ทำความรู้จักกับ ‘ต้อหิน’

thairath150206โดยปกติแล้วลูกตาของคนเราจะมีการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงและมีการระบายน้ำออกอย่างสมดุล ในรายที่ลูกตาผลิตน้ำเลี้ยงปกติ (หรือมากกว่า) แต่การระบายน้ำไม่สะดวก ความดันภายในลูกตาจะสูงเกินกว่าที่จอประสาทตาจะทนได้ ภาวะนี้เรียกว่า ‘ต้อหิน’ ประสาทตาจะถูกกดจนประสาทตาตาย ทำให้สูญเสียการมองเห็น และอาจตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ต้อหินเฉียบพลันเป็นอย่างไร ?

ต้อหินเฉียบพลัน หมายถึง ภาวะที่การระบายน้ำเลี้ยงในลูกตาอุดตัน ความดันลูกตาจึงสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการตาแดงผิดปกติ ตามัวลง ปวดตารุนแรง ร้าวไปที่ศีรษะ อาการจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน บางรายมีการอาเจียนร่วมด้วย มักเกิดกับผู้ที่มีมุมช่องม่านตาแคบกว่าปกติ ทำให้การระบายน้ำเลี้ยงในตาไม่สะดวก อาการมักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยอยู่ในที่มืดซึ่งจะทำให้ม่านตาขยาย การดื่มน้ำทีละมากๆ หรือความเครียดก็เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการได้เช่นกัน

ผลการรักษาจะดีมากหากผู้ป่วยรีบไปพบแพทย์ทันที แพทย์จะให้ยาลดความดันตา อาจเป็นยาหยอด ยากินหรือยาฉีด เพื่อลดความดันในลูกตาให้กลับมาสู่ระดับปกติก่อนที่จะทำลายประสาทตา เมื่ออาการต่างๆ หายไปสายตาจะกลับเป็นปกติ แพทย์มักจะแนะนำให้จัดระบบการถ่ายเทน้ำเลี้ยงในตาใหม่ โดยการผ่าตัดหรือยิงแสงเลเซอร์ตาทั้งสองข้าง เนื่องจากต้อหินชนิดนี้มักจะเป็นทั้งสองข้าง แพทย์จึงต้องรักษาข้างที่ยังไม่มีอาการด้วย

thairath150206b

ต้อหินเรื้อรังเป็นอย่างไร ?

ต้อหินเรื้อรังเป็นภาวะที่อันตราย เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองมีความผิดปกติ เพราะการระบายน้ำเลี้ยงในตามีประสิทธิภาพลดลงทีละน้อย ทำให้ความดันลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ อาจไม่มีอาการนานเป็นปี หรือมีอาการมึนศีรษะเล็กน้อยเวลาอ่านหนังสือ ตาจะเพลียและพร่ามัวกว่าธรรมดา ตามัวลง เปลี่ยนแว่นบ่อย เดินชนสิ่งของเพราะความกว้างของการมองเห็น (ลานสายตา) แคบลง ทำให้มองภาพข้างๆ ไม่เห็น จะมองเห็นเฉพาะตรงหน้า และเมื่อประสาทตาจะถูกทำลายจนหมด ตาก็จะบอดสนิทไปในที่สุด

ต้อหินชนิดเรื้อรังเมื่อเป็นนานๆ จะทำให้สูญเสียการมองเห็น และไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นดังเดิมได้ จึงเน้นควบคุมความดันตาให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันตาบอด โดยการหยอดตา กินยา และตรวจติดตามเป็นระยะ แต่หากไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ด้วยยา แพทย์อาจจะพิจารณายิงเลเซอร์หรือผ่าตัดร่วมด้วย

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหมั่นตรวจสุขภาพตา โดยเฉพาะเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป การตรวจตาเป็นประจำทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ การตรวจพบอาการในระยะแรกจะช่วยให้สามารถควบคุมประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายจนสูญเสียการมองเห็น เพราะหากถึงขั้นนั้นจะไม่สามารถแก้ไขให้ดีดังเดิมได้ สุดท้ายตาก็จะบอดสนิท

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน
  • ยาหยอดตาบางชนิดอาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดตา ตาแดง ปวดศีรษะ และแสบตา อาการอาจเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์แล้วค่อยๆ ทุเลาลง เนื่องจากตาเริ่มปรับเข้ากับยาได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องหยุดยา หากมีอาการดังกล่าว ให้รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทา
  • ยาเม็ดรับประทานอาจมีอาการข้างเคียง คือ ชาปลายมือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผู้ป่วยควรรับประทานส้มและกล้วยเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยทดแทนแร่ธาตุบางอย่างที่สูญเสียไป จะสามารถลดอาการดังกล่าวได้
  • ผู้ที่มีประวัติโรคหอบหรือโรคหัวใจ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อการพิจารณาให้ยาหยอดตาบางชนิด
การป้องกันการเกิดโรคต้อหินเรื้อรัง

1. ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจตากับจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง

2. ผู้ที่ควรได้รับการตรวจกับจักษุแพทย์เป็นประจำ ได้แก่

  • ผู้ที่มีประวัติบิดามารดาเป็นต้อหิน
  • ผู้ที่สายตาสั้นมากๆ
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีปานดำหรือปานแดงที่ใบหน้า

ที่มา : ไทยรัฐ 6 กุมภาพันธ์ 2558

ต้อหิน…หลายคนยังไม่รู้ โดย แพทย์หญิง โสมสราญ วัฒนะโชติ

bangkokbiznews140503_01หากเอ่ยถึง “โรคต้อหิน” หลายคนคงนึกถึงโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับดวงตาโดยตรง หรือเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับคนสูงอายุ คงไม่คิดว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นในวัยหนุ่มวัยสาวหรือแม้แต่เด็กได้เช่นกัน โรคต้อหินนี้เองเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนไทยมีความพิการทางสายตาได้ด้วย ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคต้อหินที่หลายคนยังไม่รู้

แพทย์หญิง โสมสราญ วัฒนะโชติ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า ต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคตาซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคนี้โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ พอทราบตาก็ใกล้บอดแล้ว ที่อันตรายคือหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตาจะบอดในที่สุด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของระยะโรคในแต่ละบุคคล ต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการทำลายขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นตัวนำกระแสการมองเห็นไปสู่สมอง เมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะมีผลทำให้สูญเสียลานสายตา

หากเป็นมาก ๆ ก็สูญเสียการมองเห็น โดยเป็นการสูญเสียชนิดถาวรไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมามองเห็นได้ อาการของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ ต้อหินชนิดมุมเปิด ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อย มักไม่แสดงอาการ ต้องตรวจจึงจะทราบว่าเป็น ต้อหินชนิดมุมปิด หากเป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการตาแดง ปวดตา เป็นแบบเรื้อรัง ต้อหินโดยกำเนิด พบในเด็กแรกเกิดถึงเด็กเล็ก มักมีอาการ น้ำตาไหล ไม่สู้แสง ตาตำโต อาจเป็นฝ้าขาว ต้อหินในเด็กบางชนิด มีตาดำเล็กกว่าปกติ พบร่วมกับโรคอื่นของดวงตา

และสุดท้าย ต้อหินทุติยภูมิ เกิดจากภาวะที่มีการอักเสบในดวงตาจากอุบัติเหตุ การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่อง เบาหวานขึ้นตา เป็นต้น ความเสี่ยงในการเกิดต้อหินของผู้ชายและผู้หญิงไม่มีความแตกต่างกัน หากมีประวัติครอบครัวเป็นต้อหินโดยเฉพาะอย่างยิ่งญาติสายตรง เช่น บิดา มารดา พี่น้องท้องเดียวกัน หรือปู่ย่า ตายาย เป็นโรคต้อหิน จะทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป 5-8 เท่า นอกจากนี้ยังมีเกร็ดข้อมูลที่น่าสนใจ

