“ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก” ตรวจพบเร็ว…รักษาได้ทันท่วงที

dailynews130113_003aข้ออักเสบเรื้อรัง โรคดังกล่าวหลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ แต่ในความจริงนั้นมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคนี้และด้วยความที่ร่างกายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความต่างกันจึงทำให้โรคข้ออักเสบในเด็กและผู้ใหญ่ไม่เหมือนกัน จึงเรียกโรคข้ออักเสบที่เกิดกับเด็กนี้ว่า โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก

แพทย์หญิงโสมรัชช์ วิไลยุค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคข้อและรูมาติสซั่มในเด็ก หน่วยโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันและโรคข้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ว่า โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองหรือที่เรียกว่า ภูมิแพ้ตัวเอง ซึ่งภาวะภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง หมายถึง ภาวะที่ภูมิคุ้มกันทำงานเกินหน้าที่เพราะหลังจากที่กำจัดเชื้อโรคไปแล้ว ภูมิคุ้มกันยังคงทำงานอยู่จนทำร้ายร่างกายแทน ที่จะปกป้อง

“โรคดังกล่าวปัญหาอยู่ที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก อีกทั้งหลายคนไม่คาดคิดว่าสามารถจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยเด็กจะมีอาการปวดข้อ ปวดอักเสบได้เหมือนในผู้ใหญ่ ที่สำคัญเมื่อเด็กมีอาการปวดข้อ ข้อบวม และข้ออักเสบแต่ไม่สามารถอธิบายอาการสื่อสารถึงความเจ็บปวดได้ ซึ่งกว่าพ่อแม่จะทราบ เด็กต้องทนทุกข์ทรมานมีอาการข้ออักเสบมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในบางรายอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้”

โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดภูมิต้านทานจึงทำร้ายร่างกาย สาเหตุบางอย่าง ภาวะติดเชื้อ ภาวะอุบัติเหตุกระตุ้นให้โรคกำเริบ ฯลฯ ยังคงเป็นเพียงข้อสงสัยซึ่งยังสรุปไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันโรคดังกล่าวไม่เพียงเป็นปัญหาเฉพาะในบ้านเรา หากแต่ยังเป็นปัญหาในหลาย ๆ ประเทศ

dailynews130113_003b

การสังเกตความผิดปกติของอาการและการเข้าถึงการรักษาแต่เนิ่น ๆ สิ่งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปกครองควรสังเกตความผิดปกติโดยถ้าลูกมี อาการข้อบวม หากเป็นมานานอาจทำให้มีน้ำอยู่ในข้อ

เวลาที่จับมือจะรู้สึกอุ่นกว่าข้อข้างที่ปกติ มีรอยแดงบริเวณข้อ จับแล้วมีอาการเจ็บหรือมีภาวะกระดูกบริเวณที่อักเสบโตกว่าปกติ ทำให้ขาหรือแขนยาวกว่าอีกข้างและหากเป็นบริเวณข้อเข่าอาจสังเกตได้ว่ามีรอยบุ๋มข้าง ๆ

ส่วนอาการข้อติดช่วงเช้าที่เรียกว่า ภาวะมอร์นิ่ง สติฟฟ์
เนส (Morning Stiffness) หรือ ช่วงที่อากาศเย็นซึ่งทำให้ขยับข้อลำบากและปวดข้อมาก สังเกตได้จากเด็กจะเดินกะเผลกหลังจากตื่นนอน เนื่องจากเวลาหลับไม่ได้ขยับตัวทำให้สารอักเสบหลั่งออกมา แต่พอตื่นนอนขยับข้อ หรือช่วงที่อากาศอุ่นขึ้นอาการข้อติดจะดีขึ้นทุเลาลงซึ่งในอาการลักษณะนี้อาจทำให้เด็กบางรายไม่สามารถนอนกลางวัน หรือนั่งเรียนทั้งวันได้

