เตือนภัยหญิงปวดท้องน้อยเรื้อรัง

thairath140228_001เมื่อพูดถึงอาการปวด ไม่ว่าจะปวดอวัยวะใดคงไม่มีใครอยากประสบอย่างแน่นอน อาการปวดท้องน้อย เรื้อรังเป็นปัญหาที่หลายคนเข็ดขยาด เนื่องจากผู้ป่วยมักต้องทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน อีกทั้งยังเป็นโรครักษายาก ทําให้แพทย์ผู้รักษาปวดศีรษะไปด้วย

อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะโครงสร้างทางร่างกายเอื้อต่อการเกิดความผิดปกติที่ทําให้เกิดอาการปวด และมีอวัยวะกับระบบการทํางานของร่างกายที่เอื้อให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังได้ โดยทั่วไปการปวดท้องน้อยเรื้อรังเป็นอาการปวดบริเวณเชิงกราน ท้องน้อยหรือ บริเวณใกล้เคียงเป็นระเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผู้ป่วยจํานวนมากไม่สามารถประกอบภารกิจได้ตามปกติจากอาการปวด หลายคนต้องลาออกจากงาน เพราะเมื่อมีอาการปวดไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดทั่วไป ทําให้คนป่วยบางรายมีความผิดปกติทางจิตติดตามมา เช่นมีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์แปรปรวน

อาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีลักษณะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ คือ พยาธิสภาพ ของอวัยวะที่ทําให้เกิดอาการปวด เช่น หากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์สตรี เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจมีอาการปวดมากหรือ น้อยตามวงรอบของฮอร์โมนเหมือนการปวดประจําเดือน แต่จะปวดรุนแรงกว่า หากอาการปวดเกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะจะเกี่ยวข้องกับการถ่ายปัสสาวะหรืออั้นปัสสาวะ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อย และปวดมาก ในบางรายถ่ายปัสสาวะวันละ 40-50 ครั้ง หากอาการปวดจากลําไส้ก็อาจมีความผิดปกติในการขับถ่ายอุจจาระ หรือหากปวดจากกล้ามเนื้อก็อาจปวดตามแนวกล้ามเนื้อนั้นๆ

จะเห็นได้ว่าอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากหลายสาเหตุ อาการที่พบบ่อย คือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบรุนแรง ซึ่งการอักเสบนี้ ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเหมือนการอักเสบทั่วไป แต่เกิดจากการที่น้ําปัสสาวะซึมผ่านสู่ชั้นกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ โดยปกติกระเพาะปัสสาวะจะมีเยื่อบางๆ หุ้มอยู่เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะซึมสู่ผนังกระเพาะปัสสาวะ เพราะเกลือแร่ต่างๆ ในปัสสาวะจะก่อให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงมาก ทําให้เกิดอาการปวด อาการปวดจากสาเหตุนี้มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมด้วย โดยจะปวดมากเมื่ออั้นปัสสาวะ และทุเลาลงมื่อถ่ายปัสสาวะเสร็จ

อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นอีก เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมีเยื่อบุโพรงมดลูกมาเกาะนอกมดลูกบริเวณเชิงกราน ทําให้มีอาการปวด เพราะมีการคั่งของเยื่อบุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวงรอบของฮอร์โมน นอกจากนี้ อาการปวดยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การอักเสบของลําไส้ใหญ่ กล้ามเนื้อเชิงกราน อักเสบ ข้อต่อต่างๆ บริเวณเชิงกรานอักเสบ หรือแม้แต่ก้อนนิ่วบริเวณท่อไตส่วนล่างก็ทําให้มีอาการปวดร้าวลงมา ที่เชิงกรานและท้องน้อยได้

วิธีการวินิจฉัยภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มมีอาการและผล จากการรักษาก่อนหน้า เพราะอาจมีผลข้างเคียงหรือเกี่ยวข้องกับอาการในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยให้แพทย์วินิจฉัยง่ายขึ้นและช่วยให้รักษาอาการได้จริง ผู้ป่วยจึงควรให้ความสําคัญกับคําถามของแพทย์ซึ่งผู้ป่วย ควรจะทบทวนและลําดับเหตุการณ์ให้ดีก่อน อาทิ อาการปวดเริ่มจากบริเวณใด ร้าวไปทางไหน มีกิจกรรม หรือเหตุการณ์อะไรทําให้ปวดมาก อาการปวดเกี่ยวข้องกับรอบเดือนหรือไม่ การเดินการก้าวขาทําให้ปวดมากขึ้นหรือไม่ ที่ผ่านมามีอะไรช่วยบรรเทาปวดบ้างหรือไม่ รับประทานอาหาร อะไรแล้วทําให้ปวดมากขึ้น

แพทย์จะทําการตรวจร่างกายโดยละเอียด โดยตรวจทางทวารหนักเพื่อสํารวจหาจุดปวด ตรวจเอกซเรย์อัลตราซาวด์ ตรวจปัสสาวะและส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ หลังจากนั้นจะรวบรวมผลต่างๆ แล้ววินิจฉัย เพื่อให้การรักษาให้ถูกจุด เช่น หากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก็จะให้การรักษาทางฮอร์โมน หากพบว่ากระเพาะปัสสาวะมีการอักเสบรุนแรงก็จะให้ยาระงับอาการปวดร่วมกับการใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ

สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถช่วยแพทย์ได้ คือต้องสังเกตว่ามีเหตุใดกระตุ้นให้มีอาการปวดรุนแรง โดยเฉพาะกรณีที่ปวดจากความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งต้องหลีกเลี่ยงอาหารหลายชนิดที่ทําให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดสูง เช่น เนย สารปรุงรส อาหารรสจัด สุดท้าย อย่าเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาเร็วเกินไป เพราะหลายโรคไม่สามารถ รักษาหายในเร็ววัน โรคบางชนิดอาจจะไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แต่สามารถแก้ปัญหาจนอาการปวดลุล่วงได้ และในบางรายอาจต้องใช้การผ่าตัด ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและยังไม่ได้พบแพทย์เฉพาะด้าน จึงควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาที่ถูกต้องอย่าทนจนเกิดอาการแทรกซ้อนที่ยากต่อการรักษา

ศ.นพ.วชิร คชการ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

ที่มา : ไทยรัฐ 28 กุมภาพันธ์ 2557

′กล้ามเนื้ออ่อนล้า′ โรคฮิตพนักงานออฟฟิศ

matichon131218_001กล้ามเนื้อปวดล้า อาการธรรมดาของพนักงานออฟฟิศ อาจเข้าข่ายโรค WMSDs ที่กำลังเป็นปัญหาระดับชาติ 

