ประโยชน์ของ ‘น้ำมันตับปลา’

dailynews140329_001หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ “น้ำมันตับปลา”

แล้วทราบหรือไม่ว่า การรับประทาน “น้ำมันตับปลา” ให้ประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย

“น้ำมันตับปลา” คือน้ำมันที่สกัดมาจากตับปลา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาทะเล อันได้แก่ “ปลาค็อด” จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “cod liver oil”

ตับปลาเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน เอ และวิตามิน ดี ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้น น้ำมันตับปลาจึงมีปริมาณวิตามิน เอ และวิตามินดี สูง

แต่ทั้งนี้ ก็มีคำถามที่พบบ่อยก็คือ แล้วน้ำมันตับปลาต่างจากน้ำมันปลาทะเลอย่างไร

น้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันที่สกัดจากตับปลา โดยตับเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน เอ และวิตามิน ดี ส่วน “น้ำมันปลาทะเล” หรือบางคนเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำมันปลา” หรือ “fish oil” นั้น สกัดมาจากปลาทะเล (ซึ่งได้จากส่วนหนัง เนื้อ หัว และหางปลาทะเล) ปลาที่ใช้สกัดมักเป็นปลาทะเลน้ำลึก

น้ำมันปลาทะเลมีกรดไขมันหลายชนิด แต่กรดไขมันที่มีมากในน้ำมันปลาทะเลคือ กรดไขมันโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic acid หรือที่เรารู้จักกันว่า..DHA..นั่นเอง) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสายยาว (polyunsaturated fatty acids) ในกลุ่มโอเมก้า 3

คุณประโยชน์ของ “น้ำมันตับปลา” ต่อสุขภาพของคนเรานั้น ต้องบอกว่า น้ำมันตับปลามีปริมาณวิตามิน เอ และวิตามิน ดี สูง ซึ่งวิตามิน เอ มีบทบาทสำคัญในการสร้างเยื่อบุผิวปกติและกระดูก รวมถึงการสร้างภูมิต้านทาน บทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวิตามิน เอ คือ การช่วยให้มองเห็นในที่มืดหรือที่มีแสงสลัว

ในภาวะที่ขาดวิตามิน เอ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงทางผิวหนังและเยื่อบุตา โดยอาการจะเริ่มต้นที่ตา ได้แก่ อาการตาบอดกลางคืน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสม ผู้ป่วยอาจตาบอดได้

ส่วนวิตามิน ดี นั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหารผ่านเยื่อบุลำไส้เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ วิตามิน ดี ยังมีบทบาทสำคัญที่อวัยวะอื่น ๆ ด้วย เช่น ไต โดยเพิ่มการดูดซึมกลับของแคลเซียมและฟอสฟอรัส เป็นต้น วิตามิน ดี จึงมีความสำคัญต่อการสร้างกระดูกให้เป็นไปอย่างปกติ

ในเด็กที่ขาดวิตามิน ดี จะเกิดภาวะกระดูกอ่อน ซึ่งในเด็กเรียกว่า โรคกระดูกอ่อน และในผู้ใหญ่เรียกว่าภาวะออสธีโอมาลาเซีย (osteomalacia)

สรุปแล้วน้ำมันตับปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพในแง่ที่ให้วิตามิน เอ และวิตามิน ดี

อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะได้รับวิตามิน เอ จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผักต่าง ๆ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง รวมทั้งแครอท ส่วนวิตามิน ดี นั้นก็มีมากในตับและไข่แดง เช่นเดียวกัน

โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายสามารถสร้างวิตามิน ดี ได้ที่ผิวหนัง โดยผิวหนังที่ได้รับแสงแดด จะสร้างวิตามิน ดี ซึ่งจะถูกเปลี่ยนที่ไตและตับให้เป็นรูปแบบที่ทำงานได้

นอกจากนี้ วิตามิน เอ และวิตามิน ดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน การได้รับวิตามิน 2 ชนิดนี้มากเกินไป จะทำให้มีการสะสมและเพิ่มระดับวิตามินในเลือด จนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากระดับวิตามินที่สูงมากได้ จึงควรระมัดระวัง

 

