สิงห์อมควันฟัง! ผลวิจัยใหม่ในคนสูบบุหรี่ เป็นเหตุให้′โครโมโซม′หาย

matichon141211_01ทีมศึกษาวิจัยที่นำโดยนายแพทย์ลาร์ส ฟอร์สเบิร์ก จากภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยา, พันธุกรรมและพยาธิวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอัพพ์ซาลาในประเทศสวีเดน เปิดเผยผลการศึกษาที่พบว่า บุหรี่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงในทางลบต่อระบบโครโมโซมของเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของผู้ชายที่สูบบุหรี่ ส่งผลให้โครโมโซมวายซึ่งเป็นหนึ่งในโครโมโซมบ่งชี้เพศขาดหายไป

โดยผลการศึกษาพบด้วยว่า ยิ่งผู้ชายสูบบุหรี่หนักมากขึ้นเท่าใด ปริมาณโครโมโซมวายของบุคคลนั้นก็จะหลงเหลือน้อยลงมากเท่านั้น

นายแพทย์ฟอร์สเบิร์กระบุว่า เซลล์ที่ขาดโครโมโซมวายไม่ถึงกับตายลง แต่เชื่อว่าการขาดหายไปของโครโมโซมวายดังกล่าวนั้นกลายเป็นอุปสรรคในการทำหน้าที่ต่างๆ ของเซลล์ให้ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่อธิบายได้ว่าเพราะเหตุใด ผู้ชาย (ทั้งที่สูบบุหรี่และโดยทั่วไป) จึงเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าผู้หญิง

ทั้งนี้ เนื่องจากโครโมโซมวายนั้นหายไปเองโดยธรรมชาติเมื่อสูงอายุขึ้นด้วย แต่จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะสูญเสียโครโมโซมวายนี้มากกว่าผู้ชายทั่วไประหว่าง 2.4-4.3 เท่าตัว

ฟอร์สเบิร์กระบุว่า โครโมโซมวายทำหน้าที่เหมือนสัญญาณเตือนภัยของระบบภูมิคุ้มกันว่าเซลล์กำลังถูกทำลายและมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น เพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำงาน การขาดหายไปจึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งซึ่งเกิดจากเซลล์แบ่งตัวผิดปกตินั่นเอง

ที่มา: มติชน 11 ธันวาคม 2557

รู้เท่าทัน อุบัติการณ์ ′มะเร็ง′

matichon141207_01จากสถิติล่าสุดขององค์การอนามัยโลกในปี 2551 พบว่า “โรคมะเร็ง” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 12.7 ล้านคน และผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งราว 7.6 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 13 จากสาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลก และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเป็น 21.4 ล้านคน และจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งราว 13 ล้านคน ประมาณ 70% ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ

ว่ากันในภาพรวมของคนทั่วโลกแล้ว สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 61,082 คน / ปี แบ่งเป็นเพศชาย 35,431 คน / ปี และเพศหญิง 25,645 คน / ปี ใน พ.ศ. 2554

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ รักษาการผู้อำนวยการ รพ.จุฬาภรณ์ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยแล้วอุบัติการณ์โรคมะเร็งจะคล้ายกับทั่วโลก ทั้งนี้ โรคมะเร็งที่เป็นปัญหาสำคัญในไทย 5 อันดับแรก ได้แก่มะเร็งตับและท่อน้ำดี  มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รายงานจาก Cancer in Thailand Volume. VII 2007- 2009 สามารถแยกมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก ตามเพศได้ คือ เพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สำหรับเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง

“อุบัติการณ์โรคมะเร็ง พบว่าในแต่ละประเทศอัตราการเสียชีวิตจะค่อยๆ แซงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วจะพบมะเร็งบางชนิดมากขึ้น เช่น มะเร็งเต้านม ส่วนหนึ่งคิดว่าน่าจะเกิดจากสิ่งแวดล้อม อาหารการกิน ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา อัตราการเกิดโรคก็ยังสูงอยู่เพราะผลการรักษายังไม่ได้ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนายังไม่แตกต่างกันมากนัก”

ศ.นพ.นิธิกล่าวต่อไปว่าปัจจัยหลักๆ ของโรคมะเร็งทุกชนิดให้มองไปที่ประวัติของคนในครอบครัวเป็นเรื่องพันธุกรรม ที่เราต้องรู้ แล้วต้องหมั่นมาตรวจเช็ก นอกจากนี้ ยังมี อาหาร อากาศ มลพิษ ที่เป็นปัจจัยรวมๆ ซึ่งเราจับชัดเจนได้ยาก แต่ถามว่ามีไหม มีแน่นอน อย่างเช่นสภาพแวดล้อมปัจจุบันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษมันเยอะขึ้น อย่างที่ รพ.จุฬาภรณ์ ไปทำโครงการที่บ้านหลวง จ. น่าน ก็พบว่าคนเป็นมะเร็งตับค่อนข้างเยอะ ตอนแรกนึกว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแต่ไม่ใช่

เพราะฉะนั้น ต้องอยู่ที่สภาพแวดล้อมซึ่งเรายังไม่รู้ต้องทำงานวิจัยต่อไป ส่วนการป้องกัน คือการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ต่างๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันคือการควบคุมน้ำหนักตัว เพราะเราพบว่า คนอ้วนมีแนวโน้มเป็นมะเร็งบางชนิดสูงมาก เราต้องหันมาออกกำลังกาย ลดเนื้อสัตว์ ไขมันสูง หันมาทานผักผลไม้กันมากขึ้นโอกาสเป็นมะเร็งก็จะน้อยลง อันนี้เป็นภาพรวมๆ ที่จะลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งได้”

สำหรับเรื่องที่คนในปัจจุบันเป็นมะเร็งขณะที่อายุยังน้อย ศ.นพ.นิธิ อธิบายว่า เกิดจากปัจจัยเสี่ยง บวกกับพันธุกรรม ทางการแพทย์อธิบายว่าคนที่เป็นมะเร็งต้องมีพันธุกรรมที่อ่อนแออยู่แล้วเมื่อเจอสิ่งแวดล้อม อาหาร ฯลฯ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงจึงทำให้เกิด “มะเร็ง” ง่ายขึ้น