โรงพยาบาลนครธน ร่วมกับ บริษัท อังกฤษตรางู (แอล.พี.) จำกัด จัดให้ความรู้ “ห่างไกลกล้ามเนื้อปวดล้าจาก WMSDs เพื่อสุขภาพที่ดีของหนุ่มสาวออฟฟิศ” 
 
โดยมี นพ.ภรชัย อังสุโวทัย รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และศัลยแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญกระดูกและข้อ ร.พ.นครธน อธิบายว่า WMSD ซึ่งเป็นคำย่อของ Work-Related Musculoskeletal Disorders คือ อาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างของกระดูก ได้แก่ เส้นเอ็น ข้อต่อ หมอนรองกระดูกสันหลัง และเส้นประสาท ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ซึ่งอาการบาดเจ็บมีตั้งแต่น้อยไปจนถึงมาก แต่ยกเว้นอุบัติเหตุต่างๆ ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน เช่น พลัดตกหกล้ม ลื่น ข้อเท้าพลิก หรืออุบัติเหตุอื่นๆ 
 
อาการ WMSDs มักเกิดกับผู้ที่ทำงานในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ อยู่เป็นประจำ หรืออาจใช้ท่าที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการปวดทั้งในระหว่าง หรือหลังทำงาน เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องโดยไม่เปลี่ยนท่า
 
สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคด้วย เช่น การทำงานในสถานที่คับแคบ ด้านจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน สารบางอย่างที่หลั่งในสมอง จะส่งสัญญาณมาที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว เกร็งตัว เกิดอาการเจ็บขึ้นได้
 
จากการสำรวจพบว่า โรคนี้เป็นต้นเหตุ ให้สูญเสียเวลาในการทำงานถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละ 15-20 พันล้านเหรียญสหรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา พบว่า 34 เปอร์เซ็นต์ สูญเสียเวลาทำงานเพราะโรคนี้ ในต่างประเทศจึงจัดตั้งเป็นองค์กรดูแลสวัสดิภาพพนักงาน พบว่าช่วยลดตัวเลขของคนป่วยลงได้อย่างมาก
 
แต่ประเทศไทยมองไม่เห็นความสำคัญในการรณรงค์ป้องกันเหมือนในต่างประเทศ ที่เป็นอยู่ คือ การแก้ปัญหาตามหลัง เมื่อเกิดอาการแล้ว 
 
ทั้งนี้ อยากฝากถึง 3 ฝ่าย ได้แก่
1.เจ้าของธุรกิจควรหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพบุคลากร โดยดูแลเครื่องใช้สำนักงานให้ถูกสุขลักษณะ มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนตำแหน่ง เพื่อลดการทำงานซ้ำๆ เป็นต้น
 
2.รัฐบาลควรกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพบุคลากร หรือออกมาตรการจูงใจต่างๆ
3.พนักงานและบุคคลทั่วไป ควรใส่ใจการปรับท่ายืน เดิน นั่ง ให้ถูกต้อง เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงในการทำงานต่างๆ และดูแลสุขภาพ ระวังอย่าให้เครียดมากเกินไป มิฉะนั้นปัญหาของโรค WMSDs ก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิม
 
การรักษาอาการสามารถใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของยาในกลุ่มต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากปวดมากสามารถใช้ยาทาควบคู่กับยาชนิดรับประทานได้ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรังตามมาได้ เช่น เส้นเอ็นยึดกระดูกอักเสบ ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ การบวมอักเสบของข้อต่อที่หัวไหล่ และพังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ ทำให้เกิดอาการมือชา โดยหากกายภาพบำบัดเป็นเวลานาน แล้วยังไม่หาย อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด  (ที่มา:ข่าวสดออนไลน์)
ที่มา : มติชน 18 ธันวาคม 2556

โรคเกาต์ หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่

dailynews131103_001aโรคเกาต์เป็นโรคเกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคส่วนเกินในร่างกาย ที่พบมากคือ ในข้อต่าง ๆ หรือบริเวณรอบ ๆ ข้อ ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ ถ้าตกตะกอนในไตทำให้เกิดนิ่วในไตได้และถ้าเป็นเรื้อรัง จะมีการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ เห็นเป็นปุ่มก้อนตามแขนขาได้

ร่างกายสร้างกรดยูริคมาจากสองแหล่งคือ กว่าร้อยละเก้าสิบเกิดจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองจากการสลายเซลล์ ถ้ากรดยูริคถูกสร้างขึ้นมากกว่าไตที่ทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาก็ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเกาต์ขึ้น

ส่วนที่เหลือ 10% เกิดจากการกินอาหารบางชนิดที่มีสารที่เรียกว่าพิวรีนสูง ซึ่งสารพิวรีนนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะย่อยสลายกลายเป็นกรดยูริค เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ

ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเกาต์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน คนทั่วไปจึงมักเข้าใจว่าทานอาหารที่มีพิวรีนมาก ๆ จะทำให้เป็นโรคเกาต์

นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริคอีกด้วย

คนส่วนใหญ่จะรู้จักโรคนี้ดี มักจะเดาได้ว่าเป็นโรคเกาต์เพราะผู้ป่วยจะมีอาการชัดเจนคือ “ปวด บวม แดง ร้อน” ตามข้อและข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า มักเป็นข้อ ๆ เดียว ในบางครั้งที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบ ๆ ข้อจากตะกอนกรดยูริค

dailynews131103_001c

คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเมื่อปวดข้อโรคเกาต์แล้วควรตรวจระดับกรดยูริคในเลือดทันที แต่ความจริงคือในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่ากรดยูริคไม่สูงหรือเป็นปกติได้ครับ

ระดับกรดยูริคจึงไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะที่ปวดข้อครับ เช่น ถ้าข้อเท้าปวด บวม แดง ร้อนที่ชัดเจน แม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูง ก็น่าจะเป็นเกาต์ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยโรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็ง, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดบางชนิด มีโอกาสเป็นโรคเกาต์ได้มากกว่าคนทั่วไป

เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกาต์การรักษาในระยะเฉียบพลันคือการให้ยาลดการอักเสบ ยาแก้ปวด พักการใช้ข้อ ในการรักษาระยะยาวจะให้ยาลดกรดยูริคในเลือด การใช้ยาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะผลข้างเคียงของยารักษาโรคเกาต์พบได้ค่อนข้างบ่อย

และเมื่อมีข้ออักเสบ อย่านวดข้อนั้นเพราะการนวดจะทำให้อาการอักเสบเป็นนานขึ้นและหายช้า

ส่วนการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงไม่มีความจำเป็นมากนัก ยกเว้นในรายที่มีประวัติเป็นข้ออักเสบชัดเจนเวลาทานอาหารประเภทนั้น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์

เห็นได้ว่าโรคเกาต์ยังเป็นโรคที่หลายคนเข้าใจผิด ทำให้เกิดความลำบากในการรักษาและสร้างความทุกข์กับผู้ป่วยด้วย.

