กินน้ำตาลให้ปลอดภัย

image_001อาจเคยได้ยินว่า การบริโภคน้ำตาล (ที่เติมเพิ่มในอาหาร) นั้น ไม่ควรจะเกินวันละ 8 ช้อนชา หรือ 40 กรัม (6 ช้อนชา หรือ 30 กรัม สำหรับเด็ก) เพราะจะทำให้ฟันผุได้ง่าย

ตัวเลขดังกล่าวมาจากการคำนวณปริมาณน้ำตาลใน 1 ปี ที่ประชากรในประเทศบริโภค แล้วหาความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคฟันผุในประชากร ซึ่งเมื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยต่อคน ได้เท่ากับ 15 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือ 40 กรัมต่อคนต่อวัน หรือคิดเป็นพลังงานที่ได้รับจากน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน

อย่างไรก็ดี งานวิจัยระยะหลังพบว่า ปริมาณน้ำตาลที่สร้างอันตรายต่อฟันน้อยลงกว่าที่เคยเชื่อกัน บางงานวิจัยพบว่าไม่มีปริมาณที่แน่นอน หรือโอกาสเกิดฟันผุจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับตามปริมาณน้ำตาลที่บริโภค ซึ่งหมายถึงไม่มีปริมาณที่ปลอดภัยนั่นเอง

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆ สำหรับร่างกายคนเราที่จะต้องบริโภคน้ำตาล (หมายถึงน้ำตาลที่เติมเพิ่มในอาหาร) อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลกรับรองว่าไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน เท่ากับ 4 ช้อนชา หรือ 20 กรัมต่อวัน

คำแนะนำดังกล่าวอาจเป็นการต่อรองกับสิ่งที่ประชาชนสามารถปฏิบัติได้จริง แต่ในทางปฏิบัติ คงไม่เหมาะสมและสร้างความลำบากไม่ใช่น้อย หากแต่ละบุคคลจะต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลที่กินในแต่ละวันให้ไม่เกิน 40 กรัม หรือ 8 ช้อนชา หมายถึงจะต้องคำนวณปริมาณน้ำตาลในอาหารทุกอย่างที่กิน จากร้อยละของน้ำตาลที่ระบุไว้บนฉลาก คิดเป็นกรัม (เช่น นมหวาน 200 มล. เติมน้ำตาลร้อยละ 5 เท่ากับมีน้ำตาล 10 กรัม) แล้วทดเอาไว้ในใจ เพื่อนำไปบวกกับอาหารอื่นๆ ที่กินในวันนั้นตลอดทั้งวัน วิธีดังกล่าวคงสร้างภาระในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ใช่น้อย (เช่นเดียวกับการนับแคลอรีที่ได้รับในแต่ละวัน)

งานวิจัยจำนวนมากพบว่า ปริมาณน้ำตาลที่บริโภคมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการบริโภคหวาน (จากการเติมน้ำตาล) ถ้าบริโภคอาหารหวานบ่อยครั้งในแต่ละวัน ปริมาณน้ำตาลที่บริโภคย่อมสูงตามด้วย ความถี่ของการกินน้ำตาลจะส่งผลต่อฟันโดยตรง เพราะเป็นการสัมผัสที่ผิวฟัน ดังนั้น ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของแต่ละคนที่เหมาะสม คือ ลดความถี่ ในการบริโภคอาหารหวานเติมน้ำตาลลง ไม่ควรเกิน 4 ครั้งต่อวัน (รวมที่บริโภคในมื้ออาหารด้วย)

การควบคุมความถี่ของการบริโภคน้ำตาลเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการควบคุมปริมาณ ดังนั้นหากกินอาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้เลือกชนิดที่ไม่เติมน้ำตาลไว้ก่อน เพื่อควบคุมไม่ให้เกิน 4 ครั้ง

ที่มา : คอลัมน์ เรื่องฟันFunกับทันต จุฬาฯ มติชนรายวัน

โดย รศ.ทญ.สุดาดวง กฤษฎาพงษ์

ที่มา: มติชน 20 ธันวาคม 2557

กลิ่นปาก

thairath140822_01“กลิ่นปาก” หากเกิดกับใครคงทำให้ขาดความมั่นใจในการพูดคุย รวมไปถึงการเข้าสังคม เรามักพบอาการแบบนี้ หลังจากตื่นนอนใหม่ๆ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่


สาเหตุจากภายในช่องปาก

-ฟันผุ ในรูฟันผุจะมีเศษอาหารเน่าและเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่
-เหงือกอักเสบ หินปูน และการอักเสบของเหงือกที่รุนแรง อาจทำให้เกิดหนองบริเวณเหงือก
-เศษอาหารที่ค้างตามซอกฟัน เกิดการบูดเน่าในปาก เพราะแปรงฟันไม่สะอาดเพียงพอ
-กินอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น สุรา กระเทียม ทุเรียน
-ลิ้น บางคนมีผิวลิ้นหยาบ ขรุขระ ทำให้มีเศษอาหารเล็กๆ หรือน้ำเมือกติดค้างตามปุ่มลิ้น


สาเหตุจากภายนอกช่องปาก

-เป็นโรคทางระบบเดินหายใจ หรือระบบทางเดินอาหาร เช่น ฝีในปอด ไซนัส มะเร็งในจมูก ปาก หรือลำคอ
-โรคตับและไต การที่รับประทานยาบางอย่างเป็นประจำ อาจทำให้เกิดกลิ่นได้

thairath140822_01a
การป้องกันและแก้ไข

-แปรงฟันให้สะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
-ควรแปรงบริเวณลิ้นด้วย
-ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันที่แคบๆ ที่ไม่สามารถเอาออกด้วยการแปรงฟันปกติ
-พบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กสุขภาพฟัน เช็กฟันผุและขูดหินปูนป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ
-การดื่มน้ำมากๆ และการรับประทานผักผลไม้หลังอาหาร จะช่วยทำความสะอาดฟัน ไม่ควรปล่อยให้ปากแห้ง เพราะจะทำให้ความเข้มข้นของแบคทีเรียจะเพิ่มมากขึ้น

ถ้าได้ทำตามวิธีการต่างๆ รวมทั้งพบทันตแพทย์แล้ว ยังตรวจไม่พบสาเหตุของกลิ่นปาก จากภายในช่องปาก ให้ตรวจหาสาเหตุที่เกิดจากภายนอกช่องปาก เช่น โรคทางระบบต่างๆ กับแพทย์ต่อไป.

