ชาคอมบูชา (KOMBUCHA TEA ) ดีต่อสุขภาพ จริงหรือ?

IMG_1949

ชื่อสามัญ: ชาคอมบูชา (KOMBUCHA TEA)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scientific Name(s): Yeast/bacteria fungal symbiont
ชื่ออื่น ๆ : Algue de Thé, Champagne of Life, Champignon de la Charité, Champignon des Héros, Champignon de Longue Vie, Champignon Miracle, Combucha Tea, Dr. Sklenar’s Kombucha Mushroom Infusion, Kombucha Thé, Laminaire de Thé, Mushroom Infusion, Fungus Japonicus, Kargasok Tea, Kombucha Tea, Kombucha Mushroom Tea, Kwassan, Manchurian Fungus, Manchurian Mushroom Tea, Petite Mère Japonaise, Spumonto, T’Chai from the Sea, Té de Kombucha, Thé de Combucha, Thé de Kombucha, Tschambucco, ชาเห็ด, ชาหมัก, คอมบูชา, กอมบูชา, คอมพูชา,  คอมบูชะ, คอมบูฉะ

ชาคอมบูชา (Kombucha) คือชาหมัก ที่ได้จากการหมักชาที่เติมน้ำตาล กับน้ำตั้งต้นชาหมักที่ประกอบด้วยแบคทีเรียและยีสต์ (เรียกสคูบี้หรือสโคบี้ SCOBY = Symbiotic Culture of Bacteria and Yeast มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาวขุ่น เป็นโคโลนีของแบคทีเรียและยีสต์) ชาคอมบูชาเป็นเครื่องดื่มโปรไบโอติก  (probiotic)  มีแบคทีเรียดีๆ เช่น Gluconacetobacter, Acetobacter, Lactobacillus และ Zygosaccharomyces

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความหมายไว้ว่า โปรไบโอติก (probiotic)  คือกลุ่มจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารที่มีผลต่อความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้มีคุณสมบัติทนต่อสภาวะกรดในกระเพาะอาหารและทนต่อเกลือน้ำดีในลำไส้สามารถผลิตกรดแล็กติกและสร้างสารยับยั้งแบคทีเรียชนิดก่อโรคได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดความสมดุลในระบบการย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ช่วยให้สุขภาพของมนุษย์ดีขึ้น
🔲สรรพคุณของชาคอมบูชา

ประโยชน์ของโปรไบโอติก  จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าโปรไบโอติกในปริมาณที่เหมาะสมได้สมดุล  ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย ช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียที่ก่อโรค  ช่วยกำจัดสารพิษต่างๆรวมทั้งสารก่อมะเร็ง ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร   โรคท้องเสียในเด็กอ่อน  โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ  และโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  ช่วยลดการอักเสบในลำไส้  ช่วยสร้างและช่วยการดูดซึมวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด  เช่น   วิตามิน เค (ช่วยการแข็งตัวของเลือด)  และวิตามินซี วิตามิน บี  ช่วยลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ และอาจช่วยลดการดูดซึมไขมัน โคเลสเตรอล (cholesterol) ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าอุบัติการณ์ของมะเร็งลำไส้ใหญ่มีความสัมพันธ์กับการกินอาหารไขมันสูง เพราะไขมันในอาหารจะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรดน้ำดีในลำไส้ใหญ่มากขึ้น ร่วมกับกรดน้ำดีอีกส่วนหนึ่งที่เกิดจากแบคทีเรียเองซึ่งมีส่วนส่งเสริมให้เกิดมะเร็งได้ดังนั้นกลไกในการต้านมะเร็งของโพรไบโอติก ได้แก่ กดการทำงานของสารก่อมะเร็ง สามารถลดเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ควบคุมหรือเหนี่ยวรั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีเอนไซม์ในการทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง มีผลต่อการเคลื่อนไหวหรือการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้ร่างกายกำจัดสารก่อกลายพันธุ์ออกได้เร็วขึ้น และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
และชาคอมบูชา ยังมีสรรพคุณช่วยรักษาและบรรเทา ภาวะสูญเสียความทรงจำ อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) อาการปวดข้อ (โรคไขข้ออักเสบ rheumatism) ข้ออักเสบ(Arthritis) ความแก่ชรา อาการเบื่ออาหาร ความเครียด ภาวะซึมเศร้า โรคเอดส์ โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง ท้องผูก เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ ลดน้ำหนัก การปลูกผม  อีกทั้งใช้สำหรับเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดขาว (T–cell) เพิ่มภูมิคุ้มกัน และเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญอาหาร  บางคนทาชาคอมบูชาที่ผิวโดยตรงเพื่อลดความเจ็บปวด
🔲กลไกการออกฤทธิ์

การศึกษาเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นของชาคอมบูชายังมีไม่มากเพียงพอ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ อย่างไรก็ตาม มีการงานวิจัยบางชิ้นรายงานว่า ชาคอมบูชาประกอบด้วย แอลกอฮอล์ น้ำส้มสายชูหมัก วิตามินซี วิตามินบี บี6 บี12 คาเฟอีน น้ำตาล กรดซิติก และสารอื่น ๆ มีสารอาหารที่อยู่ในชา เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ polyphenols สารเสริมสื่อประสาท คลายเครียด L-Theanine  แต่ยังไม่มีการศึกษามากพอจะสรุปว่าชาคอมบูชาออกฤทธิ์อย่างไรเมื่อใช้เป็นยารักษาโรค
🔲ความปลอดภัยจากการใช้ชาคอมบูชาชา

ในผู้ใหญ่การดื่มชาคอมบูชาค่อนข้างปลอดภัย แต่จะเป็นอันตรายกับผู้ป่วยที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เอชไอวี/โรคเอดส์ เพราะมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
และกระบวนการผลิตในบ้านที่ไม่ได้ควบคุมมาตรฐาน มีการปนเปื้อนต่างๆ การใช้ภาชนะไม่เหมาะสม เช่น หมักในหม้อเซรามิคเคลือบตะกั่ว มีรายงานว่าชาคอมบูชามีการปนเปื้อนพิษจากสารตะกั่วมาจากกระบวนการดังกล่าว บางกรณีมีการปนเปื้อนเชื้อโรคทำให้มีอาการอาหารเป็นพิษ บางกรณีได้รับกรดเกิน เกิดกระเพาะอาหารอักเสบจากการดื่มชาที่หมักไว้นานเกินไป หรือได้รับแอลกอฮอล์เกินจากการเติมรสชาติ หรือมีการเติมน้ำตาลมาก
🔲ข้อควรระวังและคำเตือน