ส่วนคำถามที่ว่า การบริโภคน้ำมันตับปลา ส่งผลให้คอเลสเตอรอลสูงจริงหรือไม่นั้น

คำตอบคือ ตับเป็นแหล่งที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้น การบริโภคน้ำมันตับปลาในปริมาณมาก ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ ส่วนดีเอชเอก็มีบทบาทเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็นในช่วงอายุ 6 เดือนแรก และมีความสำคัญต่อการสร้างสารที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาท ซึ่งมีผลต่อการทำงานหรือการสั่งงานของสมอง

ดีเอชเอนั้นมีมากในน้ำมันปลาทะเล (ซึ่งไม่ใช่น้ำมันตับปลา) ซึ่งทารกที่เกิดครบกำหนด เด็ก และผู้ใหญ่ สามารถสร้างดีเอชเอได้ในร่างกาย โดยสร้างจากกรดแอลฟ่าลิโนเลนิก (alpha-linolenic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น อย่างไรก็ตามปริมาณที่ร่างกายสร้างได้มีไม่มาก จึงมีการแนะนำให้บริโภคปลาทะเลน้ำลึกเพื่อเพิ่มระดับดีเอชเอในร่างกาย

 

ในทางการแพทย์ น้ำมันตับปลาสามารถรักษาโรคหรือทำให้อาการของโรคทุเลาลงได้หรือไม่

คำตอบคือ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดวิตามิน เอ ร่วมกับภาวะขาดวิตามิน ดี อาจจะมีการแนะนำให้บริโภคน้ำมันตับปลา โดยแพทย์ต้องพิจารณาปริมาณวิตามิน เอ และวิตามิน ดี ที่ผู้ป่วยจะได้รับจากน้ำมันตับปลา และจากอาหารอื่นที่ให้วิตามิน เอ และวิตามิน ดี รวมไปถึงความร่วมมือของผู้ป่วยเองในการบริโภคน้ำมันตับปลาด้วย

คำแนะนำในการบริโภคน้ำมันตับปลา ตามที่ทราบแล้วว่า น้ำมันตับปลามีปริมาณวิตามิน เอ และวิตามิน ดี สูง  วิตามินทั้งสองตัวนี้เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน จึงมีโอกาสที่จะถูกสะสมจนถึงระดับที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อบริโภคพร้อมกับยาอื่นที่มีวิตามิน เอ และหรือวิตามิน ดี ร่วมอยู่ด้วย ดังนั้น การบริโภคน้ำมันตับปลาในรูปยาหรือวิตามินเสริม จึงควรทำด้วยความระมัดระวัง ต้องพิจารณาทั้งปริมาณและระยะเวลาที่บริโภค อีกอย่างน้ำมันตับปลาไม่เหมือนน้ำมันปลาทะเล สารอาหารที่ได้รับก็มีความแตกต่างกัน.

 

รศ.ดร.พญ.นลินี จงวิริยะพันธุ์
สาขาวิชาโภชนวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา: เดลินิวส์ 29 มีนาคม 2557

ยืดอายุให้ยืนยาวด้วย ‘ทูน่า’

bangkokbiznews140307_001โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในปี 2556 พบว่า โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตติดอันดับ 1 ใน 10 ของโรคที่มีอัตราการตายสูงสุดในประเทศไทย และยังส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละประมาณ 50,000 ล้านบาท จากการวิจัยและคำแนะนำของแพทย์เพื่อยืดอายุให้ยืนยาวพร้อมกับลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจนั้นสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการรับประทานปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึกที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณค่าทางโภชนาการและมากประโยชน์ต่อสุขภาพ

กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร ซึ่งพบได้มากในปลาทะเลน้ำลึกทั้งในปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า ที่มีไขมัน โอเมก้า 3 สูงถึง 1 – 4 กรัม ต่อเนื้อปลา 100 กรัม กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญมี 2 ชนิด ได้แก่ EPA (EICOSAPENTAENOIC ACID) และ DHA (DOCOSAHEXAENOIC ACID) ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เนื่องจากโอเมก้าไปช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและการหดตัวของหลอดเลือด จึงส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว และช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดจึงลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดได้

ผลการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากคณะสาธารณสุขมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐ พบว่าผู้ใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไปที่กินปลาเป็นประจำมีโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง ทำให้มีอายุเฉลี่ยยืนยาวมากกว่าผู้ที่ไม่บริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 ถึง 2 ปี ทั้งนี้ พบความเชื่อมโยงว่าผู้ที่มีระดับโอเมก้า 3 ในร่างกายในปริมาณสูงมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพียงร้อยละ 35 น้อยกว่าผู้มีระดับความดันโลหิตต่ำ นอกจากนั้นทางสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกันยังแนะนำเพิ่มเติมว่าวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มกรดโอเมก้า 3 ในร่างกาย คือ เพิ่มการรับประทานปลาทะเลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 7 มีนาคม 2557

.

