ทำงานกะกลางคืน ร่างกายปั่นป่วน

thairath140124_001ศูนย์วิจัยการนอนแห่งอังกฤษบอกเตือนว่า การทำงานกะกลางคืน จะเป็นเหตุให้ระบบของร่างกายรวน และก่อผลเสียหายระยะยาวขึ้นได้ ทั้งยังต้องเสี่ยงกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและโรคมะเร็งด้วย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า คนเรามีนาฬิกาในตัวที่คอยควบคุมให้เราหลับนอนตอนกลางคืน และทำงานตอนกลางวัน การที่ต้องอดนอนมาทำงานตอนกลางคืน ได้สร้างความเสียหายขึ้นอย่างรวดเร็วน่าประหลาด กระทบกระเทือนไปตลอดทั่วสรรพางค์กาย ส่วนต่างๆต้องรวนเรไปหมด ไม่ว่าจะเป็นระดับฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกาย สมรรถภาพด้านกีฬา พื้นฐานอารมณ์และการทำงานของสมอง ไปจนถึงระดับที่ลึกที่สุดของอณู

ศาสตราจารย์เดิร์กแจน ดจิก มหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ได้วาดภาพให้เห็นว่า “เหตุอลหม่านนี้ เทียบได้เหมือนกับอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง ที่ทุกห้องในบ้านล้วนแต่มีนาฬิกาประจำ แต่บัดนี้นาฬิกาในห้องทุกเรือนต่างล้วนหยุดชะงักหมดแล้ว บ้านหลังนั้นจะเกิดโกลาหลสักแค่ไหน”.

ที่มา: ไทยรัฐ 24 มกราคม 2557

.

Related Article:

.

bbc140121_001

Night work ‘throws body into chaos’

By James Gallagher
Health and science reporter, BBC News
21 January 2014

Doing the night shift throws the body “into chaos” and could cause long-term damage, warn researchers.

Shift work has been linked to higher rates of type 2 diabetes, heart attacks and cancer.

Now scientists at the Sleep Research Centre in Surrey have uncovered the disruption shift work causes at the deepest molecular level.

Experts said the scale, speed and severity of damage caused by being awake at night was a surprise.

The human body has its own natural rhythm or body clock tuned to sleep at night and be active during the day.

It has profound effects on the body, altering everything from hormones and body temperature to athletic ability, mood and brain function.

The study, published in Proceedings of the National Academy of Sciences, followed 22 people as their body was shifted from a normal pattern to that of a night-shift worker.

Blood tests showed that normally 6% of genes – the instructions contained in DNA – were precisely timed to be more or less active at specific times of the day.

Once the volunteers were working through the night, that genetic fine-tuning was lost.

Chrono-chaos

“Over 97% of rhythmic genes become out of sync with mistimed sleep and this really explains why we feel so bad during jet lag, or if we have to work irregular shifts,” said Dr Simon Archer, one of the researchers at the University of Surrey.

Fellow researcher Prof Derk-Jan Dijk said every tissue in the body had its own daily rhythm, but with shifts that was lost with the heart running to a different time to the kidneys running to a different time to the brain.

He told the BBC: “It’s chrono-chaos. It’s like living in a house. There’s a clock in every room in the house and in all of those rooms those clocks are now disrupted, which of course leads to chaos in the household.”

Studies have shown that shift workers getting too little sleep at the wrong time of day may be increasing their risk of type-2 diabetes and obesity.

Others analyses suggest heart attacks are more common in night workers.

Prof Dijk added: “We of course know that shift work and jet lag is associated with negative side effects and health consequences.

“They show up after several years of shift work. We believe these changes in rhythmic patterns of gene expression are likely to be related to some of those long-term health consequences.”

Prof Hugh Piggins, a body-clock researcher from the University of Manchester, told the BBC: “The study indicated that the acute effects are quite severe.

“It is surprising how large an effect was noticed so quickly, it’s perhaps a larger disruption than might have been appreciated.”

He cautioned that it was a short-term study so any lasting changes are uncertain, but “you could imagine this would lead to a lot of health-related problems”.

SOURCE : bbc.co.uk

รู้เปล่า? ผลวิจัยชี้ “นอนหลับ” ช่วยกำจัดขยะสมอง

matichon131022_001ผลงานวิจัยตีพิมพ์ลงในวารสารไซน์ส เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ว่า ระหว่างการนอนหลับสมองจะเกิดกระบวนการกำจัดขยะ และยังเป็นกระบวนการที่ช่วยป้องกันโรคอีกด้วย ซึ่งผลการค้นคว้าดังกล่าวตอบคำถามที่ว่า เพราะเหตุใดมนุษย์จึงต้องใช้เวลานอนหลับถึง 1 ใน 3 ของชีวิต และอาจช่วยรักษาอาการสมองเสื่อมรวมถึงความผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ ได้อีกด้วย

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยศูนย์การแพทย์โรเชสเตอร์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นำโดยนายไมเคน เนเอร์การ์ด ได้ทำการทดลองในหนูทดลอง พร้อมสังเกตการกำจัดเซลล์ขยะ รวมไปถึงโปรตีนที่ชื่อว่าแอมีลอยด์ บีตา โปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการสมองเสื่อม ทางหลอดเลือดเข้าสูระบบหมุนเวียนของร่างกายก่อนที่จะถูกส่งไปยังตับ

นักวิจัยชี้ว่าน้ำหล่อสมองไขสันหลังซึ่งถูกสูบฉีดเข้าไปในสมองจะทำหน้าที่กำจัดขยะดังกล่าวในช่วงเวลาที่กำลังหลับ โดยช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เซลล์หดตัวส่งผลให้น้ำหล่อสมองไขสันหลังสามารถเคลื่อนที่ไปทั่วสมองได้อย่างรวดเร็วและกำจัดขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าตอนที่ตื่นอยู่ถึง 10 เท่า โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการดังกล่าวว่าระบบ กลิมพาติก

ที่มา: มติชน 22 ตุลาคม 2556

.

Related Article:

.

scientists say they have found why we sleep

Why do we sleep? To clean our brains, say US scientists

Cerebral spinal fluid found to pump around the brain of sleeping mice, flushing out waste products like a biological dishwasher

Ian Sample, Science correspondent
theguardian.com, Friday 18 October 2013

Scientists in the US claim to have a new explanation for why we sleep: in the hours spent slumbering, a rubbish disposal service swings into action that cleans up waste in the brain.

Through a series of experiments on mice, the researchers showed that during sleep, cerebral spinal fluid is pumped around the brain, and flushes out waste products like a biological dishwasher.

The process helps to remove the molecular detritus that brain cells churn out as part of their natural activity, along with toxic proteins that can lead to dementia when they build up in the brain, the researchers say.

Maiken Nedergaard, who led the study at the University of Rochester, said the discovery might explain why sleep is crucial for all living organisms. “I think we have discovered why we sleep,” Nedergaard said. “We sleep to clean our brains.”

Writing in the journal Science, Nedergaard describes how brain cells in mice shrank when they slept, making the space between them on average 60% greater. This made the cerebral spinal fluid in the animals’ brains flow ten times faster than when the mice were awake.