🚫สตรีตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร: เป็นไปได้ที่ชาคอมบูชาจะไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ เพื่อความปลอดภัย

🚫ภาวะติดเหล้า เพราะในชาคอมบูชามีปริมาณแอลกอฮอล์(0.5%)

🚫ผู้ป่วยโรคเบาหวาน: ชาคอมบูชาอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเฝ้าระวังสัญญาณที่บ่งชี้ว่าน้ำตาลในเลือดต่ำ (ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย) ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและใช้ชาคอมบูชา

🚫อาการท้องร่วง: การใช้ชาคอมบูชาซึ่งมีผสมคาเฟอีนเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก อาจทำให้อาการท้องร่วงรุนแรงขึ้นจากเดิม

🚫โรคลำไส้แปรปรวน (IBS): การใช้ชาคอมบูชาซึ่งมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก อาจทำให้อาการท้องร่วงและโรคลำไส้แปรปรวนรุนแรงขึ้นมากกว่าเดิม

🚫การผ่าตัด: เนื่องจากชาคอมบูชาอาจส่งผลต่อระดับกลูโคสในเลือด จึงมีความกังวลเกี่ยวกับการแทรกแซงในการควบคุมกลูโคสในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด ควรหยุดการใช้ชาคอมบูชาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

🚫ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ: ไม่ควรใช้ชาคอมบูชา หากเป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเอชไอวี/โรคเอดส์ หรือสาเหตุอื่น ๆ ชาคอมบูชาอาจจะเร่งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงขึ้นได้
🔲ผลข้างเคียง

เมื่อรับประทานชาคอมบูชา อาจมีผลข้างเคียงดังนี้ ปัญหาที่กระเพาะอาหารและลำไส้ การติดเชื้อรา อาการภูมิแพ้ อาการดีซ่าน อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น มีความเป็นไปได้ที่อาการผิดปกติอาจเกิดจาก ⁉️บริโภคชาคอมบูชามากเกินไป ⁉️หรือเกิดกับผู้ป่วยภูมิแพ้ที่แพ้สารต่างๆที่เป็นส่วนประกอบชาคอมบูชา ⁉️หรือเกิดจากกระบวนการผลิตที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ⁉️หรือเกิดจากบริโภคชาคอมบูชาที่มีระยะเวลาหมักนานเกินไป(มีความเป็นกรดสูง) ⁉️หรือได้รับชาคอมบูชาในขณะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ในขณะได้ยาเคมีบำบัด หรือ ขณะมีเม็ดเลือดขาวต่ำ  จึงอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้  และมีรายงาน เป็นการติดเชื้อถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ บุคลากรทางการแพทย์
🔲ปฏิกิริยาระหว่างชาคอมบูชากับยา

เกิดปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อใช้ชาคอมบูชา
ชาคอมบูชามีคาเฟอีนหรือชาคอมบูชาที่ผสมสมุนไพร อาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณรับประทานหรือส่งผลกระทบกับการรักษาของคุณในปัจจุบัน. ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับชาคอมบูชา ได้แก่
ยาอดเหล้าไดซัลฟิแรม Disulfiram (Antabuse) ชาคอมบูชามีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์เพื่อกำจัด ยาอดเหล้าไดซัลฟิแรมลดการย่อยแอลกอฮอล์ ดังนั้นการใช้ชาคอมบูชาร่วมกับยาอดเหล้าไดซัลฟิแรม ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียน ผิวหนังสีแดง และอาการที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ รุนแรงขึ้น
🔲ปริมาณการใช้ยากับชาคอมบูชา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือบุคลากรทางการแพทย์ก่อนใช้ยาร่วมกับชาคอมบูชานี้ทุกครั้ง
🔲ปริมาณการใช้ชาคอมบูชาโดยทั่วไปอยู่ที่เท่าไหร่

แต่ละคนอาจใช้ชาคอมบูชาในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ อายุ ความแข็งแรงของสุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ และยังไม่มีงานวิจัยชี้ชัดว่าควรบริโภคเท่าไรต่อวัน แต่โดยทั่วไป ในผู้ใหญ่ ดื่มได้วันละ 100-250 มิลลิลิตร แต่ผู้ที่รับประทานอาหารแบบจำกัดคาร์โบไฮเดรท จำกัดน้ำตาล อย่างคีโตเจนนิคไดเอต ดื่มได้วันละ 30-60 มิลลิลิตร อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบส่วนผสม วันที่ผลิต และพยายามหลีกเลี่ยงแบรนด์ที่เติมน้ำตาลมาก

 

 

แหล่งที่มา
Kombucha tea. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-538-kombucha%20tea.aspx?activeingredientid=538&activeingredientname=kombucha%20tea. Accessed Apr 1st, 2017
Kombucha tea. https://www.drugs.com/npp/kombucha.html. Accessed Apr 1st, 2017
Eight potential benefits of kombucha By Lana Burgess
Reviewed by Debra Rose Wilson, PhD, MSN, RN, IBCLC, AHN-BC, CHT https://www.medicalnewstoday.com/articles/319630.php
The health benefits of kombucha By Jo Lewin – Associate nutritionist. https://www.bbcgoodfood.com/howto/guide/health-benefits-kombucha

พยาบาล′นครพิงค์′โชว์ผลวิจัย ใช้กะหล่ำปลีแก้คัดนมหลังคลอด

image002เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน น.ส.ปัณฑิตา ศรีจันทร์ดร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “กะหล่ำปลีมีคุณค่า ลดอาการปวด แก้อาการคัดนมหลังคลอด” ในงานประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ ว่า การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวดจากอาการคัดตึงเต้านมในหญิงหลังคลอดบุตรจนทำให้หยุดให้นมลูก และอาการคัดตึงเต้านมยังเป็นสาเหตุทำให้หัวนมแตก เต้านมอักเสบและเป็นฝี ทำให้แม่เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง จนปฏิเสธให้นมลูก 