Related Article :

.

Credit: better4you.mbooth.com

Credit: better4you.mbooth.com

Ask the Expert: Omega-3 Fatty Acids

The Expert

Dr. Frank Sacks

Professor of Cardiovascular Disease Prevention, Department of Nutrition, Harvard School of Public Health

1. What are omega-3 fatty acids, and why should I make sure to include them in my diet?

Omega-3 fatty acids (also known as n-3 fatty acids) are polyunsaturated fatty acids that are essential nutrients for health. We need omega-3 fatty acids for numerous normal body functions, such as controlling blood clotting and building cell membranes in the brain, and since our bodies cannot make omega-3 fats, we must get them through food. Omega-3 fatty acids are also associated with many health benefits, including protection against heart disease and possibly stroke. New studies are identifying potential benefits for a wide range of conditions including cancer, inflammatory bowel disease, and other autoimmune diseases such as lupus and rheumatoid arthritis.

2. What foods are good sources of omega-3 fatty acids? How much do I need to eat of these foods to get enough omega-3s?

There are two major types of omega-3 fatty acids in our diets: One type is alpha-linolenic acid (ALA), which is found in some vegetable oils, such as soybean, rapeseed (canola), and flaxseed, and in walnuts. ALA is also found in some green vegetables, such as Brussels sprouts, kale, spinach, and salad greens. The other type, eicosapentaenoic acid (EPA) and docosahexaenoic acid (DHA), is found in fatty fish. The body partially converts ALA to EPA and DHA.

We do not know whether vegetable or fish omega-3 fatty acids are equally beneficial, although both seem to be beneficial. Unfortunately, most Americans do not get enough of either type. For good health, you should aim to get at least one rich source of omega-3 fatty acids in your diet every day. This could be through a serving of fatty fish (such as salmon), a tablespoon of canola or soybean oil in salad dressing or in cooking, or a handful of walnuts or ground flaxseed mixed into your morning oatmeal.

3. What are omega-6 fatty acids? Should I be concerned about the ratio of omega-6 fatty acids to omega-3 fatty acids in my diet?

Omega-6 fatty acids (also known as n-6 fatty acids) are also polyunsaturated fatty acids that are essential nutrients, meaning that our bodies cannot make them and we must obtain them from food. They are abundant in the Western diet; common sources include safflower, corn, cottonseed, and soybean oils.

Omega-6 fatty acids lower LDL cholesterol (the “bad” cholesterol) and reduce inflammation, and they are protective against heart disease. So both omega-6 and omega-3 fatty acids are healthy. While there is a theory that omega-3 fatty acids are better for our health than omega-6 fatty acids, this is not supported by the latest evidence. Thus the omega-3 to omega-6 ratio is basically the “good divided by the good,” so it is of no value in evaluating diet quality or predicting disease.

4. Is it better to get omega-3 fatty acids from food or from supplements?

Certainly foods, since the plants and fish that contain omega-3 fats have other good nutrients, such as protein, vitamins and minerals. People who do not eat fish or other foods rich in omega-3 fatty acids should consider taking an omega-3 supplement of 500 mg per day; fish oil is used in supplements, but there are also vegetarian supplements that have ALA. Studies suggest that people who have already had a heart attack may benefit from higher doses of omega-3 supplements (basically, double the 500 mg), so if you do have heart disease, consult your healthcare provider about whether taking a higher dose of omega 3s makes sense for you.

5. I am a vegetarian, so I do not consume any fish. But I get plenty of ALA in my diet, from canola and soybean oil, ground flax seed, and walnuts. How efficiently does the body convert ALA to DHA and EPA? Should I take an algal DHA supplement?