ทันตแพทย์หญิงนฤมล ทีวเศรษฐ์
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

 

ที่มา: ไทยรัฐ 22 สิงหาคม 2557

 

ฟันผุเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

dailynews140809_01“ฟัน” นับเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่สำคัญของร่างกายที่ต้องหมั่นดูแลรักษาให้มีความแข็งแรง เพราะนอกจากจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ฟันยังมีส่วนสำคัญในการพูด ช่วยในการออกเสียง รวมทั้งยังมีส่วนช่วยสร้างเสริมสุขภาพสร้างรอยยิ้มที่ชวนประทับใจ

เมื่อฟันป่วย ก็คงจะมีผลต่อความมั่น ใจอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ฟันผุ”

ยิ่งพบฟันผุ แม้จะเป็นเพียงรอยผุเล็ก ๆ ไม่มีอาการปวดหรือ เสียวฟันก็ไม่ควรละเลย นิ่งนอนใจ ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนที่จะลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เพราะฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย รวมทั้งยังเกิดในเด็กทารกได้ด้วย โดยหลังจากการดูดนม ควรมีการดูดนํ้าตามเพื่อทำความสะอาดคราบนํ้าตาลที่ติดตามฟัน เพราะนํ้าตาลในนมสามารถทำให้เกิดฟันผุได้ ส่วนเด็กในวัยเรียนก็มักจะชอบรับประทานขนมหวาน ลูกอม ขนมขบเคี้ยว ก็ทำให้เกิดฟันผุ สำหรับช่วงวัยรุ่นและวัยทำงานพอเติบโตขึ้นการทานขนมเหมือนกับวัยเด็กก็จะลดลง ฟันผุก็ลดลงกว่าเด็ก แต่ในกลุ่มผู้ใหญ่จะพบโรคเหงือกมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่รักษาก็จะลุกลามกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบได้

ฟันที่ผุจะเริ่มจากรูเล็ก ๆ หากปล่อยทิ้งไว้นิ่งนอนใจไม่รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษา ก็จะกลายเป็นรอยผุที่ขยายใหญ่ขึ้นและอาจลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น โดยเชื้อโรคจะลุกลามไปที่รากฟัน เกิดหนองส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญข้างเคียง ไม่ว่าจะเป็น ตา โพรงไซนัส และสมอง

อาการปวดฟันจากฟันผุ หากปล่อยให้ลุกลามจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เชื้อโรค จะแพร่กระจายตามกระแสเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ อย่างเช่น ส่งผลเสียต่อโรคหัวใจ จากที่มีการตรวจพบเชื้อโรคที่ทำให้เกิดฟันผุ “สเตร็ปโตคอคคัส” ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวที่ตรวจพบที่เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ดังนั้น จึงมีการตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพฟัน เพื่อไม่ให้โรคฟันผุไปทำให้โรคหัวใจทวีความรุนแรงขึ้นหรือมีผลเสียต่อโรคหัวใจ

แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องมีความเข้าใจกันก่อนว่า โรคหัวใจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แม้ว่าจะมีการศึกษาติดตาม แต่ในทางวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันข้อมูลรับรองว่าฟันผุทำให้เกิดโรคหัวใจได้หรือไม่ แต่พบว่ามีผลเสียต่อโรคหัวใจ เมื่อใดที่มีเลือดออกในช่องปาก เชื้อแบคทีเรียในช่องปากจะสามารถเข้าไปในกระแสเลือดได้ และเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจมีอาการปวดฟันมาเข้ารับการรักษา อาจต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ในขณะที่ฟันมีหน้าที่สำคัญทั้งในเรื่องการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยระบบการย่อยอาหาร หากมีฟันผุหรือสูญเสียฟันไปก็จะบดเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดพอ เมื่อทานอาหารไม่ได้ ร่างกายก็จะไม่ได้รับสารอาหารสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่งผลให้สุขภาพทรุดโทรมลง การดูแลรักษาถูกวิธีจึงมีความสำคัญช่วยให้ฟันคงอยู่กับเรายืนยาว ก่อนต้องเผชิญกับฟันผุมีวิธีในการดูแลฟันโดยมีหลักใหญ่อยู่ 3 ประการคือ เมื่อทราบสาเหตุของการเกิดขึ้นของฟันผุว่าเกิดจากนํ้าตาล จึงควรแปรงฟันให้สะอาดถูกวิธี ต่อมาคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และควรตรวจฟันทุก 6 เดือน

สำหรับการแปรงฟันให้สะอาด วิธีการแปรงฟันต้องแปรงให้ถึงซอกฟัน แปรงฟันให้นานพอและถูกวิธี และแปรงฟันให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่ถ้าสามารถแปรงฟันได้หลังมื้ออาหารทุกครั้งก็จะดีที่สุด อีกทั้งการเลือกแปรงสีฟันควรเลือกแปรงขนอ่อน เวลาที่แปรงฟันก็ควรแปรงในลักษณะหมุนให้ขนแปรงซอกซอนไปตามร่องเหงือก แล้วปัดขนแปรงออกจากตัวฟัน

เมื่อฟันผุส่งผลเสียต่อร่างกายแบบนี้แล้ว ก็ควรหันมาใส่ใจปัญหาช่องปากกันให้มากเข้าไว้ เพื่อจะได้มีฟันไว้ใช้งานได้นาน ๆ.