น.ส.ปัณฑิตากล่าวว่า ได้นำใบกะหล่ำปลีสดมาใช้บรรเทาอาการอาการคัดตึง ปวดเต้านม โดยใช้ใบสีเขียว ตัดขั้วแข็งออก แล้วล้างด้วยน้ำให้สะอาด หรือแช่ด้วยน้ำส้มสายชูเพื่อล้างสารพิษ จากนั้นนำใบแช่เย็นที่ช่องแช่แข็ง ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ก่อนนำไปประคบเต้านม ให้ขยุ้มใบด้วยมือเบาๆ แกะเอาเส้นใยที่แข็งออก แล้วนำไปหุ้มเต้านม อาจถึงบริเวณใต้รักแร้ที่มีก้อนบวม ก่อนสวมเสื้อชั้นในปิดทับ หรือใช้ผ้าพันทับไว้ประคบเวลาประมาณ 20 นาที ทั้งนี้ จากการศึกษากับหญิงหลังคลอด 20 คนในปี 2555 พบว่าคะแนนความเจ็บปวดเท่ากับ 3.05 จาก 10 คะแนน ซึ่งความเจ็บปวดมีน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติที่ไม่ได้ใช้ใบกะหล่ำปลี  ซึ่งมีคะแนนความเจ็บปวดเต้านมเท่ากับ 3.53   

“การประคบเต้านมด้วยใบกะหล่ำปลีสด สามารถลดอาการอักเสบ ลดอาการคัดตึงเต้านมระดับปานกลางจนถึงระดับรุนแรงได้ เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาป้องกันการติดเชื้อและระคายเคือง มีสารไฟโตเอสโตเจน (Phytoestogen) ทำให้ลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ ความเย็นจากใบกะหล่ำปลีทำให้เส้นเลือดหดตัว ลดการไหลเวียนของเลือด ส่งผลให้อาการบวมลดลง และความเย็นทำให้การรับความรู้สึกเจ็บปวดของใยประสาทขนาดเล็กมีประสิทธิภาพลดลง แต่ไม่ควรทำมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เพราะจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง และควรหยุดใช้เมื่อมีผื่นขึ้นหรือมีอาการแพ้” น.ส.ปัณฑิตากล่าว

ที่มา: มติชน 11 พฤศจิกายน 2557

วิปัสสนาได้กุศลส่ง คนไข้มะเร็งเต้านม

thairath141010_02ผู้อำนวยการวิจัยแผนกวิทยาสังคม ของศูนย์โรคมะเร็งทอม เบเกอร์ เปิดเผยว่า ผู้รอดพ้นจากการเป็นมะเร็งเต้านม ที่นั่งกรรมฐาน จะได้รับกุศลผลบุญสนองกับตนเอง

คณะนักวิจัยได้พบว่า เทโลเมียร์ อันเป็นส่วนปลายของโครโมโซมของคนเหล่านี้ จะยังคงรักษาความยาวไว้ได้ ส่วนปลายนี้มีผลต่อการกำหนดอายุขัยของเซลล์

ผู้อำนวยการลินดา อี. คาร์ลสัน กล่าวว่า “เรารู้ว่าการนั่งสมาธิอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ไม่แต่เพียงทางกายเท่านั้น หากยังพบหลักฐานเป็นครั้งแรกว่า ยังมีอิทธิพลอย่างสำคัญทางด้านชีววิทยาด้วย”

เขาได้ให้ผู้ป่วยที่หายจากมะเร็งเต้านมจำนวนหนึ่ง ฝึกนั่งวิปัสสนา ครั้งละ 90 นาที เป็นเวลา 2 เดือน และแนะนำให้ไปปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้าน วันละ 45 นาทีอีกด้วย.

ที่มา : ไทยรัฐ 10 พฤศจิกายน 2557

 

Related article:

Meditation, support groups: Clear new evidence for mind-body connection demonstrated in study, researchers show

Date: November 3, 2014
Source: Alberta Health Services
Summary: For the first time, researchers have shown that practicing mindfulness meditation or being involved in a support group has a positive physical impact at the cellular level in breast cancer survivors.
For  the first time, researchers have shown that practising mindfulness meditation or being involved in a support group has a positive physical impact at the cellular level in breast cancer survivors.

A group working out of Alberta Health Services’ Tom Baker Cancer Centre and the University of Calgary Department of Oncology has demonstrated that telomeres — protein complexes at the end of chromosomes — maintain their length in breast cancer survivors who practise meditation or are involved in support groups, while they shorten in a comparison group without any intervention.

Although the disease-regulating properties of telomeres aren’t fully understood, shortened telomeres are associated with several disease states, as well as cell aging, while longer telomeres are thought to be protective against disease.

“We already know that psychosocial interventions like mindfulness meditation will help you feel better mentally, but now for the first time we have evidence that they can also influence key aspects of your biology,” says Dr. Linda E. Carlson, PhD, principal investigator and director of research in the Psychosocial Resources Department at the Tom Baker Cancer Centre.

“It was surprising that we could see any difference in telomere length at all over the three-month period studied,” says Dr. Carlson, who is also a U of C professor in the Faculty of Arts and the Cumming School of Medicine, and a member of the Southern Alberta Cancer Institute. “Further research is needed to better quantify these potential health benefits, but this is an exciting discovery that provides encouraging news.”

The study was published online in the journal Cancer.

A total of 88 breast cancer survivors who had completed their treatments for at least three months were involved for the duration of the study. The average age was 55 and most participants had ended treatment two years prior. To be eligible, they also had to be experiencing significant levels of emotional distress.

In the Mindfulness-Based Cancer Recovery group, participants attended eight weekly, 90-minute group sessions that provided instruction on mindfulness meditation and gentle Hatha yoga, with the goal of cultivating non-judgmental awareness of the present moment. Participants were also asked to practise meditation and yoga at home for 45 minutes daily.