ซึ่งวันนี้คุณหมอได้รวบรวมข้อข้องใจเกี่ยวกับโรคนี้มาฝาก ดังนี้

1. จริงหรือไม่ที่ “โรคต้อหิน” มีสาเหตุเกิดจากความดันลูกตาสูง

ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้น มีการเสื่อมของประสาทตาและสูญเสียการมองเห็น ซึ่งความดันในตาที่สูงจะกดดัน เส้นประสาทตา (optic nerve) ให้เสื่อม เมื่อความดันตาสูงเป็นเวลานานประสาทตาจะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น โดยเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด

หากไม่ได้รับการรักษา การมองเห็นจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ เป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นทั้งสองข้างแต่อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีความดันตาสูงจะเป็นต้อหิน พบว่าอาจมีคนไข้โรคต้อหินกว่าครึ่งที่ความดันตาไม่เคยสูง อย่างไรก็ตาม ความดันลูกตาที่สูงเกินไปจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคต้อหิน และคนที่มีความดันลูกตาสูงกว่าจะมีโอกาสเป็นต้อหินมากกว่า

2. จริงหรือไม่ที่ โรคต้อหิน เป็นโรคของคนอายุมากเท่านั้น

ทั่วโลกมีคนเป็นต้อหินประมาณ 65 ล้านคน โดยร้อยละ 2 ของประชากรที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี ตรวจพบว่าความดันในลูกตาสูง และร้อยละ 8 ของประชากรที่มีอายุเกิน 70 ปี แต่ที่จริงแล้วโรคต้อหินสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ อาจเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรือพบร่วมกับโรคตา หรือโรคทางกายอื่นๆ ก็ได้

3. คนไทยมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคต้อหิน

จากการสำรวจพบว่า คนไทยมีโอกาสเป็นโรคต้อหินสูงกว่าชาวตะวันตก เช่น 1 ใน 6 ของประชากรที่อายุเกิน 50 ปี มีโอกาสเป็นต้อหินมุมปิด ซึ่งหากได้รับการตรวจวินิจฉัยได้ทันสามารถรักษาด้วยเลเซอร์ และป้องกันไม่ให้เป็นต้อหินได้อีก

4. โรคต้อหิน ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

ประวัติโรคต้อหินในครอบครัวเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยง แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะต้องเป็นต้อหินถ้าพ่อหรือแม่เป็นต้อหิน กระนั้นก็ตาม บุคคลที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคต้อหินควรรับการตรวจเช็คสุขภาพตาแต่เนิ่นๆ และสม่ำเสมอ เพราะมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าประชากรทั่วไป 5 – 6 เท่า อันที่จริงแล้วสำหรับโรคต้อหินนั้นเกิดขึ้นได้จากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ การเป็นโรคนี้แต่กำเนิด ซึ่งเป็นผลมาจากพันธุกรรม แต่ที่พบเพราะสาเหตุของพันธุกรรมนั้นมีไม่มาก

อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นต้นตอสำคัญให้เกิดโรค คือการใช้ยาหยอดตาผิดประเภทที่จะเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ด้วยเหตุที่ทารก หรือเด็ก ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-14 ปี แต่ที่พบบ่อยจะอยู่ที่ช่วงอายุ 1-3 ขวบที่มีอาการภูมิแพ้ ซึ่งในบางอาการของภูมิแพ้นั้นมีผลเกี่ยวเนื่อง ให้เกิดอาการคันตาเกิดขึ้น ด้วยความหวังดีของผู้ปกครองก็นำลูกไปพบแพทย์

แต่ก็มีอีกบางรายเช่นกันที่ซื้อยาหยอดตาตามร้านขายยา ในท้องตลาดมาใช้เอง ด้วยเหตุที่บางร้านก็ไม่ได้มีเภสัชกรประจำร้าน ทำให้ผู้ขายเลือกยาหยอดตาที่มีราคาถูกแต่เน้นประสิทธิภาพในการรักษา แต่หารู้ไม่ว่ายาประเภทนี้เองมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีอันตราย และเป็นตัวการอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคต้อหินได้ หรือในเด็กบางรายที่มีลักษณะของปานแดงตรงใบหน้าแล้วครอบคลุมบริเวณดวงตา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อน และในรายของผู้ที่สายตาสั้นมากจะมีโอกาสเป็นต้อหินมุมเปิด ส่วนผู้ที่มีสายตายาวมากนั้นจะมีความเสี่ยงในการเป็นต้อหินมุมปิดได้

5. ต้อหิน มักมีอาการปวดตา

ที่จริงแล้ว คนที่เป็นโรคต้อหินมักไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งประสาทตาถูกทำลายไปครึ่งหนึ่งจึงเริ่มมีอาการ ต้อหินส่วนใหญ่เป็นแบบเรื้อรัง ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งมาตรวจตากับแพทย์แล้วจึงพบว่าเป็นต้อหิน ที่ทำให้ปวดตามากร่วมกับตามัว ตาแดง คือ ต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ซึ่งถ้าพบว่ามีการดังกล่าวรวมกันไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์ทันที

6. ต้อกระจก ถ้าทิ้งไว้ไม่รักษาจะกลายเป็นต้อหิน

คนที่เป็นต้อกระจกจะไม่กลายเป็นต้อหิน เว้นเสียแต่ว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อหินร่วม อาจพบโรคต้อกระจก และต้อหินได้ร่วมกันเนื่องจากทั้งสองโรคเป็นมากในผู้สูงอายุ ต้อหินทุติยภูมิอาจเกิดจากต้อกระจกได้ เช่น ในคนที่ทิ้งต้อกระจกไว้นานจนแก้วตาบวมมาก หรือทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกขุ่นขาวก็อาจทำให้เกิดต้อหิน เป็นภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากต้อกระจก

7. ใช้คอมพิวเตอร์มากทำให้เป็นต้อหิน

ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากเพียงพอที่จะสนับสนุนคำพูดดังกล่าว แต่การที่มีสายตาสั้นมากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดต้อหินได้ กลุ่มคนที่ทำงานหนักอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักเป็นผู้มีสายตาสั้นมากอยู่แล้ว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอันหนึ่งของการเป็นต้อหิน ส่วนอีกประการหนึ่งการที่สายตาสั้นแม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร

แต่เชื่อกันว่าผู้ที่ใช้สายตาเพ่งมองใกล้มาก พวกหนอนหนังสือ ผู้ที่มีไอคิวสูงมักจะมีสายตาสั้น ทั้งหมดจึงอาจเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันมานานแล้ว จึงควรระวังถึงโอกาสการเป็นต้อหินซึ่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์โดยตรงที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดในปัจจุบัน ในกรณีนี้แนะนำให้ใช้คอมพิวเตอร์ในระยะที่เหมาะสมแม้จะไม่ได้ป้องกันโรคต้อหินแต่ก็ทำให้ไม่มีภาวะสายตาเมื่อยล้า ตาแห้งจากการใช้คอมพิวเตอร์มากไป

ซึ่งเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์คงหลีกเลี่ยงการใช้ไม่ได้ ในโลกของข้อมูลข่าวสารปัจจุบันควรใช้คอมพิวเตอร์ครั้งละ 2 ชั่วโมง พักสายตาไปทำงานอื่น 15 นาทีแล้วกลับมาทำใหม่ การจัดระบบของโต๊ะและจอคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมทำให้คุณสบายตา ไม่เมื่อยล้าและอาจจะชะลอมิให้คุณมีสายตาที่สั้นเพิ่มขึ้นลดปัจจัยเสี่ยงของการเป็นต้อหินก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรเพิกเฉยกับโรคนี้ ด้วยอุบัติการณ์ที่พบได้ 1-2% ในคนสูงอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยไม่มีอาการอะไรนำมาก่อน ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปจึงควรได้รับการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อที่ว่าหากพบโรคนี้ในระยะแรก การรักษาในระยะแรกจะทำให้คุณมีโอกาสสูญเสียสายตาน้อยที่สุด

และยิ่งถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก เช่น เป็นโรคเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง มีโรคหลอดเลือด มีภาวะสายตาสั้น มีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว คุณควรต้องเฝ้าระวังโดยการตรวจหาภาวะต้อหินอย่างสม่ำเสมอ คุณหมอโสมสราญฝากทิ้งท้าย