นอกจากนี้อาการปวดข้อซึ่งส่วนมากเกิดในช่วงเช้าหรือช่วงที่อากาศเย็น บางรายอาจมีอาการปวดทั้งวัน สังเกตจากเด็กที่เป็นข้ออักเสบที่ ข้อเข่า จะไม่ยอมเดินจะร้องให้อุ้มตลอดเวลา หากเป็นที่ ข้อตะโพก จะเจ็บเวลาถูกอุ้ม ส่วนข้ออักเสบที่ ข้อมือ จะเจ็บเวลาถูกจับมือหรือจูงเดิน และหากเป็นที่ข้อเท้า เด็กก็จะเดินกะเผลก หากเป็นมากอาจเดินไม่ได้และในบางรายที่เป็น บริเวณกระดูกต้นคอ จะทำให้ไม่สามารถเงยหน้าหรือก้มหัวได้สุดทำให้มีปัญหาเวลาก้มลงเก็บของและเด็กบางคนอาจไม่สามารถหันซ้ายขวาได้ ถ้าข้ออักเสบ บริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจสังเกตได้ยากโดยเด็กที่เป็นข้ออักเสบบริเวณนี้จะอ้าปากได้ไม่สุด และปวดเวลาขยับกราม หรือเคี้ยวอาหาร อาจอ้าปากได้ไม่เท่ากันสองข้างซึ่งหากเป็นนานอาจทำให้คางเล็กไป

อีกทั้งยังอาจพบอาการอื่น ๆ อาทิ ตาอักเสบ ไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไข้จะขึ้นสูงในเวลาเดิมทุกวัน หรือมีผื่นเม็ดแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นเวลาที่มีไข้ขึ้น และเมื่อไข้ลงผื่นก็จะหายไปไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที

dailynews130113_003c

ปัจจุบันโรคข้ออักเสบ แบ่งออกเป็น 7 กลุ่มซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยอาการแต่ละกลุ่มจะไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ Systemic onset juvenile idiopathic arthritis (SoJIA) เป็นชนิดที่รุนแรงมากที่สุดและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะมีอาการอยู่ในหลายระบบของร่างกาย โดยเด็กจะเป็นไข้สูงกว่า 2 อาทิตย์ และมีผื่นแดง ที่เรียกว่า ผื่นแซลมอนขึ้นตามร่างกายเป็น ๆ หาย ๆ แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับการรักษารวดเร็วทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
dailynews130113_003e
“โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กสามารถพบได้นับแต่อายุไม่ถึงหนึ่งขวบปีถึง 16 ปีโดยเด็กที่พบตั้งแต่อายุน้อยจะยิ่งสังเกตความผิดปกติได้ยากเนื่องจากเด็กเล็กอาจไม่สามารถสื่อสารบอกความเจ็บปวดได้ การตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่า CBC, ESR และ CRP และสำหรับวิธีการรักษาใช้ยาหลายประเภท อาทิ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ชนิดเม็ดซึ่งเป็นยาชนิดแรกที่เด็กป่วยด้วยโรคข้ออักเสบทุกคนจะได้รับ ยากลุ่มสารชีวภาพ ยาที่ออกฤทธิ์เร็วและประสิทธิภาพสูงสามารถจับสารที่ก่อให้เกิดข้ออักเสบได้โดยตรง แต่ราคาค่อนข้างสูง ฯลฯ”

dailynews130113_003d

แพทย์ท่านเดิมกล่าวเพิ่มอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการทานของดิบ รวมทั้งต้องทำกายภาพบำบัด และออกกำลังอย่างถูกวิธีควบคู่ไปกับการทานยาร่วมด้วย ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย.

ที่มา : เดลินิวส์  13 มกราคม 2556

.

Related Article :

.

Juvenile Ankylosing Spondylitis

What is juvenile ankylosing spondylitis?

Juvenile ankylosing spondylitis (JAS) is a type of arthritis that affects the spine and the sites where the muscles, tendons, and ligaments are attached to bone. “Ankylosing” means stiff or rigid, “spondyl” means spine, and “itis” refers to inflammation. The disease causes inflammation of the spine and large joints, resulting in stiffness and pain. The disease may result in erosion at the joint between the spine and the hip bone (the sacroiliac joint), and the formation of bony bridges between vertebrae in the spine, fusing those bones. In addition, bones in the chest may fuse.

JAS is considered to be a multifactorial condition. Multifactorial inheritance means that “many factors” are involved in causing a health problem. The factors are usually both genetic and environmental, where a combination of genes from both parents, in addition to unknown environmental factors, produce the trait or condition. Often one gender (either males or females) is affected more frequently than the other in multifactorial traits. Multifactorial traits do recur in families because they are partly caused by genes.