In the Supportive Expressive Therapy group, participants met for 90 minutes weekly for 12 weeks and were encouraged to talk openly about their concerns and their feelings. The objectives were to build mutual support and to guide women in expressing a wide range of both difficult and positive emotions, rather than suppressing or repressing them.

The participants randomly placed in the control group attended one, six-hour stress management seminar.

All study participants had their blood analysed and telomere length measured before and after the interventions.

Scientists have shown a short-term effect of these interventions on telomere length compared to a control group, but it’s not known if the effects are lasting. Dr. Carlson says another avenue for further research is to see if the psychosocial interventions have a positive impact beyond the three months of the study period.

Allison McPherson was first diagnosed with breast cancer in 2008. When she joined the study, she was placed in the mindfulness-based cancer recovery group. Today, she says that experience has been life-changing.

“I was skeptical at first and thought it was a bunch of hocus-pocus,” says McPherson, who underwent a full year of chemotherapy and numerous surgeries. “But I now practise mindfulness throughout the day and it’s reminded me to become less reactive and kinder toward myself and others.”

Study participant Deanne David was also placed in the mindfulness group.

“Being part of this made a huge difference to me,” she says. “I think people involved in their own cancer journey would benefit from learning more about mindfulness and connecting with others who are going through the same things.”

Story Source:

The above story is based on materials provided by Alberta Health Services. Note: Materials may be edited for content and length.

Journal Reference:

  1. Linda E. Carlson, Tara L. Beattie, Janine Giese-Davis, Peter Faris, Rie Tamagawa, Laura J. Fick, Erin S. Degelman, Michael Speca. Mindfulness-based cancer recovery and supportive-expressive therapy maintain telomere length relative to controls in distressed breast cancer survivors. Cancer, 2014; DOI:10.1002/cncr.29063

SOURCE : www.sciencedaily.com

สารแทนผงชูรส ใช้ ‘ยีสต์เบียร์’

thairath141010_01ผลงานวิจัยมทร.ธัญบุรี

นักวิจัย มทร.ธัญบุรี ผลิตสารเสริมรสชาติอาหาร ทำจากยีสต์แทน “ผงชูรส” ชี้ปลอดภัย100% ได้รับการรับรองทั้งจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) องค์การอาหารและเกษตร/องค์การอนามัยโลก (FAO/WHO) และสำนักงานรับรองการใช้วัตถุเจือปนในอาหารของประเทศญี่ปุ่น เผยต้นทุนถูกกว่าผงชูรส เตรียมจดลิขสิทธิ์ผลิตในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม

นักวิจัยคิดค้นสารเสริมรสชาติอาหารแทน “ผงชูรส” ถูกเปิดเผยขึ้น เมื่อวันที่ 9 พ.ย. นายอนันต์ บุญปาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผงชูรสในท้องตลาดพบว่าปัจจุบันล้วนเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่มาใช้เพิ่มรสชาติอาหาร แต่ร่างกายบางคนแอนตี้ผงชูรสทำให้เกิดอาการแพ้ จากสาเหตุดังกล่าว จึงได้คิดค้นและวิจัยสารเสริมรสชาติอาหารจากยีสต์ ที่เหลือจากการผลิตเบียร์ขึ้น นำมาใช้แทนผงชูรส โดยมี น.ส.สิริแข พงษ์สวัสดิ์ และ น.ส.จันทิมา ฑีฆะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมการวิจัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

นายอนันต์กล่าวอีกว่า งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษา การผลิตสารเพิ่มรสชาติในอาหาร 5′-นิวคลีโอไทด์ โดยใช้ยีสต์ที่เหลือจากกระบวนการผลิตเบียร์เป็นวัตถุดิบ นำมาย่อยด้วยเอนไซม์ 5′-ฟอสโฟไดเอสเทอเรสที่ผลิตจากแบคทีเรีย โดยในการวิจัยจะทำการแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ 5′-ฟอสโฟไดเอสเทอเรสจากน้ำปลาดิบ พร้อมทั้งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตและการทำงานของเอนไซม์ และประยุกต์ใช้เอนไซม์ 5′-ฟอสโฟไดเอสเทอเรสมาผลิตสารเพิ่มรสชาติในอาหาร 5′-นิวคลีโอไทด์ ในการผลิตเอนไซม์ 5′-ฟอสโฟไดเอสเทอเรสจะเพาะเลี้ยงแบคทีเรียสายพันธุ์ Bacillus sp. ที่คัดเลือกได้ในถังหมักเป็นเวลา 36 ชั่วโมง จะได้เอนไซม์พร้อมที่จะนำมาย่อยสารพันธุกรรมประเภทไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid, RNA) ในยีสต์เพื่อผลิตสารเพิ่มรสชาติในอาหาร

นายอนันต์กล่าวต่อไปว่า สำหรับการผลิตสารเพิ่มรสชาติอาหาร 5′-นิวคลีโอไทด์ เริ่มจากการนำยีสต์มาทำให้เซลล์แตกตัว ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ยีสต์จะปลดปล่อย RNA ออกมา นำเอนไซม์ 5′-ฟอสโฟไดเอสเทอเรส ความเข้มข้น 0.30 เปอร์เซ็นต์ เติมลงไปย่อย RNA ปล่อยทิ้งไว้ 4 ชั่วโมง ทำการตกตะกอนสารประกอบ 5′-นิวคลีโอไทด์ แล้วนำตะกอนที่ได้ผ่านกระบวนการทำแห้ง จะได้เป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร ที่สามารถผลิตสารเพิ่มรสชาติอาหาร 5′-นิวคลีโอไทด์ได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักเซลล์ยีสต์ที่ใช้ การผลิตต้นทุนจะต่ำกว่าการผลิตผงชูรส ทำให้มีราคาถูกกว่าผงชูรสประมาณกิโลกรัมละ 10-20 บาท ขณะที่รสชาติไม่ต่างจากผงชูรสที่ขายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญไม่มีอันตรายหรือก่อสารแอนตี้ต่อร่างกายแต่อย่างใด