If you are getting adequate ALA in your diet from oils and nuts, I am not sure you really need to take an algal DHA supplement. As I mentioned above, the body partially converts ALA to EPA and DHA; it is not known if ALA has substantial health benefits as is, or whether it must be converted to EPA and DHA to produce most of the benefits. My current interpretation of the science is that ALA is important to nutrition because it is an essential fatty acid, and that at least part of its benefits come from its conversion to EPA and DHA. I don’t advocate that vegans take n-3 supplements if they are getting ALA from vegetable oils, vegetables, walnuts, and other vegetarian sources as described above.

6. Can omega-3 fatty acids be destroyed by high-heat cooking?

Not if the oil is fresh. In fact, even in frying oil that is used for days, you still can find ALA in it.

SOURCE : www.hsph.harvard.edu

การรับประทานน้ำมันปลาและแอสไพรินร่วมกันจะช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคข้อ

Scientists have discovered that taking fish oil and aspirin together could help to ease beat chronic illnesses such as arthritis

Scientists have discovered that taking fish oil and aspirin together could help to ease beat chronic illnesses such as arthritis

 

นักวิทยาศาสตร์พบว่าการรับประทานน้ำมันปลาและแอสไพรินร่วมกันจะช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบ

ทั้งน้ำมันปลาและแอสไพรินเมื่อรวมกันจะต่อสู้กับการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดในโรคข้ออักเสบ

Fish oils have long been heralded for their beneficial effects on the brain, bones and heart

Fish oils have long been heralded for their beneficial effects on the brain, bones and heart

The cure for arthritis? Fish oil AND aspirin, according to a breakthrough discovery

  • The two work together to combat inflammation that causes pain of arthritis

By EMILY PAYNE

PUBLISHED: 18:17 GMT, 22 February 2013

Fish oil and aspirin could be the key to beating a host of devastating chronic diseases, according to new research.

Researchers from the Brigham and Women’s Hospital and Harvard Medical School in Boston found that the two work together to combat the inflammation responsible for a host of illnesses, including heart disease, cancer, arthritis and Alzheimer’s.

Both aspirin and omega-3 fatty acids from fish are known to have an anti-inflammatory effect on their own, but the research shows that when taken together they can control the overactive immune responses associated with long-term illnesses.

Inflammation is the body’s natural response to injury and foreign bodies.

When something harmful or irritating affects a part of the body, there is a biological response to try to remove it, and the symptoms of inflammation show that the body is trying to heal itself.

But if the person suffering has a high-fat diet, too much body fat or is a smoker, for example, the may not be a break from the irritants, so the immune system can lose control, increasing risk of disease.

Long-term, inflammation can become chronic which can then damage heart valves and brain cells, causing strokes and promoting resistance to insulin, which leads to diabetes.

It is also associated with the development of cancer.

Aspirin is used by millions of people to keep heart attacks and strokes at bay. The drug is used to thin the blood, which reduces the risk of clots.

It works by helping to trigger the production of molecules called resolvins that are made naturally by the body from omega-3 fatty acids.

These resolvins ‘resolve’, the inflammation that underlies the health conditions which blight the lives of millions.

Omega-3 is found in oily fish, particularly salmon and sardines, as well as chicken, nuts, kale and spinach as well as vegetable oils.

One resolvin called D3 was found to have an especially long-lasting anti-inflammatory effect.

The researchers said: ‘In this report, we found that one resolvin, termed D3 and from omega-3 fatty acid, persists longer at sites of inflammation than either resolvin D1 or resolvin D2 in the nat­ural resolution of inflammation in mice.

‘This finding suggests that this late resolution phase resolvin D3 might display unique properties in fighting uncontrolled inflammation.’

The researchers also confirmed that aspirin triggered the production of a longer-acting form of resolvin D3 through a different pathway.

The team were able to produce a pure form of both resolvin D3 and aspirin-triggered resolvin D3.

When administered to human cells, both of these showed highly potent anti-inflammatory actions.

The research was published in the journal Chemistry & Biology.