*บทความโดย แพทย์หญิง โสมสราญ วัฒนะโชติ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 3 พฤษภาคม 2557

‘ต้อหิน’ มฤตยูเงียบ

dailynews140316_003ในระหว่างวันที่ 16-21 มี.ค. นี้ เป็นสัปดาห์ต้อหินโลก ซึ่งโรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนตาบอดสูงเป็นอันดับหนึ่ง มาดูกันว่าสถานการณ์ต้อหินเป็นอย่างไรบ้าง แล้วจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร

รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า มีคนเปรียบโรคต้อหินเป็นมฤตยูเงียบ เพราะเป็นสาเหตุทำให้คนไทยทั่วโลกตาบอดถาวรเป็นอันดับหนึ่ง

อุบัติการณ์ของโรคต้อหินพบประมาณ 1-2 % ของประชากร ที่เรียกว่ามฤตยูเงียบ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคต้อหิน จนกว่าจะตาบอดไปแล้ว พอรู้เมื่อตาบอดไปแล้ว จะไม่สามารถให้การรักษากลับมามองเห็นเป็นปกติได้ การเกิดโรคต้อหิน เนื่องจากมีความดันในตาสูงกว่าปกติ จนไปกดขั้วประสาทตา ส่งผลให้ขั้วประสาทตาเสื่อม อาจจะเป็นตาเดียวหรือ 2 ตาก็ได้ ในประเทศไทยคาดว่าจะมีคนเป็นโรคต้อหินซ่อนอยู่ประมาณ 1-2 ล้านคน

เมื่อขั้วประสาทตาเสื่อมจะทำให้สูญเสียการมองเห็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จนการมองเห็นลดลงและตาบอดในที่สุด แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทันได้สังเกตว่าตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นแย่ลง

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต้อหิน คือ กรรมพันธุ์ บ้านใดที่มีคนในครอบครัวเป็นต้อหินควรไปรับการตรวจตา โดยตรวจสภาพการมองเห็น การวัดความดันตา ตรวจขั้วประสาทตาว่ามีความเสื่อมจากโรคต้อหินหรือไม่ และอาจจะมีการตรวจด้วยเครื่องวัดลานสายตา หรือเครื่องสแกนขั้วประสาทตา

กลุ่มเสี่ยง คือ
1. คนอายุ 40 ปีขึ้นไป โอกาสที่จะเกิดความบกพร่องของความดันตาจะเริ่มพบมากขึ้น ดังนั้นควรไปตรวจตา วัดความดันตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปีอาจจะเป็นโรคต้อหินได้ หากมีโรคประจำตัวหรือกรรมพันธุ์เป็นโรคนี้
2. คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหิน หรือตาบอดโดยไม่รู้สาเหตุ
3. กลุ่มที่มีโรคประจำตัวบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเป็นต้อหินเพิ่มขึ้น เช่น คนเป็นโรคเบาหวาน คนที่มีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา หรือเคยผ่าตัดดวงตา ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหิมากกว่าคนปกติ ดังนั้นควรไปตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้งเช่นกัน
4. เกิดจากตัวคนไข้เอง เช่น มีการใช้ยาผิดประเภท เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์ ไม่ว่าชนิดกินหรือหยอดล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต้อหินได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ไม่ว่าชนิดกินหรือหยอด

กว่าคนไข้ส่วนใหญ่จะมาโรงพยาบาลมักสูญเสียการมองเห็นไปมากแล้ว และมาด้วยอาการตามัว ลานสายตาเหลือน้อยคนไข้จึงเริ่มรู้สึกตัว เพราะฉะนั้นนอกจากการไปตรวจตาเป็นระยะ ควรจะมีการทดสอบตาเบื้องต้น เช่น ทุกสัปดาห์ลองปิดตาแต่ละข้างแล้วมองรูปภาพเปรียบเทียบกันว่าการมองเห็นภาพชัดเท่ากันหรือไม่ หรือมีการมองเห็นไม่ชัด หรือมีบางตำแหน่งของภาพหายไป ซึ่งอาจจะเป็นอาการของโรคต้อหินได้

การรักษาโรคต้อหิน คือ การรักษาประสาทตาส่วนที่เหลืออยู่ไม่ให้เสียไป ถ้าเสียไปแล้ว 30% ในส่วนดังกล่าวไม่สามารถเอาคืนได้แล้ว แต่เราจะรักษาส่วนที่เหลือ 70% เอาไว้ ดังนั้นการรักษาที่นิยมในปัจจุบัน คือ การใช้ยาหยอดตาเพื่อลดความดันในลูกตา นอกจากนี้อาจจะรักษาด้วยเลเซอร์ และการผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินต้องไปพบจักษุแพทย์ตามนัด และต้องหยอดยาอย่างสม่ำเสมอไม่ควรขาดยา

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนสงสัยคือ ความดันตาที่สูงขึ้น มีความสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ ขอเรียนว่าไม่เกี่ยวกัน

อย่างไรก็ตามในวันที่ 21 มี.ค. นี้ ระหว่างเวลา 08.30-12.00 น. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จะจัดงาน “ตาดี…ห่างไกลต้อหิน” ณ บริเวณโถง ชั้น 1อาคาร ม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันและรักษาโรคต้อหิน ตลอดจนให้ผู้ใช้บริการตระหนักถึงความสาคัญในการป้องกันและรักษาโรคต้อหิน จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมและตรวจสุขภาพตาฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ.

 

นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ที่มา : เดลินิวส์ 16 มีนาคม 2557

ห่วงคนไทยเสพโซเซียลยามดึก เสี่ยง ‘โรคต้อหิน’ ทำตาบอดได้

thairath140405_002กระทรวงสาธารณสุขเตือนคนปิดไฟดูทีวี สมาร์ทโฟนในความมืด เสี่ยงเกิดโรค “เทคโนโลยีซินโดรม” สร้างความเครียดผู้ใช้ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้ แนะอายุ 40 ปี พบจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจค้นหาโรคต้อหิน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป 5-7 เท่าตัว…

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 57 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 6 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันต้อหินโลก” ซึ่งโรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 2 ของโลก รองจากตาต้อกระจก ประมาณการว่า มีคนตาบอดทั่วโลก 4.5 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นถึง 11.2 ล้านคน ในปี พ.ศ.2563 ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มักจะไม่ค่อยรู้ตัวมาก่อน เนื่องจากโรคต้อหินมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น องค์กรต้อหินโลก (World Glaucoma Association) ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นชมรม หรือสมาคมแพทย์ต้อหินจากกว่า 75 ประเทศทั่วโลก จึงได้รณรงค์ให้ทราบถึงอันตรายของโรคต้อหิน เพื่อป้องกันตาบอดและสูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ ยังให้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจตา และการดูแลถนอมดวงตาให้เป็นปกติให้ได้นานมากที่สุด

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุข ปี 2555 พบผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั่วประเทศ 17,687 ราย ชายหญิงพอๆ กัน พบมากสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,831 ราย ภาคกลาง 4,352 ราย กรุงเทพมหานคร 3,486 ราย ภาคเหนือ 3,084 ราย และภาคใต้ 1,934 ราย โดยในคนปกติทั่วไปที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคต้อหินประมาณร้อยละ 1 ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นต้อหินมากถึงร้อยละ 5-7 หรือมากกว่าคนปกติ 5-7 เท่าตัว แนวโน้มผู้ป่วยโรคนี้ จะมากขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งขณะนี้ไทยมีประมาณ 3.5 ล้านคน ได้กำชับให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ รณรงค์ให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาปีละ 1 ครั้ง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดปัญหาการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต้อหินได้ จัดบริการตรวจตาให้ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย เพื่อค้นหาโรคและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

ทางด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า โรคต้อหิน เป็นกลุ่มโรคของดวงตา โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญคือ เกิดจากความดันในลูกตาสูง ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ คนเป็นจะไม่รู้ตัว ขึ้นกับชนิดของต้อหิน แล้วมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ จนสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคนี้และได้ผลดี ทั้งการใช้ยาหยอดตา เลเซอร์ ผ่าตัด มีเครื่องมือที่สอดไปเพื่อระบายน้ำในลูกตา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการตรวจและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นเรื่องสำคัญมาก หากปล่อยทิ้งไว้จนสูญเสียการมองเห็น แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่า สูญเสียอย่างถาวร หากบอดแล้วบอดเลย หรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต

“ที่น่าห่วงเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ พบว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อหิน อีกอย่างหนึ่งคือความเครียด ทำให้เกิดความดันลูกตาขึ้นได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ จนทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเทคโนโลยีซินโดรม ไม่ได้ทำให้เกิดจุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือตาบอด แต่จะทำให้เกิดความล้าของสายตา ตาแห้ง เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพ หรือตัวอักษรที่มีขนาดเล็กและอยู่ในจอ การเพ่งจะทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด มีแอพพลิเคชั่นมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ก หรือไลน์ต่างๆ การส่องไฟฉายอ่านหนังสือ จะมีความเสี่ยงเกิดเทคโนโลยีซินโดรมได้ง่าย เพราะต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะ ตายิ่งทำงานหนัก” นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าว

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวอีกว่า การใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูเพื่อความบันเทิง ดูข่าวสารทั่วโลกนาน คุยกัน ความระทึกต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเครียด โดยอาการเตือนของความเครียด จะเริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย วิธีรักษาด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่ายๆ คือให้นอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนา หรือผ้าเช็ดหน้าพับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาดๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา นอกจากนี้ ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง

ทั้งนี้ ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 พบคนไทย อายุ 6 ปีขึ้นไป ดูทีวี 57 ล้านคน และล่าสุด ปี 2555 คนไทยใช้คอมพิวเตอร์  21 ล้านกว่าคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 44 ล้านกว่าคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพมหานครมากที่สุดร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75  ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 ต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64

 

ที่มา : ไทยรัฐ 5 มีนาคม 2557

ต้อหิน ปัจจัยสู่ตาบอด

dailynews130504_001a“ต้อหิน” เป็นหนึ่งโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านอายุ โดยคนที่อายุ 70 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหินได้มากราว 6 ถึง 7 เท่าของคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และจากการสำรวจพบว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคต้อหินและโรคตาบอดที่เกิดจากต้อหินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคต้อหิน 9 จาก 10 ราย มักไม่มีอาการ ทำให้กว่าที่จะรู้ตัวและมาพบแพทย์ ประสาทตาก็ถูกทำลายไปแล้ว นั่นทำให้ “ต้อหิน”เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ตาบอดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย

ต้อหินเป็นโรคเรื้อรัง ไม่ค่อยมีการแสดงอาการ บางรายอาจมีอาการตามัวบ้าง แต่ส่วนใหญ่สามารถใช้สายตาได้อย่างปกติ เนื่องจากต้อหินเป็นการสูญเสียลานสายตารอบนอก แคบเข้ามาจนถึงตรงกลาง จนกระทั่งบอดในที่สุด โดยมีวิธีการสังเกตคือ ให้ปิดตาทีละข้าง เพื่อเปรียบเทียบการมองเห็น ดูว่าตาทั้งสองข้าง เห็นชัดและเห็นได้กว้างเท่ากันหรือไม่

และแม้จะขึ้นชื่อว่าต้อเหมือนกัน แต่ต้อกระจกสามารถผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาได้ ส่วนต้อหินถ้าปล่อยทิ้งไว้ หากไม่ทำการรักษา ประสาทตาจะเสื่อมไปเรื่อย ๆ ส่วนที่เสียไปแล้วก็จะไม่สามารถทำการรักษาให้ดีเหมือนเดิม และไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนประสาทตาได้เหมือนต้อกระจก

แต่หากตรวจพบได้เร็ว ก็สามารถทำการรักษาเพื่อไม่ให้ตาบอดได้ โดยการรักษามีทั้งการใช้ยา การยิงเลเซอร์ และการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและโรคที่เป็น

ต้อหินบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น ต้อหินชนิดมุมปิดเฉียบพลัน ต้อหินที่เกิดจากการฟุ้งกระจายของเม็ดสี และต้อหินที่มีสาเหตุจากเลนส์แก้วตา การจะทราบว่าเป็นต้อหินชนิดใดนั้น จำเป็นต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ และทำการรักษาอย่างทันท่วงที

dailynews130504_001b
มักมีคำถามบ่อย ๆ ว่าจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นต้อหิน

จักษุแพทย์จะทำการตรวจสภาพลูกตาส่วนหน้าด้วยเครื่องตรวจ slit lamp (สลิท แลมป์) วัดความดันลูกตา ตรวจความกว้างของมุมตา ตรวจสภาพของขั้วประสาทตา และเส้นใยประสาทตา นอกจากนี้ในรายที่สงสัยว่าอาจเป็นต้อหิน แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจสภาพลานสายตา และวัดความหนาของเส้นใยประสาทตา ซึ่งในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อหิน จักษุแพทย์จะให้การรักษา และจะต้องได้รับการตรวจติดตามเป็นระยะเพื่อดูว่าโรคยังมีลักษณะของการลุกลามต่อเนื่องอยู่หรือไม่ เพื่อจะได้รับการรักษาให้สามารถควบคุมโรคไม่ให้เกิดการลุกลามมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถคงสภาพการมองเห็นเป็นปกติอยู่ได้

ในคนปกติทั่วไปจึงแนะนำให้ตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงอายุ 25-40 ปี และรับการตรวจทุก 2-4 ปีในช่วงอายุ 40-64 ปี หลังจากนี้ควรได้รับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต้อหินอยู่แล้วจึงควรได้รับการตรวจสุขภาพตาถี่ขึ้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงความถี่ห่างในการเข้ารับการตรวจในครั้งต่อไปตามสภาพของลูกตาและปัจจัยเสี่ยงในแต่ละบุคคล

ฉบับหน้ามาติดตามต่อกับการดูแลตัวเองเมื่อเป็นต้อหินและความเชื่อที่ผิด ๆ เกี่ยวกับต้อหิน.

อ.นพ.วสุ ศุภกรธรสาร
ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : เดลินิวส์  5 พฤษภาคม 2556

dailynews130511_001a

หลากความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับต้อหินและการดูแลตัวเองเมื่อเป็นต้อหิน

เมื่อเป็นต้อหินแล้ว ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง คำถามนี้ เรามีคำตอบมาช่วยคลายความกังวลใจกัน

สิ่งแรกเลย ควรหยอดยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับความดันตาให้คงที่อยู่ในระดับที่ต้องการ

หลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือกีฬาที่มีการกระทบกระเทือนบริเวณตาหรือใบหน้า

ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อทำทางระบายความดันตาแล้ว ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อ เช่น ไม่เล่นดำน้ำในคลอง

หากมีน้ำตาไหลมากผิดปกติต้องสงสัยว่ามีการรั่วของทางระบายที่ผ่าตัดไว้ หรือผู้ป่วยที่ผ่าตัดทำทางระบายน้ำไปแล้ว หากมีตาแดง ตามัว ปวดตา แพ้แสงมาก ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีไม่ต้องรอถึงวันนัด เพราะอาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจติดตามการดำเนินโรค และประสิทธิภาพ ตลอดจนผลข้างเคียงของยาเป็นระยะ

ควรนำยาต้อหินมาด้วยทุกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเมื่อมีการปรับเปลี่ยนการรักษา (ยาที่ต้องแช่ตู้เย็นให้จดชื่อยา)

หากมีการเลื่อนนัดตรวจ และยาหมดก่อนถึงวันนัดใหม่ ให้มารับยาเพิ่ม เนื่องจากการขาดยาจะทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินความดันตาที่ควรจะเป็นหากมีการหยอดตาตามปกติได้

และเมื่อแพทย์ส่งตรวจลานสายตา ควรทำอย่างตั้งใจ ไม่ต้องกลอกตามองหาแสง เพราะผลการตรวจลานสายตามีส่วนสำคัญอย่างมากในการประเมินระยะของโรค และประเมินผลการรักษา

dailynews130511_001b

นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับต้อหิน ซึ่งสามารถอธิบายได้ ตัวอย่างเช่น