หัวหน้าคณะผู้วิจัยกล่าวด้วยว่า สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) และองค์การอาหารและเกษตร/องค์การอนามัยโลก (FAO/WHO) ได้จัดสารประกอบนิวคลีโอไทด์เป็นวัตถุเจือปนในอาหารและอนุญาตให้ใช้ปรุงแต่งรสชาติในอาหาร เช่นเดียวกับสำนักงานรับรองการใช้วัตถุเจือปนในอาหารของประเทศญี่ปุ่น (Japan Food Additive Petitions) รับรองความปลอดภัยของสารประกอบนิวคลีโอไทด์และอนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ จึงการันตีเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ งานวิจัยยังเป็นการนำสิ่งที่เหลือใช้ คือยีสต์ในโรงเบียร์มาสร้างมูลค่า ตนและคณะผู้วิจัยกำลังยื่นจดสิทธิบัตรงานวิจัยนี้ หลังจากนั้นจะส่งเสริมการผลิตในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมต่อไป ผู้ที่สนใจ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.08-1830-3133

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังการศึกษางานวิจัยดังกล่าวประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยจาก FDA, FAO/WHO และ Japan Food Additive Petitions ปรากฏว่ามีบริษัทผู้ผลิตผงชูรสรายใหญ่ของประเทศไทย และต่างประเทศหลายบริษัท ติดต่อคณะผู้วิจัยเพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์งานวิจัยดังกล่าว เพราะหากนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมคาดว่าจะมีผู้หันมาบริโภคเป็น จำนวนมาก เพราะปลอดสารเคมี ปลอดภัยต่อร่างกาย

ที่มา : ไทยรัฐ 10 พฤศจิกายน 2557

รักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาได้ โดย ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา

manager141008_01 โรคไข้เลือดออกอีโบลายังคุกคามผู้คนอยู่ตลอด เมื่อไม่นานมานี้ศิริราชแถลง แอนติบอดีสายเดี่ยวรักษาอีโบลาได้

แอนติบอดีคือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของมนุษย์ ซึ่งจะผลิตจากเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ลิมโฟซัยท์บี ซึ่งแอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นประมาณ 7-10 วัน หลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป แต่หากเชื้อหรือพิษบางอย่างที่ร่างกายได้รับก่ออาการรุนแรงและเร็วมาก ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีออกมาได้ไม่ทัน ก็มักจะเสียชีวิตเสียก่อน เช่น การติดเชื้อไวรัสอีโบลา กรณีนี้เราสามารถให้แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้ออีโบลาแก่ผู้ป่วยทันที เรียกว่า ให้ภูมิคุ้มกันพร้อมใช้ หรือแอนติบอดีรักษา (Therapeutic antibody) เข้าไปสู้กับเชื้อโรคหรือสารพิษโดยตรง

แอนติบอดีจำเพาะต่อไวรัสอีโบลาที่ทีมวิจัยศิริราชผลิตขึ้นนั้น มีคุณสมบัติพิเศษที่มีขนาดเล็กกว่าแอนติ บอดีปกติ 5 เท่า ~25-35 kDa เรียกว่า แอนติบอดีสายเดี่ยว (human single chain antibodies) ผลิตจากยีนของคน จึงไม่เป็นสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้าสู่ร่างกายคน ซึ่งต่างจากแอนติบอดีอื่นๆ ที่ผลิตจากหนูทดลอง หรือสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า เป็นต้น และผู้ที่ได้รับแอนติบอดีจะมีภูมิต้านทานทันทีโดยไม่ต้องรอ 7-10 วัน เหมือนการฉีดวัคซีนทั่วไป

โดยที่แอนติบอดีนี้มีความจำเพาะต่อโปรตีนของไวรัสอีโบลา ชนิด จีพีหนึ่ง-จีพีสอง นิวคลีโอโปรตีน (NP) ไวรัสโปรตีน-๔๐ (VP40) ไวรัสโปรตีน-๓๕ (VP35) ซึ่งจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของโปรตีนสำคัญของไวรัสอีโบลา ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายของผู้ติดเชื้อและก่ออาการรุนแรงได้ เช่น ถ้ายับยั้งจีพีหนึ่ง ไวรัสก็จะเข้าเซลล์ไม่ได้ ยับยั้งจีพีสอง ไวรัสก็ไม่สามารถออกจากกระเปาะที่หุ้มเพื่อออกไปเพิ่มจำนวนในไซโทพลาซึมได้ ยับยั้งไวรัสโปรตีน-๓๕ จะทำให้ไวรัสกดภูมิคุ้มกันของโฮสท์ไม่ได้และเพิ่มจำนวนไม่ได้ และถ้ายับยั้งไวรัสโปรตีน-๔๐ ก็จะทำให้ไวรัสที่เพิ่มจำนวนแล้ว ประกอบร่างเป็นไวรัสรุ่นลูกตัวใหม่ไม่ได้และออกจากเซลล์เพื่อแพร่ไปยังเซลล์อื่นต่อไปไม่ได้

หลักการใช้แอนติบอดียับยั้งไวรัสอีโบลา โดยผลิตโปรตีนของไวรัสฯ จากยีนสังเคราะห์ ซึ่งใช้ลำดับเบสอ้างอิงของยีนของเชื้อไวรัสอีโบลาที่ระบาดอยู่ขณะนี้เป็นต้นแบบจากธนาคารพันธุกรรม จากนั้นนำโปรตีนสังเคราะห์แต่ละชนิดนั้นไปตรึงบนพื้นผิวพลาสติก คัดเลือกด้วยไวรัสของแบคทีเรีย (ฟาจ) จากคลัง (Library) ที่มีอยู่ โดยนำยีนของคนที่ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีไปใส่ไว้ในยีนของฟาจ ดังนั้นฟาจแต่ละอนุภาคจะมีแอนติบอดีของคนหนึ่งชนิดปรากฏอยู่บนผิว เหมือนลิมโฟซัยท์บีหนึ่งเซลล์ เมื่อเติมคลังฟาจลงบนโปรตีนของไวรัสอีโบลาที่ตรึงไว้ ฟาจที่มีแอนติบอดีจำเพาะต่อโปรตีนนั้นๆ ก็จะจับกับโปรตีน จากนั้นนำฟาจที่จับกับโปรตีนของไวรัสอีโบลาไปใส่ในแบคทีเรียชนิดพิเศษ แล้วนำแบคทีเรียไปเพาะเลี้ยงพร้อมเหนี่ยวนำให้ผลิตแอนติบอดีจากยีนที่ฝากไว้ในฟาจ แล้วทำการแยกแอนติบอดีออกมาจากแบคทีเรีย โดยไม่ให้มีโปรตีนของแบคทีเรียปนเปื้อน ก็จะได้แอนติบอดีจำเพาะต่อโปรตีนของไวรัสอีโบลาที่เป็นแอนติบอดีของมนุษย์