ทันตแพทย์หญิงนฤมล ทวีเศรษฐ์
งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ที่มา : เดลินิวส์  9 สิงหาคม 2557

9 พฤติกรรม…ส่งผลร้ายต่อฟันที่คุณรัก

images005คอลัมน์ คุยกับหมอฟันมหิดล : โดย รท.ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต อาจารย์ประจำภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อฟันคุณมีอะไรบ้าง?

1) การใช้ฟันเป็นเครื่องมือ หลายคนใช้ฟันเป็นเครื่องมือในการเปิดขวดหรือเศษถุงฉีกขาดเทปพลาสติก, ตัดป้ายราคาเสื้อผ้าออก เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะฟันถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการบดเคี้ยวอาหารเท่านั้น การใช้ฟันผิดเช่น นำไปกัด หรือฉีกถุงพลาสติก อาจทำให้ฟันหน้าบิ่นหรือแตกหักเสียหายได้

2) เคี้ยวน้ำแข็ง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันแข็ง ถึงจะเคี้ยวแล้วมันจะได้ความกรุบกรอบ สนุกสนาน แต่อาจทำให้ฟันที่ใช้เคี้ยวน้ำแข็งเกิดอาการฟันร้าว นำไปสู่การเสียวฟัน และปวดฟันได้ หรือในบางรายที่ไม่มีอาการดังกล่าว อาจจะทำให้ฟันสึกมาก และเร็วกว่าปกติได้ รวมถึงทำให้ฟันแตกหัก จนต้องถอนฟันได้

3) ดูดน้ำมะนาว น้ำมะนาวมีความเป็นกรดสูง และความเป็นกรดในน้ำมะนาวนี้ จะทำให้เนื้อฟันบริเวณที่สัมผัสกับน้ำมะนาว มีลักษณะอ่อนนุ่มลง และจะทำให้ฟันสึกมากกว่าปกติได้ ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำมะนาว แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า หรือบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าตามทันที เพื่อลดระยะเวลาที่น้ำมะนาวจะสัมผัสกับตัวฟัน และไม่ควรแปรงฟันทันทีหลังดื่มน้ำมะนาว เพราะเนื้อฟันยังมีลักษณะนิ่มหลังจากสัมผัสกับกรด การแปรงฟันทันที อาจส่งผลให้ฟันสึกเร็วขึ้น

4) การใช้ไม้จิ้มฟัน การใช้ไม้จิ้มฟันบ่อยๆ และใช้แบบผิดวิธี อาจทำให้ฟันห่างขึ้น และเป็นอันตรายต่อเหงือกได้ แนะนำให้ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดระหว่างซอกฟันจะดีกว่า

5) กัดเล็บ การกัดเล็บจะทำให้เล็บไม่สวย และเสียบุคลิกภาพ

6) ดูดนิ้วหัวแม่มือ การดูดนิ้วหัวแม่มือในเด็ก จะส่งผลต่อการขึ้นของฟัน ทำให้ฟันขึ้นในตำแหน่งที่ผิดปกติ เนื่องจากนิ้วหัวแม่มือไปดันฟันไว้ และทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกใบหน้า ขากรรไกรได้

7) การสูบบุหรี่จัด การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการเคี้ยวหมาก 2 อย่างแรก จะทำให้มีคราบสกปรกติดแน่นในช่องปาก ทำให้มีคราบหินน้ำลายมาเกาะได้ง่าย และนำไปสู่การเป็นโรคเหงือก โรคปริทันต์และสูญเสียฟันต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปากอีกด้วย ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์ จะส่งผลให้คนไข้ลืม หรือไม่ใส่ใจในการทำความสะอาดช่องปาก เนื่องจากเมา หลับไป

8) ดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป น้ำอัดลมมีความเป็นกรดเช่นเดียวกับน้ำมะนาว การดื่มน้ำอัดลมบ่อยๆ จะทำให้เนื้อฟันมีลักษณะนิ่ม มีการสึกที่เร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ ในน้ำอัดลมยังมีน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อการเกิดฟันผุอีกด้วย

9) การนอนกัดฟันโดยไม่รู้ตัว สาเหตุของการนอนกัดฟันโดยไม่รู้ตัวยังไม่เป็นที่แน่ชัดความเครียดอาจเป็นสาเหตุหนึงที่ทำให้นอนกัดฟันได้วิธีการป้องกันคือการใส่เฝือกสบฟันในขณะนอนเพื่อช่วยลดการสึกของฟันและปัองกันการเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อใบหน้า และข้อต่อขากรรไกร

ที่มา : หน้าพิเศษ Hospital Healthcare นสพ.มติชน

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 4 มีนาคม 2557

งานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากของนักกีฬาในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่กรุงลอนดอนปีที่แล้ว ทำความประหลาดใจให้กับทันตแพทย์เป็นอย่างมาก

voathai131003_001นักวิจัยในอังกฤษที่สำรวจสุขภาพในช่องปากของนักกีฬาประเทศต่างๆที่ไปร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อนในกรุงลอนดอนในปีที่แล้ว รู้สึกประหลาดใจกับผลที่ได้รับเป็นอย่างมาก

ศจ. ทันตแพทย์ Ian Needleman ของสถาบันทันตกรรม Eastman ของ University College ในกรุงลอนดอน บอกว่าที่คิดทำวิจัยเรื่องนี้ก็เพราะตั้งสมมุติฐานขึ้นมาว่า เพราะว่าสุขภาพในช่องปากสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ เพราะฉะนั้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการฝึกและการแข่งขันของนักกีฬาได้ด้วย