ขณะที่คนบางคนมีพันุกรรมที่เข้มแข็งกว่าหรือปฏิบัติตัวดีกว่า เมื่อเจอสิ่งแวดล้อมเหมือนกันกลับไม่เป็น ด้วยเหตุนี้ ปัจจุบันทางการแพทย์จึงนำเรื่องพันธุกรรมมาใช้ในการป้องกัน รักษา ที่พูดถึงมากก็คือ Personalized medicine เมื่อมีมะเร็งบางอย่างที่มีจุดอ่อนอยู่ในยีนส์หรือพันธุกรรมก็จะแนะนำให้หลีกเลี่ยง หรือถ้าเป็นแล้วก็จะรักษาได้อย่างตรงจุด เฉพาะเจาะจง และไม่ไปทำลายเซลล์อื่นๆ รวมทั้งยังป้องกันไม่ให้กระจาย ที่เราเรียกว่า การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)

“ในปัจจุบันการรักษามีความก้าวหน้ามาก อย่างที่ รพ.จุฬาภรณ์ เราก็มีนวัตกรรมการตรวจพันธุกรรมเพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ และจะขยายออกไปให้ครอบคลุมมะเร็งชนิดอื่นๆ ในอนาคต ทั้งนี้ เรายังคงเน้นการตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะคนที่มีประวัติของคนในครอบครัวต้องทำการคัดกรองเร็วกว่าปกติ เรามีการพัฒนางานวิจัยอื่นๆ เช่น รังสีรักษา เคมีบำบัด มีเครื่องมือรังสีรักษาที่ทันสมัย และกำลังจะจัดหาที่ทันสมัยยิ่งขึ้น คือสามารถรักษาแบบเฉพาะเจาะจงของก้อนเนื้อได้มากขึ้น

แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น เราเน้นการรักษาทางด้านจิตใจ ทั้งคนไข้และญาติด้วยเพราะคนที่เป็นมะเร็ง เขามีความทุกข์มาก เหตุนี้จึงมีการรักษาแบบผสมผสาน เช่น การออกกำลังกาย เต้นแอโรบิก ร้องเพลง ศิลปะบำบัด ทำสมาธิ กายภาพบำบัด เราให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลจิตใจเท่าๆ กับการรักษาทางการแพทย์

แม้เทคโนโลยีสูงแค่ไหนแต่เราก็ไม่ควรลืมด้านนี้ เพราะมีข้อมูลเยอะแยะที่พบว่าการทำสมาธิในคนที่เป็นมะเร็งอายุจะยืนยาวมากขึ้นมีภูมิต้านทานสูงขึ้นมีความสุขมากกว่า ส่วนคนที่อยากใช้สมุนไพร หากเป็นมะเร็งแล้วควรจะตรวจในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันให้ครบถ้วนก่อน แล้วจึงดูข้อดีข้อเสียของสมุนไพรให้ชัดเจน ต้องมีความรู้ทั้งสองด้านแล้วจึงตัดสินใจ”

ศ.นพ.นิธิ กล่าวในตอนท้ายว่า มะเร็งเป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง คือ
1.รับประทานอาหารให้ถูกต้อง
2.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เรารู้ชัดๆ เช่น บุหรี่
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.ควบคุมน้ำหนัก
5.พักผ่อนให้เพียงพอ

การตรวจคัดกรองแต่ละคนในแต่ละช่วงอายุก็ควรจะทำ รู้เร็วโอกาสหายก็จะมากขึ้น ส่วนการรักษา นอกจากการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษาแล้ว การรักษาผสมผสานก็ควรทำควบคู่กันไป โดยเฉพาะเรื่องของสมาธิ การออกกำลังกาย โดยเฉพาะเรื่องจิตใจของคนไข้เป็นเรื่องสำคัญ

“หากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับมะเร็ง รพ.จุฬาภรณ์เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ยินดีต้อนรับ เพราะที่นี่เกิดจากพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่อยากให้คนไทยห่างไกลจากมะเร็ง และพระองค์ท่านอยากให้คนไทยพ้นทุกข์ให้ได้มากที่สุดไม่ว่าเขาจะมีฐานะอย่างไร”

ที่มา: มติชน 7 ธันวาคม 2557

การกระแอมมีผลต่อเสียงอย่างไร

dailynews141129_02การไอเป็นกลไกตอบสนองต่อสิ่งระคายเคือง เพื่อกําจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ ถึงแม้ว่าการไอ หรือการ กระแอม จะสามารถเกิดขึ้นในทุกคน แต่หากพบว่ารุนแรง หรือบ่อยเกิน ก็อาจทําให้เกิดเสียงผิดปกติได้ โดยจะส่งผล กระทบกระเทือนต่อเยื่อบุกล่องเสียง และทําให้การทํางานของกล่องเสียงผิดปกติไป

สาเหตุของการไอ หรือการกระแอมบ่อย ๆ เกิดขึ้นจากมีความต้องการกําจัดเสมหะในลําคอมากเกินไป หรือใช้การไอเพื่อกําจัดความรู้สึกไม่สบายในลําคอ หรือการไอ การกระแอม ได้ทำเป็นนิสัย ทำโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้ ในบางคนการรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจก่อให้เกิดการระคายคอบ่อย ๆ ทําให้เกิดเสมหะมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการไอ หรือกระแอม เพื่อขับเสมหะออกมา

นอกจากนี้ กรณีกล่องเสียงขาดความชุ่มชื้น ก็อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุของการใช้ยา แอนติ-ฮิสตามีน การสูบบุหรี่ หรือแอลกอฮอล์ หรือการทํางานของต่อมขับเมือกในกล่องเสียงผิดปกติ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทําให้เกิดการกระแอมอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความรู้สึกที่ไม่สบายในลําคอ รวมทั้งกรณีเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกล่องเสียงและเนื้อเยื่อข้างเคียง เนื่องจากการไหลกลับของกรดกระเพาะอาหารผ่านหลอดอาหารมาสู่กล่องเสียง ซึ่งจะทําให้เกิดความรู้สึกอยากไอ หรือ กระแอม ขึ้นได้นั่นเอง

 

สามารถหยุดการไอ หรือกระแอมบ่อย ๆ ได้อย่างไร

1. หยุดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่จากบุคคลอื่น

2. ควรบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนให้น้อยที่สุด เนื่องจากเครื่องดื่มประเภทเหล่านี้ทําให้สายเสียงแห้ง แต่หากบริโภคเครื่องดื่มเหล่านี้ไปแล้ว ควรดื่มน้ำเปล่าให้สมดุลกัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่สายเสียง

3. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานยาที่มีฤทธิ์ขับน้ำออกจากร่างกาย เช่น ยา แอนติ-ฮิสตามีน

4. ควบคุมการไอ หรือกระแอมของตนเอง หรือพยายามไอ หรือกระแอมให้น้อยที่สุด

5. ใช้การกลืนและการผ่อนลมหายใจแทนการ กระแอม

6. เมื่อมีความรู้สึกอยากไออย่างรุนแรง ให้ใช้การไอ “แบบไม่มีเสียง” คือ พยายามระวังไม่ให้มีเสียงเกิดขึ้นขณะที่ลมจากปอดพุ่งขึ้นมา