The scientists then checked how well mice cleared toxins from their brains by injecting traces of proteins that are implicated in Alzheimer’s disease. These amyloid beta proteins were removed faster from the brains of sleeping mice, they found.

Nedergaard believes the clean-up process is more active during sleep because it takes too much energy to pump fluid around the brain when awake. “You can think of it like having a house party. You can either entertain the guests or clean up the house, but you can’t really do both at the same time,” she said in a statement.

According to the scientist, the cerebral spinal fluid flushes the brain’s waste products into what she calls the “glymphatic system” which carries it down through the body and ultimately to the liver where it is broken down.

Other researchers were sceptical of the study, and said it was too early to know if the process goes to work in humans, and how to gauge the importance of the mechanism. “It’s very attractive, but I don’t think it’s the main function of sleep,” said Raphaelle Winsky-Sommerer, a specialist on sleep and circadian rhythms at Surrey University. “Sleep is related to everything: your metabolism, your physiology, your digestion, everything.” She said she would like to see other experiments that show a build up of waste in the brains of sleep-deprived people, and a reduction of that waste when they catch up on sleep.

Vladyslav Vyazovskiy, another sleep expert at Surrey University, was also sceptical. “I’m not fully convinced. Some of the effects are so striking they are hard to believe. I would like to see this work replicated independently before it can be taken seriously,” he said.

Jim Horne, professor emeritus and director of the sleep research centre at Loughborough University, cautioned that what happened in the fairly simple mouse brain might be very different to what happened in the more complex human brain. “Sleep in humans has evolved far more sophisticated functions for our cortex than that for the mouse, even though the present findings may well be true for us,” he said.

But Nedergaard believes she will find the same waste disposal system at work in humans. The work, she claims, could pave the way for medicines that slow the onset of dementias caused by the build-up of waste in the brain, and even help those who go without enough sleep. “It may be that we can reduce the need at least, because it’s so annoying to waste so much time sleeping,” she said.

SOURCE : www.theguardian.com

นอนอย่างพอดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

dailynews131014_001การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคนเรา เพราะจะส่งผลต่อสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ แล้วคุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ มิใช่ก่อให้เกิดโรคเพียงอย่างเดียว อาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย!?

ข้อมูลจากเดลิเมล์ เปิดเผยถึงการศึกษาใหม่ ที่พบว่าการนอนหลับนาน 6 – 8 ชั่วโมงต่อคืน มีส่วนในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า คนที่นอนน้อยกว่าคืนละ 8 ชั่วโมงมีความเสี่ยงถึง 2 เท่า ที่อาจจะมีอาการหัวใจวายและโรคหัวใจล้มเหลว ขณะที่คนนอนหลับเกิน 8 ชั่วโมงต่อคืน ก็มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่า 2 เท่า โดยร้อยละ 19 มีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

สำหรับต้นตอของผลวิจัยข้างต้น มาจากวารสารคลินิกโรคหัวใจออนไลน์ในสหรัฐ เผยถึงการศึกษานี้ ว่า ระยะเวลาในการนอนหลับมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยคนที่มีระยะเวลาการนอนหลับแบบสุดขั้วหรือนอนหลับยาวกินบ้านกินเมือง มีความเสี่ยงสูงสุดของการเกิดโรค ส่วนระยะเวลาการนอนที่ดีที่สุดควรอยู่ระหว่าง 6-8 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม ในสหราชอาณาจักร มีผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมีผู้เสียชีวิตราว 74,000 คน ส่วนโรคหลอดเลือดสมองมีผู้เสียชีวิตราว 42,000 คน โดย 1 ใน 6 ของผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย และ 1 ใน 9 ผู้เสียชีวิตเป็นเพศหญิง ฉะนั้นแล้วหากคุณผู้อ่านไม่อยากเป็น 1 ในสถิติดังกล่าว ก็ควรหันมาใส่ใจเรื่องของการนอนหลับ และปรับเปลี่ยนเวลาการนอนให้เหมาะสม เพื่อมีชีวิตที่ยืนยาว และห่างไกลโรค

จากการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนควรทำอย่างพอดี หากมากเกินไปก็ส่งผลเสีย น้อยเกินไปก็ยังมีโทษ.

จิราภา ภิญญสาสน์

ที่มา: เดลินิวส์ 14 ตุลาคม 2556

.

Related Article:

.

dailymail131006_001a

Sleeping for between six and eight hours a night ‘reduces risk of heart problems and strokes’

  • Fewer than six hours means you’re twice as likely to suffer heart attack
  • Sleeping for more than eight hours associated with higher angina risk
  • Study looks at sleep in relation to five different cardiovascular problems

By ROBIN YAPP

PUBLISHED: 15:58 GMT, 6 October 2013

Sleeping for between six and eight hours a night could be key to cutting the risk of heart problems and stroke, according to a new study.

Researchers found people who sleep for fewer than six hours a night were twice as likely to suffer a heart attack or stroke as those who sleep for between six and eight hours.

They also had a two-thirds higher risk of congestive heart failure, where the heart’s ability to pump blood around the body weakens with potentially damaging effects on other organs.

Sleeping for more than eight hours a night was associated with more than double the risk of angina and a 19 per cent higher likelihood of coronary artery disease.

The US authors said the study, published online in the journal Clinical Cardiology, was the first to look at sleep duration in relation to five different cardiovascular problems.

Lead author Dr Saurabh Aggarwal, of Chicago Medical School, said: ‘People whose sleep duration is at the extremes are at the highest risk of cardiovascular events, and the risk decreases as the number reaches a middle point.

‘Six to eight hours is the best period of sleep duration according to this study.’

More than 159,000 people died from cardiovascular disease in the UK in 2011, according to the British Heart Foundation.

One in six male deaths and one in nine female deaths were from coronary heart disease (CHD) – a total of nearly 74,000 deaths – and stroke caused nearly 42,000 deaths.

The new study looked at 6,538 people drawn from a nationally representative US health database who had experienced at least one cardiovascular problem.

Questionnaires filled out by the participants, who had an average age in their early 60s, showed that they slept for an average of just under seven hours a night.

Analysis of how long the subjects slept for showed the clear trends for certain types of cardiovascular problem in people who slept for fewer than six hours or more than eight hours.

Heart issues: The new study looked at 6,538 people drawn from a nationally representative US health database who had experienced at least one cardiovascular problem (file picture)

Heart issues: The new study looked at 6,538 people drawn from a nationally representative US health database who had experienced at least one cardiovascular problem (file picture)

The results were adjusted to account for other factors that influence cardiovascular risk including age, body mass index, cholesterol, smoking, blood pressure, sleep apnoea and family history of heart disease.

Dr Aggarwal and colleagues wrote that disturbed sleep patterns can have ‘far-reaching effects’ on the body’s metabolism, immune system and hormones.

Shorter sleep duration has effects including increased levels of the stress hormone cortisol, increased blood pressure, hyperactivation of the sympathetic nervous system and increased inflammation.

The reasons why sleeping for longer than average raises the risk of cardiovascular disease are unclear, the team said.

It could be a risk factor in itself that can be changed or it could be that people who sleep longer are more likely to be depressed, poor and physically inactive.