นักวิจัยตรวจสภาพช่องปากของนักกีฬาที่ไปร่วมการแข่งชันดังกล่าวมากกว่าสามร้อยคน และศจ. Ian Needleman บอกว่าที่พบเห็นก็คือ มีฟันผุกันมาก ผุหลายซี่ ไม่ใช่เพียงซี่เดียว นอกจากนี้ก็มีโรคเหงือก ฟันกร่อนเพราะรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีกรด และอาการบอบช้ำ ซึ่งคาดได้จากกีฬาบางประเภท

ทันตแพทย์ผู้นี้ประหลาดใจกับสุขภาพในช่องปากของนักกีฬาเหล่านี้มาก โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า นักกีฬาเหล่านี้อายุยังน้อย อยู่ในวัยรุ่นหรือยี่สิบกว่าๆเท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ได้รับการดูแลทางการแพทย์เป็นอย่างดี เข้าใจดีว่าจะต้องรักษาร่างกายและฝึกฝนอย่างไรบ้าง แต่จะด้วยเหตุผลกลใดไม่เป็นที่ทราบ ไม่ให้ความสนใจกับการรักษาสุขภาพในช่องปาก

นักวิจัยชาวอังกฤษผู้นี้ชี้แนะว่า สุขภาพในช่องปากอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในตัวเองของนักกีฬาได้ ยกตัวอย่างเช่น นักกีฬาที่เป็นโรคเหงือกและมีเลือดออกตามไรฟัน อาจรู้สึกอับอายและมีความมั่นใจในตนเองน้อยลง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบนักกีฬาผู้นี้ในการแข่งขันได้

ในอีกด้านหนึ่ง นักกีฬาเหล่านี้มาจากประเทศต่างๆ รวมทั้งสหรัฐ ปัญหาของสุขภาพในช่องปาก อาจสะท้อนถึงแนวโน้มของสุขภาพในช่องปากของประชากรโดยรวมในแต่ละประเทศที่นักกีฬาเหล่านี้เป็นตัวแทนมาด้วยก็ได้ เพราะสุขภาพดังกล่าวยังอาจเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณบ่งชี้สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของนักกีฬานั้นๆด้วย

ยังจะมีการวิจัยเรื่องสุขภาพในช่องปากของนักกีฬาต่อไป เพื่อหาทางป้องกันปัญหาดังกล่าวในอนาคต

03.10.2013

ที่มา : www.voathai.com

.

Related Article :

.

voanews131002_001

Survey: Poor Oral Health Among Olympians

Joe DeCapua
Last updated on: October 02, 2013

Olympic athletes train long and hard to achieve peak performance.  But a new study indicates training should include regular dental check-ups. More than 300 athletes at the 2012 London Olympics took part in a survey on oral health. They represented 25 sports, with most competing in track and field.

Ian Needleman, who led the research, said, “We put together a hypothesis that since oral health can affect quality of life it could have an impact on their training and performance. And that’s really what led to this research.”

Needleman is professor of restorative dentistry and evidence-based health care at the University College London Eastman Dental Institute.

“What we did for the day to day research was to carry out a detailed examination of the oral health of athletes. And these were athletes participating in the games that came along to the dental clinic. And the dental clinic is part of a major medical facility that’s always available in the Olympic village to games’ participants,” he said.

Athletes underwent examinations of their mouths, teeth and gums.

“We found a lot of tooth decay, which was surprising. More than half of athletes had tooth decay. And for a lot of them it wasn’t just one tooth. It was many teeth. But apart from that, lots of other issues – gum disease, which was really present in a lot of the athletes. Dental erosion, which is teeth wearing away due to acidic food and drinks.  And trauma – damage which you might expect from some sports, which involve contact or risk of trauma,” he said.

Needleman said that  the oral problems are surprising, given the fact that many athletes are only in their teens and 20’s.

“They’re a young group. They are otherwise very well supported medically – very health aware and training aware. But for some reason oral health doesn’t seem to have got onto the radar.”

Researchers also collected a lot of anecdotal evidence about how poor oral health affected competitors.

“It might have been pain preventing them training. And then one young guy telling us that he really hadn’t been able to train properly for a year, which is an extraordinary condition to be in. And clearly, if his training was affected then performance would be. We know very well that oral health problems can affected people’s confidence. People, for instance, who have frequently bleeding gums, often feel a bit embarrassed about that – less confident about being with others. And sport performance is to a great extent related to confidence,” he said.

Problems were found even among U.S. athletes, despite the wide availability of dental care in the country.

Needleman said there’s also growing evidence that infection or inflammation in the mouth can adversely affect the rest of the body. For example, inflammation may increase risk of injury and the ability to heal.

He added that the survey results for elite athletes may shed light on the oral health of the general populations of their home countries.

“What it suggests is that some of the challenges to oral health [experienced by] these athletes will exist in the general population. And not surprisingly there is also a very strong effect of social and economic status. So, these things are not equally distributed in populations.”

More research will be conducted to develop better ways to prevent oral problems in athletes. It’s known that frequent carbohydrate intake, possibly from sports drinks, may contribute to the problems. Also, intense training could weaken immune system response to infection.

Needleman said many teams have contacted him about the research.

