันแสงแดดและแสงยูวีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

ในปัจจุบัน นอกจากการมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและป้องกันแดดต่างๆ มาให้เลือกใช้กันแล้ว ยังมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ว่า การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายต่อต้านกับแสงแดดได้ดียิ่งขึ้น และช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง

อาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง พบในผักใบเขียว แครอท พริก หรือพริกหยวกสีแดง ผลไม้สีเหลืองอย่างมะม่วง แตงโม โดยจะให้ประสิทธิภาพดีหากมีการรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงเหล่านี้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป

ส่วนสาร ไลโคปีน (lycopene) ก็เป็นสารอีกตัวหนึ่งในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งนอกจากจะเป็นสารต้านมะเร็งแล้ว หากรับประทานต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป ก็จะเห็นผลดีในการช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด ซึ่งสารไลโคปีนนี้พบมากในมะเขือเทศ และฟักข้าว

มะเขือเทศ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และมีสารจำพวก ไลโคปีน (lycopene) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) และกรดอะมิโน เป็นต้น

มะเขือเทศมีสรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย มีการศึกษาพบว่าการรับประทานซอสมะเขือเทศวันละ 48 – 55 กรัม หรือประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานน้ำมะเขือเทศวันละ 250 ซีซี ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 สัปดาห์ขึ้นไป จะช่วยเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ในผิวหนัง และอาการแดงของผิวหนังหลังจากโดนแสงแดดจะน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่รับประทานซอสมะเขือเทศถึง 33% นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่รับประทานมะเขือเทศ แสงแดดจะทำลายโมเลกุลของ DNA ในผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน และมีการสร้าง procollagen มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน

ส่วนฟักข้าวนั้น เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยไลโคปีน ซึ่งมีปริมาณสูงกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า และมีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ เช่น เบต้า-แคโรทีน มากกว่าแครอท 10 เท่า มีวิตามินซี มากกว่าส้ม 40 เท่า มีซีแซนทีน มากกว่าข้าวโพด 40 เท่า อุดมด้วยวิตามินอี วิตามินเอ กรดไขมันโอเมก้า-3, โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

นอกจากนี้ ในฟักข้าว ยังมีไลโคปีนชนิดพิเศษ ที่เรียกว่า ไลโปแคโรทีน (Lipocarotene) ซึ่งเป็นกรดไขมันสายยาวที่ช่วยดักจับและดูดซึมแคโรทีน ฟักข้าวจึงจัดเป็นแหล่งของไลโคปีนที่ดีที่สุด

สำหรับการรับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวนั้น แนะนำให้รับประทานมะเขือเทศหรือฟักข้าวที่ผ่านความร้อน ซึ่งจะมีปริมาณไลโคปีนสูงกว่าในผลสด เนื่องจากความร้อนจะทำให้เซลล์มะเขือเทศหรือฟักข้าวแตก ส่วนการบดก็จะยิ่งทำให้ไลโคปีนออกมานอกเซลล์ได้มากขึ้น และสารไลโคปีนในธรรมชาติเมื่อถูกความร้อนร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความร้อนที่ใช้ปรุงจะต้องไม่สูงมาก และไม่ให้ความร้อนเป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ไลโคปีนสลายไปนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีผักผลไม้อื่นๆ ที่อุดมไปด้วยไลโคปีน เช่น แตงโม 1 ชิ้น (286 กรัม) มีไลโคปีน 12,962 ไมโครกรัม, มะละกอ 1 ผล (304 กรัม) มีไลโคปีน 5,557 ไมโครกรัม, มะม่วง 1 ผล (207 กรัม) มีไลโคปีน 6 ไมโครกรัม และในแครอท 1 ผล (72 กรัม) มีปริมาณไลโคปีน 1 ไมโครกรัม

ส่วนใน ชาเขียว ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระชื่อ โพลีฟีนอล (Pholyphenols) ก็สามารถช่วยปกป้องผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายจากรังสียูวีได้ โดยร่างกายสามารถรับได้ทั้งจากการดื่ม และการทาครีมที่มีส่วนผสมของชาเขียว และยังมีงานวิจัยพบว่าสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงของการที่ผิวหนังถูกทำลายจากความร้อนของแสงแดด การทาครีมกันแดดยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดให้ดีที่สุดควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว คือ หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยเฉพาะช่วง 10.00 – 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรง หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันแสงแดด หากมีความจำเป็นต้องออกแดด

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร 037-211-289

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 2 พฤษภาคม 2557

ต้านภาวะอ้วนลงพุงด้วย OTPP จากชาอู่หลง

dailynews140305_002ในปัจจุบันนี้ภาวะอ้วนลงพุงหรือเมตาบอลิ ซินโดรม (Metabolic Syndrome) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เพราะนำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนหรือแม้แต่โรคมะเร็ง โรคเหล่านี้ทำให้เกิดการสูญเสียทั้งคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินเงินทองวิธีการป้องกันและรักษาภาวะอ้วนลงพุงมีหลายวิธีซึ่งอาจจะต้องผสานหลายวิธีเข้าด้วยกัน เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาตลอดจนการผ่าตัด โดยแต่ละวิธีจะให้ผลได้แตกต่างกันและอาจมีผลข้างเคียงรวมถึงค่าใช้จ่ายที่สูงแตกต่างกัน