The authors said adjusting their results to account for sleep apnoea – known to be linked to cardiovascular disease – helped make them a more reliable indicator of the importance of sleep duration than other studies.

Amy Thompson, senior cardiac nurse at the British Heart Foundation, said: ‘While the results of this study suggest an association between sleep and your heart, we cannot say that how long you spend sleeping actually causes heart disease and stroke.

‘Leading an active lifestyle, with a healthy diet and plenty of exercise, should boost your mental and physical wellbeing and help you to drift off easily. If trouble sleeping is causing problems for you, talk to your doctor.’

SOURCE: www.dailymail.co.uk

‘กลิ่น’ ช่วยลดความเครียดขณะหลับ

dailynews130930_001หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องที่ว่า กลิ่น จะช่วยทำให้เราหลับสบายมากขึ้น แต่ใครจะรู้ว่ายังสามารถลดความเครียดได้อีกด้วย

ข้อมูลจากเว็บไซต์เดลิเมล์ เปิดเผยงานวิจัย พบว่าการสูดดมกลิ่นต่างๆ ขณะนอนหลับนั้น สามารถคลายความกังวล และช่วยลดความเครียดได้

จากการศึกษาในชิคาโก พบว่าอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองในครั้งนี้มีสีหน้าสดชื่นเมื่อตื่นนอน มากกว่าตอนก่อนทำการทดลอง โดยมีวิธีการคือ จะใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ร่วมกับการปล่อยกลิ่นเฉพาะเจาะจง เช่น ไม้, กานพลู, รองเท้าใหม่, มะนาวหรือมิ้นท์ ในขณะที่อาสาสมัครกำลังหลับลึก เพราะช่วงการหลับลึกเป็นช่วงของการรวบรวมและฟื้นฟูความทรงจำและทักษะใหม่ๆ จึงกล่าวได้ว่ายิ่งหลับลึกยิ่งส่งผลดี โดยมีการประเมินผลจากปริมาณเหงื่อบนผิวหนังและการสแกนสมอง(ถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก)

ทั้งนี้มิใช่เพียงลดความกลัว ความกังวลเท่านั้น ผลการวิจัยในครั้งนี้ยังเชื่อว่า กลิ่นช่วยพัฒนาการป้องกันและรักษาโรคเครียดได้อีกด้วย

ได้ยินอย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังเครียด ลองหากลิ่นตามที่ชื่นชอบ ละทิ้งทุกสิ่งอย่าง เพื่อพักสายตานอนหลับ แล้วคุณจะพบว่าเมื่อตื่นเช้ามาความรู้สึกเครียดจะลดน้อยลง.

จิราภา ภิญญสาสน์

ที่มา: เดลินิวส์ 30 กันยายน 2556

.

Related Article :

.

dailymail130923_001

Get over your fears while you sleep: Study finds that SMELLING ‘fear’ at night could help you tackle phobias in the morning

  • Study trained people to associate images, linked to different smells, with fear
  • When exposed to smells during sleep, they woke up less afraid of the image
  • Technique could be used to treat phobias and stress-related disorders

By ELLIE ZOLFAGHARIFARD

PUBLISHED: 15:28 GMT, 23 September 2013

Smells that trigger memories could be used to calm fears while you’re asleep.

This is according to a study in Chicago which trained volunteers to associate images, linked to different smells, with fear.

When they were exposed to these smells during sleep, the test subjects woke up less afraid of the image that it was linked to.

The study, published in Nature Neuroscience, could help develop better treatment for phobias and stress-related disorders.

‘It’s a novel finding,’ said Katherina Hauner, a postdoctoral fellow in neurology at Northwestern University Feinberg School of Medicine and lead author of the study.

‘We showed a small but significant decrease in fear.’ 

Previous research has shown that memory and motor skills can be improved during sleep.

However, it wasn’t previously known that emotions could be manipulated during sleep, according to the researchers.

The study involved 15 test subjects who were each shown two different faces.

They were simultaneously subjected to a mild electric shock and a specific smell including woody, clove, new shoes, lemon or mint.

The volunteers were then monitored in a sleep lab and exposed to the same smell when they were in deep sleep for between five and 40 minutes.

When shown the faces again in the morning, they showed less fear that before they were subjected to the smell while asleep.

Deep sleep, or ‘slow wave’ sleep, is a time when we consolidate new memories and skills.

The effect was strongest for those who slept in deep sleep the longest.

Their response was measured through the amount of sweat on the skin and fMRI (functional magnetic resonance imaging) brain scans.

These revealed changes in the areas linked to memory, such as the hippocampus, and in patterns of brain activity in regions associated with emotion, such as the amygdala.

‘While this particular odorant was being presented during sleep, it was reactivating the memory of that face over and over again which is similar to the process of fear extinction during exposure therapy,’ said Dr Hauner.

‘If it can be extended to pre-existing fear, the bigger picture is that, perhaps, the treatment of phobias can be enhanced during sleep,’ she added.

SOURCE: dailymail.co.uk

สาเหตุที่ต้องขึ้นเตียง เพื่อเติมน้ำมันสมอง

thairath130906_001นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยวิสคอนซินของอเมริกา เชื่อมั่นว่า รู้สาเหตุแล้วว่า เหตุใดคนเราต้องนอนหลับ ที่แท้ก็เพื่อที่จะ “เติมน้ำมัน”  ให้กับบรรดาเซลล์สมองเรือนเป็นล้านๆ นั่นเอง

การนอนจะไปเร่งระดมสร้างเซลล์สมอง ซึ่งจะไปผลิตสารอันเป็นฉนวน ที่เรียกว่า ไมอีลิน ที่คอยป้องกันวงจรของสมอง

พวกเขาได้ความรู้มาจากการศึกษากับหนู และรู้มาว่า เมื่อหนูหลับ การผลิตไมอีลีนเพื่อไปสร้างเซลล์ประสาทชนิดหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลางที่มีกิ่งก้านน้อยเพียง 2-3 กิ่ง จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

นักวิทยาศาสตร์พยายามหาเหตุผลการนอนของคนเรามานานหลายศตวรรษแล้ว รู้แต่เพียงว่าเราต้องนอนเพื่อพักผ่อนและสมองจะได้ทำงานดีขึ้น เพิ่งจะมารู้สาเหตุทางด้านชีววิทยาเมื่อไม่นานมานี้เอง

ดร.เชียรา ไซเรลลิ หัวหน้านักวิจัย ชี้ว่า ความรู้จากหนูจะช่วยให้เข้าใจในความสำคัญของการนอน เพื่อซ่อมแซมและความเจริญเติบโตของสมองมากขึ้น.

ที่มา :  ไทยรัฐ 6 กันยายน 2556

 

.

Related Article:

.

Myelin ensheaths nerves to protect them and speed up their signalling

Myelin ensheaths nerves to protect them and speed up their signalling

Sleep ‘boosts brain cell numbers’

4 September 2013

Scientists believe they have discovered a new reason why we need to sleep – it replenishes a type of brain cell.

Sleep ramps up the production of cells that go on to make an insulating material known as myelin which protects our brain’s circuitry.