การนวดตาช่วยลดความดันตาได้ ในความเป็นจริงแล้วการนวดตาเป็นการเพิ่มความดันในลูกตาจากแรงกดของมือ อาจมีผลให้โรคต้อหินแย่ลงได้ ยกเว้นในบางกรณีที่ได้รับการผ่าตัดไปแล้ว แพทย์อาจสั่งให้นวดตาเพื่อเพิ่มการระบายของน้ำเลี้ยงลูกตาผ่านทางช่องที่เจาะไว้

ค่อยมารักษาตอนมีอาการแล้วก็ได้ ต้อหินส่วนใหญ่มักมีอาการตอนเข้าสู่ระยะท้ายๆ ของโรค ฉะนั้นไม่ควรรีรอที่จะมาพบแพทย์

ดูทีวี ใช้งานคอมพิวเตอร์ จะทำให้เป็นต้อหินมากขึ้น ผู้ป่วยต้อหินสามารถดูทีวีและใช้คอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ

การทำเลเซอร์หรือการทำผ่าตัดจะช่วยให้หายขาดจากต้อหินได้ การรักษาต้อหินในปัจจุบัน ไม่ว่าด้วยวิธีใด ทำได้เพียงชะลอไม่ให้มีการลุกลามของต้อหินมากขึ้นเท่านั้น ไม่สามารถทำให้การมองเห็นส่วนที่เสียไปแล้วกลับมาดีได้ มีต้อหินบางชนิดเท่านั้นที่หายขาดได้

เป็นต้อกระจกแล้ว ต้องเป็นต้อหินตามมา ต้อกระจกจะทำให้เกิดต้อหินได้ในบางกรณีเท่านั้น ได้แก่ ต้อกระจกสุกจนมีเนื้อเลนส์รั่วออกมาอุดทางออกของน้ำในตา กระตุ้นการอักเสบในลูกตา หรือเลนส์มีขนาดใหญ่จนทำให้มีการปิดของมุมตา

ผ่าตัดต้อกระจกแล้วจะไม่เป็นต้อหิน การผ่าตัดต้อกระจกช่วยป้องกันการเกิดต้อหิน เฉพาะกรณีต้อหินมีสาเหตุการเกิดจากเลนส์ตาเท่านั้น.

อ.นพ.วสุ ศุภกรธนสาร
ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : เดลินิวส์  11 พฤษภาคม 2556

dailynews130518_001b

แนวทางรักษาภาวะต้อหิน – หมอรามาฯไขปัญหาสุขภาพ

ต้อหิน เป็นโรคที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ขั้วประสาทตา ซึ่งส่งผลทำให้ลานสายตาแคบลงเรื่อย ๆ จนตาบอดได้ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีการสูญเสียลานสายตารอบนอกก่อน หากไม่ได้รับการรักษา ลานสายตาก็จะถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ลานสายตาแคบลง เหลือเฉพาะศูนย์กลางการมองเห็น ผู้ป่วยจึงจะเริ่มรู้สึกถึงการมองเห็นที่ผิดปกติ ซึ่งมักจะเป็นระยะท้าย ๆ ของโรคแล้ว

เนื่องจากพยาธิสภาพของการก่อโรค เป็นการทำลายเซลล์เส้นใยประสาทตา ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ ดังนั้นการรักษาโรคต้อหินจึงทำได้เพียงยับยั้งโรคไม่ให้ลุกลาม หรือก่อความสูญเสียต่อการมองเห็นมากขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาให้การมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับมาเป็นปกติได้อีก

ชนิดของต้อหินที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือ ต้อหินมุมเปิด และต้อหินมุมปิด

ต้อหินมุมเปิด เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายน้ำหล่อเลี้ยง ทำให้มีการระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาได้น้อยเมื่อเทียบกับการสร้างทำให้ความดันลูกตาขึ้นสูง อาการมักค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการนำหรือรู้สึกถึงความผิดปกติจนกว่าการมองเห็นจะเสียไปมากแล้ว ต้อหินมุมเปิดมีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตาสั้น หรือมีภาวะลูกตายาวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ ส่วนต้อหินมุมเปิดชนิดทุติยภูมินั้น สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากม่านตาอักเสบ หรือ ต้อหินอันมีสาเหตุจากเนื้อเลนส์ตา เป็นต้น

ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมีภาวะอะไรก็ตามที่ทำให้มีการปิดกั้นหรือกีดขวางช่องทางระบายออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้มีการคั่งค้างของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตามากขึ้น จนความดันลูกตาขึ้นสูง หากความดันสูงอย่างรวดเร็วจะมีอาการของต้อหินเฉียบพลัน ได้แก่ ปวดตา ตาแดง เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หรือไม่มีอาการก็ได้หากความดันลูกตาสูงแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้อหินมุมปิดก็มีทั้งแบบชนิดปฐมภูมิ ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่พบว่าผู้ที่มีสายตายาว หรือมีภาวะลูกตาสั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินชนิดนี้ และต้อหินมุมปิดชนิดทุติยภูมิ ที่สามารถบอกสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ เช่น โรคต้อหินจากเนื้อเลนส์บวม หรือต้อหินจากเลนส์เคลื่อน เป็นต้น

dailynews130518_001a

แนวทางการรักษาที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาด้วยยา โดยใช้ยาหยอดตา ซึ่งมีหลายกลุ่มหลายชนิด ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดจึงจะควบคุมความดันลูกตาได้ดีตามที่ต้องการ และจำเป็นต้องพบแพทย์เป็นระยะแม้จะควบคุมโรคได้ดีแล้วเพื่อดูว่ายาที่ใช้ยังมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ยารับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด สามารถลดความดันลูกตาลงได้อย่างรวดเร็ว แต่มีผลข้างเคียงสูงจึงมักใช้ชั่วคราวในรายที่เป็นต้อหินแบบเฉียบพลัน หรือมีความดันลูกตาสูงมาก เพื่อดึงความดันลูกตาให้ลดลงก่อนการรักษาด้วยแสงเลเซอร์หรือการผ่าตัด

การฉายแสงเลเซอร์ เป็นการรักษาที่สำคัญในต้อหินแบบมุมปิด จะช่วยลดหรือทำให้สิ่งกีดขวางมุมตาหมดไป ทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาสามารถระบายออกได้ตามปกติ ทำให้ความดันลูกตาลดลง ส่วนต้อหินแบบมุมเปิด จะช่วยเพิ่มระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาออกทางมุมตา แต่ผลมักจะอยู่ได้ชั่วคราว ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่คิดว่าไม่สามารถใช้วิธีการอื่นรักษาได้ดี หรือผู้ป่วยไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยา หรือไม่สามารถหยอดยาหรือติดตามการรักษาตามแพทย์สั่งได้ เป็นการผ่าตัดเพื่อทำช่องทางระบายน้ำออกจากลูกตาใหม่ ทำให้ความดันลูกตาลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการและสามารถควบคุมโรคได้ดีในระยะยาว

ผู้ป่วยรายใดที่มีปัจจัยเสริมต่าง ๆ ที่จะทำให้โรคแย่ลงร่วมด้วย เช่นถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะต้องพยายามควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือผู้ป่วยบางรายที่มีโรคทางตาร่วมด้วย จำเป็นต้องให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุของต้อหินควบคู่กันไป.

อ.นพ.วสุ ศุภกรธนสาร
ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ที่มา : เดลินิวส์  18 พฤษภาคม 2556

.