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานักวิจัยให้ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าวิจัยของสารพฤกษเคมีจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดหรือควบคุมปริมาณไขมันเพื่อช่วยลดภาวะอ้วนลงพุง สารพฤกษเคมีตัวหนึ่งที่นักวิจัยให้ความสนใจมากเป็นพิเศษคือสารโอทีพีพี (OTPP หรือ Oolong Tea Polymerized Polyphenols) ซึ่งจัดอยู่ในสารกลุ่มโพลีฟีนอลพบได้ในชาอู่หลงเท่านั้นไม่พบในชาชนิดอื่นๆ

สาร OTPP เกิดจากกรรมวิธีการแปรรูปใบชาอู่หลงโดยการบ่มแบบกึ่งหมัก (Semi-fermentation) ซึ่งจากผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ถึงกลไกการออกฤทธิ์ของสาร OTPP ต่อการช่วยลดภาวะอ้วนลงพุงหลายฉบับ พบว่า การดื่มชาอู่หลงที่มี OTPP สามารถลดการดูดซึมไขมัน โดย OTPP ไปยับยั้งเอนไซม์ไลเปสที่ย่อยไขมัน ทำให้ไขมันที่ไม่ถูกย่อยถูกขับออกทางอุจจาระเพิ่มขึ้น และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดลดลง จึงทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดหลังมื้ออาหารลดลงด้วย ทั้งยังกระตุ้นกระบวนการเมตาบอลิซึมและเพิ่มการเผาผลาญไขมัน นอกจากนี้ชาอู่หลงยังมีคุณประโยชน์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต รวมทั้งลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังพบว่า OTPP ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารโพลีฟีนอลอื่นๆ ในการลดไขมันในช่องท้องหรือต้านภาวะอ้วนลงพุง และในเรื่องของความปลอดภัยพบว่าการดื่มชาอู่หลงในระยะยาวไม่พบรายงานผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อตัวผู้บริโภคซึ่งแตกต่างจากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนชนิดอื่น

ดังนั้นการดื่มชาอู่หลงที่มีสาร OTPP เป็นเครื่องดื่มประจำวันร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอาจเป็นตัวช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลในการควบคุมน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะอ้วนลงพุงได้ด้วย และจากประโยชน์ของชาอู่หลงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจะช่วยส่งผลดีต่อสุขภาพลดการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ออกกำลังกายเป็นประจำจะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยควบคุมน้ำหนักและป้องกันภาวะอ้วนลงพุง เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะควบคู่กันไป ก็จะช่วยให้มีสุขภาพดีห่างไกลภาวะอ้วนลงพุงได้

อ้างอิง

Junichi, N., Takanori, T., Keiichi, A., et al. (2007). Jpn Pharmacol Ther, 35, 661-671.

Maekawa, M., Teramoto, T., Nakamura, J., et al. (2011). Effect of long-term Intake of “KURO-Oolong tea OTPP” on body fat mass and metabolic syndrome risk in over weight volunteers. Jpn Pharmacol Ther, 39, 889-900.

Nakamura, J., Abe, K., Ohta, H., Kiso, Y. (2008). Lowering Effects of the OTPP (Oolong Tea Polymerized Polyphenols) Enriched Oolong Tea (FOSHU “KURO-Oolong Tea OTPP) on Visceral Fat in Over Weight Volunteers. Jpn Pharmacol Ther; 36(4), 65-73.

Rong-rong, H., Ling, C., Bing-hui, L., Yokichi, M., Xin-sheng, Y., Hiroshi, K. (2009). Beneficial effects of oolong tea consumption on diet-induced overweight and obese subjects. Chin J Integr Med, 15(1), 34-41.

ดร.ฉัตรภา หัตถโกศลภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : เดลินิวส์ 5 มีนาคม 2557

น้ำส้มคั้นรัักษามะเร็ง ป้องกันแพ้เคมีบำบัด

นักวิทยาศาสตร์ซึ่งหยิบรายงานผลการศึกษาคุณประโยชน์ของนํ้าส้มคั้นในการป้องกันโรคมะเร็งมาทบทวนดูใหม่ ได้พบว่าน้ำส้มคั้นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

วารสารระหว่างประเทศ “สารอาหารกับโรคมะเร็ง” เปิดเผยว่า นักวิจัยที่ทำการทบทวนได้พบว่า น้ำส้มคั้นมีส่วนในการป้องกันการแพ้ การรักษาโรคด้วยตัวยาเคมี

เหตุที่น้ำส้มคั้นมีประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ก็เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่สูง นอกจากนั้นมันยังช่วยลดความเสี่ยงของเด็กที่จะเป็นโรคมะเร็งโลหิต ตลอดจนช่วย

ป้องกันการแพ้เคมีบำบัด ในการรักษามะเร็งเต้านม ตับและลำไส้ใหญ่ นักวิจัยได้สรุปว่า “น้ำส้มคั้นสามารถช่วยป้องกันการแพ้ยาเคมีบำบัด ในการรักษามะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงชั้นที่โรคลุกลามออกไปแล้ว”.

 

ที่มา: ไทยรัฐ 17 กันยายน 2556

.

Related Article:

.

sciencedaily130913_001

Can Drinking Orange Juice Aid in Cancer Prevention?

Sep. 13, 2013 — In a forthcoming review article fromNutrition and Cancer: An International Journal, a publication of Routledge, researchers review available evidence that links orange juice with cancer chemoprevention. The review article, “Orange Juice and Cancer Chemoprevention” discusses the putative mechanisms involved in the process, the potential toxicity of orange juice, and the available data in terms of evidence-based medicine.