อย่างไรก็ดี แอนติบอดีต้นแบบเหล่านี้ ศิริราชยังผลิตได้น้อยในห้องปฏิบัติการวิจัย คาดว่าในกรณีจำเป็นและผลิตเพื่อใช้รักษา จะขอความร่วมมือจากสยามไบโอไซเอ็นซ์ ให้ผลิตในปริมาณมากขึ้นด้วยมาตรฐาน GMP เพื่อการทดลองในสัตว์และจดทะเบียนเป็นยาใหม่ต่อไป

   ทั้งนี้ ต้นแบบแอนติบอดีเหล่านี้ได้ยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว ซึ่งสิทธิทั้งหมดเป็นของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 ตุลาคม 2557

เฮ! วิจัยวัคซีนไข้เลือดออกสำเร็จ ป้องกัน 4 สายพันธุ์ ลดป่วยรุนแรง คาด 2 ปีได้ใช้

manager140724_02วิจัยวัคซีนไข้เลือดออกสำเร็จครั้งแรกของโลก ผลงานไทยจับมือ 4 ประเทศอาเซียน ระบุผลทดลองในเด็กป้องกันโรคได้ 56.5% ลดความรุนแรงของโรคถึง 88.5% ป้องกันไวรัสไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ คาดอีก 2 ปีคนไทยได้ใช้ อยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียน อย. เตือนหญิงท้อง – มีประจำเดือนเสี่ยงตายจากไข้เลือดออกสูง ด้าน คร. เตรียมบรรจุ 4 วัคซีนใหม่

วันนี้ (24 ก.ค.) ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวภายหลังเปิดการประชุมวิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ว่า กรมฯกำลังบรรจุวัคซีนใหม่ที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เพื่อลดการป่วยตายของคนไทย ตามคำแนะนำของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยจัดทำเป็นโครงการระดับชาติเรียกว่า “โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ได้แก่ 1. วัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี โรคมะเร็งปากมดลูก 2. วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก 3. ผลักดันการฉีดวัคซีนคอตีบและบาดทะยักในผู้ใหญ่เป็นประจำ 10 ปีครั้ง และ 4. ผลักดันให้มีการใช้วัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ บุคลากรทางการแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนอื่นๆ ที่มีคามสำคัญ

นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับวัคซีนไข้เลือดออกที่ไทยร่วมวิจัยกับอีก 4 ประเทศและภาคเอกชนนั้น ทราบว่าให้ผลดี สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันไข้เลือดออกได้ 56.5% คาดว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้าคนไทยจะมีโอกาสได้ใช้วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยสามารถป้องกันได้ 4 สายพันธุ์ที่พบการระบาดในไทย

ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การผลิตวัคซีนไข้เลือดออกต้นแบบเป็นการวิจัยร่วมของ 5 ประเทศ คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ซึ่งได้ตีพิมพ์ความสำเร็จครั้งนี้ในวารสารแลนด์แซท (Landsat) ที่เป็นวารสารทางการแพทย์ระดับโลก ถือเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโลกที่จะมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งจากการทดลองในกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 2 – 14 ปี จำนวนกว่า 1 หมื่นราย โดยการฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน และ 12 เดือน พบว่า สามารถป้องกันโรคได้ 56.5% ลดความรุนแรงของโรคได้ 88.5% และป้องกันได้ 4 สายพันธุ์

ศ.พญ.อุษา กล่าวว่า ไทยเริ่มวิจัยพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกเมื่อ 20 ปีก่อน ตั้งแต่สมัย ศ.นพ.ณัฐ ภมรประวัติ และเริ่มสำเร็จตั้งแต่ปี 2552 โดยพื้นที่ที่ได้รับคัดเลือกวิจัยต้องมีความพร้อม เช่น เป็นพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง มีความร่วมมือของผู้บริหารและบุคลากรในพื้นที่ ตลอดจนมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการวิจัยทดลองอย่างดีเยี่ยม ซึ่งพื้นที่ที่ทำการวิจัย คือ รพ.โพธาราม รพ.บ้านโป่ง และ รพ.กำแพงเพชร ทั้งนี้ จะมีการติดตามผลในกลุ่มตัวอย่างต่อเนื่องไปอีก 3 จนถึงปี 2560 ตามกฎเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก แต่ถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นนวัตกรรมที่คนไทยควรภูมิใจที่ได้มีส่วนเป็นเจ้าของนวัตกรรมในการป้องกันโรคที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ

“หลังจากนี้ อีกประมาณ 2-3 เดือน อาจจะมีการประกาศความสำเร็จของการวิจัยทดลองวัคซีนไข้เลือดอออกในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาอีก 5 ประเทศที่ทำการทดลองเช่นเดียวกับไทยในกลุ่มตัวอย่างกว่า 2 หมื่นราย โดยทำการทดลองในกลุ่มเด็กโต หากรวมกันระหว่าง 2 กลุ่มประเทศทั้งเอเชียและละตินอเมริกาก็จะทำให้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทดลลองวัคซีนของโลกมีสูงถึงกว่า 3 หมื่นราย” พญ.อุษา กล่าว