นายแพทย์ถนัด ไพศาขมาศ (อายุรแพทย์)

ที่มา : เดลินิวส์ 3 พฤศจิกายน 2556

น้ำตาลหนึ่งเข็มสามารถบรรเทาอาการปวดเข่าจากข้อเสื่อม

New solution: A sugar solution injected into the knee may be a new method of treating osteo-arthritis

New solution: A sugar solution injected into the knee may be a new method of treating osteo-arthritis

น้ำตาลหนึ่งเข็มสามารถบรรเทาอาการปวดหัวเข่าจากการปล่อยเซลล์ซ่อมแซมเอ็นที่เสียหาย

  • การบำบัดแบบ Prolotherapy เกี่ยวข้องกับการฉีดสารละลายน้ำตาลที่หัวเข่า
  • การกระตุ้นนี้ปล่อยเซลล์ที่สามารถช่วยให้เกิดกระบวนการเยียวยาข้อเสื่อม

การใช้สารละลายน้ำตาลเดกซ์โทรส 10 -25 % ฉีดเข้าไปในข้อเข่าอาจเป็นวิธีใหม่ในการรักษาโรคข้อเสื่อม โดยน้ำตาลและน้ำจะช่วยลดอาการปวดและตึงโดยการกระตุ้นกลไกการซ่อมแซมร่างกายตามธรรมชาติ

โซลูชั่นหวานทำงานโดยทำหน้าที่เป็นระคายเคืองอ่อนภายในข้อต่อวิกฤติการอักเสบในระดับต่ำ

การอักเสบนี้ไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ที่รุนแรง แต่เพียงจะกระตุ้นการปล่อยเซลล์ที่สามารถช่วยในการรักษาความเสียหายบางส่วนที่เกิดจากโรค

มีการศึกษาล่าสุดที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในสหรัฐอเมริกา

อ่านเพิ่มเติม

.

Sweet release: The treatment, known as prolotherapy, is thought to work by triggering the release of cells that repair damaged ligaments in the knee

Sweet release: The treatment, known as prolotherapy, is thought to work by triggering the release of cells that repair damaged ligaments in the knee

A dose of sugar can ease the pain of creaky knees by releasing cells that repair damaged ligaments

  • Prolotherapy involves injecting a sugar solution into the knee
  • This stimulates the release of cells that can help the healing process

By PAT HAGAN

PUBLISHED: 21:11 GMT, 8 July 2013

A sugar solution injected into the knee could be a new way to treat osteo-arthritis. Research suggests the sugar and water mixture reduces pain and stiffness by stimulating the body’s natural repair mechanisms.

The sweet solution works by acting as a mild irritant inside the joint, triggering low-level inflammation.

This inflammation is not enough to cause any severe harm, but is sufficient to stimulate the release of cells that can help to heal some of the damage caused by the disease.

Doctors use a solution containing water and between 10 and 25 per cent dextrose, a type of sugar.

They use dextrose because it is cheap, readily available and safe – causing only mild irritation inside the knee joint. The treatment, known as prolotherapy, is thought to work by triggering the release of fibroblasts, cells that build and maintain connective tissue such as ligaments.

The fibroblasts repair damaged ligaments in the knee, making it more stable and relieving discomfort.

In a recent study at the University of Wisconsin in the U.S., researchers recruited 90 men and women with painful knee osteoarthritis and split them into three groups.

One group received three separate sugar jabs, each one four weeks apart, and another had injections of a salt water solution.

The last group did not have any injections but instead followed an at-home exercise regimen designed to alleviate some of the pain and discomfort.

Each volunteer was monitored using a scoring  system, called the Western Ontario McMaster University Osteo-arthritis Index, to measure the severity of the condition. The 12-minute test uses a 100-point scale  and includes questions on how easy it is to use the stairs, get in and out of a car or put on a pair of socks.

The results, published in the Annals of Family Medicine, showed that one year after the treatment began, the sugar jab group had the biggest improvement in symptoms and were better able to carry out everyday activities.

On average, the sugar group improved by a total of 16 points, compared with five points for salt water jabs and seven for the exercise group. The team are unsure why salt water was not as effective as sugar.

This technique is also being tried in other conditions such as chronic back pain and tennis elbow.

Commenting on the approach, Professor Alan Silman, medical director of Arthritis Research UK, said: ‘Though some “irritant” treatments can be effective, much more work is needed before a treatment based on sugar solution could be recommended to patients.’

Meanwhile, scientists have designed a special glove that may ease the pain of hand arthritis.

Around 130 people who suffer from rheumatoid and osteoarthritis are being treated with the compression glove in a new clinical trial.

The gloves are made from a special fabric that when stretched (when it is worn) puts pressure on the hand and joints.

It’s thought that the pressure might trigger mild inflammation, which, unlike severe inflammation, eases pain although it is not clear why.

In the year-long trial, due to start in September and being  co-ordinated by the University of Salford, patients will be given the compression gloves as part of their usual care.

They will be assessed before and after for pain and stiffness.

SOURCE: www.dailymail.co.uk

โรคปวดจากมะเร็งฝึกทำสมาธิช่วยทุเลาลงได้

dailynews130616_002aมะเร็งระยะสุดท้ายคนไข้มักจะพบกับอาการปวดเสมอ ปวดจนทรมานมาก กินไม่ได้ นอนไม่หลับ พลิกไปพลิกมาด้วยความไม่สบายใจ มีความรู้สึกว่าถ้าไม่ปวดไม่เจ็บ อยู่ ๆ จะวืดไม่รู้สึกตัวไปเลยก็ยังยอม เพราะผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะรู้และยอมแล้วว่าสุดท้ายของโรคจะเป็นอย่างไร ทำใจกันมาแล้วเป็นเดือนเป็นปี แต่ที่ยังคิดกังวลตลอดคือความทรมานเรื่องปวด เบาปวดคราใดจะค่อยสบายใจทันที