SOURCE: dailymail.co.uk

ฟองเดียว …เอาอยู่

จากผลวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับไข่ ระบุว่า ผู้ที่กินไข่วันละ 1 ฟองขึ้นไปจะปลอดจากความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่กินไข่ในความจริงแล้ว โปรตีนจากไข่ขาวเป็นโปรตีนชั้นดี ซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้แทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพของร่างกายได้ทั้งหมดดีกว่าเนื้อสัตว์เสียอีก ทางการแพทย์ ระบุว่า ไข่ขาวสามารถเปลี่ยนเป็นโปรตีนของร่างกายได้ 100%

ส่วนในไข่แดงนั้นก็ยังมีสารอาหารหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งมีคุณค่าใกล้เคียงกับไขมันปลาทะเล ถึงแม้ว่าไข่แดงจะมีคอเลสเตอรอล แต่ในไข่แดงจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 (HDL Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันชนิดดี ไม่มีผลต่อการเพิ่มคอเลสเตอรอล ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อตา และกรดโอเมก้า 6 กรดอะราคิโดนิก ซึ่งจำเป็นสำหรับผิวหนัง เส้นผม การเจริญเติบโตของเด็ก หญิงมีครรภ์

สิทธิโชค ศรีโช บรรณาธิการฝ่ายอาหาร นิตยสาร Health&Cuisine บอกว่า ไข่เป็นโปรตีนที่รับประทานง่าย คนทั่วไปสามารถรับประทานไข่ได้วันละ 1 ฟอง โดยที่คอเลสเตอรอลไม่เกิน และในไข่แดงมี วิตามินเค ช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็วยามที่เป็นแผล นอกจากนี้ ไข่ ยังอุดมด้วยวิตามินบี ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานในร่างกาย รวมถึงวิตามินเอที่ช่วยเรื่องการเติบโตและพัฒนาการ วิตามินอีช่วยต่อต้านโรคหัวใจและมะเร็งบางประเภท วิตามินดี ช่วยให้ร่างกายดูดซับเกลือแร่และทำให้กระดูกแข็งแรงและมีไอโอดีน กระตุ้นการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมน และฟอสฟอรัส ซึ่งจำเป็นต่อกระดูกและฟัน

ว่า กันว่า คนที่รับประทานไข่วันละฟอง จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกน้อยกว่า เพราะในไข่มีสารลูทีนและซีแซนทีนที่ช่วยปกป้องหรือรักษาอาการจุดรับภาพที่จอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของอาการตาบอด

แต่ไม่ว่าจะเป็นเมนู ไข่ต้ม ไข่เจียว ไข่ดาว ไข่ลวก ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ ไข่ยัดไส้ และอีกสารพัดเมนูไข่ ควรปรุงสุก จะปลอดภัยต่อร่างกายที่สุด เนื่องจากไข่ขาวดิบทั้งหมดเป็น “อัลบูลมิน” ถ้าไม่สุกจะทำให้มีปัญหาลำไส้ ย่อยได้ยาก นอกจากนี้การรับประทานแต่ไข่ขาวเพียงอย่างเดียว เพียงเพราะกลัวไขมันคอเลสเตอรอลสูงจากไข่แดง จะทำให้โปรตีนในไข่ขาวตัวหนึ่ง ชื่อ “อะวิดิน” ไปจับกับ “ไบโอติน” ในร่างกาย ทำให้ร่างกายขาด “ไบโอติน” ซึ่ง เป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อเส้นผม และสุขภาพผิวที่ทำให้แก่ก่อนวัย ฉะนั้นหากอยากมีสุขภาพดีควรรับประทานทั้งไข่ขาวและไข่แดง

รู้ประโยชน์ของเจ้าไข่ฟองกลมๆ แบบนี้แล้วก็ อย่าลืม …รับประทานไข่ไก่กันทุกวันนะคะ

 

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ 3 สิงหาคม 2555

เมนู ‘ปลาทู’ ใกล้ตัวอุดมโอเมก้า-3

 เมนู ‘ปลาทู’ ใกล้ตัวอุดมโอเมก้า-3  

‘โอเมก้า-3’ ชื่อนี้เป็นที่คุ้นหู ด้วยคนทั่วไปเข้าใจว่า เป็นสารอาหารที่มีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึก กินแล้วช่วยให้มีความจำที่ดี แม้เป็นความเข้าใจที่ไม่ผิด แต่ยังรู้กันไม่ครบ เหตุนี้เองผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายสาขาจึงรวมตัวกันเปิดตัว ‘โอเมก้า- อะคาเดมี เอเชีย’ ศูนย์ความรู้ออนไลน์เกี่ยวกับโอเมก้า-3 ไว้โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ www.omega3academy.com/th   เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาข้อมูลของโอเมก้า-3 ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ จากเนื้อหาที่อ่านเข้าใจง่าย
ซึ่ง ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ และเลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลปิยะเวท ฝากเตือนผู้สนใจว่า หากขาดความรู้ที่ถูกต้อง การกินโอเมก้า-3 ทั้งที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติหรืออาหารเสริม อาจส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาที่กินเพื่อรักษาโรคอยู่ก็เป็นได้