Related Article :

เตือนวัย 40 ขึ้นไป เสี่ยงเป็น ‘ต้อหิน’ ทำตาบอด 2 ข้าง

thairath130303_001แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา เผยภัยโรคต้อหิน มีอันตรายถึงขั้นตาบอดทั้ง 2 ข้าง คาดว่าคนไทยทุกกลุ่มอายุ ป่วยเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัวกว่า 3 ล้านคน ทำให้ตาบอดแล้วกว่า 3 หมื่นคน เตือนผู้ที่อายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป เสี่ยงตาเป็นต้อหินอาจบอดได้ แนะตรวจตาเพื่อคัดกรองต้อหินก่อนจะสายเกินไป…

เมื่อวันที่ 3 มี.ค.56 นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) อ.สามพราน จ.นครปฐม และผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 10-16 มีนาคมทุกปี เป็นสัปดาห์วันต้อหินแห่งโลก ซึ่งเป็นโรคทางตาที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาตาบอดมากเป็นอันดับ 2 รองจากตาต้อกระจกและทำให้ตาบอดหรือสายตาพิการอย่างถาวร หากเป็นแล้วจะรักษาให้เหมือนปกติไม่ได้ โดยคาดว่ามีผู้ที่เป็นโรคนี้ทุกกลุ่มอายุ ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรหรือประมาณ 3,360,000 ราย

นายแพทย์ปานเนตร กล่าวว่า โรคต้อหินเกิดจากความดันของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาผิดปกติโดยน้ำหล่อเลี้ยงจะถูกสร้างขึ้นภายในลูกตาและถูกขับออกมาภายนอก การสร้างและการขับออกต้องสมดุลกัน ความดันลูกตาจึงจะเป็นปกติ แต่ถ้าลูกตาสร้างน้ำหล่อเลี้ยงออกมามาก หรือขับออกมาน้อยผิดปกติ จะทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น และเกิดการเสียสมดุลขั้วประสาทตาจะถูกทำลาย ส่งผลให้ลานสายตาผิดปกติ ความสามารถในการมองเห็นลดลง มักจะเกิดจากด้านข้างของลูกตามาก่อน มองเห็นภาพมัวที่ขอบแต่จะชัดตรงกลาง ต่อไปจะมัวลงทั้งหมดจะทำให้ตาบอดในที่สุด ต้อหินที่พบบ่อยที่สุดร้อยละ 60-70 คือ ชนิดที่มุมตาเปิด ชนิดนี้มักจะไม่มีอาการและไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นระยะแรก จะรู้ตัวเมื่อสายตาค่อยๆ มัวลง มองด้านข้างไม่ค่อยเห็น คนป่วยจึงมาพบแพทย์คาดว่าจะมีผู้เป็นโรคต้อหินที่ยังไม้รู้ตัวว่าเป็นประมาณ 3 ล้านคน และชนิดที่พบได้อีกชนิดมุมตาปิด คาดว่ามีประมาณร้อยละ 30-40 จะเกิดในคนที่มีมุมตาค่อนข้างแคบ ทำให้ขวางกั้นการระบายน้ำในตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หากไม่รักษาภายใน 48 ชั่วโมงอาจทำให้ตาบอดได้

นายแพทย์ปานเนตร กล่าวอีกว่า ในการป้องกันโรคต้อหิน แนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือดซึ่งเลือดไหลเวียนขึ้นไปประสาทตาไม่ดี และผู้ที่ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตียรอยด์เอง โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันลูกตา และตรวจขั้วประสาทตา อย่างน้อย 1 ครั้งที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และอาจตรวจซ้ำเป็นระยะทุก 1-5 ปีตามคำแนะนำของแพทย์ หากผิดปกติจะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประสาทตาเสื่อมมากขึ้น ซึ่งการรักษาโรคต้อหิน เป็นเพียงการระงับไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่าเดิมและไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเหมือนเดิมเหมือนกับการรักษาตาต้อกระจก

ทั้งนี้ การรักษาโรคต้อหินในปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา รับประทานยา ยิงแสงเลเซอร์ และการทำผ่าตัด แต่ละวิธีมีข้อจำกัดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและประเภทของต้อหิน สำหรับกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันต้อหินโลก ปี 2556 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ จัดในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2556 วันเดียวที่ศูนย์ประชุมชั้น 4 อาคารบริการของโรงพยาบาลฯ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้คำปรึกษา ถาม-ตอบปัญหาโรคต้อหิน ให้บริการตรวจคัดกรองโรคต้อหินด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฟรี หากพบจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

นายแพทย์ปานเนตร กล่าวต่อไปว่า กลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากเสี่ยงเรื่องต้อหินแล้ว อายุนี้ยังเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนสรีระทางสายตา เข้าสู่ภาวะสายตายาว หรือที่เรียกว่าสายตาคนแก่ ทำให้ความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้ลดลง หากไม่ได้สวมแว่นสายตาช่วย จะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตาเพ่งมองมากและนานกว่าปกติ จะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้าและปวดเมื่อยตา

“ที่น่าห่วงหากคนกลุ่มนี้ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ที่มีขนาดหน้าจอและตัวหนังสือที่เล็กมาก ใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ต้องเพ่งมองในระยะใกล้ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อภายในและภายนอกลูกตาต้องหดตัวเพื่อปรับระยะโฟกัสและมุมตามามองใกล้ ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดตัวหนังสือ หรือขนาดหน้าจอใหญ่ หรือชนิดที่ขยายตัวอักษรได้ และการปรับสีพื้นหน้าจอ ตัวอักษรควรเป็นสีที่มองแล้วสบายตาที่สุด เช่น พื้นจอสีขาว ตัวอักษรสีดำ เป็นต้น ไม่ควรใช้สีเข้ม เพื่อที่จะไม่ต้องใช้สายตาเพ่งมากเกินไป และแนะนำให้ตรวจเช็กสายตาทุก 1 ปี เพื่อเปลี่ยนเลนส์ของแว่นให้เหมาะสมกับสภาพของสายตา” นายแพทย์ปานเนตร กล่าว

ที่มา:  ไทยรัฐ 3 มีนาคม 2556

เตือนวัย 40 ขึ้นไป เสี่ยงเป็น ‘ต้อหิน’ ทำตาบอด 2 ข้าง

thairath130303_002แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา เผยภัยโรคต้อหิน มีอันตรายถึงขั้นตาบอดทั้ง 2 ข้าง คาดว่าคนไทยทุกกลุ่มอายุ ป่วยเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัวกว่า 3 ล้านคน ทำให้ตาบอดแล้วกว่า 3 หมื่นคน เตือนผู้ที่อายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป เสี่ยงตาเป็นต้อหินอาจบอดได้ แนะตรวจตาเพื่อคัดกรองต้อหินก่อนจะสายเกินไป…

เมื่อวันที่ 3 มี.ค.56 นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) อ.สามพราน จ.นครปฐม และผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 10-16 มีนาคมทุกปี เป็นสัปดาห์วันต้อหินแห่งโลก ซึ่งเป็นโรคทางตาที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาตาบอดมากเป็นอันดับ 2 รองจากตาต้อกระจกและทำให้ตาบอดหรือสายตาพิการอย่างถาวร หากเป็นแล้วจะรักษาให้เหมือนปกติไม่ได้ โดยคาดว่ามีผู้ที่เป็นโรคนี้ทุกกลุ่มอายุ ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรหรือประมาณ 3,360,000 ราย

นายแพทย์ปานเนตร กล่าวว่า โรคต้อหินเกิดจากความดันของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาผิดปกติโดยน้ำหล่อเลี้ยงจะถูกสร้างขึ้นภายในลูกตาและถูกขับออกมาภายนอก การสร้างและการขับออกต้องสมดุลกัน ความดันลูกตาจึงจะเป็นปกติ แต่ถ้าลูกตาสร้างน้ำหล่อเลี้ยงออกมามาก หรือขับออกมาน้อยผิดปกติ จะทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น และเกิดการเสียสมดุลขั้วประสาทตาจะถูกทำลาย ส่งผลให้ลานสายตาผิดปกติ ความสามารถในการมองเห็นลดลง มักจะเกิดจากด้านข้างของลูกตามาก่อน มองเห็นภาพมัวที่ขอบแต่จะชัดตรงกลาง ต่อไปจะมัวลงทั้งหมดจะทำให้ตาบอดในที่สุด ต้อหินที่พบบ่อยที่สุดร้อยละ 60-70 คือ ชนิดที่มุมตาเปิด ชนิดนี้มักจะไม่มีอาการและไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นระยะแรก จะรู้ตัวเมื่อสายตาค่อยๆ มัวลง มองด้านข้างไม่ค่อยเห็น คนป่วยจึงมาพบแพทย์คาดว่าจะมีผู้เป็นโรคต้อหินที่ยังไม้รู้ตัวว่าเป็นประมาณ 3 ล้านคน และชนิดที่พบได้อีกชนิดมุมตาปิด คาดว่ามีประมาณร้อยละ 30-40 จะเกิดในคนที่มีมุมตาค่อนข้างแคบ ทำให้ขวางกั้นการระบายน้ำในตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรง บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ หากไม่รักษาภายใน 48 ชั่วโมงอาจทำให้ตาบอดได้