ความเจ็บปวดมีการบำบัดรักษากันมามากมายหลายแบบตั้งแต่ยากิน ยาทา ยานวด ฉีดยาเข้าที่ประสาท ไปจนถึงต้องใช้ยาแรงสุดเป็นพวกฝิ่น อาจกิน ฉีด ผสมในน้ำเกลือ แล้วให้เป็นระยะตามต้องการ ประเภทฉีดก็ฉีดเมื่อปวดมากหรือเป็นระยะเช่นเดียวกัน บางคนมีความอดทนมาก นาน ๆ พอไม่ไหวจะค่อยเอ่ยปากขอสักครั้ง บางคนที่อดทนมากไม่ขอเลยก็มี หรือเปลี่ยนเป็นยาง่วง ๆ หลับแทน ผมเคยไปตามชนบท ตามป่าเขา มีการอมฝิ่นดิบระงับปวดทำให้ทุเลาไปได้เช่นกัน

dailynews130616_002b

โดยสรุปแล้วเรื่องมะเร็ง ถ้าไม่ปวดคงเป็นบุญไม่มีปัญหาอะไร แต่มักจะพบมีอาการปวดเข้ามาร่วมด้วยเสมอ เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีโอกาสคุยกับ พระภิกษุ ดร.ปพนพัชร์ จิรธัมโม เจ้าอาวาสวัดคำประมง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงการบำบัดดูแลมะเร็งระยะสุดท้าย โดยใช้สมุนไพรและทำสมาธิบำบัดเรื่องปวด ไม่ยอมให้ยาช่วยเลย และกำลังถูกเชิญไปพูดแก่ผู้สนใจที่โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จ.ราชบุรี ฟังเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 56 เลยถือโอกาสตามไปฟังด้วย

วัดคำประมง จ.สกลนคร รักษาคนไข้มะเร็งระยะสุดท้ายมาร่วมสิบปีแล้ว มีเตียงรับคนไข้กินอยู่เสร็จ คนไข้ที่มารวมแล้วราว 3,500 คน เป็นมะเร็งทุกรูปแบบหลากหลายชนิด ส่วนใหญ่จะไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นมาก่อน มักผ่านการตรวจชิ้นเนื้อ เอกซเรย์ ผ่าตัด ฉายรังสีและเคมีบำบัดมาแล้ว ทางวัดคำประมงมีแพทย์อาสาหลายท่านมาช่วย หนึ่งในนั้นคือ นพ.ศิริโรจน์ กิตติสารพงษ์ คอยช่วยกลั่นกรอง ตรวจ วินิจฉัยโรคให้รู้ประวัติรายละเอียดเพื่อจะได้พิจารณาดำเนินการรักษาต่อไป

คุณวิไลลักษณ์ ตันติตระกูล เป็นหนึ่งในจิตอาสาที่มาช่วยงานที่นี่ พร้อมศึกษาปริญญาโทจนสำเร็จ ขณะนี้กำลังทำปริญญาเอกอยู่ ได้ช่วยประสานงานกับเจ้าอาวาสซึ่ง คนมักเรียกหลวงตา ให้ได้มาคุยและบรรยายครั้งนี้ ผมเคยไปที่วัดมา 2 ครั้งแล้ว พอได้เห็นภาพว่าเขาให้การรักษากันอย่างไร วัดนี้เป็นที่สนใจ คนมาดูงานกันมากทั้งไทยและต่างชาติ มาเป็นจิตอาสาช่วยงาน ช่วยเหลือคนไข้ ช่วยงานของวัดในการดูแลคนไข้ ศึกษาและวิจัยพร้อม ทุกอย่างไม่ได้เก็บเงินคนไข้ ผลงานของที่นี่เด่นทำให้มีผู้ใจบุญกุศลได้ช่วยบริจาคกันเข้ามาอยู่ตลอด

การรักษาแบบองค์รวม : หลาย ๆ อย่างมารวมกัน ด้านธรรมะ จะมีการสวดมนต์ ทำบุญใส่บาตร ทำสมาธิ สมุนไพรบำบัด : คุณหมอพัฒธิกรณ์ ไวยสิงห์ ผู้มีความรู้ดีมากด้านสมุนไพรมาช่วยจัดยาให้ สมุนไพรจะต้มอยู่ในหม้อดินใหญ่หลายหม้อ กินกันตามโรคที่เป็น ทุกคนมีความหวังว่ากินแล้วอาการของโรคจะค่อยทุเลาลง อายุยืนยาวไปนานที่สุด นอกจากนี้มี การออกกำลังกาย จิตเวชบำบัด ดนตรีบำบัด เป็นองค์รวม คนไข้จะถูกรักษาทั้งกายและจิตไปพร้อมกัน ในความรู้สึกที่คนไข้ชอบคือ มีคนดูแลตลอด ไม่ถูกทอดทิ้ง

ทำสมาธิบำบัดอาการปวด : ในห้องประชุม รพ.ศูนย์ราชบุรี มีคนไข้หลายท่านที่ผ่านช่วงวิกฤติของการเจ็บป่วย อาการค่อยดีขึ้น อยู่ในระยะโรคสงบได้มาคุยเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง โดยเฉพาะเรื่องปวดว่า เวลาปวดแล้วทำอย่างไร คุณกนกวรรณ เกษแก้ว เป็นมะเร็งเต้านม ได้เล่าให้ฟังถึงอาการปวดที่สุดแสนจะสาหัสว่า มีแผลเต้านมด้วย ผ่านการรักษามาจากโรงพยาบาลทุกอย่างแล้ว ความอดทนเป็นเรื่องสำคัญมาก ฝึกทำสมาธิทุกวัน สรุปว่าแรก ๆ ก็ยังปวดอยู่ จนมาถึงจุดหนึ่งก็จะคลายลงหรือเอาชนะจนได้ โดยไม่เคยใช้ยาแก้ปวดช่วยเลย หลวงตามีกลยุทธ์ในการรักษาดีมาก คอยถามบ่อย ๆ ว่า ตอนตายจะให้หลวงตาเป็นประธานเผาศพหรือไม่ ความกลัวตายทำให้ลืมเรื่องปวดไปหมด

โดยสรุปแล้ว การรักษาที่วัดเป็นแบบองค์รวมของแพทย์ทางเลือก ประกอบด้วยหลายอย่างร่วมกัน คนไข้ร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือกันเอง  มีจิตอาสาคอยช่วยและให้คำแนะนำ มีเพื่อนทุกข์คนไข้ด้วยกัน ไม่เหงาไม่ถูกทอดทิ้ง สบายใจมาก

การทำสมาธิเป็นแบบหนึ่งของวิธีการบำบัดจากมะเร็งระยะสุดท้าย คงจะต้องมีการเตรียมตัวและฝึกเป็นพื้นฐานมาก่อน ทั้งนี้ต้องอาศัยความอดทนและมีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นหลัก เมื่อมีคนนำทางว่ามันเป็นไปได้ คนหลัง ๆ ก็น่าจะปฏิบัติตามและน่าจะเป็นไปได้เช่นกัน ข้อมูลเพิ่มเติม คุณวิไลลักษณ์ ตันติตระกูล 08-9202-9559.