SOURCE:  www.voanews.com

ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่ามีคนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลกหรือเกือบสี่พันล้านคนมีปัญหาฟันผุและโรคเหงือก

voathai130619_001ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเตือนว่าโรคฟันและโรคเหงือกอาจจะนำไปสู่ปัญหาทางสังคมและจิตใจได้

ศาสตราจารย์เว็คเน่อร์ มาร์เซ็นเนสเป็นหัวหน้าทีมนักวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับโรคภัยที่เป็นปัญหาต่อคนทั่วโลกประจำปีคริสตศักราช 2010 ผลการศึกษานี้จัดทำร่างรายชื่อโรคภัยหลักๆและอาการบาดเจ็บที่พบได้ทั่วไปจำนวน 291 โรค

ศาสตราจารย์มาร์เซ็นเนสทำงานประจำที่สถาบันทัณตกรรมควีนเเมรี่ที่มหาวิทยาลัย University of London เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าการศึกษาครั้งนี้เป็นโครงการใหญ่มาก มีนักวิทยาศาสตร์ประมาณห้าร้อยคนเข้าร่วมโครงการ เขากล่าวว่านักวิจัยทำการทบทวนข้อมูลทุกประเภทที่มีอยู่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทุกอย่าง แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปทำการประเมิน ดังที่ปรากฏในรายงานที่ตีพิมพ์ไปเมื่อเร็วๆนี้

ศาสตราจารย์มาร์เซ็นเนสกล่าวว่าโรคฟันผุในฟันแท้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า carries ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าโรคฟันผุเป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุความเสี่ยงอย่างเดียวกับโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ

ผลการศึกษาเรื่องนี้พบว่าโรคฟันผุพบเพิ่มขึ้นมากที่สุดในชาติอาฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าและชาติหมู่เกาะทางใต้ ตะวันตกและกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ศาสตราจารย์มาร์เซ็นเนสกล่าวว่าเขาไม่แปลกใจต่อเรื่องนี้

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่าโรคฟันผุและโรคเหงือกได้รับความสนใจน้อยกว่าโรคอื่นๆ ยกตัวอย่าง โรดเอดส์จะได้รับความสนใจมากเพราะเป็นปัญหาใหญ่ด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากกว่า เขากล่าวว่ามีคนในอาฟริกาเป็นโรคฟันผุกันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาเริ่มมีวิถีชีวิตเหมือนกับชาติตะวันตกมากขึ้นในหลายๆทาง

ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสกล่าวว่าโรคฟันผุน่าจะเกี่ยวพันกับลักษณะโภชนาการ อาหารสมัยใหม่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด รวมทั้งโรคฟันผุ

อาหารในประเทศพัฒนาเเล้วมีส่วนผสมของน้ำตาลสูงมาก น้ำตาลเป็นสาเหตุหลักของโรคเหงือกและฟัน ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนส ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมในอังกฤษกล่าวว่าในช่วงคริสตศตรรษที่ 19 คนเป็นโรคฟันผุกันน้อยเพราะสมัยนั้นยังไม่มีน้ำตาลให้บริโภคกันทั่วไป เขากล่าวว่าน้ำตาลยังเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วนด้วย

ประเทศพัฒนาใช้วิธีเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มเพื่อช่วยป้องกันอาการฟันผุ ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสกล่าวว่าการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำดื่มมีความสำคัญมากจากผลการศึกษาเรื่องนี้ในอเมริกา ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มช่วยลดปัญหาโรคฟันผุลงได้อย่างมากในอเมริกา

เมื่อฟลูออไรด์ช่วยเสริมสร้างให้ฟันต้านทานต่อเเบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุได้ มีผลให้คนสามารถรับประทานขนมหวานมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปัญหาโรคเหงือกและฟันมีผลกระทบทางลบใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิตของคนแต่ละคน อย่างแรกทำให้ผู้ป่วยขบเคี้ยวอาหารลำบาก ทำให้ต้องปรับไปกินอาหารที่ที่นิ่มขึ้นและอาจจะมีไขมันสูงขึ้น นอกจากนี้ผลกระทบหลักที่ทีมนักวิจัยพบคือผลทางด้านสังคมและจิตใจ

ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสกล่าวว่าปากเป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาทเกี่ยวพันกับการเข้าสังคม คนที่ฟันเสียจะรู้สึกอาย ไม่ค่อยยิ้ม และ ไม่ค่อยพูดค่อยจา และบางคนมักเอามือปิดปากเวลาหัวเราะเพราะไม่อยากให้ใครเห็นฟันของตนเอง เขากล่าวว่าวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพเหงือกและฟันอาจจะประสบกับปัญหาขาดความมั่นใจในตัวเองตามมาในระยะยาว

ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสหวังว่าชาติอาฟริกาและเอเชียจะมองเห็นปัญหาสุขภาพที่มาจากประเทศพัฒนาเเล้วนี้เเละเลี่ยงเจริญรอยตามในด้านโภชนาการ ศาสตราจารย์เมอร์เซ็นเนสยังเรียกร้องให้มีการปรับนิสัยการบริโภคให้หันไปรับประทานอาหารที่ดีต่อสุภาพ ตลอดจนมีการพัฒนาวัสดุและวิธีการรักษาโรคฟันผุใหม่ๆที่ราคาถูกลงด้วย

ที่มา : www.voathai.com

.

Related Article :

.

voanews130531_001

Study: Bad Teeth, Gums Major Problems

May 31, 2013
Last updated on: May 31, 2013 1:48 PM

Joe DeCapua

A new report says nearly four-billion people – more than half the world’s population – have major tooth decay, or cavities. Health officials warn that poor oral health can lead to social and psychological problems.

Professor Wagner Marcenes led of team of researchers as part of the Global Burden of Disease 2010 study. It listed untreated tooth decay, or cavities, as the most common of all 291 major diseases and injuries.

“It was a massive effort. We had about 500 scientists work on it. And we reviewed all literature, all data on all disease and then came with estimations — that was the report that has been recently published,” he said.

Marcenes is with the Institute of Dentistry at Queen Mary, University of London.

Tooth decay, or cavities in permanent teeth, is also known as carries.

“Carries is a chronic disease that shares the same risk factors as cancer, cardiovascular disease. What we’re having now is an increase in disease from highly developed countries happening in sub-Saharan Africa and probably it will be in other areas of Africa, too,” he said.