นายแพทย์ปานเนตร กล่าวอีกว่า ในการป้องกันโรคต้อหิน แนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเลือดและหลอดเลือดซึ่งเลือดไหลเวียนขึ้นไปประสาทตาไม่ดี และผู้ที่ใช้ยาหยอดตาจำพวกสเตียรอยด์เอง โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์ ควรได้รับการตรวจคัดกรองความดันลูกตา และตรวจขั้วประสาทตา อย่างน้อย 1 ครั้งที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และอาจตรวจซ้ำเป็นระยะทุก 1-5 ปีตามคำแนะนำของแพทย์ หากผิดปกติจะได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ประสาทตาเสื่อมมากขึ้น ซึ่งการรักษาโรคต้อหิน เป็นเพียงการระงับไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายไปมากกว่าเดิมและไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเหมือนเดิมเหมือนกับการรักษาตาต้อกระจก

ทั้งนี้ การรักษาโรคต้อหินในปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น การใช้ยาหยอดตา รับประทานยา ยิงแสงเลเซอร์ และการทำผ่าตัด แต่ละวิธีมีข้อจำกัดขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและประเภทของต้อหิน สำหรับกิจกรรมเนื่องในสัปดาห์วันต้อหินโลก ปี 2556 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ จัดในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2556 วันเดียวที่ศูนย์ประชุมชั้น 4 อาคารบริการของโรงพยาบาลฯ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้คำปรึกษา ถาม-ตอบปัญหาโรคต้อหิน ให้บริการตรวจคัดกรองโรคต้อหินด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฟรี หากพบจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

นายแพทย์ปานเนตร กล่าวต่อไปว่า กลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป นอกจากเสี่ยงเรื่องต้อหินแล้ว อายุนี้ยังเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนสรีระทางสายตา เข้าสู่ภาวะสายตายาว หรือที่เรียกว่าสายตาคนแก่ ทำให้ความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้ลดลง หากไม่ได้สวมแว่นสายตาช่วย จะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตาเพ่งมองมากและนานกว่าปกติ จะทำให้กล้ามเนื้อตาเกิดอาการล้าและปวดเมื่อยตา

“ที่น่าห่วงหากคนกลุ่มนี้ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน ที่มีขนาดหน้าจอและตัวหนังสือที่เล็กมาก ใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ต้องเพ่งมองในระยะใกล้ๆ จะทำให้กล้ามเนื้อภายในและภายนอกลูกตาต้องหดตัวเพื่อปรับระยะโฟกัสและมุมตามามองใกล้ ดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดตัวหนังสือ หรือขนาดหน้าจอใหญ่ หรือชนิดที่ขยายตัวอักษรได้ และการปรับสีพื้นหน้าจอ ตัวอักษรควรเป็นสีที่มองแล้วสบายตาที่สุด เช่น พื้นจอสีขาว ตัวอักษรสีดำ เป็นต้น ไม่ควรใช้สีเข้ม เพื่อที่จะไม่ต้องใช้สายตาเพ่งมากเกินไป และแนะนำให้ตรวจเช็กสายตาทุก 1 ปี เพื่อเปลี่ยนเลนส์ของแว่นให้เหมาะสมกับสภาพของสายตา” นายแพทย์ปานเนตร กล่าว

ที่มา :  ไทยรัฐ 3 มีนาคม 2556

ข่าวดีของบรรดาคนศีรษะล้านทั้งโลก ยาโรคต้อหินกลายเป็นยาปลูกผมได้

มีข่าวดีกับผู้ที่ศีรษะล้านทั้งหลายว่า วารสารการแพทย์ออนไลน์ได้เปิดเผยรายงานผลการศึกษาว่า ยาซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐฯอนุมัติ ให้รักษาโรคต้อหินได้ กลับถูกพบว่า มีสรรพคุณกลับช่วยให้ผมบนศีรษะคนงอกขึ้นอีกได้

ยาขนานนี้เดิมทีเคยโฆษณาว่า มันช่วยให้ขนตางอกยาวได้ แต่รายงานผลการศึกษา นับเป็นข้อมูลที่แสดงว่า มันทำให้ผมงอกขึ้นจากหนังศีรษะได้จริง

นักวิจัยวาลอรี แรนดอลล์ มหาวิทยาลัยแบรดฟอร์ดของอังกฤษ กล่าวว่า เราเชื่อว่าการศึกษานี้จะนำไปสู่หนทางรักษาศีรษะล้านทางใหม่ ช่วยให้ผู้ที่ศีรษะล้านหลายคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเสริมว่า “แต่ยังต้องวิจัยกันอีกต่อไป เพื่อจะให้รู้ว่าถุงรากผมจะทำงานอย่างไร ซึ่งจะทำให้พบหนทาง ในการรักษาโรคของการเติบโตของผมใหม่ๆหลายโรคขึ้น”

ขณะเดียวกัน บรรณาธิการของวารสารกล่าวให้ความเห็นว่า “การค้นพบครั้งนี้อาจจะเป็นความหวัง เหมือนกับที่ผู้ชายวัยกลางคนเฝ้าคอยข่าวการมาของยาไวอากร้ากันมาก่อน”.

 

ที่มา: ไทยรัฐ 30 ตุลาคม 2555

.

Related Article:

.

How eye drops could stop you going bald – thanks to an unusual side effect

  • Glaucoma eye drops found to stimulate eyelash growth
  • Early clinical trials suggest drug could help follicles to produce a third more scalp hair than usual

By JENNY HOPE

PUBLISHED: 15:19 GMT, 26 October 2012

A drug that helps to stop blindness could soon be used to combat baldness.

Lumigan eye-drops are an established treatment for glaucoma, a condition caused by excess fluid in the eye.

But it has a side-effect that has excited scientists – it can stimulate the growth of eyelashes.

Now research suggests the active ingredient in Lumigan, called bimatoprost, could have the same effect on the scalp.

Preliminary trials are underway to see whether bimatoprost can reverse hair loss in both men and women.

If successful, the drug could get a new lease of life as a baldness treatment. Lead scientist Professor Valerie Randall, from the University of Bradford, said: ‘Bimatoprost is known to stimulate eyelash growth and is already used clinically for this purpose.

‘We wanted to see whether it would have the same effect on scalp hair, as the two types of follicle are very different.

‘Our findings show that bimatoprost does stimulate growth in human scalp hair follicles and therefore could offer a new approach for treating hair loss disorders.’

Findings from the laboratory research appear in The FASEB Journal, published by the Federation of American Societies for Experimental Biology. The drug was tested on living scalp tissue obtained from volunteer donors undergoing cosmetic surgery.

Follicles treated with bimatoprost grew a third more hair than untreated samples in just nine days.

Scalp follicles were found to contain exactly the same molecular receptors responsive to bimatoprost as eyelash follicles.

‘This means that – so long as the drug can be applied in such a way that it can reach the follicle – it should stimulate hair growth in patients,’ said Professor Randall.

Results from the next phase of the clinical trials currently taking place in the United States and Germany should be available before the end of the year.

They involve 220 men with male pattern baldness and 172 women with female pattern baldness.

Participants are undergoing six months of treatment with either a solution of bimatoprost, applied to the scalp, or an inactive placebo (dummy treatment).

A comparison with the well-known baldness treatment minoxidil is also being assessed.

Lumigan has been found to stimulate eyelash growth

Professor Randall acts as a consultant to Allergan Inc which manufactures Lumigan.

The well-known effect of Lumigan on eyelashes also comes with its own side-effect, it causes darkening of eye colour and eyelid skin, which may not be reversible.

It is not known if this side-effect will occur on the scalp.