นพ.สุวิทย์ เกียรติเสวี
suvit.kiatisevi@gmail.com

ที่มา : เดลินิวส์  16 มิถุนายน 2556

นิ่วในถุงน้ำดีไม่มีอาการต้องผ่าออกหรือไม่?

dailynews130512_004โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่เราได้ยินกันบ่อย คนเป็นกันมาก เป็นแล้วก็มารับการรักษาอาจมีอาการหรือไม่มีอาการ พวกที่มีอาการก็มารับการรักษามักผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก พวกไม่มีอาการก็รอดูกันต่อไป คิดว่ายังปกติดีจะไปให้ผ่าตัดเอาออกทำไม ชีวิตประจำวันก็อยู่สุขสบายดี ไม่อยากไปเสี่ยงกับการผ่าตัด เป็นปัญหาที่จะได้มาคุย ฟังเหตุผล ผลดีหรือไม่ดีให้กระจ่างขึ้น

ถุงน้ำดี เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย เป็นถุงขนาดหัวแม่มืออยู่บริเวณใต้ตับทางด้านขวาของช่องท้อง ปากถุงจะเป็นท่อนำน้ำดีที่อยู่ในถุงลงสู่ลำไส้เล็ก เมื่อเรารับประทานอาหาร น้ำดีในถุงน้ำดีจะถูกขับออกเพื่อไปย่อยอาหาร ตอนปลายท่อจะมีทางติดต่อไปยังท่อของตับอ่อนด้วย (ดังรูป) ในน้ำดีเองประกอบด้วยคอเลสเตอรอล ฟอสโฟไลปิด และเกลือของน้ำดี

ผู้ที่มักเป็นบ่อย มักเป็นสตรีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป รูปร่างเจ้าเนื้อหน่อย กินดีอยู่ดี สูบบุหรี่ รูปร่างสมบูรณ์ดี บุตรหลายคน เป็นตามตำราเก่าที่บอกไว้ มาทุกวันนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว พบได้ทั่วไป ในบ้านเราพบเกินแสนคนต่อปี ด้วยการกินดีเกินไป ทำให้เกิดการไม่สมดุลของสารประกอบน้ำดี ตกเป็นตะกอนเกิดนิ่วขึ้น

ส่วนประกอบของนิ่ว ทางประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐ อเมริกา มักพบนิ่วมีลักษณะเป็นไขมันยุ่ยใช้ยาละลายสลายได้ ส่วนทางตะวันออก เช่น ในบ้านเรามักพบมีแคลเซียมร่วมด้วย แข็ง ใช้ยากินไปละลายไม่สำเร็จ จึงต้องรักษาโดยผ่าตัดออกอย่างเดียว

อาการแสดง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะบ่นให้ฟังถึงอาการปวดเสียดแน่นท้องหลังอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก จะอืด แน่นนานทีเดียว บางครั้งจะปวดจี๊ด ๆ เกร็ง แล้วจะค่อยผ่อนคลายลง หากปล่อยไว้นานขึ้น ก้อนนิ่วอาจกลิ้งไหลลงไปอุดท่อน้ำดี จะทำให้มีอาการปวดท้องเกร็ง ปวดรุนแรงมากจนตัวงอด้วยนิ่วติดค้างในท่อน้ำดี หากปล่อยทิ้งไว้นานนิ่วไปอุดท่อน้ำดีสนิท จะทำให้ร่างกายตัวเหลือง ตาเหลือง และถ้าถุงน้ำดีมีอาการอักเสบร่วมด้วย จะมีอาการไข้ ปวดท้องมากจนถึงในถุงน้ำดีกลายเป็นหนองขังอยู่จะปวดมาก ต้องรีบผ่าตัดทันที

การตรวจ ง่ายและสะดวกที่สุดคือ การทำอัลตราซาวด์บริเวณตับ เร็ว ประหยัด ไม่เจ็บ จะเห็นถุงน้ำดีพร้อมนิ่ว อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน ขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้

ผมมาคุยเรื่องนิ่วในถุงน้ำดีวันนี้ เนื่องด้วยอาทิตย์ที่แล้ว นพ.สุกิจ พันธ์ุพิมานมาศ ศัลยแพทย์ รพ.ราชวิถี ผู้ทำเรื่องผ่าตัดโรคนิ่วในถุงน้ำดีมากท่านหนึ่ง ได้ไปพูดให้สมาชิกสโมสรโรตารี่กรุงเทพบางลำพู ณ ศศินนิเวศน์ จุฬาฯ ในประเด็นที่ว่า เมื่อเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีแล้วไม่มีอาการ ชีวิตอยู่เป็นปกติดี สมควรจะต้องผ่าตัดเอาถุงน้ำดีพร้อมนิ่วออกหรือไม่

เรื่องนี้เป็นที่สนใจกันมาก มีสมาชิกหลายท่านเป็นกันด้วย จะตัดสินใจอย่างไรดี คุณหมอสุกิจ พันธ์ุพิมานมาศ ได้บอกว่าโรคนี้เป็นกันทั่วโลก รพ.ราชวิถี ปีหนึ่งคนมาป่วยด้วยโรคนี้ถึง 400 ราย ผู้ที่มาด้วยอาการปวด แน่นอนคงต้องผ่าตัดออก การผ่าตัดปัจจุบันใช้ผ่านทางกล้อง เจาะรูบริเวณหน้าท้อง 4 รูเล็ก ๆ ใส่เครื่องมือลงไป ถ้าไม่มีโรคอะไรมาแทรกซ้อน ใช้เวลาผ่าตัดไม่เกินหนึ่งชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อย อยู่โรงพยาบาลเพียงคืนเดียว รุ่งขึ้นก็กลับบ้านได้