7. ในบางคน ถ้าการหัวเราะกระตุ้นให้เกิดการไอ ก็ใช้การหัวเราะเบา ๆ แทนการหัวเราะเสียงดัง

8. การควบคุมการไอและกระแอมบ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเสียงแหบ อาจทําเป็นตารางบันทึกลักษณะนิสัยของตนเองในแต่ละช่วงเวลาในแต่ละวัน เพื่อเตือนตนเองให้ลดสาเหตุการกระแอม หรือไอ และดื่มน้ำให้มากขึ้น

9. ถ้าพบอาการแสบร้อนในอก หรือกระเพาะ และภายในปากมีรสเปรี้ยว อาจหมายถึง กรดในกระเพาะอาหารผ่านมาที่กล่องเสียง ให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ คือ การรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือเผ็ดจัด การรับประทานอาหารก่อนนอน และการรับประทานอาหารปริมาณมากจนทําให้อิ่มเกินไป นอกจากนี้ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับสู่กล่องเสียง

อย่าลืมว่า สุขภาพดีไม่มีขาย สิ่งหนึ่งที่สามารถปฏิบัติด้วยตัวเอง คือ การเฝ้าระวัง สังเกตและปฏิบัติตัวให้ถูกวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวเรา หากมีอาการผิดปกติต้องปรึกษาแพทย์ทันที.

อาจารย์ปาริชาต คุณาธรรมรักษ์
หัวหน้าสาขาแก้ไขการพูด
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: เดลินิวส์ 29 พฤศจิกายน 2557

ยาอมแก้เจ็บคอก่อเชื้อดื้อยา

dailynews141018_01คนจำนวนมากที่มีอาการเจ็บคอ แล้วไปซื้อยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอมารับประทานเอง ซึ่งยาอมบางชนิดอาจมียาปฏิชีวนะผสมอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า อาการการเจ็บคอ ส่วนใหญ่ 70-90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะทุกรูปแบบ ทั้งตัวยาแบบเดี่ยว และแบบที่ผสมอยู่ในยาอม โดยการรักษาอาการเหล่านี้สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เช่น
1. กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
2. ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง
3. ใช้สมุนไพรฟ้าทลายโจร ซึ่งจัดเป็นยาในกลุ่มบรรเทาอาการกลุ่มทางเดินหายใจซึ่งมีการรับรองสรรพคุณอยู่แล้ว
4. การสร้างเสริมภูมิต้านทานของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึก อย่าสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ยิ่งทำให้ไอมากขึ้น

แต่ปัญหาที่พบขณะนี้คือคนไทยนิยมซื้อ “ยาอมแก้เจ็บคอ” มาใช้บรรเทาอาการ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะยาอมแก้เจ็บคอหลายยี่ห้อที่วางขายตามท้องตลาด มีส่วนผสมของนีโอมัยซิน และเบซิทราซิน ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะเป็นส่วนผสม

นีโอมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่แพทย์ใช้เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ระหว่างการผ่าตัดลำไส้ของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด

ส่วนเบซิทราซิน แม้จะไม่มีอันตรายกับร่างกายมากแต่ก็ถือเป็นยาปฏิชีวนะ โดยยาทั้ง 2 ประเภทนี้ไม่มีประโยชน์ต่อการรักษาโรค ในทางกลับกันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่ไปทั่วโลกที่ยังไม่สามารถหาทางแก้ไขได้

สาเหตุที่ยาอมเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยาเป็นเพราะนีโอมัยซิน และเบซิทราซิน ผสมอยู่ในปริมาณน้อยจึงไม่สามารถฆ่าเชื้อให้หมดไปได้ แต่ก็เพียงพอที่จะก่อกวนเชื้อโรคให้เกิดการต่อต้าน และกลายพันธุ์เป็นเชื้อโรคดื้อยาทั้ง 2 ตัว และจะยิ่งก่อปัญหาร้ายแรงขึ้นไปอีก เพราะเชื้อโรคจะยิ่งพัฒนาตัวเองให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเดียวกันอีกหลาย ๆ ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่วงการแพทย์กำลังเป็นห่วง และต้องการให้มีการถอนการจำหน่าย ออกไป

ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอซึ่งมียาปฏิชีวนะเป็นส่วนผสมไม่ควรมีวางจำหน่ายในท้องตลาดอีกต่อไป เพราะไม่มีประโยชน์ต่อการรักษาโรค การอมยาปฏิชีวนะไม่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ และไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อในลำคอ แต่การกลืนยาปฏิชีวนะลงไปในท้องทีละน้อย ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา นี่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของปัญหาเชื้อดื้อยาในประเทศไทยและเป็นปัญหาของทั่วโลก จากการใช้ยาที่ไม่จำเป็นต้องใช้

ในกรณีที่มีคนบอกว่าเมื่ออมยาอมแก้เจ็บคอเหล่านี้แล้วมีอาการดีขึ้นนั้น เป็นเพราะองค์ประกอบที่ 3 คือ มีตัวยาอะมัยโลเคน หรือยาชา เป็นส่วนผสม ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บคอในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้หายขาด ดังนั้นยาอมบรรเทาอาการแก้เจ็บคอมีเพียงยาชาเป็นส่วนผสมแค่ตัวเดียวก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมียาปฏิชีวนะร่วมด้วย

อย่างไรก็ตามอย่าคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาเล็ก ๆ เพราะเมื่อรู้ว่านี่คือองค์ประกอบหนึ่งของปัญหาใหญ่ ทำไมจึงไม่เร่งดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง เรื่องแบบนี้ไม่ต้องรอให้เกิดการสูญเสียเป็นตัวเลขออกมา เพราะเพียงแค่เกิดปัญหากับคน 1 คน ก็ถือว่าเป็นความสูญเสียมหาศาลแล้ว ถ้ายังปล่อยให้มีการขายยาอมที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะต่อไป เข้าข่ายเป็นยาที่ไม่มีประโยชน์ที่ต้องตั้งคำถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีหลักฐานยืนยันได้หรือไม่ยาอมนี้ออกฤทธิ์ดีจริงจึงยอมให้ขายได้.