สำหรับ ‘โอเมก้า-3’ ชื่อเต็มๆ คือ กรดไขมันโอเมก้า-3 สายโซ่ยาว ประกอบด้วยกรดไขมันสี่ชนิด คือ DHA DPA EPA ซึ่งมีเฉพาะในปลาที่มีน้ำมันมาก และ ALA ที่พบในน้ำมันพืชและผักสีเขียวบางชนิด เช่น ผักโขม ผักแขนง โดยรวมแล้ว เป็นไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อนที่ดีต่อสุขภาพ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ แต่ได้จากอาหารที่กินเข้าไป สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ลดระดับไตรหลีเซอไรด์ในเลือด รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้เหมาะสม

นอกจากนี้ โอเมก้า-3 ยังดีต่อสมอง การพัฒนาสมองด้านการคิดและการควบคุมการทำงานของสมอง ป้องกันอาการหลงลืมในผู้สูงอายุ ลดความบกพร่องของสายตาในกลุ่มคนสูงวัย และดีกับข้อต่อ เพราะสามารถจำกัดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่ผิดปกติเมื่อเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ด้าน อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพ(อเมริกา)และที่ปรึกษาโภชนบำบัด โรงพยาบาลเทพธารินทร์ เผย ปัจจุบันคนไทยเรากินปลา 30 กิโลกรัมต่อปี หรือคิดเป็น 100 กรัมต่อวัน จัดว่าน้อยเกินไป ทั้งบางคนยังคิดว่า โอเมก้า-3 มีอยู่ในปลาที่มีราคาแพง อาทิ แซลม่อน ทั้งที่ๆ ปลาทู อาหารคู่ครัวไทย หาง่าย ราคาถูก ก็อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 ในปริมาณมาก เช่นเดียวกับปลาช่อน ปลาสวาย และปลาอินทรีย์

            ส่วนการกินให้ได้คุณค่าโอเมก้า-3 สูงสุดนั้น อ.ศัลยา แนะให้เลี่ยงการนำปลาไปทอดในน้ำมันด้วยความร้อนสูงและนาน เนื่องจากจะลดทอนโอเมก้า-3 ให้น้อยลงไป อย่างนี้ ‘มุมสุขภาพ’ ขอเสนอเมนูมีโอเมก้า-3 และไม่ใช้วิธีทอดน้ำมันในการประกอบอาหาร นั่นคือ ‘ต้มส้มปลาทูสด’ เป็นเมนูกินดีไม่เสียสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ ส่วนผสมประกอบด้วย…
ปลาทูสด 3-4 ตัว
รากผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทย 5 เม็ด
หอมแดง 4 หัว
กะปิดี 1 ช้อนชา
น้ำเปล่าหรือน้ำซุป 2 ถ้วย
น้ำมะขามเปียก 1/2 ถ้วย
น้ำตาลปี๊บ 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
ขิงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมหั่นท่อน 1/2 ถ้วย
ผักชีเด็ดเป็นใบ 1/4 ถ้วย

ขั้นตอนในการทำ เริ่มด้วยนำรากผักชี พริกไทย หอมแดง กะปิ โขลกรวมกันให้ละเอียดเข้ากันดี จากนั้นตั้งน้ำให้เดือด ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ลงไป ต้มต่อไปจนน้ำในหม้อเดือด ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกข้น น้ำตาลปี๊บ และน้ำปลา เมื่อน้ำแกงเดือดอีกครั้ง ให้ใส่ปลาทูสดและขิงซอยลงไป ไม่นานปลาทูก็จะสุก ให้ใส่ต้นหอม ปิดเตาโรยผักชีเป็นอันเสร็จ.

ข้อมูลจาก : เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 26 สิงหาคม 2554