The findings, so far in mice, could lead to insights about sleep’s role in brain repair and growth as well as the disease MS, says the Wisconsin team.

The work is in the Journal of Neuroscience.

Dr Chiara Cirelli and colleagues from the University of Wisconsin found that the production rate of the myelin making cells, immature oligodendrocytes, doubled as mice slept.

The increase was most marked during the type of sleep that is associated with dreaming – REM or rapid eye movement sleep – and was driven by genes.

In contrast, the genes involved in cell death and stress responses were turned on when the mice were forced to stay awake.

Precisely why we need to sleep has baffled scientists for centuries. It’s obvious that we need to sleep to feel rested and for our mind to function well – but the biological processes that go on as we slumber have only started to be uncovered relatively recently.

Growth and repair

Dr Cirelli said: “For a long time, sleep researchers focused on how the activity of nerve cells differs when animals are awake versus when they are asleep.

“Now it is clear that the way other supporting cells in the nervous system operate also changes significantly depending on whether the animal is asleep or awake.”

The researchers say their findings suggest that sleep loss might aggravate some symptoms of multiple sclerosis (MS), a disease that damages myelin.

In MS, the body’s immune system attacks and destroys the myelin coating of nerves in the brain and spinal cord.

Future studies could look at whether or not sleep affects the symptoms of MS, says Dr Cirelli.

Her team is also interested in testing whether lack of sleep, especially during adolescence, may have long-term consequences for the brain.

Sleep appears necessary for our nervous systems to work properly, says the US National Institute of Neurological Disorders and Stroke (NINDS).

Deep sleep coincides with the release of growth hormone in children and young adults. Many of the body’s cells also show increased production and reduced breakdown of proteins during deep sleep.

Since proteins are the building blocks needed for cell growth and for repair of damage from factors like stress and ultraviolet rays, deep sleep may truly be “beauty sleep”, says NINDS.

SOURCE : www.bbc.co.uk

เคล็ดของความงาม การนอนหลัับเต็มอิ่ม

thairath130905_001นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ของสวีเดน ไขเคล็ดลับการบำรุงรักษาความงามของสุภาพสตรีทั้งหลายว่า ไม่มีอะไรจะวิเศษไปกว่าการหลับนอนอย่างเต็มอิ่ม

นักศึกษาตินา ซุนเดลิน คณะจิตวิทยาผู้ศึกษาได้ยกเหตุผลให้ฟังว่า สตรีคนไหนก็ได้ ให้ลองส่องกระจกเพ่งพิศใบหน้าเนื้อตัวดูภายหลังจากการอดนอนมา ก็จะเห็นแต่เค้ารอยการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ดวงตาบวมแดงช้ำ ใต้ตาเหี่ยวย่น ดำคล้ำ ดวงหน้าก็จะดูเศร้าสร้อยยิ่งกว่าคนที่หลับนอนปกติ และท่าทางเศร้าสร้อยยังพลอยให้ดูเห็นเป็นคนอ่อนเปลี้ยเพลียแรงอีกด้วย

ก่อนหน้านี้เมื่อตอนต้นปี ทางศูนย์แพทย์ มหาวิทยาลัยฮอสปิตัล แคส ที่สหรัฐฯ เคยศึกษาพบว่าการนอนหลับไม่เต็มที่ จะทำให้ผิวหนังแสดงร่องรอยของความชราออกมาให้เห็นมากขึ้น และหายจากความเสียหาย จากแดดจากลมได้ช้ากว่า

แพทย์ของสถานพยาบาลเมโยชื่อดังของอเมริกาก็เคยแนะนำว่า ถ้าหากใช้การนอนหลับเพื่อบำรุงความงาม ก็ควรจะนอนตามกำหนดเวลาทุกวัน ไม่เว้นแต่เสาร์-อาทิตย์ กินอาหารให้ครบส่วน หลีกเลี่ยงคาเฟอีน ไม่ควรจะกินหนักก่อนนอน ออกกำลังตอนกลางวัน และทำให้สมองว่าง ไม่คิดกังวลอะไรมากตอนนอน.

ที่มา :  ไทยรัฐ 5 กันยายน 2556

.

Related Article:

.

nydailynews130903_001

Lack of sleep makes us look sad and old: study

AFP RELAXNEWS
TUESDAY, SEPTEMBER 3, 2013

People who stayed up for nearly a day and a half looked sadder and had more apparent wrinkles than when they were well-rested, a small Swedish study found.

A small new study now confirms that your best beauty trick is to get a good night’s sleep.

Findings revealed what you’ve probably seen in the mirror after a rough night: sleep-deprived people look more, shall we say, worn-out, with redder, more swollen eyes, darker under-eye circles, more wrinkles and droopier eyelids and mouths than their well-rested selves. People also looked sadder when sleep-deprived than after a normal sleep, and this apparent sadness was related to looking fatigued, the researchers said.

“Since faces contain a lot of information on which humans base their interactions with each other, how fatigued a person appears may affect how others behave toward them,” said Tina Sundelin, author and doctoral student in the department of psychology at Stockholm University in Stockholm, Sweden. “This is relevant not only for private social interactions, but also official ones such as with health care professionals and in public safety.”

To conduct their research, Sundelin and a team from Karolinska Institute in Stockholm recruited 10 subjects, who were photographed on two separate occasions: after eight hours of normal sleep and after 31 hours of sleep deprivation. The photographs were taken in the laboratory at 2:30 pm on both occasions. Forty participants rated the 20 facial photographs with respect to various facial cues, fatigue, and sadness.

In a separate study announced earlier this year, University Hospitals Case Medical Center in Cleveland, Ohio found that poor sleepers showed “increased signs of skin aging and slower recovery from a variety of environmental stressors,” such as ultraviolet radiation, the researchers said.

If you struggle with getting quality beauty sleep, WebMD and the Mayo Clinic offer the following tips to boost your slumber: Stick to a regular sleep schedule, even on weekends. Eat well, and avoid caffeine in the evenings or overeating before bedtime. Also try sleep accessories, such as a white noise machine or ear plugs, to block out distractions. Exercise during the day, which can aid sleep, and try to clear your mind from too much clutter before bedtime by writing in a journal beforehand, for example.
SOURCE: www.nydailynews.com

ข้างขึ้นเดือนหงายคนนอนไม่ค่อยหลับ

thairath130826_001หลายท่านอาจจะเคยบ่นกันมาบ้างแล้วว่า คืนเดือนหงายมักจะนอนไม่ค่อยหลับ และบัดนี้ วารสารวิชาการ “ชีววิทยาปัจจุบัน” ของสหรัฐฯได้เปิดเผยว่า เรื่องนี้มีหลักฐานที่เป็นความจริงทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้างเหมือนกัน ทั้งปรากฏการณ์ ความรู้สึกในเรื่องนี้ ยังแสดงว่ามนุษย์เราแม้จะมีความสุขกับโลกที่เจริญก้าวหน้าดีอยู่แล้ว ก็ยังอดหวั่นไหวกับคืนเดือนมืดเดือนหงาย ตามปฏิทินแบบจันทรคติอยู่ไม่ได้