ที่มา : เดลินิวส์ 18 ตุลาคม 2557

พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิด ’โรคหัวใจ’ ในคนไทย

dailynews140823_02โรคหัวใจ เป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในลำดับต้น ๆ สาเหตุสำคัญก็เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย การหาแนวทางป้องกันและกระบวนการรักษาจึงมีความสำคัญมาก เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยโรคหัวใจหายขาดและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไป

ปัญหาโรคหัวใจในปัจจุบันมีหลากหลายแบบ เช่น หัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หัวใจอุดตัน หัวใจล้มเหลว ระบบไฟฟ้าในหัวใจเต้นผิดปกติ แต่โรคหัวใจที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตได้มาก จะเป็นกรณีหัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดอุดตัน ที่มักจะพบอยู่เป็นประจำในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

เมื่อพบว่าเป็นหัวใจขาดเลือดและหลอดเลือดอุดตัน ก็มักจะมีอาการตามมาด้วยโรคหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเพราะหัวใจขาดเลือด และส่งผลให้ระบบไฟฟ้าในหัวใจรวนได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดจะทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 6 คนต่อหนึ่งชั่วโมง ซึ่งอาจมีตัวเลขที่มากขึ้นได้หากพิจารณาตามขนาดของจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

รูปแบบพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

1) กรรมพันธุ์ ที่จะส่งผ่านมาจากทางบิดา มารดา ที่เป็นโรคหัวใจ จะส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าปกติ

2) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวเอง เช่น เป็นไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน แต่ไม่ควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งการกิน การออกกำลังกาย รวมไปถึงการสูบบุหรี่ ส่งผลทำให้สามารถเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

สำหรับคำแนะนำ ในผู้สูงอายุ ต้องอธิบายว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว แต่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อายุน้อย ๆ เปรียบเสมือน ท่อนํ้าที่สะสมสิ่งต่าง ๆ จนท่อสกปรก ไม่ได้เกิดขึ้นจากการสะสมเพียงไม่กี่วัน หรือไม่กี่ปี แต่ใช้เวลานานถึง 10 ปี จึงจะพบปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้

ดังนั้น จึงไม่ควรประมาทในการดูแลตัวเองตั้งแต่ยังวัยรุ่นและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง อาทิ หนังสัตว์ หมูสามชั้น ของทอด หมั่นออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพอยู่เสมอ

หลายคนอาจคิดว่า ออกกำลังกายทุกวันสุขภาพจะแข็งแรง ไม่น่าจะเป็นโรคอะไร แต่การที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ตรวจวัดไขมันในเลือดว่าสูงหรือไม่ หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นหรือไม่ บางคนคิดว่าร่างกายผอม ไม่คิดว่าจะเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะคนที่มีรูปร่างผอม บางทีอาจจะสูบบุหรี่จัด หรือมีกรรมพันธุ์ที่แย่มากก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้ ไม่ต่างจากคนที่มีรูปร่างอ้วนและนํ้าหนักเกินกว่าปกติ

สิ่งสำคัญเน้นยํ้าอีกทีว่า ไม่ควรประมาทในการใช้ชีวิตทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การขจัดความเครียดที่เกิดจากการทำงาน เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจช่วยให้คุณหลุดพ้นจากการมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้นั่นเอง.

ผศ.นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ที่มา : เดลินิวส์ 23 สิงหาคม 2557

 

NCD โรคไม่ติดต่อ โดย ผศ.ดร.พญ.มยุรี หอมสนิท

manager140625_01“องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันทั่วโลก เกิดจากกลุ่มโรคเรื้อรัง NCD มากถึง 68%”
NCD ย่อมาจาก Non Communicable Disease หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ โรคกลุ่มนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่สำคัญและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในคนส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างไม่เหมาะสม ทั้งในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย ร่วมกับความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ซึ่งทำให้เกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน มะเร็ง โรคเหล่านี้อาจนำไปสู่โรคที่รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง และโรคสมองเสื่อมจากสาเหตุต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลง มีความพิการ หรือแม้แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พ.ศ.2551 (ไม่แตกต่างจากสถานการณ์ปัจจุบันมากนัก) มียอดผู้เสียชีวิต 57 ล้านคน ปรากฏว่า 36 ล้านคน หรือ 63% เกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อ อันดับ 1 คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (48% หรือ 17.28 ล้านคน) โรคมะเร็ง (21% หรือ 7.6 ล้านคน) โรคระบบหายใจเรื้อรัง (12% หรือ 4.2 ล้านคน) และโรคเบาหวาน (ที่เป็นสาเหตุโดยตรง 3.5% หรือ 1.3 ล้านคน) ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดมาจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากไป

และจากพฤติกรรมยังเป็นที่มาของโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 16.5% ของทั่วโลกจากการสูบบุหรี่ และจากน้ำตาลในเลือดสูง 9% การไม่ออกกำลังกาย 6% และน้ำหนักเกิน 6% หรือภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 5% อีกด้วย

จากสถิติจะเห็นได้ว่า คนทุกวัยมีสิทธิ์ที่จะเป็น แต่โรคเรื้อรังกลุ่มนี้มักพบในผู้สูงอายุ ที่มีการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การสูบบุหรี่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ล้านคนทุกปี รวมถึงผู้ที่เสียชีวิตจากการสูดควันบุหรี่จากผู้อื่น และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้าน นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิต 3.2 ล้านคน จากการที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ มีผู้เสียชีวิต 2.5 ล้านคน จากการดื่มแอลกอฮอล์ 1.7 ล้านคน เสียชีวิตจากการรับประทานผลไม้และผักน้อยไป

ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยกลุ่มโรค NCD ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งเราพิจารณาจากน้ำหนักตัวของประชากร ที่อยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มโรค NCD

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 มิถุนายน 2557

 

manager140702_01

ปรับพฤติกรรม ปลอดภัยจาก NCD
“ในเรื่องของกลุ่มโรคเรื้อรัง NCD ที่มาพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เป็นเรื่องที่ควรรู้ รวมถึงการปรับพฤติกรรม เพื่อให้ห่างไกลจากลุ่มโรคเรื้อรังเหล่านี้”
ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยกลุ่มโรค NCD จะเริ่มจากภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วมักจะเป็นเรื้อรังโดยตามมาด้วยโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ถ้าเป็นโรคเบาหวาน อาจจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังเหล่านี้ มาจากพฤติกรรมที่ไม่สมดุลกัน ทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานที่สะสม จนเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น