In fact, the study says the “largest increases in the burden of oral conditions” were in sub-Saharan Africa and Oceania. Marcenes was not surprised at the study’s results.

“It tends to get less attention than some other disease. For example, HIV obviously [is] a much more relevant issue for the health of the population,” he said.

He said that tooth decay is rising sharply in Africa because developing countries are becoming more like Western nations in some ways.

“It is likely to be related to a change in diet. Our industrialized diet leads to chronic disease, which includes carries. And that may be the main explanation.”

The diets of developed nations are rich in sugar, a leading culprit in oral health problems. Marcenes says prior to the 19th Century, people had few cavities because sugar was not readily available. It’s also a major contributor to obesity.

Developed nations dramatically reduced the incidence of tooth decay and cavities by adding fluoride to their drinking water.

He  said, “The fluoridation of the water is a highly important issue, and yes, it came from research in America. It has contributed enormously to that reduction in carries.”

But while the fluoride made teeth more resistant to the bacteria that cause tooth decay, it also allowed people to eat more sweets.

Oral health problems, Marcenes said, have a major negative effect on a person’s quality of life. For one, they make eating difficult. Second, people may change what they eat and opt for softer foods, such as those with more fat. However, the biggest issue, he found, is both social and psychological.

“We have very strong evidence in the literature that the mouth plays a big role on socialization. People feel embarrassed about having bad teeth. Then they tend to smile less. They tend to communicate less. And the familiar thing is to see someone laughing with their hand in front of the mouth because they don’t want people to see.”

Professor Marcenes said that adolescents with bad teeth can face long-term self-esteem issues.

He hopes African and Asian nations will see the health problems of the West and not follow their dietary example. He’s calling for an “urgent, organized, social response” to the widespread lack of oral health.

“We need a public health approach that deals with the causes of the disease, rather than deal with each disease independently because the most disabling disease share the same cause,” he said.

Marcenes is calling for a holistic approach that includes a healthier diet and the development of new and cheaper dental materials and treatments.

SOURCE :voanews.com

ดูแลฟันด้วย ‘ชีส’

dailynews130610_001ฟันผุ เป็นปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ เพราะเมื่อฟันผุแล้ว มักจะมีอาการปวดที่แสนจะทรมานตามมา หลายๆ คนต้องถูกถอนฟันที่ผุทิ้งไป แต่รู้หรือไม่ว่า มีอาหารชนิดหนึ่งที่ช่วยให้คนเราห่างไกลปัญหาฟันผุได้

การวิจัยล่าสุดของสถาบันทันตกรรมทั่วไปในสหรัฐฯ เผยข้อมูลชวนประหลาดใจว่า ชีส อาหารที่คนกลัวอ้วนมักจะไม่ชอบนั้น กลับส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน โดยทีมวิจัยรู้เรื่องราวนี้หลังทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเด็กจำนวน 68 คน ทั้งหมดมีอายุระหว่าง 12-15 ปี และมีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม สำหรับกลุ่มแรก ทดลองให้กินนม อีกกลุ่มให้กินโยเกิร์ตสูตรไม่มีน้ำตาล กลุ่มสุดท้ายให้กินเชดดาร์ชีส แต่ถึงแม้จะกินต่างกัน แต่เด็กทุกกลุ่มก็ยังต้องทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟันเหมือนกันทั้งหมด

เหตุที่นักวิจัยให้เด็กๆ กินอาหารที่ต่างกัน ก็เพื่อวัดค่าพีเอช หรือความเป็นกรด-ด่างในช่องปาก โดยกลุ่มที่กินนม และกลุ่มที่กินโยเกิร์ตนั้น ค่าพีเอชไม่เปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังกินอาหารทดลอง จะมีแค่กลุ่มที่กินเชดดาร์ชีสเท่านั้นที่พบว่า หลังกินชีสไปแล้ว ภายในช่องปากมีสภาพความเป็นด่างมากขึ้น

นักวิจัยพบว่า ชีสช่วยให้มีการผลิตน้ำลายซึ่งมีสภาพเป็นด่าง เมื่อน้ำลายออกมาก็จะช่วยปรับความสมดุล ไม่ให้ช่องปากมีสภาพเป็นกรดมากเกินไป เพราะขืนปล่อยให้เป็นกรดมาก ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสฟันผุ สึก กร่อนได้ง่าย นอกจากนี้ ในขณะที่กัดหรือเคี้ยวชีสนั้น ตัวชีสยังปล่อยสารประกอบบางอย่าง เสมือนเป็นฟิลม์เข้าเคลือบป้องกันฟันจากกรดของอาหาร ลดโอกาสฟันผุอีกต่อหนึ่ง

ได้รับรู้ประโยชน์จากชีสที่ดีต่อฟันไปแล้ว อย่าริตั้งหน้าตั้งตากินแต่ชีส เพราะทุกอย่างต้องเดินทางสายกลาง กินชีสแต่พอเหมาะ.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com

ที่มา : เดลินิวส์  10 มิถุนายน 2556

.

Related Link:

.

Tuck in!: A U.S. study has finally given people an excuse to indulge in a cheese board. Cheddar raises the mouth's pH which reduces the risk of cavities

Tuck in!: A U.S. study has finally given people an excuse to indulge in a cheese board. Cheddar raises the mouth’s pH which reduces the risk of cavities

Forget gum: Eating CHEESE can prevent tooth decay because it neutralises acid in the mouth

  • The U.S. Academy of General Dentistry found that eating cheese increased production of alkaline saliva
  • Also found that chewing cheese created a protective layer around teeth which kept remaining acid at bay
  • But mouthwash was still found to be the best protection against cavities

By RACHEL REILLY

PUBLISHED: 12:11 GMT, 6 June 2013

Cheese helps reduce cavities forming in teeth because it neutralises plaque acid, according to a new study.