จิตแพทย์คริสเตียน คาโจเชน ของโรงพยาบาลโรคจิต มหาวิทยาลัยบาเซิล กล่าวว่า ข้างขึ้นข้างแรมมีอิทธิพลกับการนอนของเราเหมือนกัน แม้ว่าจริงๆ เราอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นคืนข้างขึ้นหรือข้าง แรมก็ตาม

หมอกับคณะได้ศึกษากับอาสาสมัครต่างวัย 2 กลุ่ม ในห้องปฏิบัติการทดลอง โดยคอยวัดแบบแผนการนอนด้วยการสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกตา และฮอร์โมนในสมอง

เมื่อนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ได้พบว่า หากเป็นคืนวันเพ็ญ สมองในช่วงการหลับลึกจะอ่อนแรงลงไปร้อยละ 30 นอกนั้นกว่าจะหลับตาลงได้ จะช้าไปกว่าเคย 5 นาที รวมแล้วทั้งคืนจะนอนน้อยกว่าปกติไป 20 นาที

นายแพทย์คริสเตียนให้ความเห็นว่า อิทธิพลของดวงจันทร์คงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสืบพันธุ์ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นของมนุษย์อยู่ และปรากฏว่า ยังมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมรูปแบบอื่นอีกด้วย เช่น ต่อสติปัญญาและอารมณ์.

ที่มา : ไทยรัฐ 26 สิงหาคม 2556

.

Related Article :

.

Study links lunar cycles and human sleep patterns

By ScienceNOW,July 29, 2013

In the days close to a full moon, people take longer to doze off, sleep less deeply and sleep for a shorter time, even if the moon isn’t shining in their window, a new study has found.

“A lot of people are going to say, ‘Yeah, I knew this already. I never sleep well during a full moon.’ But this is the first data that really confirms it,” says biologist Christian Cajochen of the University of Basel in Switzerland, lead author of the new study. “There had been numerous studies before, but many were very inconclusive.”

Anecdotal evidence has long suggested that people’s sleep patterns and moods are linked to moon cycles. But past studies of lunar effects have been marred by statistical weaknesses, biases or inconsistent methods, Cajochen says.

Between 2000 and 2003, he and his colleagues had collected data on the sleep patterns of 33 healthy volunteers for an unrelated study. Using electroencephalograms, which measure brain activity, they recorded how deep and how long each participant’s nightly sleep was in a controlled, laboratory setting.

Years after the initial experiment, the scientists reexamined the data for correlations with moon cycles. Their findings showed a striking association between poor sleep and lunar cycles.

In the few days before and after a full moon, for example, people took an average of five extra minutes to fall asleep, slept 20 minutes less per night and had 30 percent less deep sleep. Moreover, around the time of the full moon, the volunteers recorded poorer sleep, the scientists reported last week in the journal Current Biology.

“This paper showed that it’s possible to detect a correlation between the human sleep cycle and lunar phases,” said neuroscientist Kristin Tessmar-Raible of the Max F. Perutz Laboratories in Vienna, who was not involved in the new work “And the question now is: What is the mechanism behind this?”

Because the study participants hadn’t been able to see the moon, increased light levels didn’t cause the effect, at least not entirely. More likely, the effect is influenced only slightly by light or other external factors and is maintained internally, Cajochen speculates.

— ScienceNOW, the daily online news service of the journal Science

SOURCE : washingtonpost.com

การนอน…เป็นเรื่องธรรมชาติ

dailynews130720_001คงจะเป็นเรื่องที่ทรมานพอดู หากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเกิดนอนไม่หลับขึ้นมา ในขณะที่ผู้คนค่อนเมืองกำลังหลับใหลอย่างมีความสุขอยู่

กลางคืนเป็นเวลาส่วนใหญ่ที่คนเราใช้พักผ่อน เตียงนอนกลายเป็นภาพที่เห็นแล้วควรจะรู้สึกผ่อนคลาย ปล่อยตัวลงนอนอย่างมีความสุข แต่แปลกที่บางคนกลับมีความรู้สึกตรงกันข้าม มีความรู้สึกกลัวเข้ามาแทน กลัวการนอน กลัวจะนอนไม่หลับ เห็นเตียงนอนแทนที่จะมีความสุข กลับมีความวิตกกังวล เหมือนเป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้จะถึงช่วงเวลาแห่งการทรมานอีกแล้ว การนอนจึงสามารถที่จะทำให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ขึ้นมาก็ได้ แต่คงยังไม่ต้องหมดหวังหากท่านผู้อ่านบางท่านกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ เพียงความเข้าใจธรรมชาติของการนอนบางอย่างก็อาจจะทำให้ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นบรรเทาลงไปได้

การนอนเป็นเรื่องของธรรมชาติ

คำกล่าวนี้กล่าวได้ตรงประเด็นของธรรมชาติของการนอนจริงๆ หลายคนพยายามตั้งใจมีอุตสาหะอย่างมากในการที่จะทำให้ตัวเองหลับให้ได้ในคืนนี้ บางคนยิ่งกว่านั้น ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเองว่า “ต้อง” หลับให้ได้ภายในเท่านั้นเท่านี้นาที ซึ่งการนอนหลับไม่ใช่เป็นเรื่องที่สั่งกันได้ สั่งให้หลับก็หลับได้ ยิ่งถ้าตั้งใจอยากจะหลับ จะพบแต่ความรู้สึกตื่นอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาที่การหลับพร้อมที่จะเกิด มันจะแสดงตัวของมันออกมาเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป บรรยากาศในขณะเข้าสู่การหลับก็เป็นเรื่องที่สำคัญ หากมีเรื่องต้องคอยคิด ต้องคอยใจจดใจจ่อกับการหลับอยู่ตลอด ก็จะยิ่งทำให้สมองตื่น ไม่มีการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ ดังนั้น การที่ไม่ไปเร่งรีบที่จะต้องหลับให้ได้ รวมกับบรรยากาศที่สบายๆ จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เงียบสงบ ไม่อึกทึกครึกโครม ไฟในห้องไม่สว่างจ้าเกินไป อุณหภูมิพอเหมาะที่จะทำให้เกิดความสบาย รวมทั้งสภาพร่างกายที่พร้อม เช่น ไม่หิวเกินไป ไม่อิ่มเกินไป รวมทั้งเหนื่อยหรือเพลียเกินไป เหล่านี้ก็จะช่วยทำให้การหลับเกิดขึ้นได้อย่างสบายมากขึ้น
ต้องนอนให้ได้ไม่ต่ำกว่า…ชั่วโมงจึงจะใช้ได้

หลายคนมีความคิดให้กับตัวเองว่า ต้องนอนให้ได้ไม่น้อยกว่าเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมงจึงจะพอ ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่ได้มานั้น อาจได้มาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะจากหนังสือ หรือตำรา จากเคยได้ยินคนพูดกัน หรืออาจจะเคยทดสอบกับตัวเองมาแล้ว การกำหนดชั่วโมงการนอนให้กับตัวเองนั้น เท่ากับเป็นการตั้งกฎเกณฑ์อันใหม่เพื่อให้ตัวเราได้มีเรื่องกังวลขึ้นมาอีกหนึ่งเรื่อง ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนชั่วโมงที่ได้ยินได้ฟังกันมานั้น เป็นจำนวนตัวเลขเฉลี่ยของหลาย ๆ คน ซึ่งไม่อาจนำมาเป็นบรรทัดฐาน ยึดติดกับตัวเองได้