เริ่มแรกเราต้องตระหนักว่า โรคเรื้อรังต่างๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง และส่งผลกระทบกับคนในครอบครัว เมื่อตระหนักแล้วก็ต้องรู้จักปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราเคยปฏิบัติกันมาจนเคยชิน ซึ่งทำได้ไม่ยาก โดยเริ่มต้นจากปัจจัยสำคัญที่สุดคือ อาหารที่เรารับประทาน ไม่ควรเป็นอาหารที่หวานจัด อาหารที่มีความมัน และอาหารรสเค็ม เครื่องดื่มก็เช่นกัน น้ำหวานน้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มที่หวานมัน เช่น กาแฟปั่น กาแฟเย็นก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ นำมาซึ่งโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน ซึ่งไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง
นอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม ก็ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานผักมากๆ ผลไม้สด ที่ไม่หวานจัดในปริมาณที่พอดี เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนและช่วยการขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย
นอกจากนี้ เรื่องของการทำงาน พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย 3 อย่างนี้มักจะมาด้วยกัน เนื่องจากการทำงานเป็นเวลานาน จนแทบไม่มีเวลาพักผ่อน รวมถึงการออกกำลังกาย ซึ่งถ้าไม่ปรับพฤติกรรมเหล่านี้ ก็จะเกิดปัญหาต่อสุขภาพ ดังนั้น ควรให้เวลาในการทำกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันใน 1 สัปดาห์ ทำให้ได้ประมาณ 5 ครั้ง ก็จะเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ที่สำคัญต้องงดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด หากทำได้ โอกาสการเกิดโรคในกลุ่ม NCD ก็ลดลงตามไปด้วย

 

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 กรกฎาคม 2557

แนวทางดูแลสุขภาพ…ให้ลมหายใจ ไร้มะเร็งปอด

dailynew140525_02ทุก ๆ วันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปีถือเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งปอด อีกทั้งการสูบบุหรี่ยังไม่ใช่เพียงแค่ก่อโรคร้ายให้ตัวเองเพียงคนเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างและคนที่เรารักด้วย

มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับ และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ผู้ป่วยเพศหญิงก็พบสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดส่วนใหญ่ มักจะมีประวัติการสูบบุหรี่ โดยทั่วไปพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่จัด 1 ซองขึ้นไปต่อวัน หรือผู้ที่สูดเอาควันบุหรี่เข้าไปจะมีอายุสั้นกว่าคนปกติทั่วไป 7-10 ปี และผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันยาวนานตั้งแต่ 10-20 ปี จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด รวมถึงการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็มีอันตรายต่อสุขภาพและก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน เนื่องจากคนส่วนใหญ่ทราบว่าในบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินน้อยกว่าบุหรี่จริง ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความถี่ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงขึ้น จึงไม่แตกต่างจากการสูบบุหรี่จริง

สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอด นอกจากการสูบบุหรี่แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกันและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น บุหรี่มือสอง (ได้รับควันบุหรี่จากคนรอบตัว) มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ผู้คนหนาแน่น หรือ เขตอุตสาหกรรม รวมทั้งสารบางชนิด เช่น แร่ใยหิน สารหนู โครเมียม นิกเกิ้ล นํ้ามันดิน สารไฮโดร คาร์บอน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี ควันไฟจากการเผาขยะการเผาป่าหรือกิจการทางการเกษตร ควันจากธูป ควันที่เกิดจากการประกอบอาหาร และยาลูกกลอน หรือในสมุนไพรจีนบางชนิดที่มีสารหนูปนเปื้อนควรหลีกเลี่ยง

อันตรายของมะเร็งปอด ก็เหมือนมะเร็งชนิดอื่น คือระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการ จนกว่าโรคจะลุกลามไปมากแล้ว การตรวจพบในระยะเริ่มแรกเป็นไปได้ยาก การตรวจเอกซเรย์ปอด และการตรวจร่างกายประจำปีทั่วไปก็ไม่อาจตรวจพบมะเร็งปอด จะสามารถตรวจพบด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่จึงมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งปอดคือ ไอเป็นเวลานาน อาการไม่ทุเลาเหมือนการไอปกติ แต่กลับเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น เสียงแหบ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไอ หรือ มีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก หัวไหล่ หลัง และแขนเป็นประจำ (อาจเป็นเพราะก้อนเนื้อเบียดกดอยู่) เบื่ออาหาร นํ้าหนักลด มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือ แขน รวมถึงเป็นโรคปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบบ่อย ซึ่งหากผู้ป่วยรอสังเกตอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา หรือมาพบแพทย์   เมื่อแสดงอาการแล้ว มักจะตรวจพบว่าเป็นมะเร็งลุกลามมาก หรืออยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว

ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ที่สูดควันบุหรี่เป็นประจำ และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดสม่ำเสมอ ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งปอดมีหนทางในการดูแลรักษา และส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะแรกและมีการรักษาที่ถูกต้อง โดยมากผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะที่ 2 และ 3 เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถหายเป็นปกติได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาภายในเวลา 3-6 เดือนผู้ป่วยจะเสียชีวิต ซึ่งความก้าวหน้าในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดสามารถทำได้โดย การเอกซเรย์ การเจาะเลือดตรวจหามะเร็งในเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารบ่งชี้ อัลตราซาวด์ ถอดรหัสดีเอ็นเอ เพื่อแยกสายพันธุ์มะเร็งปอดในระดับโมเลกุล ส่วนการรักษาสามารถทำได้โดยการผ่าตัด การฉายแสง การใช้เคมีบำบัด และการใช้ยายับยั้งยีนเพื่อการรักษาตามเป้าหมาย

การจะรักษาโรคมะเร็งให้หายขาดนั้น ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งที่ส่วนใดก็ตาม หลักการง่าย ๆ คือ ต้องกำจัดมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ก่อนที่มะเร็งจะเติบโตและเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะสำคัญอื่น ๆ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ผู้ป่วยบางส่วนไม่กล้ามาพบแพทย์ เนื่องจากหวาดกลัวต่อวิธีรักษาและผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการให้ยาเคมีบำบัด หรือมาพบแพทย์ก็ต่อเมื่ออาการอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งในปัจจุบันแนวทางการรักษาและยามะเร็งนั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เข้าใจ เนื่องจากได้มีการพัฒนาคิดค้นสูตรยาใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วยน้อยลง และเอื้อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ทั้งนี้ความรักความเข้าใจจากครอบครัว และกำลังใจอันเข้มแข็งของผู้ป่วยเอง จะเป็นพลังสำคัญให้ผู้ป่วยเอาชนะโรคร้ายได้สำเร็จในที่สุด

แต่ทางที่ดีเราควรดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง และป้องกัน…ให้ลมหายใจ ไร้มะเร็งปอด ซึ่งมีแนวทาง ดังนี้