ส่วนพวกที่ยังไม่อยากผ่าตัด อาจรอได้ แต่ต้องรอคอยด้วยความระมัดระวังเพราะอาจเกิดอาการปวดขึ้นมาทันทีเมื่อไรก็ได้ จากนิ่วไปอุดท่อน้ำดีหรือถุงน้ำดีเกิดการอักเสบ จำเป็นต้องผ่าตัดทันที ผู้ที่อยู่ระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ อยู่กลางทะเล อยู่ป่า ต้องวางแผนให้ดี และการผ่าตัดช่วงฉุกเฉินร่างกายต้องอยู่ในสภาพดีด้วย หัวใจปอดดี ร่างกายแข็งแรง โดยภาพรวมแล้วรอได้ ควรอยู่สถานที่มาโรงพยาบาลสะดวก และต้องให้ร่างกายอยู่สภาพแข็งแรงดี พร้อมผ่าตัดได้ด้วย เป็นข้อคิดที่ต้องรับไว้พิจารณา หากเป็นประเทศทางตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา พบนิ่วแล้วแม้ไม่มีอาการก็จะผ่าตัดเอาออก
ทุกราย

โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบบ่อยในบ้านเรา รายที่มีอาการปวด แน่นท้องบ่อย คงต้องผ่าตัดเอาออก ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการพบโดยบังเอิญอาจรอได้ แต่ควรจะอยู่ใกล้โรงพยาบาล หากเกิดอาการปวดจะได้ผ่าตัดได้ทันที และต้องดูแลสภาพร่างกายให้สุขภาพดีพร้อมที่จะผ่าตัดได้ด้วย.

นพ.สุวิทย์ เกียรติเสวี
suvit.kiatisevi@gmail.com

ที่มา :  เดลินิวส์  12 พฤษภาคม 2556

การทำสมาธิสามารถบรรเทาอาการปวดที่เกี่ยวข้องจากความเครียดเช่นโรค IBS และโรคข้ออักเสบ

The study suggests gaining 'inner peace' can have a very real outward effect

The study suggests gaining ‘inner peace’ can have a very real outward effect

การทำสมาธิสามารถบรรเทาอาการปวดที่เกี่ยวข้องจากความเครียด เช่น โรคลำไส้แปรปรวน IBS และโรคข้ออักเสบ

Meditation can ease pain from stress-related conditions like IBS and arthritis

  • Mindfulness meditation involves ‘being present’ by focusing on the breath and bodily sensations
  • Study compared a group practising mindfulness with another using alternative relaxation methods
  • Only mindfulness reduced inflammation caused by an irritating cream

By CLAIRE BATES

PUBLISHED: 16:01 GMT, 17 January 2013

People who suffer from painful conditions such as rheumatoid arthritis could ease their symptoms using a form of meditation, say researchers.

They added that the treatment, known as mindfulness, could prove a cheaper alternative to prescription medicines.

Mindfulness meditation involves ‘being present’ by focusing on breathing patterns and bodily sensations. This reduces worrying about the past and future and has been shown to be effective at alleviating depression.

The latest study suggested its calming effect could help those with stress-related chronic inflammatory conditions – such as bowel disease and asthma.

It is also a convenient technique as people can do the meditation exercises while sitting down or walking, according to the authors from the University of Wisconsin.

It comes as family doctors in the UK are being told to slash prescriptions of painkillers and sleeping pills amid concerns that patients are becoming addicted.

New guidelines now urge doctors  to consider alternative treatments such as physiotherapy and counselling.

Study leader Melissa Rosenkranz, said some people don’t benefit from regular medicines with many suffering from negative side effects of drugs or failing to respond to standard treatment.

Ms Rosenkranz said: ‘Our study shows that there are specific ways mindfulness (meditation) can be beneficial and that there are specific people who may be more likely to benefit from this approach than other interventions.

‘The mindfulness-based approach to stress reduction may offer a lower-cost alternative or complement standard treatment and it can be practised easily by patients in their own homes, whenever they need.’

The study compared two different methods of reducing stress, one related to meditation and the other involving exercise and musical therapy.

The content of the program was meant to match aspects of the mindfulness instruction in some way. For example, physical exercise was meant to match walking meditation, without the mindfulness component.

‘In this setting, we could see if there were changes that we could detect that were specific to mindfulness,’ Rosenkranz said.

Cream containing heat from chilli peppers was used to inflame the skin of participants in both groups. Although both groups felt calmer after therapy, only mindfulness proved effective at reducing the inflammation.

Ms Rosenkranz added: ‘The study suggests that mindfulness techniques may be more effective in relieving inflammatory symptoms than other activities that promote well-being.

‘This is not a cure-all, but our study does show that – there are specific people who may be more likely to benefit from this approach than other interventions.’

Significant portions of the population do not benefit from available pharmaceutical treatment options. Some of these patients suffer from negative side effects of the drugs, or simply do not respond to the standard-of-care for treatment of the disorder.

More information about mindfulness can be found at http://www.bemindful.co.uk/

SOURCE: dailymail.co.uk

เตือน! ท่านั่งทอไหมพรม เสี่ยงปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ-โครงร่าง

เตือน! ท่านั่งทอไหมพรมเสี่ยงอาการปวด เมื่อยล้ากล้ามเนื้อ กระดูกโครงร่าง ด้านช่างทอรู้ท่าทางปฏิบัติที่ถูกต้องระดับต่ำ รพ.สต.กุดยมเล็งทำคู่มือท่านั่งทอที่ถูกหลักการยศาสตร์

 
นายเฉลิมชัย เพชรเทศ นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) กุดยม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง “การประเมินท่าทางการทำงานของผู้ทอไหมพรม ต.กุดยม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ” ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2555 ว่าจากการวิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างผู้รับบริการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดจากการเจ็บป่วยจากระบบกล้ามเนื้อโครงร่างในปี 2553 จำนวน 91 ราย จาก 503 ราย โดยดำเนินการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งยึดอาชีพทอหมวกไหมพรมเป็นประจำ พบว่า ด้านความเสี่ยง 1.ท่าทางของแขนและมือในขณะทํางาน อยู่ในระดับความเสี่ยง ระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 85 หมายถึง งานนั้นเริ่มเป็นปัญหาควรทําการศึกษา เพิ่มเติมและรีบดําเนินการปรับปรุงลักษณะงาน และ
2.ท่าทางของศีรษะ คอ ลําตัว ขาและเท้า อยู่ในระดับความเสี่ยงระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 80 หมายถึง ควรได้รับการพิจารณา การศึกษาละเอียดขึ้นและติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง

นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า จากการสัมภาษณ์และสาธิตท่าทาง พบว่า ท่าทางการทํางานของผู้ปฏิบัติงาน มีหลายท่าทาง เช่น ท่านั่งแล้วใช้มือเอื้อมดึงเส้นไหมจากตัวส่งเส้นไหม โดยท่าทางที่สาธิตมีผลต่อการเกิดอาการปวด เมื่อยล้ากล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และด้านความรู้ของผู้ประกอบอาชีพ พบว่า มีความรู้ในการปฏิบัติท่าทางที่ถูกต้อง อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 88.9