ความพอเพียงของการนอนนั้นไม่ได้อยู่ที่จำนวนชั่วโมง หากแต่อยู่ที่ความรู้สึกที่ได้รับหลังจากการหลับแล้วมากกว่า ความรู้สึกอิ่ม ความรู้สึกสดชื่น ต่างหากที่จะเป็นตัวบอกเราว่าพอเพียงหรือยังกับการนอนของเรา บางคนอาจใช้เวลาแค่ 6 ชั่วโมง ก็รู้สึกอิ่มเต็มที่แล้ว แต่ในขณะที่บางคนต้องการการนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกสดชื่นเต็มที่

อายุก็มีส่วนสำคัญเหมือนกัน

อายุเองก็มีผลทำให้สภาพการนอนแตกต่างกันไปได้ในแต่ละวัย ลองสังเกตเด็กทารกตัวน้อย ๆ จะพบว่านอนเก่งเสียจริง ตื่นขึ้นมาเพื่อทานนม สักครู่เดียวพออิ่มก็จะหลับต่อแล้ว เมื่อเด็กเริ่มโตมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนชั่วโมงที่ใช้ไปในการนอนก็จะเริ่มน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางวัน และจะมีลักษณะพิเศษอีกครั้งในช่วงวัยรุ่น โดยธรรมชาติแล้ว วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการจำนวนชั่วโมงการนอนที่ค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับวัยอื่น แต่ต่างกันตรงที่ว่าคนวัยนี้จะเริ่มง่วงเมื่อดึก ดังนั้น วัยรุ่นจึงมักจะเข้านอนดึกและตื่นสาย อันนี้เป็นธรรมชาติของเขา ส่วนอีกวัยหนึ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของการนอนได้ชัดเจนก็คือวัยสูงอายุ แท้จริงแล้ววัยนี้ไม่ได้ต้องการการนอนที่น้อยลงไป หากแต่คุณภาพของการนอนต่างหากที่ลดน้อยถอยลง รวมทั้งความง่วงที่พร้อมจะหลับนั้นจะเกิดขึ้นเร็วกว่าคนหนุ่มสาว จึงไม่แปลกเลยที่จะพบว่าคนในวัยนี้มักจะเข้านอนแต่หัวค่ำ แล้วตื่นแต่เช้ามืด (บางคนก็จะคอยปลุกลูกหลานซึ่งอยู่คนละวัยให้ตื่นตามขึ้นมาด้วย โดยมีเหตุผลต่าง ๆ นานา อย่างหนึ่งก็คือ อากาศตอนเช้ามันแสนจะบริสุทธิ์ ทั้งที่ในความเป็นจริง หลับๆ อยู่ก็สามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าได้เหมือนกัน) คุณภาพการนอนของคนวัยนี้จะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไรนัก มักจะหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้บางคนไม่ค่อยสดชื่นเต็มอิ่มนัก

มีการศึกษาพบข้อมูลว่าจำนวนการหลับลึกนั้นจะลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น และชายสูงอายุจะมีจำนวนการหลับลึกนี้น้อยกว่าในหญิงสูงอายุค่อนข้างชัดเจน นอกจากนี้คนสูงอายุมักจะมีการงีบหลับในตอนบ่ายอีกช่วงหนึ่งด้วย ซึ่งถ้าหากนับรวมจำนวนชั่วโมงในหนึ่งวันแล้ว ก็จะพอ ๆ กับจำนวนชั่วโมงการนอนในวัยคนหนุ่มสาวได้

ฉบับหน้ามาติดตามกันว่า สาเหตุการนอนไม่หลับที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่นั้นเกิดจากอะไร และมีวิธีการแก้ไขอย่างไรกันบ้าง.

นพ.จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : เดลินิวส์  20 กรกฎาคม 2556

โรค…..นอนไม่หลับ

dailynews130714_001คงจะเป็นเรื่องที่ทรมานพอดู หากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเกิดนอนไม่หลับขึ้นมา ในเวลาขณะที่ผู้คนค่อนเมืองกำลังหลับใหลอย่างมีความสุขอยู่ กลางคืนเป็นเวลาส่วนใหญ่ที่คนเราใช้พักผ่อน เตียงนอนเป็นภาพที่เห็นแล้วควรจะรู้สึกผ่อนคลาย ปล่อยตัวลงนอนอย่างมีความสุข แต่แปลกที่บางคนกลับมีความรู้สึกตรงกันข้าม มีความรู้สึกกลัวเข้ามาแทน กลัวการนอน กลัวจะนอนไม่หลับ เห็นเตียงนอนแทนที่จะมีความสุข กลับมีความวิตกกังวล เหมือนเป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้จะถึงช่วงเวลาแห่งการทรมานอีกแล้ว การนอนจึงสามารถที่จะทำให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ขึ้นมาก็ได้ แต่คงยังไม่ต้องหมดหวังหากท่านผู้อ่านบางท่านกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ เพียงความเข้าใจธรรมชาติของการนอนบางอย่างก็อาจจะทำให้ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นบรรเทาลงไปได้

การนอนเป็นเรื่องของธรรมชาติ

ครับ คำกล่าวนี้กล่าวได้ตรงประเด็นของธรรมชาติของการนอนจริง ๆ หลายคนพยายามตั้งใจมีอุตสาหะอย่างมากในการที่จะทำให้ตัวเองหลับให้ได้ในคืนนี้ บางคนยิ่งกว่านั้น ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเองว่า “ต้อง” หลับให้ได้ภายในเท่านั้นเท่านี้นาที การนอนหลับไม่ใช่เป็นเรื่องที่สั่งกันได้ สั่งให้หลับก็หลับได้ ยิ่งถ้าตั้งใจอยากจะหลับ จะพบแต่ความรู้สึกตื่นอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาที่การหลับพร้อมที่จะเกิด มันจะแสดงตัวของมันออกมาเองอย่างค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปครับ บรรยากาศในขณะเข้าสู่การหลับก็เป็นเรื่องที่สำคัญ หากมีเรื่องต้องคอยคิด ต้องคอยใจจดใจจ่อกับการหลับอยู่ตลอดก็จะยิ่งทำให้สมองตื่นไม่มีการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ ดังนั้นการที่ไม่ไปเร่งรีบที่จะต้องหลับให้ได้รวมกับบรรยากาศที่สบาย ๆ ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เงียบสงบ ไม่อึกทึกครึกโครม ไฟในห้องไม่สว่างจ้าเกินไป อุณหภูมิพอเหมาะที่จะทำให้เกิดความสบาย รวมทั้งสภาพร่างกายที่พร้อม เช่น ไม่หิวเกินไป อิ่มเกินไป รวมทั้งเหนื่อยหรือเพลียเกินไป เหล่านี้ก็จะช่วยทำให้การหลับเกิดขึ้นได้อย่างสบายๆ มากขึ้น