1.    การป้องกันขั้นปฐมภูมิ ซึ่งเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง มลพิษ และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ควรงดไม่ว่าจะเป็นบุหรี่จริง หรือบุหรี่ไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม การป้องกันขั้นปฐมภูมินี้ เป็นวิธีที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะแค่ก้าวออกจากบ้านเราก็ได้รับสารก่อมะเร็งจาก ฝุ่นควัน และมลพิษต่าง ๆ แล้ว

2.    การป้องกันขั้นทุติยภูมิ หรือเมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งแล้ว ควรออกกำลังกายเพิ่มภูมิคุ้มกัน เมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่าง ๆ ได้ ก็ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เน้นผักและผลไม้ปลอดสารพิษ รวมไปถึงปลาทะเลต่าง ๆ

3.    การป้องกันขั้นตติยภูมิ ด้วยการตรวจสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจคัดกรอง

ฉะนั้น มะเร็งปอดจะลดลงได้เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ลดลง แต่ด้วยเทคโนโลยี และมลพิษที่สูงขึ้น บวกกับภาวะโลกร้อน ทำให้การกระจายตัวของมลพิษมีมากขึ้นด้วย การป้องกันโรคมะเร็งปอดสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่าง ๆ และตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี และหากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอดแล้ว การรักษาจะช่วยลดความทรมานของผู้ป่วย ให้มีชีวิตอยู่ได้นาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ข้อมูลจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นรินทร์ วรวุฒิ หน่วยมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา: เดลินิวส์ 25 พฤษภาคม 2557

ระวังเสียฟัน เพราะรำมะนาด โดย ทญ. วลัยลักษณ์ เกียรติธนากร

bangkokbiznews140227_001เหงือกจ๋าฟันลาก่อน…เป็นวลีตลกๆ ที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า อวัยวะในช่องปากที่เรียกว่า “เหงือก” นั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน

เหงือกเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะปริทันต์ที่ทำหน้าที่ยึดฟันไว้ในกระดูกขากรรไกร และรองรับแรงในการบดเคี้ยว ปกติจะมีสีชมพู ขอบเรียบ ไม่บวม ไม่มีเลือดออก แต่ถ้าใครที่มีปัญหาเลือดออกขณะแปรงฟัน ขอให้พึงระวังว่านั่นอาจเป็นสัญญาณของ…โรคเหงือกอักเสบ ที่เป็นต้นตอหลักของการสูญเสียฟันได้เลยทีเดียว

ทญ. วลัยลักษณ์ เกียรติธนากร ผู้อำนวยการศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นในประชากรถึงร้อยละ 80 มีลักษณะคือ เหงือกมีสีแดง อาจจะมีลักษณะบวมเล็กน้อย และสิ่งที่จะใช้สังเกตได้ง่ายคือ “การมีเลือดออกขณะแปรงฟัน” สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบคือ “คราบจุลินทรีย์” ซึ่งเกิดจากการสะสมของเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในน้ำลายลงบนตัวฟัน ลักษณะของคราบจุลินทรีย์เป็นคราบสีขาวอ่อนนุ่ม

เมื่อมีปริมาณน้อยมักจะมองไม่เห็นเนื่องจากมีสีกลืนไปกับตัวฟัน หากคราบจุลินทรีย์ถูกทิ้งไว้นานจะเกิดการสะสมแร่ธาตุเกิดเป็น “หินน้ำลาย หรือหินปูน” ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้น เชื้อโรคที่เกาะบนหินน้ำลายนี้จะผลิตสารพิษทำให้ร่างกายมีการตอบสนองจนเกิดการอักเสบของเหงือกขึ้น

โรคเหงือกอักเสบหากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ในผู้ป่วยบางรายจะกลายเป็น “โรคปริทันต์อักเสบ” สมัยก่อนเรียก ” โรครำมะนาด” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียฟันในวัยผู้ใหญ่ ลักษณะของโรคปริทันต์อักเสบคือ เหงือกไม่ยึดกับฟัน ร่วมกับมีการทำลายกระดูกที่รองรับตัวฟัน ตรวจได้จากการใช้เครื่องมือเล็กๆหยั่งร่องเหงือกลงไปได้ลึก เรียก “ร่องลึกปริทันต์” ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคผลิตสารพิษและกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของร่างกายอย่างมาก จนเกิดการทำลายเหงือกและกระดูกที่ยึดฟัน

โรคปริทันต์อักเสบเมื่อเป็นช่วงต้นมักจะไม่มีอาการ ลักษณะที่พอจะใช้สังเกตได้คล้ายกับลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ กล่าวคือ เหงือกแดง บวมเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน เมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนกระดูกที่รองรับฟันถูกทำลายไปมากแล้ว อาจจะพบ เหงือกร่น ฟันโยก หรือฟันเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม การมีหนองและกลิ่นปาก หรือเหงือกบวมใหญ่จนเป็นฝีปริทันต์ เมื่อมีอาการเหล่านี้แล้วการรักษามักจะยุ่งยาก ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง และในบางกรณีอาจจะไม่สามารถเก็บฟันไว้ได้

สำหรับการรักษาโรคเหงือกอักเสบนั้น ทญ. วลัยลักษณ์ บอกว่า สามารถรักษาได้ง่ายโดยการขูดหินน้ำลาย (ขูดหินปูน) ร่วมกับการพัฒนาวิธีการแปรงฟันและใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสะสมใหม่ของคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค โดยสำหรับคนส่วนใหญ่ควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุกๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรคเหงือกอักเสบ

อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีการละลายของกระดูกแล้ว ขั้นตอนการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ

“ช่วงต้น หรือช่วงควบคุมโรค” โดยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งจึงจะเสร็จทั้งปาก ขึ้นอยู่กับความลึกของร่องลึกปริทันต์และปริมาณหินน้ำลายใต้เหงือก

“ช่วงแก้ไข” ในรายที่ผู้ป่วยเป็นโรคในระดับที่รุนแรงมากขึ้น การรักษาช่วงต้นอาจจะยังไม่สามารถกำจัดคราบหินน้ำลายใต้เหงือกได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเหงือกในบางบริเวณร่วมด้วย ในบางกรณีที่เหมาะสมอาจสามารถทำศัลยกรรมปลูกกระดูกทดแทนได้ด้วย