Orange juice has many potential positive effects when it comes to cancer, particularly because it is high in antioxidants from flavonoids such as hesperitin and naringinin. Evidence from previous in vitro studies has indicated that orange juice can reduce the risk of leukemia in children, as well as aid in chemoprevention against mammary, hepatic, and colon cancers. Biological effects of orange juice in vitro are largely influenced by the juice’s composition, which is dependent on physiological conditions of the oranges such as climate, soil, fruit maturation, and storage methods post-harvest.

The researchers acknowledge potential toxicity from orange juice if consumed in excess amounts — especially for children, hypertensive, kidney-compromised, and diabetics. Excessive drinking of orange juice for individuals from these groups has the potential to create noxious effects, hyperkalemia, and has been associated with both food allergies and bacterial outbreaks in cases where the juice was unpasteurized. “Excessive intake of any food, even for the healthiest, can lead to oxidative status imbalance,” wrote the researchers.

Further research is highly recommended to determine the biological connection between orange juice and cancer chemoprevention. Issues such as the type of cultivar and the amount consumed will also need clarification.

Overall, the review article summarizes several biological effects of orange juice that can contribute to chemoprevention, including antioxidant, antimutagenic and antigenotoxic, cytoprotective, hormonal, and cell signaling modulating effects. Orange juice has antimicrobial and antiviral action and modulates the absorption of xenobiotics. “OJ could contribute to chemoprevention at every stage of cancer initiation and progression,” the researchers explained. “Among the most relevant biological effects of OJ is the juice’s antigenotoxic and antimutagenic potential, which was shown in cells in culture and in rodents and humans.”

Story Source:

The above story is based on materials provided by Taylor & Francis, via AlphaGalileo.

Journal Reference:

  1. Silvia Isabel Rech Franke, Temenouga Nikolova Guecheva, João Antonio Pêgas Henriques, Daniel Prá. Orange Juice and Cancer ChemopreventionNutrition and Cancer, 2013; : 130806112113004 DOI: 10.1080/01635581.2013.817594

SOURCE : www.sciencedaily.com

อึ้งคนไทย 14 ล้านคน สายตาพร่ามัว

thairath130513_002aวิถีชีวิตของคนยุคใหม่นับวันต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นยุค Gen S (Generation of Screen) ซึ่งเป็นยุคโลกดิจิตอลที่ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลาง “จอ” รอบตัว โดยเฉพาะ 4 จอที่ว่าได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ จอแท็บเล็ต จอมือถือ และจอโทรทัศน์ นับวันเรายิ่งถูกเทคโนโลยีเหล่านี้ผลักดันให้ใช้สายตามากขึ้นและนานขึ้น โดยไม่รู้เลยว่ากำลังทำร้ายสุขภาพตาแบบไม่รู้ตัว

ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ จากชมรมโภชนวิทยามหิดล กล่าวว่า ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพสายตาของคนไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2550 ระบุว่า คนไทยไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคน มีสายตาผิดปกติ สาเหตุหลักมาจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อเป็นเวลานาน และยังพบว่าใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมงเลยทีเดียว จึงทำให้เกิดอาการเมื่อยตา ตาแห้ง เคืองตา แสบตา แพ้แสง ตาพร่า ปวดตา ปวดศีรษะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาสายตา เช่น การทำงานกลางแจ้งนานๆ การอ่านหนังสือในที่มีแสงน้อย การสูบบุหรี่ เป็นต้น

thairath130513_002c

ดังนั้น ในแต่ละวันเราจึงควรหยุดพักและละสายตาจากจอต่างๆ เป็นระยะๆ เพื่อผ่อนคลายสายตา นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตาและถนอมดวงตานั่นก็คือ สารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในผักและผลไม้ต่างๆ ซึ่งมีวิตามินเอ ซี อี เบต้า-แคโรทีน ซีแซนทิน สังกะสี และไบโอฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะผลไม้ตระกูล “เบอร์รี่” ไม่ว่าจะเป็นบิลเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ เอลเดอร์เบอร์รี่ บอนเซนเบอร์รี่ ฮัคเคิลเบอร์รี่ เป็นต้น ทั้งนี้มีผลการวิจัยพบว่า สารแอนโธไซยานิน ในบิลเบอร์รี่ซึ่งเป็นสารไบโอฟลาโวนอยส์ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันเส้นเลือดฝอยจากการถูกอนุมูลอิสระทำลาย และยังช่วยป้องกันอาการอ่อนล้าจากการคร่ำเคร่งใช้สายตา ช่วยให้สายตาทำงานดีขึ้นในที่มืดหรือที่มีแสงน้อย เพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังหลอดเลือดฝอย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไหลเวียนของเลือดในดวงตา

ส่วนผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อื่นๆ ก็พบว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แบล็คเคอร์แรนต์ ช่วยให้ตารับภาพในเวลากลางคืนได้ดี แครนเบอร์รี่ ช่วยบำรุงสุขภาพตา โช้คเบอร์รี่ ช่วยการไหลเวียนของเลือดในตาให้ดีขึ้น อาซาอิเบอร์รี่ ช่วยปกป้องการเสื่อมของเลนส์ตาและจอประสาทตา สตรอเบอร์รี่ ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทที่ถูกทำร้ายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งบริเวณจอประสาทตามีเซลล์ประสาทสำหรับการรับภาพอยู่มาก

thairath130513_002bดังนั้น การเลือกรับประทานผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ หรือในรูปเบอร์รี่สกัดเข้มข้น จึงเป็นอีกทางเลือกในการดูแลสุขภาพดวงตา แต่ต้องมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม 