“จากงานวิจัยสรุปได้ว่าท่าทางการทํางานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ต้องรีบแก้ไข จึงควรดําเนินการส่งเสริมให้คําแนะนําเกี่ยวกับท่าทางการทํางานแก่ผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว โดยได้จัดทําคู่มือการทํางานเกี่ยวการนั่งทอหมวกไหมพรมที่ถูกหลักการยศาสตร์ของ ต.กุดยม และจัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มตัวอย่าง สามารถนําไปใช้กับกลุ่มอาชีพดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจากการทอหมวกไหมพรมต่อไป”นักวิชาการสาธารณสุข กล่าว

นายเฉลิมชัย กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันปัญหาการเจ็บป่วยเนื่องจากท่าทางการทํางานไม่เหมาะสม ทําให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทั้งปัญหาเรื่องการเจ็บป่วย การสูญเสียเวลา และสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จากข้อมูลของรพ.สต.กุดยม พบว่า มีผู้มารับบริการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับการใช้ยาแก้ปวดจากการเจ็บป่วยจากระบบกล้ามเนื้อโครงร่างในปี 2553 จำนวนมาก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการเจ็บป่วยที่เกิดจากการจากท่าทางการทํางานที่ไม่เหมาะสม ศึกษาถึงความรู้ของผู้ประกอบอาชีพทอไหมพรมที่เกี่ยวกับท่าทางในการทํางานที่ถูกหลักการยศาสตร์

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ตุลาคม 2555

“แพทย์ทางเลือก” ศาสตร์เพื่อการแสวงหาทาง “รอด” โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมงานที่เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกหลายครั้ง ทั้งศาสตร์แผนไทยและศาสตร์แผนจีน และทุกครั้งก็จะขอลองใช้ศาสตร์ทางเลือกเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยผึ้ง การตอกเส้น หมอแมะจับชีพจรเพื่อตรวจสุขภาพ หรือแม้แต่ทดลองฝังเข็ม ซึ่งมีให้เลือกอย่างหลากหลาย ผู้เขียนก็ชอบและสนใจเสียด้วย ดังนั้น เมื่อมีโอกาสก็จะขอใช้บริการและทดลอง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับตัวเอง

ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2555 ซึ่งจบลงไปแล้ว กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของ คุณหมอสุพรรณ ศรีธรรมมา หัวเรือใหญ่ รายงานความสำเร็จด้วยยอดผู้เข้าร่วมงาน 5 วัน กว่า 150,000 คน ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสนใจด้านสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการรักษาด้วย “การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก”

มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 9 นอกจากความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ยังมีองค์กรเอกชนไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิหมอชาวบ้าน มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) รวมถึงบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมจัดงานให้ยิ่งใหญ่สมกับการประชุมวิชาการประจำปีและการประชุมการแพทย์ลุ่มน้ำโขง อันเป็นการขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เพื่อพัฒนาการสร้างและจัดการองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ เป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ โดยปีนี้ เขามีหัวข้อหลักว่า “นวดไทย มรดกไทย สู่มรดกโลก”

ความหมายการแพทย์ทางเลือกสำหรับประเทศไทย สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ให้นิยามไว้ หมายถึง การแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์อื่นๆ ที่เหลือถือเป็น “การแพทย์ทางเลือก” ทั้งหมด และมีการจำแนก การแพทย์ทางเลือก ตามการนำไปใช้ ประกอบด้วย

Complementary Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่นำไปใช้เสริมหรือใช้ร่วมกับการแพทย์ แผนปัจจุบัน

Alternative Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบันได้ โดยไม่ต้องอาศัยการแพทย์แผนปัจจุบัน

จากรายงานการศึกษาของ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (ตุลาคม 2540) ทำการส่งแบบสอบถามไปยังหน่วยงาน กรม กอง ทางวิชาการในส่วนกลาง และหน่วยงานส่วนภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุขที่คาดว่าเกี่ยวข้อง จำนวน 253 หน่วยงาน เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานด้านการแพทย์ทางเลือกจากหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าว พบว่า ศาสตร์ที่คนไทยรู้จัก ให้ความศรัทธาและมีความนิยมใช้จำนวน 25 ศาสตร์ คือ สมุนไพร การนวด สมาธิ/โยคะ, การนวดศีรษะ, รำมวยจีน/ไทเก็ก, พลังรังสีธรรม, สมาธิหมุน, ชีวจิต, พลังจักรวาล/โยเร, การฝังเข็ม, การฟังดนตรี, การสวดมนต์/ภาวนา, อบสมุนไพร, การใช้เครื่องหอม/ยาดม, การใช้วิตามิน/เกลือแร่/อาหารปลอดสารพิษ, ดื่มน้ำผัก/ผลไม้, การสวนล้างพิษ, การดูหมอ/รดนำมนต์, ศิลปะบำบัด,
การผ่อนคลายแบบ Biofeedback, การใช้คาถา/เวทมนต์, การเพ่งโดยการใช้แสง สี เสียง, การเข้าทรงนั่งทางใน, การใช้เก้าอี้แม่เหล็กไฟฟ้า, การใช้วิชาธรรมจักร

นอกจากนี้ยังมีการนำศาสตร์การแพทย์ทางเลือกรูปแบบต่างๆ ไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ชัดเจนที่สุดคือ กลุ่มเพื่อนมะเร็งที่มีการนำเอาการแพทย์ทางเลือกทั้งในรูปแบบของอาหารสุขภาพ การนั่งสมาธิ การใช้หินบำบัด ฯลฯ มาใช้ร่วมด้วย (ข้อมูล : สำนักการแพทย์ทางเลือก)

เรื่องการแพทย์ทางเลือก นอกจากศาสตร์โบราณของไทยแล้ว ศาสตร์ด้านแพทย์แผนจีน ก็ได้รับความสนใจจากคนไทยมากเช่นกัน ผู้เขียนมีโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการ The First Acupuncture Forum ประจำปี 2555 ขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการประชุมด้านศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่มีมาตรฐานระดับสากล

ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ผ่านการอบรมหรือเรียนเพิ่มเติมด้านศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดยเน้น “การฝังเข็ม” เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งน่าสนใจในการเป็นแพทย์ทางเลือกเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นปัญหาทั้งในประเทศไทยและของโลก