และการรักษาโรคปริทันต์อักเสบช่วงสุดท้ายคือ “ช่วงคงสภาพ” เนื่องจากสาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบคือเชื้อโรคจากน้ำลายที่มาสะสมบนตัวฟัน และแม้การรักษาจะเสร็จสิ้น หากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคจะกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ดังนั้นหลังจากการรักษาแล้วผู้ป่วยควรได้รับการขูดหินน้ำลายเพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรค ทุก 3-6 เดือน เนื่องจากโรคปริทันต์อักเสบ เป็นผลจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อโรคในคราบจุลินทรีย์ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันก็จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบสูงขึ้น

ปัจจัยที่มีผลอย่างเด่นชัด คือโรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบมากถึง 2 เท่าของผู้ป่วยที่ไม่มีโรคนี้ และหากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี โอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบจะมากกว่าผู้ป่วยปกติถึง 11 เท่า เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ ทั้งนี้หากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และลดหรือเลิกสูบบุหรี่โอกาสในการรักษาโรคปริทันต์ให้ได้ผลสำเร็จจะมีมากขึ้น

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 27 กุมภาพันธ์ 2557

บุหรี่เมนทอล อันตรายยิ่งกว่า

dailynews130729_001สิงห์อมควันหลายคนคิดอยากเลิกบุหรี่ แต่ด้วยเหตุผลต่างๆ ทำให้ยังเลิกไม่ได้ ยิ่งไปทราบว่ามีบุหรี่บางแบบมีกลิ่นรสพิเศษ โดยผู้ผลิตระบุสรรพคุณว่า สูบแล้วไม่ระคายคอ อย่างเช่น “บุหรี่เมนทอล” เมื่อได้ทราบเช่นนี้จึงไม่แปลกที่หลายคนยังเลิกไม่ได้ แถมเข้าใจว่า บุหรี่เมนทอล สูบแล้วอันตรายน้อยลง

ล่าสุด องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (เอฟดีเอ) เผยผลวิจัยว่า บุหรี่ซิกาแรตที่มีรสเมนทอลมีอันตรายต่อสุขภาพมากยิ่งกว่าบุหรี่ทั่วไป เนื่องจากตัวบุหรี่ที่ทำให้ผู้สูบรู้สึกเย็นในลำคอและทำให้ชา ลดการระคายเคืองเวลาสูบนั้น ส่งผลให้คนที่ทดลองสูบบุหรี่ประเภทนี้ติดง่าย แถมเลิกยากกว่าบุหรี่ทั่วไป และเอฟดีเอยังประกาศว่าจะหาช่องทางควบคุมไม่ให้มีการผสมเมนทอลในบุหรี่ซิกาแรต

ด้านมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ หน่วยงานที่พยายามลดการสูบบุหรี่ของคนไทย “ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ” เลขาธิการมูลนิธิฯ กล่าวเพิ่มเติมในกรณีบุหรี่ผสมสารเมนทอลว่า มาตรา 9 อนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำให้ประเทศสมาชิกออกกฎหมายห้ามบริษัทบุหรี่เติมสารปรุงแต่ง ที่ทำให้การสูบบุหรี่ง่ายขึ้นรวมถึงการเติมสารเมนทอล และประเทศบราซิลได้ห้ามใส่เมนทอลในบุหรี่แล้ว แต่ประเทศส่วนใหญ่ยังไม่สามารถออกกฎหมายที่ห้ามเติมเมนทอลได้ เนื่องจากการคัดค้านของบริษัทบุหรี่ รวมถึงประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายนี้

แม้บ้านเราจะยังไม่มีข้อห้ามทำบุหรี่ผสมสารปรุงแต่ง เช่น สารเมนทอล แต่เมื่อสิงห์อมควันได้รับทราบข้อมูลนี้แล้ว โปรดรู้ไว้ว่า บุหรี่แบบที่ยิ่งสูบง่าย ก็ยิ่งติดง่ายนะ.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com

ที่มา : เดลินิวส์ 29 กรกฎาคม 2556

 

.

Related Article :

.

F.D.A. Closer to Decision About Menthol Cigarettes

By Published: July 23, 2013

WASHINGTON — Moving closer to a decision on whether to ban menthol in cigarettes, the Food and Drug Administration released a scientific review on Tuesday that found the mint flavoring made it easier to start smoking and harder to quit, and solicited public comment on “potential regulation” of menthol flavored cigarettes.

These steps pleased smoking opponents who have been calling for F.D.A. action since 2009, when Congress exempted menthol from a ban on flavors in cigarettes, leaving the agency to decide whether its use is a danger to public health. Menthol cigarettes account for about a third of all cigarettes sold in the United States and are particularly popular among black smokers, about four out of five of whom report smoking them, according to federal surveys.

Still, the action was only an intermediate step in what advocates say has been a prolonged regulatory process and comes at a time when menthol smoking rates for young adults have been increasing.

Many had expected the F.D.A. to act on menthol in 2011 after a Congressionally mandated committee of outside experts, convened by the agency, found that menthol had a negative effect on public health. The findings by the agency on Tuesday echoed those conclusions, leaving smoking opponents frustrated that it had not clearly signaled an intent to ban menthol.

“This is either a way to take the heat off, or the beginning of a meaningful process,” said Matthew L. Myers, president of the Campaign for Tobacco-Free Kids, an advocacy group. “That’s the book the jury is still out on.”

Mitchell Zeller, the new director of the drug agency’s Center for Tobacco Products, said the steps the agency took Tuesday showed that it was moving forward as fast as it could, but he emphasized that they did not foreshadow a ban. The public comment period will be open for 60 days.

“The F.D.A. is a regulatory agency,” Mr. Zeller said on a conference call with journalists. “As a regulatory agency, we can only go as far as the regulatory science will take us.”

Lorillard, the biggest manufacturer of menthol cigarettes in the United States, said in a statement that “the best available science demonstrates that menthol cigarettes have the same health effects as nonmenthol cigarettes and should be treated no differently.”

Indeed, the F.D.A.’s review found that menthol cigarettes did not increase the risk of disease compared with smoking nonmenthol cigarettes. The agency did find, however, that the mint flavoring made people more likely to start smoking, and led to greater dependence on nicotine and decreased rates of quitting, conclusions that opponents of smoking say should spur the agency to action.

Mr. Myers said the timing of the announcement was most likely linked to an international trade dispute. The United States has until Wednesday to comply with a World Trade Organization ruling that the American ban on clove cigarettes under the 2009 law violated Indonesia’s trade rights if the United States itself continued to allow the sale of menthol-flavored cigarettes.

Indonesia, a maker of clove cigarettes, brought the suit. The United States contended that menthol posed a different public health risk, but the trade organization did not accept its argument.

Menthol flavoring makes an otherwise harsh cigarette more palatable for young people who are first-time smokers, smoking opponents say. And while smoking rates have been declining across the nation, rates for menthol cigarettes among 18- to 25-year-olds have climbed — to 16 percent in 2010 from 13 percent in 2004, according to a 2011 federalreport.