พญ.อุษา กล่าวอีกว่า ปัจจุบันไข้เลือดออกมีการเปลี่ยนแแปลงด้านอายุ โดยผู้ที่มีอายุมากขึ้นก็พบว่าเป็นโรคไข้เลือดออก ดังนั้น ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้ไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น อยากเตือนถึงผู้หญิงที่มีประจำเดือนต้องระวังมากขึ้น เพราะหากป่วยเป็นไข้เลือดออกในช่วงที่มีประจำเดือน จะทำให้มีเลือดออกมากในช่องคลอด ซึ่งเป็นอันตรายมาก รวมถึงหญิงที่ตั้งครรภ์ก็มีอันตรายมากเช่นกัน

ที่มา ASTV : ผู้จัดการออนไลน์ 24 กรกฎาคม 2557

จุฬาฯวิจัยเปลือกมังคุดพบคุณค่าอื้อ ต้านอักเสบ รักษาเซลล์มะเร็ง

วันที่ 16 มิถุนายน  ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.พิชญ์ ศุภผล อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แถลงข่าว เรื่อง​ ผลิตภัณฑ์รักษาแผล ป้องกันเชื้อโรค ด้วยสารสกัดจากเปลือกมังคุด นวัตกรรมจากนักวิจัยจุฬาฯ ว่า จากการวิจัยพบว่าเปลือกด้านในของมังคุดเมื่อนำมาผ่านกรรมวิธีพิเศษทางเคมีจะสามารถสกัดได้สารแซนโทนในปริมาณสูงโดยจะอยู่ในรูปแบบผงและผงของสารแซนโทน (Xanthones ) จะสามารถเก็บได้นานประมาณ 2-3 ปี 

 
สำหรับสารแซนโทนนั้นมีสรรพคุณทางการแพทย์คือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระต้านการอักเสบ และสามารถสมานแผลรักษาเซลล์มะเร็งและฆ่าเชื้อก่อโรคทางเดินระบบหายใจร้ายแรงได้ เช่น เชื้อวัณโรคชนิดดื้อยา เชื้อก่อโรคผิวหนังอักเสบและสิว และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัส เช่น เอชไอวี    เป็นต้น
 
ศ.พิชญ์ กล่าวอีกว่า  หลังจากได้สารสกัดจากเปลือกมังคุดก็จะนำสารดังกล่าวมาปรับปรุงด้วยกระบวนการทางเคมี เพื่อให้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อก่อโรคร้ายแรงที่เพิ่มขึ้น และทำการตรึงโมเลกุลของสารแซนโทนให้ติดบนผิววัสดุการแพทย์หลายชนิด เช่น หน้ากากอนามัย  พลาสเตอร์ยา น้ำยาทาแผล และแผ่นปิดสิว เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตามจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุดนั้นคือจะมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการป้องกันและฆ่าเชื้อไวรัสรวมถึงยับยั้งการติดเชื้อต่างๆได้นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุดนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่ทุกกระบวนการทั้งการวิจัย ผลิต และพัฒนา เป็นฝีมือของคนในประเทศไทย
    
“ปัจจุบันทางจุฬาฯได้มีการทำผลิตภัณฑ์จากเปลือกมังคุดที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ว่าสามารถใช้ได้จริงและมีวางจำหน่ายแล้วประมาณ 6-7 กลุ่ม นอกจากนี้ผลงานการวิจัยดังกล่าวยังมีการพัฒนาไปทำเป็นแผ่นก็อซปิดแผลซึ่งเป็นแผ่นก็อซที่ปิดแผลสำหรับแผลที่มีขนาดค่อนข้างกว้างและใหญ่ซึ่งนำไปใช้เป็นเคสแรกแล้วที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยผู้ป่วยมีแผลไฟไหม้ และภาวะติดเชื้อดื้อยา ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 3 เดือนไม่สามารถกลับบ้านได้ แต่ภายหลังใช้แผ่นก็อซที่สกัดจากเปลือกมังคุด 12 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้ จึงเป็นอีกทางเลือกในทางการแพทย์” 
ที่มา : มติชน 16 มิถุนายน 2557

เปลือกลองกอง ต้านเหี่ยวชะลอชรา

thairath130801_001เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับลองกองผลไม้สำคัญของภาคใต้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สามารถสกัดสารจากเปลือกลองกอง มาทำเครื่องสำอางช่วยแก้ปัญหาชราก่อนวัยได้เป็นผลสำเร็จ

ดร.ประไพภัทร คลังทรัพย์ นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. เผยว่า จากสถานการณ์ไม่สงบในภาคใต้ ทำให้การขนส่งซื้อขายลองกองเป็นไปอย่างลำบาก ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาดราคาตกต่ำ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราช กุมารี มีพระราชดำริให้หาวิธีเพิ่มมูลค่าลองกอง

ทาง วว.จึงสนองพระราชดำริ ทำการวิจัยเรื่องนี้ มาตั้งแต่ปี 2551-2556 ด้วยการนำเปลือกลองกองมาสกัดเอาสารสำคัญมาทำเป็นเครื่องสำอาง ให้ปราศจาก สารซัลเฟตและพาราเบน (sulphate-free และ paraben-free) เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากสารดังกล่าว หากใช้นานๆจะทำให้เป็นโรคมะเร็งได้

“เราพบว่า ในเปลือกลองกองมีสารออกฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ฆ่าเชื้อ ทีมงานจึงต้องนำเปลือกลองกองมาผ่านกระบวนการสกัดโดยนำไปอบแห้ง จากนั้นนำมาสกัดเป็นเวลา 2 วัน จะได้สารสกัดหยาบ และเพื่อให้สารที่มีความบริสุทธิ์และเข้มข้นมากขึ้น จึงนำไปสกัดเป็นครั้งที่ 2 ใช้เวลาอีก 1 สัปดาห์ ถึงจะนำมาทำเครื่องสำอางประทินผิวได้ ภายใต้ชื่อแบรนด์ เดอ-ลองกอง”

สำหรับผลิตภัณฑ์ เดอลองกอง (De Longkong) มีทั้งเจลล้างหน้า ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย บำรุงผิวหน้าจากสารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติ ทั้งโทนเนอร์ผิวหน้า ใช้เช็ดหน้าหลังการทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์มาส์กพอกหน้า กำจัดสิ่งสกปรก ดูดซับความมัน ผลัดเซลล์ผิวเก่า กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ เพิ่มความชุ่มชื้น ทำให้ใบหน้าผ่อนคลาย

และจะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอความแก่จากเปลือกลองกอง มาเปิดตัวครั้งแรกในงานครบรอบสถาปนา 50 ปี วว. ในวันที่ 4-6 ส.ค.นี้ ที่ห้องบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์.