ต้องนอนให้ได้ไม่ต่ำกว่า…………ชั่วโมงจึงจะใช้ได้

หลายคนมีความคิดให้กับตัวเองว่า ต้องนอนให้ได้ไม่น้อยกว่าเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมงจึงจะพอ ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่ได้มานั้นอาจได้มาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะจากหนังสือ หรือตำรา จากเคยได้ยินคนพูดกัน หรืออาจจะเคยทดสอบกับตัวเองมาแล้ว การกำหนดชั่วโมงการนอนให้กับตัวเองนั้น เท่ากับเป็นการตั้งกฎเกณฑ์อันใหม่เพื่อให้ตัวเราได้มีเรื่องกังวลขึ้นมาอีกหนึ่งเรื่อง ความจริงแล้ว จำนวนชั่วโมงที่ได้ยินได้ฟังกันมานั้น เป็นจำนวนตัวเลขเฉลี่ยของหลายๆคน ไม่อาจนำมาเป็นบรรทัดฐาน ยึดติดกับตัวเองได้ ความพอเพียงของการนอนนั้นไม่ได้อยู่ที่จำนวนชั่วโมง หากแต่อยู่ที่ความรู้สึกที่ได้รับหลังจากการหลับแล้วมากกว่า ความรู้สึกอิ่ม ความรู้สึกสดชื่นต่างหากที่จะเป็นตัวบอกเราว่าพอเพียงหรือยังกับการนอนของเรา บางคนอาจใช้เวลาแค่ 6 ชั่วโมง ก็รู้สึกอิ่มเต็มที่แล้ว แต่ในขณะที่บางคนต้องการการนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกสดชื่นเต็มที่

อายุก็มีส่วนสำคัญเหมือนกัน

อายุเองก็มีผลทำให้สภาพการนอนแตกต่างกันไปได้ในแต่ละวัย ลองสังเกตเด็กทารกตัวน้อย ๆ จะพบว่านอนเก่งเสียจริง ๆ ตื่นขึ้นมาเพื่อทานนม สักครู่เดียวพออิ่มก็จะหลับต่อแล้ว เมื่อเด็กเริ่มโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนชั่วโมงที่ใช้ไปในการนอนก็จะเริ่มน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางวัน และจะมีลักษณะพิเศษอีกครั้งในช่วงวัยรุ่น โดยธรรมชาติแล้ว วัยรุ่นเป็นวัยหนึ่งที่ต้องการจำนวนชั่วโมงการนอนที่ค่อนข้างนาน เมื่อเทียบกับวัยอื่น แต่ต่างกันตรงที่ว่าคนวัยนี้จะเริ่มง่วงเมื่อดึก ดังนั้นวัยรุ่นจึงมักจะเข้านอนดึก และตื่นสาย อันนี้เป็นธรรมชาติของเขา ส่วนวัยอีกวัยหนึ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของการนอนได้ชัดเจนก็คือวัยสูงอายุ จริง ๆ แล้ววัยนี้ไม่ได้ต้องการการนอนที่น้อยลงไป หากแต่คุณภาพของการนอนต่างหากที่ลดน้อยถอยลง รวมทั้งความง่วงที่พร้อมจะหลับนั้นจะเกิดขึ้นเร็วกว่าคนหนุ่มสาว จึงไม่แปลกเลยที่จะพบว่าคนในวัยนี้มักจะเข้านอนแต่หัวค่ำ แล้วตื่นแต่เช้ามืด (ซึ่งบางคนก็จะคอยปลุกลูกหลานซึ่งอยู่คนละวัยให้ตื่นตามขึ้นมาด้วย โดยมีเหตุผลต่าง ๆ นานา อย่างหนึ่งก็คือ อากาศตอนเช้ามันแสนจะบริสุทธิ์ ทั้งที่ความจริงแล้ว หลับ ๆ อยู่ก็สามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้าได้เหมือนกัน) คุณภาพการนอนของคนวัยนี้จะไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไรนัก มักจะหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้บางคนไม่ค่อยสดชื่นเต็มอิ่มนัก มีการศึกษาพบข้อมูลว่าจำนวนการหลับลึกนั้นจะลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น และชายสูงอายุจะมีจำนวนการหลับลึกนี้น้อยกว่าในหญิงสูงอายุค่อนข้างชัดเจน นอกจากนี้คนสูงอายุมักจะมีการงีบหลับในตอนบ่ายอีกช่วงหนึ่งด้วย ซึ่งถ้าหากนับรวมจำนวนชั่วโมงในหนึ่งวันแล้ว ก็จะพอ ๆ กับจำนวนชั่วโมงการนอนในวัยคนหนุ่มสาวได้

เมื่อไหร่จึงควรปรึกษาแพทย์

คำตอบของคำถามนี้อาจไม่ได้อยู่ที่ระยะเวลา แต่คงอยู่ที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าการนอนไม่หลับที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้น มันเริ่มรบกวนความคิด ความรู้สึก หรือชีวิตประจำวัน ก็สามารถพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาได้ นอกจากนี้หากมีอาการอย่างอื่นเกิดขึ้น นอกเหนือจากนอนไม่หลับ เช่น อารมณ์ที่หดหู่, ความวิตกกังวลสูง หรือมีอาการทางด้านร่างกาย เช่น ใจสั่น ขากระตุก อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจ หรือระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจจะปรึกษาหารือกับแพทย์ได้เช่นกัน

สุขภาพการนอนจำเป็นจะต้องได้รับการทะนุถนอม

หลายคนไม่ให้ความใส่ใจดูแลสุขภาพการนอนของตนเองเท่าที่ควร อาจมีทัศนคติที่ว่า ยังมีเวลานอนอีกเหลือเฟือ ตอนนี้ต้องรีบทำงานเอาไว้ก่อนแล้วค่อยพักผ่อนทีหลัง แต่จริง ๆ แล้ว ร่างกายอาจไม่เห็นด้วยกับความคิดเช่นนี้ สุขภาพร่างกายที่ดีในระยะยาวควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ทั้งเวลาหลับและตื่นด้วย การนอนหลับมีคุณสมบัติที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือว่า ถ้านอนหลับได้ไม่ครบกับที่ร่างกายต้องการแล้วจะก่อให้เกิด “หนี้” การนอนขึ้น หนี้นี้จะสะสมได้ไปเรื่อย ๆ ถ้ายังมีการอดหลับอดนอนอยู่ และการใช้หนี้นี้มีอยู่วิธีเดียวคือ การนอนชดเชย จะโดยตั้งใจชดเชยหรือไม่ตั้งใจจะชดเชย เช่น ลักษณะของการหลับในก็แล้วแต่ ดังนั้นควรนอนให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกายไม่มากไม่น้อยจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีสิ่งละอันพันละน้อยที่ส่งเสริมการนอนหลับให้มีคุณภาพได้มากยิ่งขึ้น ได้แก่

-ควรเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาสม่ำเสมอ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรตื่นนอนให้เป็นเวลา ไม่ควรนอนแช่ต่อทั้ง ๆ ที่ไม่หลับ ด้วยจุดประสงค์เพื่ออยากจะชดเชยการนอนที่ไม่ดีของเมื่อคืนที่ผ่านไป เพราะการทำเช่นนั้นจะยิ่งทำให้คุณภาพและประสิทธิภาพการนอนแย่ลงไปอีก