A group of genes on chromosome 6 code for HLA antigens play a major role in susceptibility and resistance to disease. Specific HLA antigens influence the development of many common disorders. Some of these disorders, such as JAS, are autoimmune related and inherited in a multifactorial manner. When a child has a specific HLA antigen type associated with the disease, he/she is thought to have an increased chance to develop the disorder. The HLA antigen associated with JAS is called B27. Children with the B27 HLA antigen are thought to have an increased chance (or “genetic susceptibility”) to develop JAS; however, it is important to understand that a child without this antigen may also develop JAS. This means HLA antigen testing is not diagnostic or accurate for prediction of the condition. Males are affected with JAS three times more often than females.

JAS is one of four disorders which are classified as spondyloarthropathies. The other disorders are psoriatic arthritis, inflammatory bowel disease, and Reiter’s syndrome. These disorders have similar features such as:

  • inflammation of the spine and sacroiliac joints
  • family history of the disease
  • similar non-arthritis symptoms
  • absence of rheumatoid factor (RF) in the blood (an antibody found in the blood of most, but not all, people who have rheumatoid arthritis, as well as other rheumatic diseases)

Who is affected by juvenile ankylosing spondylitis?

AS strikes young people, typically between ages 17 and 35, but it also may affect adolescents.  AS is thought to affect males two to three times more often than it does females.

What are the symptoms of juvenile ankylosing spondylitis?

Symptoms of JAS tend to occur and disappear over periods of time. The following are the most common symptoms of JAS. However, each child may experience symptoms differently. Symptoms may include:

  • back pain, usually most severe at night during rest
  • early morning stiffness
  • stooped posture in response to back pain (bending forward tends to relieve the pain)
  • inability to take a deep breath, if the joints between the ribs and spine are affected
  • appetite loss
  • weight loss
  • fatigue
  • fever
  • anemia
  • pain at the site of attachment of muscles, ligaments, and/or tendons to bone (enthesitis)
  • joint pain, particularly in the legs
  • vague pain, usually in the buttocks, thighs, heels, or near the shoulders
  • eye inflammation that is painful and causes redness and light sensitivity; may have frequent recurrences of eye inflammation
  • organ damage, such as the heart, lungs, and eyes

Symptoms of juvenile ankylosing spondylitis may resemble other medical conditions or problems. Always consult your child’s physician for a diagnosis.

How is juvenile ankylosing spondylitis diagnosed?

In addition to a complete medical history and physical examination, diagnostic procedures for juvenile ankylosing spondylitis may include:

  • x-rays – a diagnostic test which uses invisible electromagnetic energy beams to produce images of internal tissues, bones, and organs onto film.
  • erythrocyte sedimentation rate (ESR or sed rate) – a measurement of how quickly red blood cells fall to the bottom of a test tube. When swelling and inflammation are present, the blood’s proteins clump together and become heavier than normal. Thus, when measured, they fall and settle faster at the bottom of the test tube. Generally, the faster the blood cells fall, the more severe the inflammation. (People with JAS often have an elevated ESR.)
  • detection of (HLA-B27) antigen – HLA-B27 is an antigen (a substance that causes the body to produce antibodies to fight bacteria, viruses, and other “foreign” particles to prevent infection) whose presence may indicate the presence of some type of autoimmune disease (a condition in which the body’s own defenses begin to attack the body’s cells).

Treatment for juvenile ankylosing spondylitis:

The goal of treatment for JAS is to reduce pain and stiffness, prevent deformities, and help your child maintain as normal and active a lifestyle as possible.

Specific treatment for juvenile ankylosing spondylitis will be determined by your child’s physician based on:

  • your child’s overall health and medical history
  • extent of the condition
  • your child’s tolerance for specific medications, procedures, and therapies
  • expectation for the course of the disease
  • your opinion or preference

Treatment may include:

  • nonsteroidal anti-inflammatory medication, NSAIDs, (to reduce pain and inflammation)
  • short-term use of corticosteroids (to reduce inflammation)
  • maintain proper posture
  • regular exercise, including exercises that strengthen back muscles
  • physical therapy

data from: Lucile Packard Children’s Hospital