อย่ารอ…ที่จะดูแลและถนอมสุขภาพดวงตาของคุณ เพื่อให้ได้เป็นเจ้าของดวงตาที่สดใสไปได้นานๆ

ที่มา : ไทยรัฐ 13 พฤษภาคม 2556

พบเครื่องดื่มที่วิเศษยิ่งกว่า ชาและกาแฟ ใช้ปนกันจะบำรุงร่างกายได้ดีมากกว่า

thairath130123_002นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเครื่องดื่มที่ต้มหรือชงชั้นยอดขนานใหม่เป็นชาที่ปรุงขึ้นจากใบต้นกาแฟ กล่าวกันว่าบำรุงร่างกายดียิ่งกว่าการดื่มชาหรือกาแฟโดยลำพัง

พวกเขากล่าวว่า ชาใบกาแฟจะมีรสชาติขมน้อยกว่าชาและไม่แก่เหมือนกับกาแฟ อุดมด้วยสารประกอบที่มีสรรพคุณป้องกันโรคเบาหวานและโรคหัวใจ มันยังมีคาเฟอินต่ำกว่าชาหรือกาแฟ ในขณะที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระและแก้อักเสบ

นักวิจัยของสวนพฤกษศาสตร์คิว ตั้งอยู่ชานกรุงลอนดอนเป็นผู้วิเคราะห์ เครื่องดื่มสูตรใหม่นี้จากใบต้นกาแฟ ที่ถูกทิ้งไปเสียตั้งแต่แรก เพราะคิดจะใช้แต่เมล็ดของมันอย่างเดียว

อย่างไรก็ดี เคยพบหลักฐานว่า เครื่องดื่มแบบนี้ เคยดื่มกันในเอธิโอเปีย ซูดานใต้ และอินโดนีเซีย กันมาก่อนหน้านี้แล้ว.

 

ที่มา :  ไทยรัฐ 23 มกราคม 2556

.

Related Article :

.

Tea made from coffee leaves found to beneficial for health

A tea brewed from the leaves of the coffee plant have been found to be high in compounds that are good for human health.

By Richard Gray, Science Correspondent
13 Jan 2013

Once it was a simple question: tea or coffee? Now, after a scientific breakthrough that choice will become rather less straightforward.

Researchers have discovered that a rare type of tea made from the coffee plant is more healthy than both the other beverages.

The scientists found that “coffee leaf tea” contained high levels of compounds credited with lowering the risk of heart disease and diabetes.

The leaves were found to contain more antioxidants than normal tea – which is already renowned for its healthy properties – and high levels of a natural chemical found in mangos known to combat inflammation.

The researchers believe the leaves of Coffea plants, as they are known scientifically, have been largely overlooked due to high value placed on coffee beans, which are actually seeds inside cherries produced by the small green shrub. These contain far fewer of the healthy compounds.

The researchers at the Royal Botanic Gardens in Kew, London, and the Joint Research Unit for Crop Diversity, Adaptation and Development in Montpellier, believe coffee leaves could provide a new, healthy drink to rival coffee and traditional green or black tea.

The drink, which contains low levels of caffeine, has earthy taste neither as bitter as tea nor as strong as coffee.

Dr Aaron Davies, a coffee expert and botanist at Kew Gardens who helped conduct the research, said coffee leaf tea was popular among some locals in places like Ethiopia and South Sudan and there had even been an attempt to market it in Britain in the 1800s.

He said: “In 1851 people were touting it as the next tea and there were all these reports at the time about its qualities. I spent some time in Sudan and met a village elder who made it every day – she would hike for a couple of hours to collect the leaves to make tea.

“What was surprising was how many antioxidants are in the coffee leaves. They are much higher than those in green tea and normal black tea.

“There were also very high levels of a substance called mangiferin in the leaves of arabica coffee plants. This chemical was first extracted from mangos but has had lots of healthy properties attached to it.”

Dr Davies found samples of coffee leaf tea in the Kew collections that date back nearly 100 years. At the time coffee producers in Sumatra and Java, in modern day Indonesia, had attempted to popularise coffee leaf tea in the UK and Australia.

Reports at the time claim the drink could offer immediate relief from hunger, fatigue and had the ability to “clear the brain of its cobwebs”. It was also described as refreshing, although there were some who described it as undrinkable.

Tests on 23 species of coffee plant by Mr Davies and Dr Claudine Campa from the Joint Research Unit for Crop Diversity, Adaptation and Development, showed that seven had high levels of mangiferin in their leaves.

Arabica coffee leaves were found to contain the highest levels of mangiferin, which has been found to have anti-inflammatory effects while also reduce the risk of diabetes, blood cholesterol, and protecting neurons in the brain.

The results, published in the scientific journal Annals of Botany, showed that arabica also had the highest levels of antioxidants – higher than those found in tea or traditional coffee.

Dr Davies said that despite being widely reputed to have medicinal like qualities, coffee leaf tea never caught on in Britain despite attempts to introduce it from Indonesia.

He said: “In South east Asia in the late 1800s there was coffee crisis as arabica plantations were hit badly by coffee leaf rust.

“Other species of coffee were taken to Asia as a result and people seemed to stop drinking the tea from coffee leaves in that area, so I wonder if there is a link.