Researchers found that the fermented dairy product made the mouth more alkaline, which in turn reduced the need for dental treatment.

They also discovered that cheese created a protective film around teeth.

The higher the pH level (the more alkaline) on the surface of teeth, the more teeth are protected against dental erosion, which causes cavities and leads to fillings, said the study.

The research, carried out by the Academy of General Dentistry in the U.S., divided 68 children aged between 12 and 15 into three groups.

One group was asked to consume a daily portion of cheddar, another a sugar-free yoghurt, and another a glass of milk, followed by a mouth rinse.

The pH levels on their dental plaque were measured both before the test and then ten minutes, 20 minutes and half an hour afterwards.

Those who ate the yoghurt or drank the milk showed no changes to the pH levels in their mouths at any of the intervals, said lead researcher Vipul Yadav.

But those who ate the cheese showed a ‘rapid’ increase in pH level at each of the time intervals.

The researchers believe that eating cheese increases the amount of saliva in the mouth which is the body’s natural way of maintaining a healthy pH level.

Added to this, cheese releases chemical compounds that can form a protective layer on teeth which further protects it against the acids that attack enamel.

A spokesman for the research said: ‘The groups who consumed milk and sugar-free yogurt experienced no changes in the pH levels in their mouths.

‘Subjects who ate cheese, however, showed a rapid increase in pH levels at each time interval, suggesting that cheese has anti-cavity properties.’

The results were published in the journal General Dentistry.

SOURCE: www.dailymail.co.uk

ทันตแพทยสภาเตือน ‘น้ำอัดลม’ ตัวการสำคัญปัญหาช่องปาก

ทันตแพทยสภาเตือนน้ำอัดลม ตัวการสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปาก ทำให้สารเคลือบฟันอ่อนบางลงทำให้ฟันผุ แนะล้างปากด้วยน้ำเปล่าและแปรงฟันถูกวิธีช่วยป้องกันได้…

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ทันตแพทย์ไพศาล กังวลกิจ เลขาธิการทันตแพทยสภา กล่าวว่า การบริโภคน้ำอัดลมในสหรัฐอเมริกาเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากในทุกวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยรุ่น ปัญหานี้รุนแรงมากจนหน่วยงานด้านสุขภาพหลายหน่วยงาน รวมถึงสมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ออกประกาศเตือนถึงพิษภัยของการบริโภคน้ำอัดลม มีเด็กในวัยเรียนจำนวนมากแค่ไหนที่ดื่มน้ำอัดลม ผลการสำรวจพบว่า 1 ใน 2 หรือ 4 ใน 5 ของเด็กบริโภคน้ำอัดลมอย่างน้อย 1 แก้วต่อวัน และมีเด็กอย่างน้อย 1 ใน 5 ที่บริโภคน้ำอัดลมอย่างน้อย 4 แก้วต่อวัน เด็กบางคนบริโภคน้ำอัดลมเป็นปริมาณถึง 12 แก้วต่อวัน ยิ่งขนาดของแก้วใหญ่แค่ไหนปัญหาก็ยิ่งร้ายแรงมากขึ้น จากขนาด 6.5 ออนซ์ในช่วงปี 1950 กลายเป็นขนาดปกติที่ 20 ออนซ์ในช่วงปี 1990 เด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวที่มีความเสี่ยง การดื่มน้ำอัดลมเป็นเวลานานจะมีผลสะสมต่อสารเคลือบฟัน ยิ่งมีอายุยาวนานมากขึ้น ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดปัญหาในช่องปากได้

เลขาธิการทันตแพทยสภา กล่าวว่า เพื่อเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่น และผู้ใหญ่จะได้ประโยชน์จากการลดปริมาณการบริโภคน้ำอัดลมลง นอกจากนั้นพวกเขายังได้ประโยชน์จากการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีอีกด้วย ด้วยวิธีการบริโภคดังนี้

1.เครื่องดื่มหลายๆ ประเภท ซื้อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย เช่น น้ำเปล่า นม และน้ำผลไม้ 100% ไว้ในตู้เย็น ดื่มเครื่องดื่มเหล่านั้นแทนน้ำอัดลมและส่งเสริมให้ลูกๆ ดื่ม

2.ล้างปากด้วยน้ำเปล่า หลังจากดื่มน้ำอัดลมแล้ว ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าเพื่อขจัดสิ่งตกค้างจากน้ำอัดลมที่หากปล่อยทิ้งไว้จะสามารถทำให้สารเคลือบฟันกลายเป็นกรดได้

3.ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุ ซึ่งจะทำให้สารเคลือบฟันมีความแข็งแรงมากขึ้น

 

ที่มา: ไทยรัฐ 27 ตุลาคม 2555

คิดวัคซีีนป้องกันฟันผุขึ้นได้แล้ว ผ่านการทดลองกับหนูสำเร็จได้ผลดี

นักวิทยาศาสตร์สถาบันฟอร์ไซท์ ที่สหรัฐฯ ได้คิดค้นวัคซีนป้องกันฟันผุขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันไม่ผุอีกเลย

นักวิจัยได้คิดค้นวัคซีนป้องกันแบคทีเรียซึ่งเป็นตัวการทำให้ฟันผุ เพราะมันได้ย่อยเศษอาหาร แล้วทิ้งกรดน้ำนมเอาไว้ กัดกร่อนเคลือบฟัน แต่วัคซีนที่คิดขึ้นจะไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรค สร้างภูมิคุ้มกันที่เป็นศัตรูกับแบคทีเรียนี้โดยเฉพาะขึ้น โจมตีมันและกำจัดมันทิ้งไปกับน้ำลาย วัคซีนป้องกันฟันผุนี้ได้ผ่านการทดลองขั้นต้นกับหนูทดลองเป็นผลสำเร็จมาแล้ว กำลังอยู่ระหว่างการทดลองใช้กับคนอยู่.