SOURCE: dailymail.co.uk

ต้อหินกับการใช้ยา โดย รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์

การมองเห็นของคนปกติ

การเกิดโรคต้อหิน อาจพบได้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่สายตาสั้น หรือยาวมาก ๆ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และยังเชื่อว่า เกิดจากกรรมพันธุ์ แต่สาเหตุสำคัญอีกอย่างที่ทำให้เกิดต้อหินได้เช่นกัน ก็คือ การใช้ยาหยอดตาประเภท สเตียรอยด์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เพราะยากลุ่มนี้สามารถรักษาอาการคัน และระคายเคืองตาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ ได้ด้วย จึงทำให้คนทั่วไปนิยมซึ้อมาใช้เอง หรือนำตัวอย่างยาที่เคยได้รับจากจักษุแพทย์ไปหาซื้อมาใช้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดวงตาได้รับปริมาณยามากเกินไป ความดันตาจะสูงขึ้นจนถึงขั้นทำให้เกิดโรคต้อหิน ตาจะมัวลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นตาบอดสนิทได้

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ นอกจากจะพบในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือการอักเสบเรื้อรังที่ตา และจำเป็นต้องรักษาด้วยการหยอดยาลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์แล้ว ยังพบได้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานทั้งยารับประทาน ยาฉีด ยาพ่นจมูก รวมถึงยาป้ายผิวหนังบริเวณใบหน้า หรือรอบดวงตา เช่น โรคผื่นแพ้ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยภาวะภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคหอบหืดเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะอาจเป็นได้ทั้งต้อหินและต้อกระจก

การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน

การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต้อหิน จำเป็นต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดความดันตา และวางแผนการรักษา สำหรับมาตรฐานการรักษาต้อหินในปัจจุบันมี 3 วิธี ได้แก่ การใช้ยาซึ่งอาจต้องใช้ยาหยอดตาหลายชนิดร่วมกัน การรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ และการผ่าตัด ซึ่งจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ส่วนการนวดตา หรือการใช้สมุนไพรยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานการรักษาต้อหินในปัจจุบันครับ

ฉะนั้น ก่อนการใช้ยาทางตาต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเสมอ ควรอ่านเอกสารกำกับยาเพื่อดูข้อบ่งใช้และผลข้างเคียงให้เข้าใจ รวมถึงการใช้ยาหยอดตาอย่างต่อเนื่องควรอยู่ในความดูแลของจักษุแพทย์ โดยเฉพาะยาที่อาจมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ข้อสังเกตเบื้องต้นคือ ยาที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายว่า เด็กซ์ (Dex)

แต่ถ้าเป็นยาที่ไม่อันตราย เช่น น้ำตาเทียม ยาล้างตา ก็สามารถซื้อมาใช้เองได้ครับ

ต้อหินอาจพบในเด็กเล็กได้โดยจะมีตาโตและกระจกตาขุ่น

***

กิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช

12 ต.ค.อบรม “Palliative and end of life care” โดย ผศ.นพ.รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐสุวรรณ แก่บุคลากรทางการแพทย์ ดาวน์โหลดใบสมัครที่  http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/palliative_care/registration/register1.asp สอบถาม โทร.0 2411 6430 http://www1.si.mahidol.ac.th/Palliative/

14 ต.ค.บรรยาย “เลี้ยงทารกให้ง่าย ๆ สบาย ๆ สไตล์ศิริราช” โดย รศ.กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์ และ อ.พิกุล ขำศรีบุศ แก่ผู้ปกครองฟรี ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช สำรองที่นั่ง โทร. 0 2419 5722, 0 2419 7626

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 ตุลาคม 2555

อยู่อย่างคนต้อหิน

อยู่อย่างคนต้อหิน

รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์
ภาควิชาจักษุวิทยา 

แค่คิดว่าถ้าเราเป็นต้อหิน แล้วต้องอยู่ในโลกมืดมิด ไม่เห็นอะไรเลย จะทำอย่างไรดี

ต้อหิน เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตา ซึ่งเชื่อมระหว่างดวงตาและสมอง หากความดันภายในตาสูงกว่าระดับที่เส้นประสาทตาสามารถรับได้ จะทำให้ขอบเขตในการมองเห็นค่อยๆ แคบลง และมองไม่เห็นในที่สุด ซึ่งเป็นผลให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

ประเภทแรก ไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน หรือเกิดจากความเสื่อมของวัย ปัจจัยเสี่ยงสำหรับต้อหินประเภทนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่มีสายตาสั้น หรือยาวมากๆ ส่วนใหญ่จะเป็นต้อหินชนิดมุมตาเปิด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในช่วงแรกจะไม่มีปัญหาในการมองเห็น จะรู้ก็เมื่อระยะของโรคอยู่ในขั้นรุนแรง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต้อหินประเภทนี้ สามารถตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพตา ส่วนคนเป็นต้อหินชนิดมุมตาแคบอาจไม่มีอาการอะไร หรือเป็นต้อหินเฉียบพลันที่จะพบความดันภายในตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการตาแดง ตามัว ปวดตาโดยเฉพาะเวลาพลบค่ำ อาจเห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ หรือมีอาการปวดศีรษะ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว อาจตาบอดได้

ประเภทที่สอง ชนิดที่ทราบสาเหตุ โดยเป็นโรคทางตาอื่นและทำให้เกิดต้อหิน ได้แก่ โรคเบาหวานขึ้นตา ต้อกระจกสุก หรือผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุ รวมถึงผู้ที่ใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์เป็นประจำ ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต้อหินได้

ต้อหินเฉียบพลันจะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว

อย่างไรก็ดี จุดมุ่งหมายของการรักษา คือ การยับยั้งไม่ให้มีอาการมากขึ้น แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่เสียไปกลับคืนมา แต่สามารถยับยั้งไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้ โดยลดระดับความดันตาให้อยู่ในระดับที่เส้นประสาทตาสามารถทนได้ ซึ่งมียาหลายชนิดที่สามารถลดความดันตาได้ แต่บางรายอาจต้องใช้แสงเลเซอร์รักษา หรือการผ่าตัดเข้าช่วยหากไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ อย่างไรก็ตามต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอครับ

ในรายที่สายตาเลือนราง ต้องระวังเรื่อง “อุบัติเหตุและการหกล้ม” โดยลดปัจจัยเสี่ยงให้ปลอดจากสิ่งที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ จัดของมีคมให้เป็นระเบียบ วางในที่ที่ปลอดภัย ปรับสภาพที่อยู่อาศัย เช่น พรมเช็ดเท้า หรือพื้นภายในห้องน้ำที่ลื่น ใช้กล้องหรือแว่นขยายช่วยในการมองเห็น เครื่องใช้ควรมีสีแตกต่างกันอย่างชัดเจนเพื่อสายตาจะสามารถแยกสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง และติดไฟให้สว่างโดยเฉพาะบริเวณทางเดิน รวมถึงปัญหาการทรงตัวก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หกล้ม และยิ่งโรคนี้มีมักเกิดกับผู้สูงอายุ พบว่า ร้อยละ 4 สำหรับผู้มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป หรือร้อยละ 6 ของผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จะมีผู้เป็นโรคต้อหิน และมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นต้อหิน ดังนั้นการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำจึงช่วยป้องกันตาบอดจากต้อหินได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อรวมทั้งหมั่นฝึกการทรงตัวเป็นประจำ และควรบริโภคผักผลไม้ ซึ่งให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสามารถต้านทานโรค และช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้เป็นปกติ

ดูแลสุขภาพกายแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพใจด้วย เพื่อไม่ให้ผู้เป็นต้อหินเกิดความกังวล ทำจิตใจให้มีความสุขเสมอๆ นะครับ

ประชาสัมพันธ์แนบท้ายบทความ

เพื่อสุขภาพตาที่ดี – 14 มี.ค.2555 เวลา 09.00-15.00 น.ขอเชิญประชาชนร่วมกิจกรรมวันต้อหินโลก รับการตรวจสุขภาพตา เพื่อคัดกรองโรคต้อหินฟรี และฟังเสวนา “อยู่อย่างคนต้อหิน” พร้อมคำแนะนำการดูแลสุขภาพตาจากจักษุแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2555