“In the collection at Kew, some of the samples look like green tea and some of them look like black tea, so there are clearly differences in the way it is prepared. It is possible the new coffee species were not to the locals taste and so it lost popularity.

“What is amazing though is that there is so much work that goes on into the healthy properties of tea, but coffee leaves have been completely overlooked.”

The researchers admit, however, the impact of the compounds found in coffee leaves on the human body requires further research.

Studies on tea has found it to be rich in similar antioxidants that are thought to be beneficial against heart disease, diabetes and even cancer, although work is still being conducted to prove the role they play in the human body too.

The health benefits of compounds in coffee beans, however, are more controversial, with some studies showing contradictory findings, although it has been reported to reduce the risk of diseases like Parkinson’s disease, dementia and heart disease.

Coffee leaf tea is not yet widely available, but is sold by some health food shops.

Master tea taster Alex Probyn, who runs his own tea blending business and also advises Marks and Spencers on tea, tried coffee leaf tea while on a trip to Ethiopia and tested a sample that we obtained by mail order from a health food shop in the United States.

He said: “When I tried it in Ethiopia, it had a very fresh flavour, a bit like cut grass that is similar to what you would expect from a green tea. There is not any hint of coffee in there and most people would struggle to identify it from other leaves.

“The coffee leaves have quite a pungent and greenish character – they are bitter but not unpleasant. The sample that you have has a slightly menthol and eucalyptus taste that makes me think something else has been added to it to soften the bitterness.

“If I could find a source then I would use coffee leaves in my own blends as I think it offers something that is a little bit different. The difficulty may be that coffee growers will want the leaves to stay on their plants so they can produce good beans.”

Coffee beans are the world’s second most valuable commodity after crude oil, with almost eight million tonnes produced a year in an industry worth more than £43 billion. There are also 165 million cups of tea drunk every day in the UK.

SOURCE : telegraph.co.uk

ชะลอความแก่ ด้วย “แอนตี้ออกซิแด้นท์”

dailynews130104_001ใครที่เป็นคนรักสุขภาพ ใส่ใจเรื่องการกิน และไม่อยากแก่ คงคุ้นหูกับคำว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” หรือ “แอนตี้ออกซิแด้นท์ (Antioxidant)” กันดีใช่ไหมคะ? หากใครยังไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยได้ยิน ถึงเวลาต้องรู้จักสารที่เป็นประโยชน์มากๆ และจำเป็นกับร่างกายแล้วล่ะค่ะ

ก่อนทำความรู้จักสารต้านอนุมูลอิสระนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักกับ “อนุมูลอิสระ” กันก่อน เพราะความแก่ชรา เซลล์ต่างๆ ที่เสื่อมสภาพลงไป ล้วนเป็นผลมาจากเจ้าอนุมูลอิสระ และสารนี้ยังอาจถือเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ความแก่ ความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ 

แล้วอนุมูลอิสระมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร? คำตอบคือ ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารของร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วย จะเกิดผลพลอยได้ (น่าจะเรียกว่าพลอยเสียมากกว่า) คือ ออกซิเจนที่มีประจุลบ ซึ่งก็คืออนุมูลอิสระ สารตัวนี้นอกจากจะรวมตัวกับไขมันไม่ดี (LDL) แล้ว ยังสามารถไปรวมตัวกับสารบางชนิดในร่างกาย แล้วก่อให้เกิดสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ที่ปกติแปรสภาพไปเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด..ฟังดูแล้วน่ากลัวทีเดียว!

ที่สำคัญอาหารที่มักเป็นต้นตอของอนุมูลอิสระ ส่วนใหญ่เป็นของโปรดของหลายๆ คน อย่างอาหารพวก ปิ้ง ย่าง เผา เนื้อกรอบ เกรียมไหม้

ทราบกันแล้วว่า เจ้าอนุมูลอิสระส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร ทีนี้มารู้จักสารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระกันเลยค่ะ

สำหรับสารต้านอนุมูลอิสระ คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นกระบวนดังกล่าวมีหลายรูปแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิ้ลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน หรือกระบวนการออกซิเดชั่นที่เกิดในร่างกาย เช่น การย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป มลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ รังสียูวี ล้วนทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกาย ทว่าในความเป็นจริงนั้น ไม่มีสารประกอบสารใดเพียงสารเดียวที่สามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด แต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น

ในอีกทางหนึ่ง กระบวนการออกซิเดชั่นก็เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เราใช้ออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไปเพื่อเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานสำหรับเซลล์ต่างๆ แต่ก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาด้วย แถมยังเข้าไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่สำคัญในร่างกาย เช่น ไขมัน โปรตีน ดีเอ็นเอ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโมเลกุลดังกล่าว

เมื่อสารอนุมูลอิสระทำให้ร่างกายเสื่อม สารต้านอนุมูลอิสระจึงมีส่วนช่วยป้องกันและกำจัด ทั้งนี้ มีงานวิจัยมากมายชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงได้หลายโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง (เช่น อัลไซเมอร์) เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่

โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็วหรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทัน อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อเป็นเช่นนี้ สารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยลดความเสียหายได้ 2 ทาง คือ 1.ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย 2.ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ

อย่างไรก็ตาม ควรเข้าใจให้ถูกว่า สารต้านอนุมูลอิสระไม่สามารถแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่สามารถชะลอความเสียหายให้เกิดช้าลง โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเป็นผลลัพธ์สะสมที่เกิดจากเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำอันตรายและเสียหายเป็นปีๆ (โดยมากเป็นเวลาหลายสิบปี) เห็นได้จากการรวบรวมความชุกของโรคว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นมากในผู้ใหญ่วัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ

ดังนั้น ทุกเพศทุกวัยจึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระให้พอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกายระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น

สารต้านอนุมูลอิสระหาได้จากไหน? สารนี้ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน วิตามินเอ พฤกษาเคมีต่างๆ (phytochemicals) เช่น สารประกอบฟีโนลิก (polyphenol) จากชาและสมุนไพรบางชนิด ไอโซฟลาโวน (isoflavones) จากถั่วเหลือง เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงกับความต้องการ ส่วนเทคนิคง่ายๆ ในการรับสารต้านอนุมูลอิสระ คือควรกินผักผลไม้สีเข้มเป็นประจำ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงพอทราบว่าการที่ร่างกายแก่ชราก็เพราะเซลล์เสื่อมสภาพจากอนุมูลอิสระ ดังนั้นวิธีในการชะลอวัย ก็คือการกำจัด หรือลดปริมาณสารอนุมูลอิสระลง โดยการลดจากปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด สารพิษ มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม อาหารประเภท  ปิ้ง ย่าง เผา จนเกรียมไหม้ และพยายามทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปนั่นเอง

เพียงหลักง่ายๆ แค่นี้เราก็จะมีร่างกายที่แก่ช้าลง ทราบแล้วก็ปรับรูปแบบการทานอาหารกันใหม่นะคะ เพื่อสุขภาพของเราเอง และคนที่เรารัก อย่าลืมประโยคสำคัญที่ว่า You are what you eat กันล่ะ.

“PrincessFangy”
twitter.com/PrincessFangy

อ้างอิงบางส่วนจาก http://www.doctor.or.th

 

ที่มา :  เดลินิวส์ 4 มกราคม 2556

มันฝรั่งสีม่วง สามารถลดความดันโลหิตสูง

naewna121209_001องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ในปี พ.ศ.2542 ว่าผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีโอกาสเป็นอัมพาตหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่าผู้ที่ไม่มีโรคความดันโลหิตสูง และพบว่าผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหากได้รับการรักษาจนความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติจะสามารถลดอัตราการเกิดอัมพาต หัวใจล้มเหลวได้ มีการศึกษาพบว่า คนเป็นโรคอ้วนและน้ำหนักเกินที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงที่รับประทานมันฝรั่งสีม่วงสองครั้งต่อวันสามารถลดความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันฝรั่งทุกรูปแบบสามารถลดความดันโลหิตได้ เช่น มันฝรั่งทอด เฟรนช์ฟรายถูกจัดเป็นอาหารขยะ เนื่องจากมีโซเดียมสูงและ “ความเป็นพิษสูง” เพราะทอดโดยใช้อุณหภูมิสูงทำให้มี “สารอะคริลาไมด์-สารก่อมะเร็ง” ออกมา ในมันฝรั่งยังมี “ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) อยู่สูงมาก นั่นหมายถึงเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลภายในร่างกายได้เร็วมาก

การศึกษาของ ดร.โจ วินสัน แห่งมหาวิทยาลัยสแครนตัน รัฐเพนซิลวาเนีย ใช้มันฝรั่งสีม่วง (Purple Majesty) ที่ปรุงสุกอย่างถูกต้องในเตาอบไมโครเวฟโดยไม่ต้องใช้น้ำมันหรือเนย ในการศึกษาใช้อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีรับประทานมันฝรั่งสีม่วงขนาดเล็กประมาณ 6 ถึง 8 ผลปรุงสุกในเตาอบไมโครเวฟ แล้วทำการตรวจเลือดและปัสสาวะของอาสาสมัครพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระของเลือดและปัสสาวะของพวกเขาเพิ่มขึ้นตามปริมาณของมันฝรั่งที่รับประทาน หลังจากนั้นได้คัดเลือกอาสาสมัครสิบแปดคนที่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วนและมีความดันโลหิตสูง โดยให้อาสาสมัครครึ่งหนึ่งรับประทานมันฝรั่งสุกสีม่วงพร้อมเปลือกจำนวน 6 ถึง 8 ผลในลักษณะเดียวกันตามที่กล่าวข้างต้น จำนวน 2 ครั้งต่อวัน อาสาสมัครอีกครึ่งหนึ่งไม่มีมันฝรั่งสีม่วงเลยในอาหารของพวกเขา ผลการศึกษานี้พบว่าน้ำหนักตัวของอาสาสมัครที่รับประทานมันฝรั่งสีม่วงไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง) ไม่มีผลกระทบต่อระดับไขมันหรือระดับน้ำตาล มีความดันโลหิตต่ำลงได้แก่ ความดันโลหิตค่าบน คือแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว (Systolic) ลดลง 3.5% และความดันโลหิตค่าล่าง (Diastolic) คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว ลดลง 4.3% คณะนักวิจัยของ ดร.วินสันเชื่อว่า มันฝรั่งสีขาวและสีแดงอาจให้ผลเช่นเดียวกันแต่ต้องมีการวิจัยเพื่อพิสูจน์กันต่อไป ผลวิจัยสรุปว่าการรับประทานมันฝรั่งสีม่วงสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงได้ เนื่องจากมันฝรั่งสีม่วงมีพฤกษาเคมี (PhytoChemical คือ สารเคมีต่างๆ ที่มีอยู่ในผัก ผลไม้ เป็นสารที่ทำให้เกิดสี กลิ่น รสในผักผลไม้ มีประโยชน์ต่อร่างกายในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ) ที่ให้ผลคล้ายกับ เอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาเบื้องต้นในโรคความดันโลหิตสูง พฤกษาเคมีนี้สามารถพบในบร็อคโคลี่ ผักโขมและสเพราท์ (ผักคล้ายกะหล่ำ)นอกจากนี้การทอด ย่างมันฝรั่งจะทำลายพฤกษาเคมีเหลือไว้เฉพาะแป้งและไขมัน ดังนั้นการปรุงอาหารมันฝรั่งด้วยไมโครเวฟจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