ที่มา : ไทยรัฐ 1 สิงหาคม 2556

วิจัยชี้ ‘เด็กแข็งแรง’ สำคัญที่ตอนคลอด

dailynews130715_001ถึงจะไม่ได้เป็นหมอทำคลอด แต่ถ้าคิดจะมีลูก เรื่องราวนี้น่าสนใจสำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มากๆ เพราะเกี่ยวข้องกับสุขภาพของลูกน้อย

มีผลวิจัยจากต่างประเทศ โดยสถานบันเพื่อความเป็นเลิศทางการดูแลสุขภาพ หรือเอ็นไอซีอี ออกข้อเสนอแนะให้แพทย์ทำคลอดไม่ต้องเร่งรีบตัดสายสะดือที่เชื่อมระหว่างแม่กับทารกโดยพลัน แต่แนะให้รอสัก 1-3 นาที แล้วจึงตัดสายสะดือ

นักวิทยาศาสตร์ของโครงการวิจัยนี้เล่าว่า แม้มาตรฐานทางการแพทย์จะระบุให้ตัดสายสะดือออกทันที ทว่าจากการศึกษาพบว่า ข้อปฏิบัติดังกล่าวส่งผลให้ทารกเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีผลถึงสุขภาพของเด็ก แต่ถ้าเว้นระยะเพียงชั่วครู่ดังที่กล่าว จะสามารถยืดเวลาการถ่ายโอนปริมาณธาตุเหล็กและฮีโมโกลบินในเลือดจากแม่ไปสู่ลูกได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้องค์กรอนามัยโลกได้แนะนำให้แพทย์ตัดสายสะดือหลังคลอดภายใน 1-3 นาที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากปล่อยไว้นานเกินควร ทารกอาจเสี่ยงต่อการเป็นดีซ่าน

ผลวิจัยที่ได้จากการศึกษาการคลอดของคุณแม่เกือบ 4 พันราย ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า การไม่รีบตัดสายสะดือโดยทันทีจะทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวช่วงแรกคลอดเยอะกว่าทารกที่ถูกคุณหมอตัดสายสะดือออกอย่างรวดเร็วด้วย.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com

 

ที่มา : เดลินิวส์ 15 กรกฎาคม 2556

.

Related Article :

.

Cutting the umbilical cord immediately after birth - currently standard practice - puts the baby at risk of iron deficiency

Cutting the umbilical cord immediately after birth – currently standard practice – puts the baby at risk of iron deficiency

Delaying cutting the umbilical cord for more than three minutes ‘is better for a baby’s health’

  • Cutting the cord immediately after birth puts baby at risk of iron deficiency
  • Leaving the cord attached for a few minutes allows blood to transfer to baby
  • World Health Organisation now recommends cord clamping between one and three minutes after birth

By EMMA INNES

PUBLISHED: 23:06 GMT, 10 July 2013

Delaying cutting the umbilical cord is good for a baby’s health, say scientists.

Infants’ blood iron levels were better when the cord was clamped later, a review of previous studies showed.

Cutting the umbilical cord immediately after birth – currently standard practice – puts the baby at risk of iron deficiency.

Leaving the cord attached for a few minutes allows the blood in the cord to transfer to the baby.

The National Institute for Health and Care Excellence (NICE) is to publish new guidelines next year.

In many countries it’s standard practice to clamp the umbilical cord connecting mother and baby less than a minute after birth.

But cutting the cord too soon may reduce the amount of blood that passes from mother to baby via the placenta – affecting the baby’s iron stores.

On the other hand delayed cord clamping – which is carried out more than a minute after birth – may also slightly increase the risk of jaundice.

The World Health Organisation now recommends cord clamping between one and three minutes after birth.

The existing guidance on cord-clamping was published in 2007 when the consensus was that cutting the cord immediately was the best option – something which had been the case for decades.

But since then researchers have questioned whether that is still the case.

The latest study involving 3,911 women and their babies showed clamping the cord later made no difference to the risk of maternal haemorrhaging, blood loss or haemoglobin levels and babies were healthier in a number of respects.

When cord cutting was delayed babies had higher haemoglobin levels between one and two days after birth and were less likely to be iron deficient three to six months after birth.

Birth weight was also higher with delayed cord clamping.

Dr Philippa Middleton, of Adelaide University, said: ‘In light of growing evidence delayed cord clamping increases early haemoglobin concentrations and iron stores in infants, a more liberal approach to delaying clamping of the umbilical cord in healthy babies appears to be warranted.’

Clamping the cord later did lead to a slightly higher number of babies needing treatment for jaundice which is treated by light therapy.

Dr Middleton said: ‘The benefits of delayed cord clamping need to be weighed against the small additional risk of jaundice in newborns.

‘Later cord clamping to increase iron stores might be particularly beneficial in settings where severe anaemia is common.’

The study is published in The Cochrane Library.

SOURCE: www.dailymail.co.uk

ตรวจยีนแพ้ยา-ทำนายโรคจากน้ำลาย

thairath130701_001นายนเรศ ดำรงชัย ผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ทีเซลส์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สมาคมเภสัชกรการอุตสาหกรรม (ประเทศไทย), คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ไทย และสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน จะจัดงานประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาศาสตร์ ASEAN Life Sciences Conference and Exhibition 2013 เป็นครั้งแรกของภูมิภาค ระหว่างวันที่ 17-19 ก.ค.นี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความมั่นใจให้กับ อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งการประชุมครั้งนี้ไฮไลต์ของงานอยู่ที่การค้นพบของนักวิจัยโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่สามารถตรวจยีนแพ้ยาและทำนายโรคต่างๆ จากน้ำลายโดยไม่ต้องเจาะเลือด ซึ่งรูปแบบ การตรวจลักษณะนี้ถือเป็นครั้งแรกของประเทศ.

ที่มา : ไทยรัฐ 1 กรกฎาคม 2556