-หลีกเลี่ยงการเก็บเรื่องต่าง ๆ มาคิดเวลาจะนอน สมองคนเราเวลาใกล้นอนควรจะได้รับการผ่อนคลาย เปรียบเหมือนเครื่องยนต์ก็ไม่ควรที่จะติดเครื่องให้ร้อนตลอดเวลา เพราะจะทำให้หลับยาก ถ้าอยากจะคิดก็ควรหาเวลาช่วงหัวค่ำ นั่งคิดไปเรื่อย ๆ จนอิ่ม จนไม่รู้จะคิดอะไรแล้ว จะได้ไม่ต้องนำเรื่องนั้นมาคิดอีกตอนจะนอน

-บรรยากาศในห้องนอนก็มีส่วนช่วยการหลับได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุณหภูมิของห้อง ความสว่าง ความเงียบ ความสะอาดของที่นอน ความสบายของการนอนบนที่นอน เป็นต้น

-หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนเข้านอน ควรออกกำลังกายช่วงเย็น หรือช่วงเช้า เพื่อไม่ให้ร่างกายตึงตัวเกินไปก่อนจะเข้านอน

-สารต่าง ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นสมองก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ หรือกาแฟ รวมทั้งเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ด้วย

-ส่วนข้อสุดท้ายที่คิดว่าสำคัญมาก และอยากจะขอฝากไว้ให้กับท่านผู้อ่านที่อาจจะมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับเรื้อรังว่า ไม่ควรวิตกกังวล และใจจดใจจ่อกับการนอนหลับในแต่ละคืนจนเกินไป รวมทั้งผลตามมาของวันรุ่งขึ้นด้วย ถ้าบังเอิญคืนนี้เกิดนอนไม่หลับขึ้นมาบอกกับตัวเองได้เลยครับว่า “นอนไม่หลับ…..ก็ช่างมันเถอะครับ”

ข้อมูลจาก นายแพทย์จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์

ที่มา : เดลินิวส์ 14 กรกฎาคม 2556

นอนหลับให้เต็มอิ่มป้องกันโรคหัวใจได้

thairath130708_001นักวิจัยของเนเธอร์แลนด์ ได้พบจากการติดตามศึกษาคนไข้โรคหัวใจและอัมพาต จำนวนไม่น้อยกว่า 14,000 คน มานาน 10 กว่าปีพบว่าการนอนหลับเต็มอิ่ม ไม่ต่ำกว่าคืนละ 7 ชม. จะทำให้หัวใจมีสุขภาพแข็งแรง

พวกเขาพบว่า คนที่ปฏิบัติตามข้อแนะนำในการดำรงชีวิต 4 ข้อ มีการออกกำลัง กินอาหารที่เป็นประโยชน์ กินเหล้าแต่พอประมาณและไม่สูบบุหรี่ จะป่วยด้วยโรคหัวใจกับหลอดเลือดหัวใจ น้อยลงถึงร้อยละ 57 และโรคลมอัมพาตน้อยกว่าร้อยละ 67 และหากได้นอนเต็มอิ่ม คืนละไม่ต่ำกว่า 7 ชม.ด้วยแล้ว ก็จะ ยิ่งเป็นผลดีหนักขึ้น จะหนีห่างจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นเป็นร้อยละ 65 และโรคลมอัมพาตมากถึงร้อยละ 83

ในเวลาเดียวกัน เจ้าหน้าที่อาวุโสของมูลนิธิโรคหัวใจแห่งอังกฤษ ก็ช่วยทำความเข้าใจว่า ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่ค่อยหลับก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะไม่ได้หมายความว่า การนอนไม่หลับจะทำให้เป็นโรคหัวใจไปด้วย คงจะต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อจะได้เข้าใจความเกี่ยวพันของการนอนกับโรคหัวใจให้มากขึ้น “ผู้ที่นอนหลับยาก ควรจะหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน และการกินอิ่มเต็มที่ ตอนใกล้ๆ กับเวลานอนเสีย”.

 

ที่มา : ไทยรัฐ  8 กรกฎาคม 2556

.

Related Article :

.

Sleep is good for the heart as well as the mind, say researchers

Sleep is good for the heart as well as the mind, say researchers

Good night’s sleep ‘protects heart’

By Helen Briggs

BBC News 3 July 2013

Seven or more hours’ sleep a night boosts the benefits to the heart of a healthy lifestyle, research suggests.

According to a large study, traditional advice on exercise, diet, drinking and smoking reduced deaths from heart disease or stroke, but even more lives were saved by also having enough sleep.

Advice on getting enough sleep could have a substantial impact on public health, say European researchers.

In theory, many heart and stroke deaths could be prevented or postponed.

A team in the Netherlands tracked heart disease and strokes in more than 14,000 men and women for more than a decade.

By the end of the study, about 600 individuals had suffered heart disease or stroke, and 129 died.

The study found that deaths were less likely in people who followed all four positive lifestyle recommendations – taking exercise, eating a healthy diet, drinking alcohol in moderation, and not smoking.


This research shows that combining a good night’s sleep with other healthy lifestyle choices can reduce your risk of heart disease”

Doireann MaddockBritish Heart Foundation

Observing all four behaviours was associated with a 57% lower risk of cardiovascular disease and a 67% lower risk of dying from stroke or heart disease, they say.

But when sufficient sleep – seven or more hours a night – was added to the other four lifestyle factors, the beneficial effect was amplified – resulting in a 65% lower risk of cardiovascular disease and an 83% lower risk of death from cardiovascular disease.

The researchers say other studies have shown a link between poor sleep and cardiovascular disease, but this is the first to look at whether sleep – added to the other four healthy lifestyle recommendations – can further reduce risk.

“If all participants adhered to all five healthy lifestyle factors, 36% of composite cardiovascular disease [heart disease or stroke] and 57% of fatal cardiovascular disease could theoretically be prevented or postponed,” say the researchers, from the National Institute for Public Health and the Environment, Bilthoven, and Wageningen University.

“The public health impact of sufficient sleep duration, in addition to the traditional healthy lifestyle factors, could be substantial.”

Commenting on the work, published in the European Journal of Preventive Cardiology, Prof Grethe S Tell, of the University of Bergen, Norway, said the benefits of sleep should be considered by public health experts and parents alike.

“The main message of the study is that we need to consider sleep as an important factor for health,” she told BBC News.

“From a public health point of view we should encourage people to get enough sleep and like all other healthy lifestyle factors this needs to be taught at home.”

Sleepless nights

Doireann Maddock, senior cardiac nurse at the British Heart Foundation, said people suffering sleepless nights should not be alarmed.

“This research shows that combining a good night’s sleep with other healthy lifestyle choices can reduce your risk of heart disease,” she said.

“But troubled sleepers should not be alarmed – this study doesn’t mean sleepless nights cause heart disease.”

She added that further research was needed to fully understand the link between sleeping habits and the heart.

“If you find it difficult to drift off, avoiding caffeine and heavy meals too close to the end of the day may help.

“But if lack of sleep is becoming a problem, make sure you have a chat to your doctor.”

SOURCE : www.bbc.co.uk