วิลาวัลย์ พงษ์พิทักษ์
ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

ที่มา : แนวหน้า 9 ธันวาคม 2555

.

Related Link:

.

Pass the Purple Potatoes to Lower Blood Pressure

By Denise Reynolds RD on February 2, 2012

Last year, the potato almost received a death sentence in the National School Lunch program. Initially, the government had proposed to limit consumption of starchy vegetable to just one cup per student per week. But thankfully, that moved was blocked because the proposal had “no basis in nutrition science.” The potato, in fact, is a healthful vegetable and new research encourages those who are overweight with hypertension to continue having small helpings to keep blood pressure under control without fear of weight gain.

Nutritionally, potatoes are good sources of vitamin B6, vitamin C, copper, potassium, manganese and dietary fiber. They also contain a variety of phytonutrients. The George Mateljan Foundation for the World’s Healthiest Foods notes that while most of us are only familiar with two or three types of potatoes, there are actually about 100 varieties of the vegetable. A type showing up in more food stores is the purple-skinned potato called Purple Majesty which was the focus of a study funded through a Cooperative Agreement Grant from the United States Department of Agriculture (USDA).

In the Journal of Agricultural and Food Chemistry, Joe Vinson PhD with the University of Scranton in Pennsylvania and colleagues studied 18 volunteers who consumed 6 to 8 small purple potatoes (microwaved) twice a day for four weeks. Most of the study subjects were overweight and had high blood pressure for which they took anti-hypertensive drugs.

Average diastolic blood pressure (the lower number which indicates the pressure on the blood vessels at rest) dropped by 4.3 percent and systolic pressure (the top number representing pressure during each heart beat) decreased by 3.5 percent. None of the study participants gained weight.

Vinson said that other studies have identified substances in potatoes with effects in the body similar to those of the well-known ACE-inhibitor medications, a mainstay for treating high blood pressure. However, pigmented potatoes (ie: purple or red) do have high concentrations of antioxidants including phenolic acids, anthocyanins and carotenoids. These nutritional components are protective against cardiovascular disease, respiratory problems and certain cancers.

One of the phytochemicals found in potatoes is called Kukoamine. This compound, previously only known to be in an exotic herbal plant called Lycium chinense, as noted to be in potatoes as well. These compounds have been shown to lower blood pressure in studies by UK scientists at the Institute for Food Research.

The scientists do not know yet whether ordinary white potatoes have the same beneficial effects, but your basic Idaho potato is high in potassium, an important nutritional component of the “DASH” diet – or Dietary Approaches to Stop Hypertension. Potassium is crucial to heart function and plays a key role in skeletal and muscular function. Studies show that those who eat a diet high in the mineral have lower blood pressure and decreased risk of stroke. Vitamin B6, another vitamin in good supply in potatoes, is also essential for heart health.

Of course, a diet of French fries will up potato consumption, but this isn’t the recommendation for a healthy diet low in fat and rich in unprocessed produce. Roast, steam, bake or boil potatoes and add flavorful ingredients such as fresh herbs or garlic. Remember to eat the edible skin as well – dietary fiber is another important component of heart health as it can help to lower cholesterol.

Source Reference: American Chemical Society
Joe A. Vinson, Cheryil A Demkosksy, Duroy A Navarre, and Melissa A Smyda. High antioxidant potatoes: Acute in vivo antioxidant source and hypotensive agent in humans after supplementation to hypertensive subjects. Journal of Agricultural and Food Chemistry DOI: 10.1021/jf2045262 Publication Date (Web): January 5, 2012

Additional Reference: The George Mateljan Foundation for the World’s Healthiest Foods

SOURCE : emaxhealth.com

“มะเขือเทศ” อาจช่วยลดความเสี่ยง “หลอดเลือดสมองตีบ”

Credit: familyfood.hiddenvalley.com

สารอาหารในมะเขือเทศอาจช่วยลดการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองได้

ผลการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเผยแพร่ในวารสารด้านประสาทวิทยา ได้ศึกษาผลกระทบของสารไลโคปีน ซึ่งเป็นสารสีแดงที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยลดความผิดปกติ และความเสื่อมของเซลล์ อันเนื่องมาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ ที่พบได้ในแตงโม มะเขือเทศ และพริกหวาน

การศึกษาโดยใช้ชายวัยกลางคนกว่า 1,031 ราย พบว่าคนที่มีสารไลโคปีนในกระแสเลือด มีแนวโน้มค่อนข้างน้อยต่อความเสี่ยงในการอุดตันของเส้นโลหิตเลี้ยงสมอง ขณะที่สมาคมโรคหลอดเลือดสมอง ขอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมว่าเหตุใดสารไลโคปีนซึ่งส่งผลดังกล่าว