ในครั้งนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสมาคมแพทย์ฝังเข็มและสมุนไพร โรงพยาบาลนครปฐม โดยอธิบดีกรมควบคุมโรค และมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเฉิงตู ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของทั้งสองประเทศในอนาคต

การฝังเข็มอยู่ในศาสตร์แพทย์ทางเลือก ซึ่งตรงตามความหมายของคำ ขึ้นอยู่กับผู้รับการรักษา ที่จะเลือกวิธีการรักษาด้วยตนเอง หรือจะใช้การรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันก็ได้ ด้านความน่าเชื่อถือของศาสตร์การฝังเข็มนั้น ข้อมูลจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ในปี 2552 องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการฝังเข็มจากทั่วโลก กำหนดรายชื่อโรคที่ยอมรับในการรักษาหรือบรรเทาอาการด้วยวิธีฝังเข็ม 

1.การรักษาที่ได้ผลเด่นชัด เป็นพิเศษ
อาการปวด ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากโรครูมาตอยด์ ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ มีสาเหตุมาจากความเครียด หรือก่อนการมีประจำเดือน ปวดเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน อาการซึมเศร้า

โรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียนอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด

2.การรักษาที่ให้ผลดี อาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็ก

เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด

3.การรักษาที่ได้ผล ท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ

อย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของผู้เขียน “แพทย์ทางเลือก” ทั้งศาสตร์ไทยและจีน นับเป็นศาสตร์ทางเลือกอย่างหนึ่งเพื่อการแสวงหา “ทางรอด” ให้กับผู้ป่วย รวมถึงการใช้เป็นทางเลือกเพื่อการป้องกันโรค ซึ่งผู้ป่วยหรือประชาชนสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบใดในการดูแลสุขภาพของตนเอง

…นั่นหมายถึง..ทางเลือกเพื่อให้ “รอด” ชีวิต ด้วยการเลือกใช้ “แพทย์ทางเลือก” เป็นสิทธิที่ท่านหรือพวกเราจะเลือกได้นะครับ…

หน้า 6, มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม 2555 

ที่มา: มติชน 4 ตุลาคม 2555

การรักษาอาการปวดคอปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ต้องผ่าตัด

อาการปวดคอปวดหลังเป็นปัญหาที่พบกันได้บ่อยในคนทุกวัย

อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งทำให้ยากต่อการวินิจฉัยและการรักษา สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดคอปวดหลังอย่างเฉียบพลันเกิดจากการใช้งานของคอหรือหลังมากเกินไปในวิธีที่ผิด เช่น การก้มหรือเงยนานเกินไปในเวลาทำงาน นั่งหรือนอนผิดท่า ยกของหนัก นั่งทำงานหรือขับรถนาน ๆ เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหักโหมเกินไป หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นหลังประสบอุบัติเหตุ

พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้กล้ามเนื้อกับเส้นเอ็นต่าง ๆ รอบกระดูกสันหลังรวมถึงหมอนรองกระดูกเกิดการบาดเจ็บจากการฉีกและอักเสบ ผลที่ตามมาคือ ความตึงเคล็ดของกล้ามเนื้อที่คอหรือหลัง นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวที่คอและหลังจะขยับได้น้อยลงและจะมีอาการปวดเวลาใช้งาน ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นเอง ซึ่งการใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบสามารถบรรเทาอาการให้หายเร็วขึ้นได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยปวดคอหรือหลังเรื้อรังมานาน โดยเฉพาะผู้ป่วยวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสื่อมของข้อกระดูกคอหรือหลัง หรือโรคข้อกระดูกอักเสบ โดยที่อาการปวดมักเกิดขึ้นในเวลาที่ใช้งาน เช่น ก้ม เงย หรือยกของ

ด้านการรักษา นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังต้องทำกายภาพบำบัดร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม วิธีรักษาอื่น ๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดคือ การรักษาด้วยอัลตราซาวด์ การดึงคอดึงหลัง การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและการออกกำลังกายที่หลัง ซึ่งเป็นวิธีการออกกำลังกายที่เน้นกล้ามเนื้อบริเวณหลัง โดยทำท่าเหมือนการวิดพื้นแต่แตกต่างจากการวิดพื้นตรงที่สะโพกติดพื้นและให้ส่วนบนของลำตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวเงยขึ้นจากพื้น ฉะนั้นกล้ามเนื้อหลังจะแอ่นขึ้นมาดังภาพ

ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงแขนหรือขาร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรงชาหรือเดินลำบาก แสดงว่าเกิดการกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะมาจากหินปูนที่เกาะรอบ ๆ ข้อกระดูกที่คอหรือหลังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของข้อหรือจากหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาท

สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้แต่พบไม่บ่อยนักและเป็นสาเหตุสำคัญที่ควรรีบรักษาคือ เนื้องอกที่กระดูกสันหลัง หรือการติดเชื้อในกระดูกสันหลัง ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรรีบมาพบแพทย์เพราะถ้าได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีระบบประสาทอาจจะไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาเร็วเส้นประสาทสามารถกลับมาทำงานเป็นปกติได้ โดยแพทย์จะประเมินอาการและพิจารณาการทำเอกซเรย์และสแกนแม่เหล็ก (เอ็มอาร์ไอ) เพื่อแยกสาเหตุเหล่านี้ และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ปัจจุบันนี้เราสามารถค้นหาสาเหตุความเจ็บปวดได้โดยละเอียดพร้อมรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยวิธีฉีดยาชาและยาลดการอักเสบเข้าไปที่โครงกระดูกสันหลังและรอบ ๆ เส้นประสาทอย่างตรงจุดที่ต้นสาเหตุโดยใช้เอกซเรย์นำทิศทางปลายเข็มไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เช่น ที่หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณรอบ ๆ เส้นประสาทเล็กที่ออกมาจากโครงกระดูกสันหลัง ข้อเล็กของกระดูกสันหลัง ข้อที่เชื่อมกับสะโพก หรือเป็นการฉีดซีเมนต์เทียม เพื่อรักษาอาการปวดหลังหรือหลังค่อมจากโรคกระดูกพรุน เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก รวมถึงแก้ไขความโค้งผิดปกติของกระดูกสันหลังด้วย ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องผ่าตัดและกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกัน

สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดนั้น การผ่าตัดด้วยวิธีแผลเล็กเจ็บน้อย (Minimally Invasive Spinal Surgery) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติดังเดิม.

นายแพทย์วัฒนา มหัทธนกุล
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังและระบบประสาท
สาขาประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ที่มา: เดลินิวส์ 22 กันยายน 2555