Young blacks are particularly vulnerable, smoking opponents say. More than three-quarters of black adolescent and young adult smokers use Newports, a menthol cigarette produced by Lorillard, according to a 2004 study.

2011 study led by a Stanford University researcher found that stores within walking distance of California high schools attended by large numbers of black students were more likely to advertise menthol cigarettes. It also found that Newports, the most popular brand of menthol cigarettes, tended to be cheaper.

Lorillard disagreed with the conclusion, saying that it marketed its products “uniformly throughout California,” and that retailers themselves set prices.

The issue of race has complicated discussions of menthol, said Valerie Yerger, a researcher at the University of California, San Francisco, who provided testimony to the drug agency and its expert panel in 2010. Several black groups lobbied against a ban on grounds that it would discriminate against blacks, since a larger proportion of them prefer menthol cigarettes.

The racial politics are delicate, experts said, though it is not clear whether they are contributing to the slowness of the regulatory process.

Many smoking opponents seem willing to give Mr. Zeller, a 55-year-old lawyer named in March to lead the F.D.A.’s tobacco unit, the benefit of the doubt. He began his career at the Center for Science in the Public Interest, a consumer health advocacy group, and many smoking opponents see him as a strong public health proponent.

“I’m cautiously optimistic that he’s going to move to meaningful action on menthol,” said Joelle Lester, a Minnesota-based lawyer with the Tobacco Control Legal Consortium, a nonprofit network of legal centers for tobacco control policy.

The F.D.A. also announced that it would conduct a public education campaign focused on young people this year, and said it was commissioning three new pieces of research related to menthol, including one on genetic differences in taste perceptions that might explain why some racial and ethnic populations are more likely to smoke menthol cigarettes.

“The bottom line is, we need more information,” Mr. Zeller said. “We also need input from the public.”

SOURCE : www.nytimes.com

 

รู้จัก ‘มะเร็งตับ’

dailynews130727_001จากกรณีนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “พี่เป้า” สายัณห์ สัญญา ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับระยะ 4  โดยที่เจ้าตัวก็ยังงงอยู่เหมือนกันว่า เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพตลอด แล้วป่วยได้อย่างไร เชื่อว่าแฟนเพลงหลายคนที่ติดตามข่าวสารของพี่เป้าอย่างใกล้ชิดด้วยความเป็นห่วง คงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับโรคนี้

นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า มะเร็งตับพบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้ชาย และอันดับ 3 ในผู้หญิง ปีหนึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ชนิดที่พบบ่อยเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตับ กับเซลล์ท่อน้ำดีในตับ โดยมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ท่อน้ำดีในตับพบมากทางภาคอีสาน จากการกินปลาดิบ บวกกับอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่ใส่ดินประสิว อาหารหมักดอง ทั้งนี้มะเร็งตับอาจเกิดจากตัวของมันเอง หรือมะเร็งที่อื่นกระจายมาที่ตับก็ได้

“มะเร็งตับ” กับ “มะเร็งตับอ่อน” ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นอวัยวะคนละส่วนกัน  มะเร็งตับไม่กระจายไปตับอ่อน แต่มะเร็งตับอ่อนกระจายไปยังตับได้  เพราะฉะนั้นถ้าเจอทั้งมะเร็งตับและตับอ่อนในผู้ป่วย แสดงว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนแล้วกระจายไปที่ตับ

คนที่ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ อาจจะเป็นมะเร็งตับได้ จากไวรัสตับอักเสบบีและซี  การดื่มเหล้าเป็นประจำจนเกิดภาวะตับแข็ง การกินอาหารที่มีเชื้อรา โดยเฉพาะธัญพืชมีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง พริกป่น เป็นต้น

ส่วน “มะเร็งตับอ่อน” พบน้อยกว่ามะเร็งตับ 10 เท่า ปีหนึ่งพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 1,300 คน  มีเซลล์ 2 ชนิดที่เป็นบ่อย คือ เซลล์ท่อตับอ่อน เป็นมะเร็งได้ 90-95% เป็นแล้วรุนแรง ส่วนอีกชนิดคือเซลล์จากต่อมไร้ท่อ พบไม่บ่อย พบได้ประมาณ 5-10% เจริญเติบโตช้ากว่า การรักษาจะดีกว่า

“มะเร็งตับอ่อน” อาจมีปัจจัยมาจากการสูบบุหรี่ เพราะตับอ่อนไวต่อสารก่อมะเร็ง คนไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ จากภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง บ้านเรามักเกิดจากการดื่มสุรา แต่บางครั้งก็ไม่รู้สาเหตุ หรือคนที่เป็นโรคเบาหวาน กินอาหารที่มีไขมันสูง เป็นโรคอ้วน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับอ่อนได้

มะเร็งตับ ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม ระยะที่ 2 ก้อนใหญ่ขึ้น กินเส้นเลือดที่อยู่ในตับ  ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามกินเส้นเลือดใหญ่ และระยะที่ 4 มะเร็งกระจายไปยังอวัยวะอื่น

การรักษามะเร็งตับจะใช้วิธีการผ่าตัด  ถ้าก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กสามารถใช้ความร้อนจี้ได้  ส่วนการฉายแสงค่อนข้างลำบาก เพราะเนื้อตับจะถูกทำลาย

มะเร็งตับอ่อน  ระยะที่ 1 จำกัดอยู่เฉพาะในตัวตับอ่อน ระยะที่ 2 กระจายไปนอกตับอ่อนบริเวณต่อมน้ำเหลืองโดยรอบ  ระยะที่ 3 ลุกลามไปสู่เส้นประสาทและหลอดเลือดใหญ่ในช่องท้อง และระยะที่ 4 กระจายไปยังอวัยวะอื่น การรักษามะเร็งตับอ่อนใช้วิธีการผ่าตัดเช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าเป็นส่วนไหนของตับอ่อน เพราะวิธีการรักษาต่างกัน เช่น ส่วนหัวอาจผ่าตัดได้ยาก

เมื่อเป็นมะเร็งระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย หากผู้ป่วยไม่รักษาเลย อาจมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-5 เดือน แต่ถ้ารักษา ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสม อาจช่วยยืดชีวิตไปได้ 2 เท่าหรือประมาณ 10 เดือน หรืออาจอยู่ได้นานกว่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งที่เป็นด้วย ในทางการแพทย์การยืดชีวิตผู้ป่วยออกไปถือว่าได้ประโยชน์.

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ที่มา : เดลินิวส์ 27 กรกฎาคม 2556