ทีมวิจัยได้ทำการประเมินค่าของระดับของไลโคปีนในกระแสเลือดในช่วงต้น โดยติดตามผลในอีก 12 ปีต่อมา และแบ่งผู้ทำการศึกษาออกเป็น 4 กลุ่ม โดยใช้ปริมาณไลโคปีนในเลือดเป็นฐานอ้างอิง ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มผู้มีสารไลโคปีมต่ำ จำนวน 258 คน มีผู้มีอาการเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน 25 คน ขณะกลุ่มที่มีไลโคปีมสูง มีผู้มีอาการเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน 11 คน จากทั้งสิ้น 259 คน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีระดับไลโคปีนในเลือดสูงสุด มีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดตีบน้อยกว่าถึง 55%

ดร.จูนี คาร์ปปี ผู้เขียนรายงานผลการวิจัย จากมหาวิทยาลัยอีสต์เทิร์น ฟินแลนด์  กล่าวว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้เสริมหลักฐานที่ว่าสารอาหารที่มีมากในผัก และผลไม้สัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองต่ำกว่า

ผลการศึกษาครั้งนี้ สนับสนุนข้อแนะนำที่ระบุว่าการทานอาหารประเภทผักและผลไม้มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน จะนำไปสู่การลดลงของโอกาสการเกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โดยไลโคปีมจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบและการเกิดลิ่มเลือด

นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้พิจารณาสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น อัลฟาแคโรทีน เบตาแคโรทีน อัลฟาโทโคเฟอรอล ซึ่งอยู่ในรูปของวิตามินอี วิตามินเอ หรือเรตินอล แต่ไม่พบความสัมพันธ์ใดๆ กับความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือด

ด้านดร.แคลร์ วาลตัน จากสมาคมโรคหลอดเลือดสมอง กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่พบในอาหาร อาทิ มะเขือเทศ พริกหวานสีแดง และแตงโม ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดได้ อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้ ไม่ควรแนะนำให้ผู้คนไม่ทานผักผลไม้ประเภทอื่น ซึ่งแต่ละประเภทก็ต่างมีคุณค่าและประโยชน์ที่แตกต่างกันไป และเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เรามีสุขภาพดี นอกจากนั้น ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าเหตุใด สารอนุมูลอิสระที่พบในผักจำพวกมะเขือเทศ จึงช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวลง

ที่มา : มติชน 9 ตุลาคม 2555

.

Related Article:

.

CREDIT: Organic heirloom tomatoes photo via Shutterstock

Tomato Compound May Cut Men’s Stroke Risk

Trevor Stokes, MyHealthNewsDaily Contributor
Date: 08 October 2012

Eating tomatoes and other foods rich in the antioxidant lycopene may reduce men’s risk of stroke, new research suggests.

Men in the study with the highest levels of lycopene in their blood were 55 percent less likely to have a stroke compared with those who had the lowest blood levels of the pigment, researchers found.

“The results support the recommendation that people get more than five servings of fruits and vegetables a day, which would likely lead to a major reduction in the number of strokes worldwide,” said study researcher Jouni Karppi, of the University of Eastern Finland.

Previous research showed that lycopene may decrease the ability of LDL (“bad”) cholesterol to form the plaques in arteries that can cause heart attacks and strokes, the researchers said.

Lycopene also has other properties that may link it to decreased stroke risk, Karppi said, such as inhibiting cholesterol production and preventing blood clots and the clumping together of blood platelets.

The study is published in the Oct. 9 issue of the journal Neurology.

Tomatoes and strokes

Karppi and colleagues gathered data on 1,031 men in Finland taking part in the Kuopio Ischaemic Heart Disease Risk Factor Study. The men were between ages 46 and 65 at the study’s start, and over a 12-year period, 67 of the men suffered a stroke.

The researchers measured lycopene levels in the men’s blood, and divided them into four nearly equivalent groups based on their levels. Of men with the lowest levels, 25 out of 258 had a stroke, whereas 11 out of 259 with the highest levels had a stroke.

The link between higher lycopene levels and lower stroke risk held when the researchers accounted for risk factors for stroke such as age, smoking and diabetes.

But experts cautioned against overinterpreting the results. The data show an association, not a cause-and-effect link.

“This study simply says that people who have higher levels of lycopene have fewer strokes after 12 years,” said Dr. David Thomas, professor of medicine at Saint Louis University, who was not involved in the study. The findings don’t prove that eating tomatoes reduces the risk of stroke, Thomas said.

Findings such as this one “are good for generating hypotheses, that can be tested in prospective trials,” Thomas added. Trials looking at lycopene so far have had mixed results, he said.

What to eat

While tomatoes are a common source of lycopene, the study did not look at which foods in the men’s diets were the sources of the antioxidant, Karppi noted.

In the future, Karppi said he will continue to research the role lycopene and other carotenoids, which give vegetables their colors, may play in decreasing the risk of chronic vascular diseases.

Thomas said that a high intake of fruits and vegetables may be needed to see health benefits. He pointed to an analysis of nine studies that linked fruit and vegetable intake with better health, but the results were only positive when five or more servings per day were consumed.

“That’s a lot of tomatoes,” he said.

Pass it on: Eating lycopene-rich tomatoes may reduce men’s risk of stroke.

This story was provided by MyHealthNewsDaily, a sister site to LiveScience