ที่มา: ไทยรัฐ  21 กันยายน 2555

.

Related Articles:

.

Could this vaccine end tooth decay?

by ANASTASIA STEPHENS, Daily Mail

Dentists may soon be out of business, thanks to a vaccine that could rid us of tooth decay for ever.

Researchers in the U.S., at the Forsyth Institute in Boston, are researching a vaccine that targets mutans streptococci, the bacterium causing tooth decay.

When the bacteria break down food, they produce lactic acid, which wears away tooth enamel, producing cavities.

The cavity-fighting vaccine teaches the immune system to make antibodies that kill the enzymes which enable bacteria to stick to teeth. Unable to cling to tooth enamel, the bacteria are washed away by saliva, and the teeth are protected.

In experiments, rats given the vaccine developed almost no cavities. Trials on people have also found the vaccine to have a similar effect.

Ultimately, however, the vaccine would be given to children under the age of one while their teeth are developing, but before the plaque bacteria have become established.

‘If given to children at a young age, we think it may prevent colonization of plaque bacteria altogether,’ says Dr Daniel Smith of the Forsyth Institute.

‘The bacteria wouldn’t be able to stick to teeth or gain a foothold. Children would be protected from caries for life.’

Given to adults, the vaccine protects teeth and reduces, rather than eradicates, bacteria in the mouth. It will probably be administered as nasal drops, sparing children and adults the ordeal of painful injections.

‘The nose and mouth are connected. If you give the vaccine nasally, you get antibodies in the saliva,’ says Dr Smith.

Dr Jacinta Yeo, of the British Dental Association, believes the vaccine, which may be available in a few years, could revolutionise dental health. ‘The research sounds exciting. If bacteria can’t stick to teeth, they can’t do harm,’ she says.

‘Saliva can neutralise acids and kill bacteria, but it’s not effective enough to prevent damage by bacterial acids. It sounds as if this vaccine could equip the body with a natural defence system.’

Source: dailymail.co.uk

น้ำมันมะพร้าวป้องกันเด็กฟันผุ แถมยังฆ่าเชื้อราภายในปากหมด

นักวิทยาศาสตร์ไอร์แลนด์รู้สึกตื่นเต้นเมื่อพบว่า น้ำมันมะพร้าวสามารถต่อสู้กับฟันผุได้ ซึ่งทุกวันนี้เด็กตามชาติอุตสาหกรรม ตั้งร้อยละ 60–90 ล้วนแต่โดนแบคทีเรียกิน จนฟันผุกันหมด

พวกเขาได้พบว่าน้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยเอนไซม์ จะมีฤทธิ์สกัดการเติบโตของแบคทีเรียสเตรปต็อคค็อกคัส ตัวการทำให้ฟันผุ ไม่ให้เติบโตได้ และยังฆ่าเชื้อราในปากได้ด้วย โดยมันคงไปย่อยไขมันของน้ำมันมะพร้าวให้กลายเป็นกรดซึ่งปราบแบคทีเรียลงได้อย่างชะงัด

ดร.ดาเมียน  แบรดี้  หัวหน้านักวิจัย  กล่าวว่า น้ำมันมะพร้าวน่าใช้ยิ่งกว่าสารเคมี “เพราะมันไม่ต้องใช้เข้มข้นกว่ากัน” และเสริมว่า ยิ่งในยามที่เชื้อโรคยิ่งดื้อกับยาปฏิชีวนะมากขึ้นทุก

วันนี้ ทำให้ยิ่งมีความสำคัญขึ้น เมื่อพบหนทางใหม่ปราบจุลชีพที่ก่อการอักเสบได้.

ที่มา: ไทยรัฐ  7 กันยายน 2555

.

Related Articles:

.

Benefit: Coconut could help fight the main bug behind tooth decay, scientists in Ireland have found

Ditch the minty toothpaste and try coconut oil instead: Fruit can kill bug behind tooth decay

  • Research paves way for toothpastes and mouthwashes containing coconut as an ingredient

By FIONA MACRAE SCIENCE CORRESPONDENT

PUBLISHED: 23:52 GMT, 2 September 2012 | UPDATED: 23:53 GMT, 2 September 2012

One too many Bounty chocolate bars could leave you in need of a trip to the dreaded dentist.

But scientists have found that coconut could help fight the main bug behind tooth decay.

Scientists tested coconut oil against Streptococcus mutans – a sugar-loving bacterium that clings to teeth and produces acid causing them to rot.

When the oil was treated with digestive enzymes it became a powerful killer of the bug.

It paves the way for toothpastes and mouthwashes containing coconut as an active ingredient.

Lead researcher Dr Damien Brady, of the Athlone Institute of Technology in Ireland, said: ‘Dental caries is a commonly overlooked health problem affecting 60 to 90 per cent of children and the majority of adults in industrialised countries.

Bug-killer: The research paves the way for toothpastes and mouthwashes containing coconut as an active ingredient

‘Incorporating enzyme-modified coconut oil into dental hygiene products would be an attractive alternative to chemical additives, particularly as it works at relatively low concentrations.’

He added that his findings could prove to be important considering the problem of bugs’ increasing resistance to many existing antibiotic treatments.

Dr Brady’s experiments were inspired by previous research showing that partially digested milk made S. mutans less likely to stick to tooth enamel.

He said: ‘Our data suggests that products of human digestion show antimicrobial activity.

‘This could have implications for how bacteria colonise the cells lining the digestive tract and for overall gut health.’

He now plans to check if the enzyme-treated coconut oil has any other killer qualities.

Tests already suggest it combats Candida albicans, which causes thrush, the Society for General Microbiology’s autumn conference heard.

source: dailymail.co.uk